- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปิด ตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน R/P 1 เดือน และอัตราดอกเบี้ย Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าการซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield) ปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐฯ มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันสำคัญจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลต่อให้ความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้นำเข้าน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของค่าเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี และการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในช่วงปลายเดือน
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการสำรองสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือนและสิ้นครึ่งแรกของปี ซึ่งลูกค้ามีความต้องการใช้เงินในปริมาณมาก และจะต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ งวดครึ่งปี ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 2.46875 และ 2.5 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 และ 2.53125 - 2.5625 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ตามลำดับ ขณะที่
อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน และ 1 เดือน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.5 และ 2.53125 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.3 - 2.53 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 42,300 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน ที่อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอายุ 6 ปี วงเงิน 3,300 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 5 และ 10 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 91,284 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 22,821 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 27 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 70 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ อายุ 1 3 และ 12 ปี ปรับตัวลดลง 1-2 basis points ในขณะที่พันธบัตรช่วงอายุอื่นๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-1 basis point ดัชนีราคา (Clean price index) พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 2 และ 5 basis points ตามลำดับ
US Treasury Yield ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในวันศุกร์หลังจากมีการปรับดอกเบี้ยตามที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield อายุ 6 เดือนขึ้นไปปรับตัวขึ้น 1-6 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.16 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับตลอดสัปดาห์ และปรับอ่อนค่าที่สุดอีกครั้งในรอบกว่า 8 เดือน ที่ระดับ 41.27 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ ปัจจัยสำคัญที่กดดันค่าเงินบาท ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้บริษัทผู้นำเข้าน้ำมันในประเทศมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะญี่ปุ่นปรับอ่อนค่าลงเนื่องจากประเทศในภูมิภาคมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ความกังวลต่อดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ค. ที่มีการขาดดุลในระดับสูง และมีแนวโน้มที่จะขาดดุลเพิ่มขึ้นตลอดครึ่งหลังของปี 2548 เป็นปัจจัย
กดดันค่าเงินบาทตลอดสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดี ประกอบกับตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมในวันที่ 30 มิ.ย. ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มขยายตัว โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้น โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ยืนยันว่าจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวสูงขึ้นในระยะต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าการซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield) ปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐฯ มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันสำคัญจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลต่อให้ความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้นำเข้าน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของค่าเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี และการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในช่วงปลายเดือน
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการสำรองสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือนและสิ้นครึ่งแรกของปี ซึ่งลูกค้ามีความต้องการใช้เงินในปริมาณมาก และจะต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ งวดครึ่งปี ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 2.46875 และ 2.5 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 และ 2.53125 - 2.5625 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ตามลำดับ ขณะที่
อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน และ 1 เดือน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 2.5 และ 2.53125 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.3 - 2.53 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 42,300 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน ที่อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอายุ 6 ปี วงเงิน 3,300 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 5 และ 10 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 91,284 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 22,821 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 27 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 70 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ อายุ 1 3 และ 12 ปี ปรับตัวลดลง 1-2 basis points ในขณะที่พันธบัตรช่วงอายุอื่นๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-1 basis point ดัชนีราคา (Clean price index) พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 2 และ 5 basis points ตามลำดับ
US Treasury Yield ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในวันศุกร์หลังจากมีการปรับดอกเบี้ยตามที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield อายุ 6 เดือนขึ้นไปปรับตัวขึ้น 1-6 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.16 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับตลอดสัปดาห์ และปรับอ่อนค่าที่สุดอีกครั้งในรอบกว่า 8 เดือน ที่ระดับ 41.27 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ ปัจจัยสำคัญที่กดดันค่าเงินบาท ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้บริษัทผู้นำเข้าน้ำมันในประเทศมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น และยังส่งผลให้ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยเฉพาะญี่ปุ่นปรับอ่อนค่าลงเนื่องจากประเทศในภูมิภาคมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ความกังวลต่อดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ค. ที่มีการขาดดุลในระดับสูง และมีแนวโน้มที่จะขาดดุลเพิ่มขึ้นตลอดครึ่งหลังของปี 2548 เป็นปัจจัย
กดดันค่าเงินบาทตลอดสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดี ประกอบกับตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมในวันที่ 30 มิ.ย. ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มขยายตัว โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้น โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ยืนยันว่าจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวสูงขึ้นในระยะต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-