แท็ก
คณะรัฐมนตรี
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยผลการดำเนินงานศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนระยะแรกเป็นไปตามเป้าหมาย มีความก้าวหน้าและประชาชนพอใจมาก พร้อมเดินหน้าระยะสองต่อไป
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2548 เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน หรือ Fix It Center ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร เครื่องยนต์ และลดภาระในการซื้ออุปกรณ์เครื่องมือใหม่ก่อนเวลาอันควร รวมถึงการเพิ่มพูนทักษะความรู้และการจ้างงานให้แก่นักศึกษา พัฒนาทักษะแก่ช่างท้องถิ่น และสร้างแหล่งปฏิบัติงานจริง โดยการจัดให้ให้มีศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนที่มีนักศึกษาสายอาชีวศึกษาร่วมกับช่างท้องถิ่นเป็นช่างประจำศูนย์ ทำหน้าที่ในการให้ความรู้วิธีการใช้งาน การซ่อมบำรุงเครื่องยนต์และอุปกรณ์ในการดำรงชีวิตประจำวันของครัวเรือนได้ โดยมีระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 6 เดือน แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรก 15 สิงหาคม-15 ตุลาคม 2548 ดำเนินการใน 2,000 หมู่บ้าน กระจายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และช่วงหลัง 15 ตุลาคม 2548-15กุมภาพันธ์ 2549 จะดำเนินการเพิ่มอีก 18,000 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 20,000 หมู่บ้าน
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ สศช. ติดตามประเมินผลโครงการดังกล่าวในระยะที่ 1 เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการ และรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกระบวนการและวิธีการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีการ/กระบวนการประเมินผลโครงการในระยะที่ 2 ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สศช. ได้ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดำเนินงานโครงการระยะที่ 1 ในพื้นที่ 50 หมู่บ้านทั่วประเทศเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภายใต้กรอบการติดตามประเมินผล 4 ด้าน คือ ด้านความก้าวหน้า ด้านประสิทธิผล ด้านบริหารจัดการ และด้านผลกระทบเบื้องต้น โครงการนี้สามารถจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างฯ จำนวน 2,000 หมู่บ้านตามเป้าหมาย ผลการดำเนินโครงการมีความก้าวหน้า และประชาชนมีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก สามารถให้บริการซ่อมเครื่องมือและอุปกรณ์ จำนวน 91,334 รายการ รวมมูลค่า 3.1 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและยานพาหนะ มีประชาชนมาใช้บริการทั้งสิ้น 60,249 คน สามารถลดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้ถึง 43.67 ล้านบาท
นอกจากนั้น ยังช่วยการเสริมสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาอาชีวศึกษา จำนวน 32,825 คน ได้รับประสบการณ์จริงจากการฝึกปฏิบัติ เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกัน การตรวจรับอุปกรณ์ และการบริหารงาน ฯลฯ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเปิดธุรกิจของตนเองต่อไป ด้านประชาชนในชุมชนมีทัศนคติและความสัมพันธ์ที่ดีต่ออาจารย์และนักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษา รวมทั้งมีเครือข่ายกับวิทยาลัยอาชีวศึกษา แต่การมีส่วนร่วมของชุมชนยังค่อนข้างจำกัด
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า สศช. ยังได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินโครงการระยะที่ 2 มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจังหวัด/พื้นที่ควรมีบทบาทในการบริหารจัดการโครงการฯ มากขึ้น ด้วยการทบทวนการกำหนดจำนวนและพื้นที่ตั้งศูนย์ ระยะเวลา และความถี่ในการปฏิบัติงานในระดับหมู่บ้าน รวมทั้งการประสานและระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัด โดยเฉพาะผู้ว่าราชการ/รองผู้ว่าราชการจังหวัดให้มีบทบาทมากขึ้น ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยจัดให้มีกระบวนการสร้างความรู้แก่ประชาชนอย่างเป็นระบบ ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่เป้าหมายของศูนย์ ปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ “เพิ่มรายได้ให้แก่นักศึกษา” และควรมีใบผ่านงาน/ วุฒิบัตรให้นักศึกษา ดูแลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนในระดับหมู่บ้าน/ชุดช่างซ่อม ให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรม และปรับปรุงการรายงานผลให้ง่าย กระชับและไม่ถี่เกินไป และในระยะยาวควรจัดตั้งศูนย์ถาวรของชุมชนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ โดยให้ช่างชุมชน/ประชาชนในพื้นที่ที่สนใจเป็นผู้บริหารจัดการศูนย์ฯ ทำหน้าที่ให้ความรู้ และบริการซ่อมในเบื้องต้น รวมทั้งประสานกับวิทยาลัยเทคนิคให้นำหน่วยเคลื่อนที่มาบริการเป็นครั้งคราว โดยวิทยาลัยอาจจะกำหนดให้เป็นศูนย์ฝึกงานของนักศึกษาได้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2548 เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งโครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน หรือ Fix It Center ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร เครื่องยนต์ และลดภาระในการซื้ออุปกรณ์เครื่องมือใหม่ก่อนเวลาอันควร รวมถึงการเพิ่มพูนทักษะความรู้และการจ้างงานให้แก่นักศึกษา พัฒนาทักษะแก่ช่างท้องถิ่น และสร้างแหล่งปฏิบัติงานจริง โดยการจัดให้ให้มีศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนที่มีนักศึกษาสายอาชีวศึกษาร่วมกับช่างท้องถิ่นเป็นช่างประจำศูนย์ ทำหน้าที่ในการให้ความรู้วิธีการใช้งาน การซ่อมบำรุงเครื่องยนต์และอุปกรณ์ในการดำรงชีวิตประจำวันของครัวเรือนได้ โดยมีระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 6 เดือน แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรก 15 สิงหาคม-15 ตุลาคม 2548 ดำเนินการใน 2,000 หมู่บ้าน กระจายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และช่วงหลัง 15 ตุลาคม 2548-15กุมภาพันธ์ 2549 จะดำเนินการเพิ่มอีก 18,000 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 20,000 หมู่บ้าน
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ สศช. ติดตามประเมินผลโครงการดังกล่าวในระยะที่ 1 เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการ และรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกระบวนการและวิธีการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีการ/กระบวนการประเมินผลโครงการในระยะที่ 2 ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สศช. ได้ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการดำเนินงานโครงการระยะที่ 1 ในพื้นที่ 50 หมู่บ้านทั่วประเทศเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภายใต้กรอบการติดตามประเมินผล 4 ด้าน คือ ด้านความก้าวหน้า ด้านประสิทธิผล ด้านบริหารจัดการ และด้านผลกระทบเบื้องต้น โครงการนี้สามารถจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างฯ จำนวน 2,000 หมู่บ้านตามเป้าหมาย ผลการดำเนินโครงการมีความก้าวหน้า และประชาชนมีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก สามารถให้บริการซ่อมเครื่องมือและอุปกรณ์ จำนวน 91,334 รายการ รวมมูลค่า 3.1 พันล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและยานพาหนะ มีประชาชนมาใช้บริการทั้งสิ้น 60,249 คน สามารถลดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้ถึง 43.67 ล้านบาท
นอกจากนั้น ยังช่วยการเสริมสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาอาชีวศึกษา จำนวน 32,825 คน ได้รับประสบการณ์จริงจากการฝึกปฏิบัติ เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกัน การตรวจรับอุปกรณ์ และการบริหารงาน ฯลฯ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเปิดธุรกิจของตนเองต่อไป ด้านประชาชนในชุมชนมีทัศนคติและความสัมพันธ์ที่ดีต่ออาจารย์และนักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษา รวมทั้งมีเครือข่ายกับวิทยาลัยอาชีวศึกษา แต่การมีส่วนร่วมของชุมชนยังค่อนข้างจำกัด
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า สศช. ยังได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินโครงการระยะที่ 2 มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจังหวัด/พื้นที่ควรมีบทบาทในการบริหารจัดการโครงการฯ มากขึ้น ด้วยการทบทวนการกำหนดจำนวนและพื้นที่ตั้งศูนย์ ระยะเวลา และความถี่ในการปฏิบัติงานในระดับหมู่บ้าน รวมทั้งการประสานและระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัด โดยเฉพาะผู้ว่าราชการ/รองผู้ว่าราชการจังหวัดให้มีบทบาทมากขึ้น ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยจัดให้มีกระบวนการสร้างความรู้แก่ประชาชนอย่างเป็นระบบ ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่เป้าหมายของศูนย์ ปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ “เพิ่มรายได้ให้แก่นักศึกษา” และควรมีใบผ่านงาน/ วุฒิบัตรให้นักศึกษา ดูแลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนในระดับหมู่บ้าน/ชุดช่างซ่อม ให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรม และปรับปรุงการรายงานผลให้ง่าย กระชับและไม่ถี่เกินไป และในระยะยาวควรจัดตั้งศูนย์ถาวรของชุมชนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ โดยให้ช่างชุมชน/ประชาชนในพื้นที่ที่สนใจเป็นผู้บริหารจัดการศูนย์ฯ ทำหน้าที่ให้ความรู้ และบริการซ่อมในเบื้องต้น รวมทั้งประสานกับวิทยาลัยเทคนิคให้นำหน่วยเคลื่อนที่มาบริการเป็นครั้งคราว โดยวิทยาลัยอาจจะกำหนดให้เป็นศูนย์ฝึกงานของนักศึกษาได้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-