3.1 แม้ว่าจีนจะดำเนินการเปิดเสรีภาคการเงินและตลาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับตามพันธสัญญาของ WTO แต่ตลาดทุนในประเทศยังไม่มีพัฒนาการเท่าที่ควร โดยปริมาณการซื้อขายในตลาดพันธบัตรยังเป็นไปอย่างจำกัดจากปัจจัยทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ของจีนยังมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วในภูมิภาคเอเชีย เช่น ญี่ปุ่นหรือฮ่องกงที่มีมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ต่อ GDP ในปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 83 และ 512 ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าตลาดหลักทรัพย์จีนคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 27 ของ GDP และมูลค่าหลักทรัพย์ที่สามารถทำการซื้อขายได้ (Tradable Capitalization) คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 9 ต่อ GDP ในปี 2547
3.2 ภาคเอกชนในประเทศจีนมีการระดมทุนผ่านตลาดทุนในระดับต่ำ โดยการระดมทุนของภาคเอกชนส่วนใหญ่ยังคงมาจากการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันภาคการธนาคารจีนประสบกับปัญหาหนี้เสียในระดับสูง ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปล่อยกู้ให้กับองค์กรรัฐวิสาหกิจซึ่งไม่มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ภาคการธนาคารยังต้องเผชิญกับปัญหาการประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ จึงมีความระมัดระวังในการปล่อยกู้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็กบางแห่งไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์ได้ ทั้งนี้ การพึ่งพาภาคการธนาคารในระดับสูงขณะที่ตลาดทุนในประเทศยังไม่มั่นคงและขาดประสิทธิภาพ จะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจจีนในอนาคต รวมทั้งภาคธุรกิจและภาคการเงินในประเทศอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคจากการแข่งขันจากต่างประเทศที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากจีนมีการเปิดเสรีการค้าและการเงินทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีกับหลายประเทศในปัจจุบัน
3.3 การที่ตลาดหลักทรัพย์จีนยังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควรมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากปัญหาด้านโครงสร้างของผู้ถือหลักทรัพย์ โดยร้อยละ 50 ของบริษัทจดทะเบียนถือครองโดยรัฐวิสาหกิจที่ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล และไม่สามารถทำการซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรองได้ นอกจากนี้ การควบคุมดูแลการทำธุรกรรมในตลาดรองของทางการจีนยังทำได้ไม่ดีนัก และบริษัทจดทะเบียนยังมีปัญหาด้านบรรษัทภิบาล ส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ในตลาดรองมีความผันผวนมาก อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลจีนเห็นความสำคัญของการพัฒนาตลาดทุนเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนเป็นปัจจัยสำคัญที่คาด
ว่าจะกระตุ้นพัฒนาการของตลาดทุนในอนาคต โดยมาตรการสำคัญที่จะส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญคือการทำให้หลักทรัพย์รัฐวิสาหกิจสามารถทำการซื้อขายได้ในตลาดรอง อันจะเป็นการเพิ่มอุปทานในตลาดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ รัฐบาลควรดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและลดจำนวนการถือครองหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจควบคู่กันไป เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาหลักทรัพย์ดังกล่าวปรับลดลงมากหลังจากเข้าทำการซื้อขายในตลาด นอกจากนี้ มาตรการของภาครัฐเพื่อกระตุ้นตลาดทุนอื่นๆ เช่น มาตรการเพื่อส่งเสริมให้นักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศสามารถลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างเสรี มาตรการส่งเสริมบรรษัทภิบาล มาตรการเพื่อส่งเสริมการลงทุนในตลาดพันธบัตร และการออกกฎเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลการทำธุรกรรมในตลาดทุน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตลาดทุนจีนสามารถขยายตัวได้มากในอนาคต เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนอย่างยั่งยืนต่อไป
ผลการเยือน
กระทรวงการคลังของจีน (Ministry of Finance)
1. ข้อมูลเบื้องต้น
กระทรวงการคลัง เป็นกระทรวงหลักที่สำคัญของประเทศจีน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการคลัง (นโยบายภาษี และการออกพันธบัตร) และจัดทำงบประมาณของประเทศ มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศจีนอย่างมาก
2. ประเด็นการหารือ
คณะเจ้าหน้าที่ของ สศช. ได้เข้าหารือกับ Mr. Wang เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการคลัง ของจีนในประเด็นที่สำคัญในเรื่องสภาวะเศรษฐกิจของจีน นโยบายการคลังของจีในปัจจุบัน และการพัฒนาเศรษฐกิจจีนในอนาคต โดยมีผลการหารือ ดังนี้
2.1 สภาวะเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน
ตั้งแต่เปิดประเทศในปี ค.ศ.1978 จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วมาก อัตราการเจริญเติบโตของ GDP เฉลี่ย 9.4 โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนจากการเกษตรมาเป็นอุตสาหกรรมเป็นหลัก มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคการเกษตรสู่ภาค
บริการเป็นจำนวนมาก มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) โดยให้ภาคเอกชนเข้าร่วม
รวมทั้งมีการส่งเสริมการลงทุนในตลาดทุนต่างๆ
2.2 นโยบายการคลังของประเทศจีน
นโยบายการคลังของจีนเป็นนโยบายแบบสังคมนิยม มีการกำหนดมาตรการในเรื่อง อัตราดอกเบี้ย การออกพันธบัตร และการกำหนดภาษีต่างๆ รายได้ส่วนมากของรัฐบาลมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นประมาณร้อยละ 35 ของรายได้ภาษีทั้งหมด และรายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกซึ่งเป็นภาคที่มีความเจริญมากที่สุดของจีน คิดเป็นประมาณร้อยละ 70 ของรายได้ทั้งหมด และปัจจุบันจีนเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 17 เท่ากันในทุกมณฑล
นโยบายการคลังของจีนในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังต่อไปนี้
2.2.1 ฐานะการคลัง โดยตั้งเป้าการขาดดุลไม่ให้เกิน 3,100 ล้านหยวน โดยการเพิ่มรายได้รัฐบาลจากการเก็บภาษีให้ได้มากขึ้น ทั้งนี้การเก็บภาษีได้มากขึ้นนั้นมาจากการส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นและการกระจายรายได้สู่ชนบทมากขึ้น ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือการออกพันธบัตรเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น
2.2.2 การกระจายความเจริญสู่ชนบท (Urbanization)ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากประเทศจีนมีความเจริญเฉพาะในภาคตะวันออก ส่วนภาคอื่นๆ ยังไม่เจริญเท่าที่ควร และเรื่องคุณภาพชีวิตของคนเมืองและชนบทแตกต่างกันมาก
2.2.3 การปรับโครงสร้างภาษีทั้งด้านบริโภคและการลงทุน โดยด้านการบริโภคจะลดภาษีที่ซ้ำซ้อนในการซื้อขายสินค้า ส่วนด้านการลงทุนจะปรับส่วนต่างระหว่างภาษีสำหรับการลงทุนต่างประเทศและในประเทศให้น้อยลง ซึ่งแต่เดิมภาษีสำหรับการลงทุนต่างประเทศอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำมาก เนื่องจากตอนที่จีนเปิดประเทศต้องการต่างประเทศเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก
2.2.4 การปรับปรุงระบบงบประมาณ โดยให้กระทรวงการคลังมีอำนาจในการควบคุมงบประมาณมากขึ้น เพื่อให้การใช้จ่ายเงินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.2.5 การส่งเสริมการออมในประเทศให้มากขึ้น สำหรับมาตรการยังไม่ชัดเจน อาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ย
2.2.6 การลอยตัวค่าเงินหยวนให้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่แล้วมารัฐบาลเป็นผู้กำหนดไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดอย่างแท้จริง
2.3 การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนในอนาคต
จากการหารือเชื่อว่า เศรษฐกิจของจีนจะมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการ urbanization และการที่ธนาคารมีการออมสูง คาดว่าจะมีการนำเงินออมเหล่านั้นมาลงทุนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการที่จีนได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดกีฬาโอลิมปิกในปี 2008 ทำให้มีการเตรียมการเพื่อการนี้อยู่มากพอสมควร
3. บทวิเคราะห์และความเห็น
3.1 เนื่องจากในปี 2008 ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพโอลิมปิค จำเป็นต้องใช้จ่ายอย่างมากในการเตรียมตัว ทำให้น่าวิตกว่าจีนจะสามารถควบคุมการขาดดุลเป็นไปตามเป้าได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมการขาดดุลของจีนได้ โดยใช้มาตรการทยอยการลงทุนในแต่ละปี ประกอบกับรัฐบาลมีแนวโน้มในการเก็บภาษีราบได้ที่สูงขึ้น
3.2 การปรับค่าเงินหยวนขึ้นร้อยละ 2 น่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะผลกระทบต่อการส่งออก และภาคอุตสาหกรรมเล็กน้อย แต่เนื่องจากทางกระทรวงการคลังแจ้งว่าได้มีการบอกล่วงหน้าทำให้เกิดการตื่นตระหนก (shock) ไม่มาก นอกจากนี้ การที่พื้นฐานเศรษฐกิจของจีนเป็นแบบพึ่งพาภายในประเทศ ไม่ขึ้นกับการส่งออกหรือต่างประเทศมากนัก ทำให้คาดการณ์ว่า การปรับค่าเงินหยวนจะไม่ส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจของจีนมากนัก
ผลการเยือน
Administrative Committee of the Zhongguancum Haidian Science Park
1. ข้อมูลเบื้องต้น
Administr ative Committee of the Zhongguancum Haidian Science ตั้งอยู่ในมณฑลไฮเดียน (Hiadian District) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของนครปักกิ่ง ซึ่งมณฑลดังกล่าวเป็นอาณาเขตที่มีพื้นที่ 426 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 2.24 ล้านคน ภายในนิคมวิทยาศาสตร์ the Zhongguancum Haidian Science Park ประกอบด้วยอุตสาหกรรมหลัก 4 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมด้านชีววิศวกรรรมและการแพทย์แผนใหม่ อุตสาหกรรมด้านวัตถุดิบแนวใหม่และการประยุกต์ใช้ และอุตสาหกรรมด้านพลังงานใหม่และเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน โดยอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะประกอบด้วยองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องถึงร้อยละ 70 ขององค์กรธุรกิจทั้งหมดในนิคมนอกจากนี้ ยังมีสถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยถึง 78 แห่ง ซึ่งสถาบันการศึกษาเหล่านี้ มีนักศึกษาระดับมหาวิยาลัยถึงร้อยละ 79 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดในนครปักกิ่ง รวมทั้งมีสถาบันวิจัยจำนวน 136 แห่ง พร้อมทั้งนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจำนวนไม่น้อยที่ทำงานอยู่ในนิคมแห่งนี้ นิคมวิทยาศาสตร์ The Zhongguancum Haidian Science Park มีบทบาทสำคัญในการนำนโยบายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปปฏิบัติให้เกิดผลตามเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมวิสาหกิจต่างๆ ในนิคมให้ได้รับการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจตามนโยบายรัฐบาล
2. ประเด็นการหารือ
คณะเจ้าหน้าที่ของ สศช. ได้เข้าหารือกับ Ms. Wang Chongwu เจ้าหน้าที่จาก International Cooperation Division, Administrative Committee of the Zhongguancum Haidian Science Park ถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนี้
2.1 ผลงานการส่งเสริมวิสาหกิจของนิคมวิทยาศาสตร์ จากการหารือพบว่า นิคมวิทยาศาสตร์แห่งนี้มีมาตรการจูงใจให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามา
ดำเนินงานในนิคมฯ โดยเฉพาะในเรื่องของมาตรการทางด้านภาษี นอกจากนี้นิคมฯ ยังมีเป้าหมายให้ส่วนงานวิสาหกิจไปดำเนินงานในต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มประเทศเป้าหมายเข้ามาดำเนินงานในนิคม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการส่งเสริมโดยใช้นโยบายการลดหย่อนภาษีรายได้เพื่อกระตุ้นการลงทุนทั้งนี้ นโยบายการลดหย่อนภาษีรายได้ดังกล่าว มีการดำเนินการ 4 ขั้นตอนคือ
-งดเว้นการเก็บภาษี 3 ปีแรก
-เริ่มเก็บภาษีตั้งแต่ปีที่4 ถึงปีที่ 6 ในอัตราครึ่งหนึ่ง คือ ร้อยละ 7.5
-เก็บภาษีเต็มอัตราตั้งแต่ปีที่ 7 ที่อัตราร้อยละ 15
-เก็บภาษีอัตราในอัตราเปรียบเทียบ แต่ไม่เกินร้อยละ 33
2. การส่งเสริมให้วิสาหกิจในนิคมมีการลงทุนในต่างประเทศ โดยประเทศเป้าหมายได้แก่ สหรัฐ กลุ่มประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทในนิคมลงทุนในต่างประเทศจำนวน 39 บริษัท และประเภทธุรกิจที่มีการลงทุนได้แก่ อุตสาหกรรมด้านชีววิศวกรรม การแพทย์ การส่งวัตถุดิบชนิดต่างๆ และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเทคโนโลยี
3. การส่งเสริมให้ต่างประเทศเข้าร่วมทุนกับธุรกิจในนิคม ซึ่งในปัจจุบันมีประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจหลายประเทศเข้าร่วมทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยประเทศที่ลงทุนเป็นมูลค่าสูง 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
2.2 ผลการดำเนินธุรกิจในนิคมที่มีผลต่อการเจริญทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ธุรกิจในนิคมมีส่วนส่งเสริมการขยายตัวของ GPP ภายในนครปักกิ่งร้อยละ 11.5 รวมทั้งสร้างมูลค่าการค้าจากธุรกิจอุตสาหกรรมร้อยละ 12.8 ของมูลค่าการค้าด้านอุตสาหกรรมทั้งหมดในนครปักกิ่ง นอกจากนี้ยังมีส่วนส่งเสริมการเจริญเติบโต
ด้านอุตสาหกรรมร้อยละ 17.3 ของการเจริญเติบโตด้านอุตสาหกรรมทั้งหมดในนครปักกิ่ง
3. บทวิเคราะห์และความเห็น
3.1 การดำเนินงานของ Zhongguancum Haidian Science Park คล้ายคลึงกับการดำเนินงานของหลายๆ หน่วยงานในไทย โดยเฉพาะ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการส่งออก สังกัดกระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น ในส่วนนี้ สศช. มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องคือ การพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการการลงทุน
ภาครัฐที่ซึ่งโครงการเหล่านั้นจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการดำเนินการด้านธุรกิจ และการวิจัยและพัฒนาของธุรกิจากภาคการผลิตและภาคธุรกิจไทย
3.2 การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนภาคการผลิตในปัจจุบันได้มีความกว้างหน้าไปมาก ดังนั้น ควรมีการวิจัยและพัฒนาให้ครอบคลุมในทุกๆ สาขาให้สอดรับกับพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการบริหารการนิคมวิทยาศาสตร์ (Administrative Committee of the Zhongguancum Haidian Science Park) ได้ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้สถาบันการวิจัยของรัฐบาลได้ริเริ่มโครงการวิจัยเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะมีการดำเนินโครงการวิจัยมากขึ้นและต่อเนื่องเพื่อเป็นปัจจัยส่งเสริมภาคการผลิต ภาคธุรกิจ และความเจริญเติบโตในภาพรวมของประเทศต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
3.2 ภาคเอกชนในประเทศจีนมีการระดมทุนผ่านตลาดทุนในระดับต่ำ โดยการระดมทุนของภาคเอกชนส่วนใหญ่ยังคงมาจากการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันภาคการธนาคารจีนประสบกับปัญหาหนี้เสียในระดับสูง ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปล่อยกู้ให้กับองค์กรรัฐวิสาหกิจซึ่งไม่มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ภาคการธนาคารยังต้องเผชิญกับปัญหาการประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ จึงมีความระมัดระวังในการปล่อยกู้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็กบางแห่งไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์ได้ ทั้งนี้ การพึ่งพาภาคการธนาคารในระดับสูงขณะที่ตลาดทุนในประเทศยังไม่มั่นคงและขาดประสิทธิภาพ จะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจจีนในอนาคต รวมทั้งภาคธุรกิจและภาคการเงินในประเทศอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคจากการแข่งขันจากต่างประเทศที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากจีนมีการเปิดเสรีการค้าและการเงินทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีกับหลายประเทศในปัจจุบัน
3.3 การที่ตลาดหลักทรัพย์จีนยังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควรมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากปัญหาด้านโครงสร้างของผู้ถือหลักทรัพย์ โดยร้อยละ 50 ของบริษัทจดทะเบียนถือครองโดยรัฐวิสาหกิจที่ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล และไม่สามารถทำการซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรองได้ นอกจากนี้ การควบคุมดูแลการทำธุรกรรมในตลาดรองของทางการจีนยังทำได้ไม่ดีนัก และบริษัทจดทะเบียนยังมีปัญหาด้านบรรษัทภิบาล ส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ในตลาดรองมีความผันผวนมาก อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลจีนเห็นความสำคัญของการพัฒนาตลาดทุนเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนเป็นปัจจัยสำคัญที่คาด
ว่าจะกระตุ้นพัฒนาการของตลาดทุนในอนาคต โดยมาตรการสำคัญที่จะส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญคือการทำให้หลักทรัพย์รัฐวิสาหกิจสามารถทำการซื้อขายได้ในตลาดรอง อันจะเป็นการเพิ่มอุปทานในตลาดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ รัฐบาลควรดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและลดจำนวนการถือครองหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจควบคู่กันไป เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาหลักทรัพย์ดังกล่าวปรับลดลงมากหลังจากเข้าทำการซื้อขายในตลาด นอกจากนี้ มาตรการของภาครัฐเพื่อกระตุ้นตลาดทุนอื่นๆ เช่น มาตรการเพื่อส่งเสริมให้นักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศสามารถลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างเสรี มาตรการส่งเสริมบรรษัทภิบาล มาตรการเพื่อส่งเสริมการลงทุนในตลาดพันธบัตร และการออกกฎเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลการทำธุรกรรมในตลาดทุน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตลาดทุนจีนสามารถขยายตัวได้มากในอนาคต เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนอย่างยั่งยืนต่อไป
ผลการเยือน
กระทรวงการคลังของจีน (Ministry of Finance)
1. ข้อมูลเบื้องต้น
กระทรวงการคลัง เป็นกระทรวงหลักที่สำคัญของประเทศจีน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการคลัง (นโยบายภาษี และการออกพันธบัตร) และจัดทำงบประมาณของประเทศ มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศจีนอย่างมาก
2. ประเด็นการหารือ
คณะเจ้าหน้าที่ของ สศช. ได้เข้าหารือกับ Mr. Wang เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการคลัง ของจีนในประเด็นที่สำคัญในเรื่องสภาวะเศรษฐกิจของจีน นโยบายการคลังของจีในปัจจุบัน และการพัฒนาเศรษฐกิจจีนในอนาคต โดยมีผลการหารือ ดังนี้
2.1 สภาวะเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน
ตั้งแต่เปิดประเทศในปี ค.ศ.1978 จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วมาก อัตราการเจริญเติบโตของ GDP เฉลี่ย 9.4 โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนจากการเกษตรมาเป็นอุตสาหกรรมเป็นหลัก มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคการเกษตรสู่ภาค
บริการเป็นจำนวนมาก มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) โดยให้ภาคเอกชนเข้าร่วม
รวมทั้งมีการส่งเสริมการลงทุนในตลาดทุนต่างๆ
2.2 นโยบายการคลังของประเทศจีน
นโยบายการคลังของจีนเป็นนโยบายแบบสังคมนิยม มีการกำหนดมาตรการในเรื่อง อัตราดอกเบี้ย การออกพันธบัตร และการกำหนดภาษีต่างๆ รายได้ส่วนมากของรัฐบาลมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นประมาณร้อยละ 35 ของรายได้ภาษีทั้งหมด และรายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกซึ่งเป็นภาคที่มีความเจริญมากที่สุดของจีน คิดเป็นประมาณร้อยละ 70 ของรายได้ทั้งหมด และปัจจุบันจีนเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 17 เท่ากันในทุกมณฑล
นโยบายการคลังของจีนในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังต่อไปนี้
2.2.1 ฐานะการคลัง โดยตั้งเป้าการขาดดุลไม่ให้เกิน 3,100 ล้านหยวน โดยการเพิ่มรายได้รัฐบาลจากการเก็บภาษีให้ได้มากขึ้น ทั้งนี้การเก็บภาษีได้มากขึ้นนั้นมาจากการส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นและการกระจายรายได้สู่ชนบทมากขึ้น ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือการออกพันธบัตรเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น
2.2.2 การกระจายความเจริญสู่ชนบท (Urbanization)ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากประเทศจีนมีความเจริญเฉพาะในภาคตะวันออก ส่วนภาคอื่นๆ ยังไม่เจริญเท่าที่ควร และเรื่องคุณภาพชีวิตของคนเมืองและชนบทแตกต่างกันมาก
2.2.3 การปรับโครงสร้างภาษีทั้งด้านบริโภคและการลงทุน โดยด้านการบริโภคจะลดภาษีที่ซ้ำซ้อนในการซื้อขายสินค้า ส่วนด้านการลงทุนจะปรับส่วนต่างระหว่างภาษีสำหรับการลงทุนต่างประเทศและในประเทศให้น้อยลง ซึ่งแต่เดิมภาษีสำหรับการลงทุนต่างประเทศอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำมาก เนื่องจากตอนที่จีนเปิดประเทศต้องการต่างประเทศเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก
2.2.4 การปรับปรุงระบบงบประมาณ โดยให้กระทรวงการคลังมีอำนาจในการควบคุมงบประมาณมากขึ้น เพื่อให้การใช้จ่ายเงินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.2.5 การส่งเสริมการออมในประเทศให้มากขึ้น สำหรับมาตรการยังไม่ชัดเจน อาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ย
2.2.6 การลอยตัวค่าเงินหยวนให้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่แล้วมารัฐบาลเป็นผู้กำหนดไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดอย่างแท้จริง
2.3 การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนในอนาคต
จากการหารือเชื่อว่า เศรษฐกิจของจีนจะมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการ urbanization และการที่ธนาคารมีการออมสูง คาดว่าจะมีการนำเงินออมเหล่านั้นมาลงทุนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการที่จีนได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดกีฬาโอลิมปิกในปี 2008 ทำให้มีการเตรียมการเพื่อการนี้อยู่มากพอสมควร
3. บทวิเคราะห์และความเห็น
3.1 เนื่องจากในปี 2008 ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพโอลิมปิค จำเป็นต้องใช้จ่ายอย่างมากในการเตรียมตัว ทำให้น่าวิตกว่าจีนจะสามารถควบคุมการขาดดุลเป็นไปตามเป้าได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมการขาดดุลของจีนได้ โดยใช้มาตรการทยอยการลงทุนในแต่ละปี ประกอบกับรัฐบาลมีแนวโน้มในการเก็บภาษีราบได้ที่สูงขึ้น
3.2 การปรับค่าเงินหยวนขึ้นร้อยละ 2 น่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีน โดยเฉพาะผลกระทบต่อการส่งออก และภาคอุตสาหกรรมเล็กน้อย แต่เนื่องจากทางกระทรวงการคลังแจ้งว่าได้มีการบอกล่วงหน้าทำให้เกิดการตื่นตระหนก (shock) ไม่มาก นอกจากนี้ การที่พื้นฐานเศรษฐกิจของจีนเป็นแบบพึ่งพาภายในประเทศ ไม่ขึ้นกับการส่งออกหรือต่างประเทศมากนัก ทำให้คาดการณ์ว่า การปรับค่าเงินหยวนจะไม่ส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจของจีนมากนัก
ผลการเยือน
Administrative Committee of the Zhongguancum Haidian Science Park
1. ข้อมูลเบื้องต้น
Administr ative Committee of the Zhongguancum Haidian Science ตั้งอยู่ในมณฑลไฮเดียน (Hiadian District) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของนครปักกิ่ง ซึ่งมณฑลดังกล่าวเป็นอาณาเขตที่มีพื้นที่ 426 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 2.24 ล้านคน ภายในนิคมวิทยาศาสตร์ the Zhongguancum Haidian Science Park ประกอบด้วยอุตสาหกรรมหลัก 4 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมด้านชีววิศวกรรรมและการแพทย์แผนใหม่ อุตสาหกรรมด้านวัตถุดิบแนวใหม่และการประยุกต์ใช้ และอุตสาหกรรมด้านพลังงานใหม่และเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน โดยอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะประกอบด้วยองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้องถึงร้อยละ 70 ขององค์กรธุรกิจทั้งหมดในนิคมนอกจากนี้ ยังมีสถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยถึง 78 แห่ง ซึ่งสถาบันการศึกษาเหล่านี้ มีนักศึกษาระดับมหาวิยาลัยถึงร้อยละ 79 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดในนครปักกิ่ง รวมทั้งมีสถาบันวิจัยจำนวน 136 แห่ง พร้อมทั้งนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจำนวนไม่น้อยที่ทำงานอยู่ในนิคมแห่งนี้ นิคมวิทยาศาสตร์ The Zhongguancum Haidian Science Park มีบทบาทสำคัญในการนำนโยบายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปปฏิบัติให้เกิดผลตามเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมวิสาหกิจต่างๆ ในนิคมให้ได้รับการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจตามนโยบายรัฐบาล
2. ประเด็นการหารือ
คณะเจ้าหน้าที่ของ สศช. ได้เข้าหารือกับ Ms. Wang Chongwu เจ้าหน้าที่จาก International Cooperation Division, Administrative Committee of the Zhongguancum Haidian Science Park ถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนี้
2.1 ผลงานการส่งเสริมวิสาหกิจของนิคมวิทยาศาสตร์ จากการหารือพบว่า นิคมวิทยาศาสตร์แห่งนี้มีมาตรการจูงใจให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามา
ดำเนินงานในนิคมฯ โดยเฉพาะในเรื่องของมาตรการทางด้านภาษี นอกจากนี้นิคมฯ ยังมีเป้าหมายให้ส่วนงานวิสาหกิจไปดำเนินงานในต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มประเทศเป้าหมายเข้ามาดำเนินงานในนิคม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการส่งเสริมโดยใช้นโยบายการลดหย่อนภาษีรายได้เพื่อกระตุ้นการลงทุนทั้งนี้ นโยบายการลดหย่อนภาษีรายได้ดังกล่าว มีการดำเนินการ 4 ขั้นตอนคือ
-งดเว้นการเก็บภาษี 3 ปีแรก
-เริ่มเก็บภาษีตั้งแต่ปีที่4 ถึงปีที่ 6 ในอัตราครึ่งหนึ่ง คือ ร้อยละ 7.5
-เก็บภาษีเต็มอัตราตั้งแต่ปีที่ 7 ที่อัตราร้อยละ 15
-เก็บภาษีอัตราในอัตราเปรียบเทียบ แต่ไม่เกินร้อยละ 33
2. การส่งเสริมให้วิสาหกิจในนิคมมีการลงทุนในต่างประเทศ โดยประเทศเป้าหมายได้แก่ สหรัฐ กลุ่มประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทในนิคมลงทุนในต่างประเทศจำนวน 39 บริษัท และประเภทธุรกิจที่มีการลงทุนได้แก่ อุตสาหกรรมด้านชีววิศวกรรม การแพทย์ การส่งวัตถุดิบชนิดต่างๆ และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเทคโนโลยี
3. การส่งเสริมให้ต่างประเทศเข้าร่วมทุนกับธุรกิจในนิคม ซึ่งในปัจจุบันมีประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจหลายประเทศเข้าร่วมทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยประเทศที่ลงทุนเป็นมูลค่าสูง 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
2.2 ผลการดำเนินธุรกิจในนิคมที่มีผลต่อการเจริญทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ธุรกิจในนิคมมีส่วนส่งเสริมการขยายตัวของ GPP ภายในนครปักกิ่งร้อยละ 11.5 รวมทั้งสร้างมูลค่าการค้าจากธุรกิจอุตสาหกรรมร้อยละ 12.8 ของมูลค่าการค้าด้านอุตสาหกรรมทั้งหมดในนครปักกิ่ง นอกจากนี้ยังมีส่วนส่งเสริมการเจริญเติบโต
ด้านอุตสาหกรรมร้อยละ 17.3 ของการเจริญเติบโตด้านอุตสาหกรรมทั้งหมดในนครปักกิ่ง
3. บทวิเคราะห์และความเห็น
3.1 การดำเนินงานของ Zhongguancum Haidian Science Park คล้ายคลึงกับการดำเนินงานของหลายๆ หน่วยงานในไทย โดยเฉพาะ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการส่งออก สังกัดกระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น ในส่วนนี้ สศช. มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องคือ การพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการการลงทุน
ภาครัฐที่ซึ่งโครงการเหล่านั้นจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการดำเนินการด้านธุรกิจ และการวิจัยและพัฒนาของธุรกิจากภาคการผลิตและภาคธุรกิจไทย
3.2 การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนภาคการผลิตในปัจจุบันได้มีความกว้างหน้าไปมาก ดังนั้น ควรมีการวิจัยและพัฒนาให้ครอบคลุมในทุกๆ สาขาให้สอดรับกับพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการบริหารการนิคมวิทยาศาสตร์ (Administrative Committee of the Zhongguancum Haidian Science Park) ได้ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้สถาบันการวิจัยของรัฐบาลได้ริเริ่มโครงการวิจัยเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะมีการดำเนินโครงการวิจัยมากขึ้นและต่อเนื่องเพื่อเป็นปัจจัยส่งเสริมภาคการผลิต ภาคธุรกิจ และความเจริญเติบโตในภาพรวมของประเทศต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-