สศช. ปรับการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 โดยเน้นให้มีลักษณะเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะยาว ชี้นำทุกภาคส่วนของสังคมไทยในการร่วมกันพัฒนาประเทศ โดย สศช. จะเป็นแกนกลางในการระดมความคิดเห็นของประชาชน เพื่อกำหนดบทบาทและการสนับสนุนของทุกภาคส่วนในการประชุมประจำปีของ สศช. ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน ศกนี้
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในระยะที่ผ่านมา สศช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะต้องทำต่อเนื่องไปก็คือ การเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว โดย สศช. จะเป็นแกนกลางในการระดมความคิดเห็นของประชาชน เพื่อทำความเข้าใจในบริบทของการเปลี่ยนแปลงของประเทศและของโลก และช่วยกันนำเสนอในการวิเคราะห์ปรัชญาในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำมากำหนดบทบาทและการสนับสนุนของทุกภาคส่วน
สำหรับกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนานั้น จะระดมสรรพกำลังของสังคมทุกส่วนมากำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน เกษตรกร แรงงาน องค์กรการศึกษา องค์กรศาสนา และองค์ต่างๆในสังคมไทย โดยร่วมกันคิดว่าองค์กรเหล่านี้จะมีบทบาทอย่างไรในการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการจัดสรรงบประมาณของรัฐ เพราะการจัดสรรงบประมาณของรัฐนั้นได้ถูกกำหนดไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว
“วันที่ 24 มิถุนายน 2548 ซึ่ง สศช. กำหนดจัดการประชุมประจำปีขึ้นนั้น เป็นวันที่เราจะเริ่มจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่แตกต่างจากแผนฯ 8 และแผนฯ 9 ที่เราเคยทำมา ตรงที่ยุทธศาสตร์นี้ไม่พูดถึงการจัดสรรงบประมาณ หรือแผนรายโครงการ แต่จะเป็นยุทธศาสตร์ที่พูดถึงเรื่องของทศวรรษของการเปลี่ยนแปลง จะพูดถึงปรัชญาของการพัฒนาประเทศ และบทบาทของภาคส่วนต่างๆในสังคมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นบทบาทใหม่ของ สศช.
สศช. จะใช้ยุทธศาสตร์นี้ชี้นำทุกภาคส่วนของสังคมไทยในการที่จะร่วมกันพัฒนาประเทศ เพราะกลไกในการพัฒนาประเทศนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ที่รัฐบาลแต่อย่างเดียว วันนี้บทบาทของภาคเอกชน บทบาทของเกษตรกร ของกลุ่มองค์กรต่างๆ จะเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืน สมดุลและมั่นคง” เลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในระยะที่ผ่านมา สศช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะต้องทำต่อเนื่องไปก็คือ การเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว โดย สศช. จะเป็นแกนกลางในการระดมความคิดเห็นของประชาชน เพื่อทำความเข้าใจในบริบทของการเปลี่ยนแปลงของประเทศและของโลก และช่วยกันนำเสนอในการวิเคราะห์ปรัชญาในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำมากำหนดบทบาทและการสนับสนุนของทุกภาคส่วน
สำหรับกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนานั้น จะระดมสรรพกำลังของสังคมทุกส่วนมากำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน เกษตรกร แรงงาน องค์กรการศึกษา องค์กรศาสนา และองค์ต่างๆในสังคมไทย โดยร่วมกันคิดว่าองค์กรเหล่านี้จะมีบทบาทอย่างไรในการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการจัดสรรงบประมาณของรัฐ เพราะการจัดสรรงบประมาณของรัฐนั้นได้ถูกกำหนดไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว
“วันที่ 24 มิถุนายน 2548 ซึ่ง สศช. กำหนดจัดการประชุมประจำปีขึ้นนั้น เป็นวันที่เราจะเริ่มจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่แตกต่างจากแผนฯ 8 และแผนฯ 9 ที่เราเคยทำมา ตรงที่ยุทธศาสตร์นี้ไม่พูดถึงการจัดสรรงบประมาณ หรือแผนรายโครงการ แต่จะเป็นยุทธศาสตร์ที่พูดถึงเรื่องของทศวรรษของการเปลี่ยนแปลง จะพูดถึงปรัชญาของการพัฒนาประเทศ และบทบาทของภาคส่วนต่างๆในสังคมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นบทบาทใหม่ของ สศช.
สศช. จะใช้ยุทธศาสตร์นี้ชี้นำทุกภาคส่วนของสังคมไทยในการที่จะร่วมกันพัฒนาประเทศ เพราะกลไกในการพัฒนาประเทศนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ที่รัฐบาลแต่อย่างเดียว วันนี้บทบาทของภาคเอกชน บทบาทของเกษตรกร ของกลุ่มองค์กรต่างๆ จะเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืน สมดุลและมั่นคง” เลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-