(ต่อ2)รายงานการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและการดูงาน เรื่อง การขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์ ระหว่างวันที่ 13-18 พฤศจิกายน 2549 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 27, 2006 11:13 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          2) อุตสาหกรรมยานยนต์ 
การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้กฎระเบียบ ELV ขณะนี้บริษัทยานยนต์กำลังรวบรวมข้อมูล
และจัดทำการสำรวจ Benchmarking จากผู้ผลิตยานยนต์ในไต้หวันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนบริษัทรถยนต์ชั้นนำ
เช่น Ford/GM/VW/Benz/Toyota/Nissan/Honda มีรูปแบบการผลิตที่นำไปสู่ประเด็น การจำกัดการใช้วัสดุอันตราย เทคโนโลยีการฟื้นฟูวัสดุและนำ
กลับมาใช้ใหม่เทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน และการปล่อยมลพิษในระหว่างกระบวนการประกอบ
แผนที่แสดงเป้าหมายและเทคนิคที่ใช้ขับเคลื่อนภายใต้แนวโน้มการผลิตยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถอธิบายด้วยภาพได้ดังนี้
โดยแบ่งขั้นตอนการขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
ด้วยปัจจัยด้านเทคโนโลยีเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
1) ก่อนการผลิตจะต้องมีการออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ที่ประหยัดพลังงาน
2) การผลิตกำหนดห้ามใช้วัสดุอันตราย 5 ประเภทหลักภายใต้ ELV คือ ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท โครเมียมเฮกซะวา
เลนซ์ และ พลาสติกประเภท PVC
3) การใช้ต้องมีการควบคุมการปล่อยวัสดุอันตรายประเภท CO2, CO, NO2, PM10 และ เสียง
4) การเหลือซากต้องมีการนำวัสดุมารีไซเคิล/การนำเทคโนโลยีกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้มีขยะเหลือน้อยที่สุด
ในแต่ละขั้นตอนจะต้องผ่านกระบวนการทดสอบเพื่อนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมยานยนต์ของแต่ละยี่ห้อจะมีโครงสร้างพื้นฐานและกลยุทธ์ของตนเอง ตัวอย่างเช่น บริษัท FORD Lio-Ho
Motor จำกัด (ฟอร์ดโลก) ได้พัฒนากลยุทธ์แบบองค์รวมและการวางแผนกรอบแนวคิดเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผลในทางปฏิบัติดังนี้
1) จัดทำแผนที่รูปแบบเทคโนโลยี ยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green) ประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลเกี่ยว
คุณสมบัติสีเขียวระหว่างประเทศพร้อมข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedbacks) การออกแบบการผลิตที่เป็นสีเขียว การทดสอบ การฟื้นคืนผลิตภัณฑ์ที่ล้าสมัย
และการควบคุมการวางแผนจัดการ และจัดทำระบบควบคุมข้อมูลผลิตภัณฑ์
2) การบริหารจัดการเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
2.1) ระหว่างการวิจัยและพัฒนาการรวบรวมข้อมูลจะตั้งบนพื้นฐานของการประหยัดพลังงานและระเบียบ ELV
2.2) ระหว่างการออกแบบมีการดำเนินงานในด้านการกำหนดคุณสมบัติและเทคโนโลยีการผลิตเพื่อความต้อง
การที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การวางแผนอุปทานของวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่อุปทาน
2.3) การจัดซื้อมีการดำเนินงานในด้านอุปทานห่วงโซ่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการประเมินค่าผู้ขายที่เป็น
มิตรกับสิ่งแวดล้อม
2.4) การผลิต (รวมการควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบผลิตภัณฑ์) ประกอบด้วยการทดสอบผลิตภัณฑ์และ
คุณสมบัติที่น่าเชื่อถือ และเครื่องหมายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2.5) การฟื้นคืนสภาพของผลิตภัณฑ์หลังการตลาดประกอบด้วยกระบวนการวางแผนต่อไปนี้ การจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์และการแยกขยะ การจัดทำระบบการฟื้นคืนสภาพตามแนวทางของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น
3) การการเชื่อมเข้าสู่ระบบการจัดการที่มีอยู่ที่ฟอร์ดโลกประกอบด้วยการบูรณาการแนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้าสู่
ระบบควบคุมภายใน ได้แก่ ระบบเสียงของลูกค้า (Voice of Customer System: ระบบ VOC), ระบบควบคุมการออกแบบ ระบบควบคุมวัสดุและ
การจัดหาวัสดุ ระบบควบคุมคุณภาพและกระบวนการ ระบบควบคุมการขนส่ง และระบบควบคุมขยะ
นอกจากนี้ยังต้องมีหลักเกณฑ์และการประเมินความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดทำตัวชี้วัดมาตรฐานยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ
แผนที่นำทาง (Roadmap) ของยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย
3.3 สังคม/พฤติกรรม
ประเด็นสิ่งแวดล้อมสุดท้ายจะตกเป็นภาระของสังคม โดยสังคมต้องเป็นผู้รับผิดชอบขยะอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ คนจำนวนหลายๆ ล้าน
คนเป็นเจ้าของเครื่องรับโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และรถยนต์ ความเกี่ยวเนื่องกับปัจจัยทั้งด้านกฎระเบียบ/กฎหมาย และเทคโนโลยีดัง
กล่าวข้างต้นคือการลดภาระทางสังคม/ผู้บริโภค โดยทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่สังคม/ผู้บริโภคใช้ ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง โดยทางสังคมและผู้
บริโภคเข้าไปมีส่วนร่วมในแผนงานนำซากกลับคืน การใช้พลังงานอย่างประหยัด การบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างเหมาะสม การยอมจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อ
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการให้การสนับสนุนเพื่อนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ในขั้นตอนแรกที่จะนำไปสู่ความเต็มใจในการมุ่งสู่สิ่งที่
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็คือความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ซึ่งหลายคนไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรกับคอมพิวเตอร์เก่าและมื อถือเก่าและมีความ
รู้น้อยเกี่ยวกับวัสดุมีพิษในเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว อิเล็กทรอนิกส์และแนวโน้มของผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการสร้างความตระหนักดัง
กล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น อย่างไรก็ตาม ขอบเขตของปัญหาที่ประสบได้แก่
1) ความล้มเหลวในการขับเคลื่อนข้อมูลข่าวสารแก่สังคม: ถึงแม้สังคมจะได้รับข้อมูลที่ดีและเต็มใจที่จะรีไซเคิลขยะ
อิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่าจะไม่มีการส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่รับผิดชอบไปยังประเทศกำลังพัฒนาถ้ากฎหมายและการบังคับใช้ในการ
ปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนงานยังอ่อนแอหรือไม่มี
2) การขาดแคลนข้อมูลข่าวสาร: ถึงแม้จะมีตัวชี้วัดในด้านการมีส่วนร่วมของสาธารณะชนในโครงการรีไซเคิลขยะ
อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นตามที่วัดด้วยจำนวนที่เพิ่มขึ้นของการส่งคืนซากอิเล็กทรอนิกส์ในยุโรป แคนาดา และหลายรัฐในสหรัฐฯ แต่ก็มีการศึกษาจำนวนน้อย
ที่วัดความยินยอมที่แท้จริง
3) การชนะอุปสรรค: พฤติกรรมของมนุษย์สามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยการศึกษาและวัฒนธรรม ซึ่งสามารถประมวลด้วย
กฎหมาย แรงกดดันของชุมชนกระตุ้นผู้ใหญ่ให้สอนเด็กหลักพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับในสังคม
4) โครงการโดยสมัครใจ: การมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิผลในการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์และและกฎหมาย
บังคับใช้จะกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและความรับผิดชอบต่อสังคม ถ้าไม่มีกฎหมายและการบังคับให้รับคืนขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็อาจไม่มีแนวโน้มที่ความ
ตระหนักของสาธารณะจะมีมาก แต่การเกิดความสมัครใจในการรับคืนขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน โครงการที่จะกระตุ้นให้เกิดการผลิต
และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยสมัครใจนั้นไม่ใช่ของใหม่ ตัวอย่าง โครงการ LEED (Leadership in Energy and
Environmental Design) ที่ผ่านมาก็เป็นโครงการการพัฒนาการก่อสร้างที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงที่มีมาตรฐานระดับชาติบนพื้นฐานของเห็นพ้อง
ต้องกันโดยสมัครใจ โดยเน้นยุทธศาสตร์ที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์สำหรับการพัฒนาพื้นที่ที่ยั่งยืน การประหยัดน้ำ ประสิทธิภาพด้านพลังงาน การเลือกวัตถุ
ดิบและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กฎหมายและการบังคับใช้มีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สาธารณะชนที่
ได้รับข้อมูลพร้อมมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนการพัฒนากฎระเบียบที่ต้องการและการปฏิบัติตามกฎหมาย องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการศึกษาได้แก่ ข้อมูลข่าว
สารที่ใช้วิเคราะห์ปัญหา ประชาชนต้องรู้ขนาดของปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีความจำเป็นในการมีข้อมูลใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการวัดพฤติกรรมผู้
บริโภค โดยทุกส่วนของสังคมต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม และการมีข้อมูลพร้อมจะช่วยการรณรงค์การศึกษามีประสิทธิผล
4. การปิดช่องว่างของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมพลาสติก จำนวนพลาสติกที่เป็น
ขยะของเสียเกิดขึ้นในโลกจะมีจำนวนหลายล้านตันทุกๆปี จากการส่งคืนและการรีไซเคิลสินค้าคงทนถาวรจำพวกเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ อย่างไรก็ตาม จากความล่าช้าในการดำเนินการตาม WEEE ในหลายประเทศของกลุ่มสหภาพยุโรป จึงยังคงมีการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานการรีไซเคิล
4.1 ประเด็นสำคัญของอุตสาหกรรมพลาสติกในยุโรป
1) ด้านสิ่งแวดล้อม: การจัดการของเสีย ประสิทธิภาพพลังงาน วัตถุดิบที่ฟื้นฟูมาใช้ใหม่ได้ เช่น พลาสติกที่ย่อยสลายทาง
ชีวภาพ (ไบโอพลาสติก)
2) ด้านผู้บริโภค: นโยบายสารเคมี อาหารและน้ำดื่ม ความปลอดภัยทางด้านไฟไหม้ การประกาศวัตถุดิบ
3) ด้านการสื่อสาร: แผนงานการศึกษา หัวข้อพิเศษ เช่น website นิทรรศการ และการสัมมนา/ประชุม
4) ด้านเศรษฐกิจ: อมูลและตัวเลขของอุตสาหกรรม นวัตกรรม งานของ สมาคมต่างๆ
4.2 ชนิดของพลาสติก: มีหลากหลาย โดยทั่วไปมีประมาณ 12 ชนิด ได้แก่ PE (polyethylene), PP (polypropylene),
ABS (akrylonitryle-butadiene-styrene), PS (polystyrene), HIPS (high impact polystyrene), PC (polycarbonate),
PA (polyamide), PVC (polyvinyl chloride), PU (polyurethane), EP (epoxy), PET (polyethylene terephthalate),
PBT (polybutylene trephthalate), POM (polyacetal), PPE/HIPS or PPO (polyphenylene ether/high impact
polystyrene blend) แต่ที่มีบทบาทเด่น คือ ABS และ HIPS โดยพลาสติกแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและการใช้ที่แตกต่างกัน ดังตารางที่ 1
4.3 ความต้องการบริโภคพลาสติกในโลก ปี ค.ศ. 2005-2010: ปี ค.ศ. 2005 อยู่ที่ 230 ล้านตัน ส่วนในปี ค.ศ. 2010 คาด
ว่าจะเพิ่มเป็น 304 ล้านตัน โดยยุโรปบริโภคประมาณ 1 ใน 4 ของความต้องการทั้งหมด ความต้องการบริโภคพลาสติกในเอเชียและแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้น
จากร้อยละ 39 ในปี 2005 เป็นร้อยละ 43 ในปี 2010 ในขณะที่ความต้องการของกลุ่มอื่นๆ จะลดลงรายละเอียดดังตารางที่ 2
ตารางที่ 1: ชนิดและการใช้พลาสติกในเครื่องมือประเภทต่างๆ
เครื่องมือ ประเภทของพลาสติก
IT และการสื่อสารทางไกล PE, PC, PVC, PS, HIPS, ABS, PP, PA, PET,
PU, EP, PBT, POM
เครื่องใช้ในครัวเรือนขนาดใหญ่ PE, PP, PVC, HIPS, ABS, PC, PA
เครื่องใช้ผู้บริโภค PP, PC, PVC, PS, HIPS, PP, ABS, PA, PET
เครื่องใช้ในครัวเรือนขนาดเล็ก PE, PP, PVC, HIPS, ABS, PC, PA
อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ PC, PA, PET
เครื่องมือแพทย์ PVC, ABS, PA
ของเด็กเล่น HIPS, PS
สายเคเบิล PVC, PE
เครื่องมือไฟฟ้า PC, PA, PBT
ตารางที่ 2: อุปสงค์ของพลาสติกโลก ปี ค.ศ. 2005-2010
หน่วย: %
กลุ่มประเทศ ปี ค.ศ. 2005 ปี ค.ศ. 2010
ยุโรป 27 25
ตะวันออกกลางและแอฟริกา 6 5
อเมริกา 28 27
เอเชียแปซิฟิก 39 43
4.4 การใช้ประโยชน์จากพลาสติกในยุโรปตะวันตก: การบรรจุหีบห่อร้อยละ 37 การก่อสร้างร้อยละ 20 ยานยนต์ร้อยละ 7.5
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 7 และอื่นๆ อีกร้อยละ 28.5
4.5 กระบวนห่วงโซ่ของนวัตกรรม: การพัฒนาพลาสติกที่รีไซเคิลจากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องสร้างระบบ
ความร่วมมือภายในห่วงโซ่อุปทานเพื่อรวบรวมและดำเนินกระบวนการแยกพลาสติกที่เลิกใช้จากขยะอิเล็กทรอนิกส์และประยุกต์ใช้วัสดุที่รีไซเคิลแล้วเหล่า
นี้ในตลาดใหม่ ด้วยกระบวนการต่อไปนี้
1) สร้างความรู้ด้วยการลงทุนในวิทยาศาสตร์ (จากวิทยาศาสตร์ไปสู่เทคโนโลยี)
2) เปลี่ยนความรู้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (จากวิทยาศาสตร์ไปสู่นวัตกรรม)
3) สร้างมูลค่าและเงินด้วยผลิตภัณฑ์ในตลาด (จากวิทยาศาสตร์สู่ธุรกิจ)
ทั้งนี้โดยเน้นสองลักษณะ คือ การสร้างตลาดใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ และ/หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ด้วยการพัฒนาต่อไป
4.6 ระบบการจัดการขยะพลาสติก: ระบบการจัดการขยะพลาสติกนี้เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของนักรีไซเคิลพลาสติกจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ จุดมุ่งหมายหลักของการจัดการพลาสติกคือการทำให้เกิดความสมดุลระหว่างขยะพลาสติกที่มีอยู่กับอุปสงค์ตลาดขั้นสุดท้ายพร้อม
ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่สูงสุด การจัดการควรอยู่บนพื้นฐานของหลักการการรีไซเคิลพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์ที่ยั่งยืนและความจำเป็นในการบรรลุ
ความต้องการทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งรูปแบบการจัดการที่แตกต่างกันจะให้กำไรที่แตกต่างกัน ตัวอย่าง 3 รูปแบบของการจัดการ
ได้แก่ รูปแบบที่ 1 เป็นการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ แยกด้วยมือหรือเครื่องจักร แล้วคัดพลาสติกและองค์ประกอบต่างๆ ออกไปไว้แต่ละที่ต่างหาก
(แผนภาพที่ 2) รูปแบบที่ 2 เป็นการกำหนดคุณสมบัติ แล้วคัดขยะพลาสติกออกเป็นประเภทตามคุณสมบัติ (พลาสติกที่เป็น (เม็ดพลาสติกคุณภาพสูงจากรี
ไซเคิล), compatible (คุณภาพกลาง) และ mixed) ผ่านกระบวนคัดบดให้ป่นหรือเป็นเม็ด (แผนภาพที่ 3) และรูปแบบที่ 3 การผ่านกระบวน
การใหม่ ด้วยการออกแบบ ผสม และเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย
4.7 ประโยชน์ของการรีไซเคิลพลาสติก: การรีไซเคิลพลาสติกเป็นประโยชน์ทั้งต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ตารางที่ 3 แสดงการ
เปรียบเทียบของโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกที่บริสุทธิ์และโรงงานรีไซเคิลพลาสติกในด้านต่างๆ จะเห็นว่าโรงงานรีไซเคิลพลาสติกได้เปรียบกว่าหลาย
ด้าน ได้แก่ 1) มีขนาดเล็กกว่ามากและมีความยืดหยุ่นมากกว่า เพราะว่าสามารถฟื้นพลาสติกจำนวนมากกลับคืนมาด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ
เพียงเล็กน้อยเท่านั้น 2) ใช้พลังงาน วัตถุดิบ และน้ำน้อยกว่า 3) ปล่อยอากาศเสียน้อยกว่า
(ยังมีต่อ).../ตารางที่ 3..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ