เมื่อวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2548 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดการสัมมนาระหว่างประเทศ เรื่อง “Strengthening Partnership in Education and Training for Regional Competitiveness” เพื่อเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและฝึกอบรมของภูมิภาค โดยร่วมกันหาแนวทางพัฒนากรอบคุณวุฒิการศึกษาและอาชีพในระดับภูมิภาคที่เชื่อมโยงระบบการศึกษาและคุณวุฒิของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซต์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม ผู้แทนจากองค์การระหว่างประเทศ ผู้แทนประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ และผู้แทนมหาวิทยาลัยและภาคเอกชนของไทย
นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการฯ กล่าวถึงประเด็นที่ได้จากการสัมมนา ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
- ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษาและการฝึกอบรมของแต่ละประเทศให้ก้าวหน้าไปด้วยกัน
- การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูง ประเทศสมาชิกของภูมิภาค องค์การระหว่างประเทศ และประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือต่างมีความเห็นพ้องต้องกันในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ เกิดการสื่อสารระหว่างกันอย่างถูกต้อง นำไปสู่การกำหนดกรอบคุณวุฒิการศึกษาและอาชีพในระดับภูมิภาค ที่ช่วยให้การเคลื่อนย้ายของแรงงานระหว่างประเทศในภูมิภาคในอนาคตเป็นไปได้ด้วยแรงงานที่มีคุณภาพ เสริมการแข่งขันระดับภูมิภาคให้เข้มแข็ง
- การพัฒนาระบบข้อมูลระดับประเทศด้านการศึกษาฝึกอบรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ประเทศต่างๆ และองค์กรให้ความช่วยเหลือสามารถนำไปใช้ประกอบการขอรับความช่วยเหลือและการให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมและตรงกับความต้องการ
- การกำหนดกลไกประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่จะทำให้การดำเนินงานในระยะต่อไปบังเกิดผลเป็นรูปธรรม นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง สามารถกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ เข้าร่วมและผลักดันให้เกิดกรอบคุณวุฒิระดับภูมิภาค
- การจัดเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ประสบการณ์และการหารือร่วมกัน ควรมีขึ้นเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จ
- การประสานการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนและภาคีการพัฒนาในภูมิภาค เพื่อกำหนดความต้องการ พัฒนา และปรับมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพให้เป็นฐานในการกำหนดหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะกำลังคนต่อไป
- การจัดทำโครงการนำร่อง โดยเลือกสถาบันการศึกษา 3 แห่งจากประเทศเข้าร่วมสัมมนา เพื่อกำหนดคุณวุฒิการศึกษาและอาชีพให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกันในสาขาที่กำหนด
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ผลการสัมมนาครั้งนี้ได้นำมาซึ่งการพัฒนากรอบคุณวุฒิการศึกษาและอาชีพในระดับภูมิภาคและสามารถนำไปใช้ประกอบการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาและฝึกอบรมระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาค องค์การระหว่างประเทศ และประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายของประเทศในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม อันเป็นจุดเริ่มต้นในการเสริมสร้างบทบาทการเป็นศูนย์กลางการศึกษาและฝึกอบรมในภูมิภาคของประเทศต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการฯ กล่าวถึงประเด็นที่ได้จากการสัมมนา ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
- ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษาและการฝึกอบรมของแต่ละประเทศให้ก้าวหน้าไปด้วยกัน
- การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่มีลำดับความสำคัญสูง ประเทศสมาชิกของภูมิภาค องค์การระหว่างประเทศ และประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือต่างมีความเห็นพ้องต้องกันในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ เกิดการสื่อสารระหว่างกันอย่างถูกต้อง นำไปสู่การกำหนดกรอบคุณวุฒิการศึกษาและอาชีพในระดับภูมิภาค ที่ช่วยให้การเคลื่อนย้ายของแรงงานระหว่างประเทศในภูมิภาคในอนาคตเป็นไปได้ด้วยแรงงานที่มีคุณภาพ เสริมการแข่งขันระดับภูมิภาคให้เข้มแข็ง
- การพัฒนาระบบข้อมูลระดับประเทศด้านการศึกษาฝึกอบรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ประเทศต่างๆ และองค์กรให้ความช่วยเหลือสามารถนำไปใช้ประกอบการขอรับความช่วยเหลือและการให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมและตรงกับความต้องการ
- การกำหนดกลไกประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่จะทำให้การดำเนินงานในระยะต่อไปบังเกิดผลเป็นรูปธรรม นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง สามารถกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ เข้าร่วมและผลักดันให้เกิดกรอบคุณวุฒิระดับภูมิภาค
- การจัดเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ประสบการณ์และการหารือร่วมกัน ควรมีขึ้นเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จ
- การประสานการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนและภาคีการพัฒนาในภูมิภาค เพื่อกำหนดความต้องการ พัฒนา และปรับมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพให้เป็นฐานในการกำหนดหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะกำลังคนต่อไป
- การจัดทำโครงการนำร่อง โดยเลือกสถาบันการศึกษา 3 แห่งจากประเทศเข้าร่วมสัมมนา เพื่อกำหนดคุณวุฒิการศึกษาและอาชีพให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกันในสาขาที่กำหนด
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ผลการสัมมนาครั้งนี้ได้นำมาซึ่งการพัฒนากรอบคุณวุฒิการศึกษาและอาชีพในระดับภูมิภาคและสามารถนำไปใช้ประกอบการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาและฝึกอบรมระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาค องค์การระหว่างประเทศ และประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายของประเทศในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม อันเป็นจุดเริ่มต้นในการเสริมสร้างบทบาทการเป็นศูนย์กลางการศึกษาและฝึกอบรมในภูมิภาคของประเทศต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-