ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ไตรมาสที่ 3 ปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 3, 2009 14:37 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

GDP ไตรมาสที่ 3/2551 ชะลอลงเหลือร้อยละ 4.0

เศรษฐกิจไตรมาสที่ 3/2551 ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากร้อยละ 5.3 ในไตรมาสที่ 2 จากการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอลงเล็กน้อย โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนค่อนข้างทรงตัว ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากการบริโภคสินค้ากึ่งคงทน เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือนขนาดเล็ก และสินค้าคงทนประเภท รถยนต์ รถมอเตอร์ไชค์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลงร้อยละ 2.9 ขณะที่การลงทุนชะลอลงเหลือร้อยละ 0.6 ส่วนการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิ ชะลอลงอย่างมากเหลือเพียงร้อยละ 0.3 เทียบกับร้อยละ 18.3 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าและบริการชะลอลง ในขณะที่การนำเข้าสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น

GDP ใน 9 เดือนแรกของปี ขยายตัวร้อยละ 5.1

ภาวะการผลิตโดยรวมชะลอลงเหลือร้อยละ 4.0 โดยภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.5 ชะลอลงจากร้อยละ 5.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีการก่อสร้าง การบริการจากภาครัฐลดลง การผลิตอื่น ๆ ชะลอตัวได้แก่ อุตสาหกรรม การไฟฟ้า ประปาและก๊าซ การค้า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงแรมภัตตาคาร และการขนส่งที่ชะลอลงมากจากบรรยากาศการท่องเที่ยวที่ซบเซา ในขณะที่การบริการทางการเงินยังขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนภาคเกษตรยังขยายตัวร้อยละ 9.9 เทียบกับร้อยละ 8.6 ในไตรมาสที่ 2 เป็นการขยายตัวในหมวดพืชผลและปศุสัตว์ ขณะที่ประมงยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง GDP ที่ปรับค่าฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 0.6 ชะลอลงจากร้อยละ 0.8 ในไตรมาสที่แล้ว

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)                                                 (ร้อยละ)

----------- 2550 ----------- --------2551---------

2550

                         Q1        Q2      Q3      Q4       Q1       Q2        Q3
ภาคเกษตร        1.8      1.1       3.7    -0.2     2.3      3.1      8.6       9.9
ภาคนอกเกษตร     5.2      4.7       4.5     5.5     6.2      6.2      5.0       3.5
GDP             4.9      4.4       4.4     5.1     5.7      6.0      5.3       4.0
GDP ปรับฤดูกาล    4.9      1.0       1.3     1.8     1.5      1.2      0.8       0.6

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาประจำปีมีมูลค่า 2,319.9 พันล้านบาท เมื่อหักค่าตอบแทนจากปัจจัยการผลิตสุทธิจ่ายไปต่างประเทศ 127.8 พันล้านบาท คงเหลือเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(Gross National Product: GNP) เท่ากับ 2,192.1 พันล้านบาท ส่วนมูลค่า ณ ราคาปีฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4

ดุลการค้าและบริการ ณ ราคาประจำปีเกินดุล 3.5 พันล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตและเงินโอนสุทธิจากต่างประเทศ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 83.2 พันล้านบาท

ระดับราคา โดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 สูงกว่าร้อยละ 5.9 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต และดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 และ 7.3 เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 และ 7.5 ตามลำดับ

ด้านการผลิต

"...การผลิตขยายตัวร้อยละ 4.0 ภาคเกษตรขยายตัวต่อเนื่อง แต่ภาคนอกเกษตรเริ่มชะลอตัว..."

การผลิตขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากร้อยละ 5.3ในไตรมาสที่แล้ว โดยภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 9.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.6 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.5 ชะลอลงจากร้อยละ 5.0 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการผลิตภาคอุตสาหกรรม และบริการที่สำคัญเช่น โรงแรมและภัตตาคาร การขนส่งสินค้า และภาคการค้าชะลอตัวลง เนื่องจากปัจจัยการเมืองภายในประเทศและผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกเริ่มส่งผลกระทบในช่วงปลายไตรมาส

สาขาเกษตร การผลิตขยายตัวร้อยละ 9.9 สูงขึ้นจากร้อยละ 8.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากหมวดพืชผลและหมวดปศุสัตว์ที่ขยายตัวร้อยละ 16.4 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ ในขณะที่หมวดประมง หดตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสนี้

"...พืชผล และปศุสัตว์ขยายตัวประมงหดตัวต่อเนื่อง..."

การผลิตขยายตัวร้อยละ 9.9 สูงขึ้นจากร้อยละ 8.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากหมวดพืชผลและหมวดปศุสัตว์ที่ขยายตัวร้อยละ 16.4 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ ในขณะที่หมวดประมง หดตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสนี้

  • หมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 16.4 เพิ่มสูงต่อเนื่องจากร้อยละ 15.1 ในไตรมาสที่แล้ว โดยปริมาณผลผลิตพืชสำคัญ คือข้าวและพืชพลังงาน เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ขยายตัวสูงจากปัจจัยราคาที่สูงขึ้นในช่วงต้นปี เป็นแรงจูงใจในการผลิต
  • หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 1.4 สูงขึ้นจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากปริมาณไก่ที่สูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณการผลิตสุกรลดลง
  • หมวดประมง หดตัวร้อยละ 1.4 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง เนื่องจากผลผลิตปลาลดลงในขณะที่การผลิตกุ้งเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ
  • ระดับราคาสินค้าเกษตร ขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 15.8 สูงขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 13.0 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาของหมวดพืชผล ได้แก่ ข้าวโพด ยางพารา ผักและผลไม้ เป็นต้น ในขณะที่ราคาสินค้าหมวดปศุสัตว์ชะลอตัว
"...อุตสาหกรรมเบาขยายตัวต่อเนื่อง อุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยีเริ่มชะลอตัว ในขณะที่อุตสาหกรรมวัตถุดิบหดตัวลง..."

สาขาอุตสาหกรรม

การผลิตขยายตัวร้อยละ 6.1 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยที่ขยายตัวร้อยละ 7.7 เป็นผลจากอุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยีชะลอตัว ตามภาวะการส่งออกที่เริ่มชะลอลง และอุตสาหกรรมวัตถุดิบที่หดตัวลง โดยเฉพาะในกลุ่มของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง แต่อุตสาหกรรมเบาขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารส่งออกขยายตัวดี

อัตราการขยายตัวสาขาอุตสาหกรรม                                                   (ร้อยละ)

--------2550---------- -----2551------

2550

                                      Q1    Q2     Q3     Q4       Q1    Q2    Q3
อุตสาหกรรมเบา                  4.5    8.4   6.5    1.7    1.0      0.7   0.3   2.6
อุตสาหกรรมวัตถุดิบ                1.3    0.0   0.2    1.4    3.7      5.9   3.3  -0.8
อุตสาหกรรมสินค้าทุน และเทคโนโลยี  11.2    5.7   7.0   13.2   17.9     20.9  16.8  12.1
อุตสาหกรรมรวม                  6.2    5.2   4.8    6.1    8.5      9.5   7.7   6.1

อุตสาหกรรมเบา ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่แล้ว อุตสาหกรรมสำคัญประกอบด้วย

  • อาหารและเครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 8.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ขยายตัวทั้งหมวดอาหารและเครื่องดื่ม โดยอุตสาหกรรมโรงสีข้าวขยายตัวสูงขึ้นตามผลผลิตข้าวเปลือกที่ออกสู่ตลาดมากและอุตสาหกรรมสุรามีการผลิตสูงขึ้นเพื่อสะสมสินค้าคงคลังก่อนปรับภาษีสรรพสามิต
  • เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากที่หดตัวลงในไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากความต้องการของตลาดในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น
  • เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากเดิมที่หดตัวในไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับและเพชรพลอยขยายตัวสูงขึ้น

อุตสาหกรรมวัตถุดิบ หดตัวร้อยละ 0.8 จากที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อน อุตสาหกรรมสำคัญประกอบด้วย

  • โรงกลั่นน้ำมัน หดตัวลงร้อยละ 2.8 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ความต้องการใช้ลดลงมากและในไตรมาสนี้มีบางโรงกลั่นปิดซ่อมบำรุง
  • อโลหะ หดตัวร้อยละ 3.0 เป็นผลจากการผลิตปูนซิเมนต์ลดลงตามภาวะการก่อสร้างที่ลดลง

อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี ขยายตัวร้อยละ 12.1 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 16.8 เนื่องจากความต้องการสินค้าที่สำคัญ ๆ ในกลุ่มเริ่มชะลอตัวลงทั้งการส่งออกและตลาดภายในประเทศ

  • ยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 11.4 ชะลอลงจากร้อยละ 23.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลชะลอตัวลงเป็นผลจากภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการพาณิชย์หดตัวลง
  • ยานยนต์อื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 16.5 เป็นผลจากการผลิตมอเตอร์ไซค์ที่ขยายตัวตามความต้องการในประเทศสูงขึ้น
  • เครื่องจักรสำนักงานฯ ขยายตัวร้อยละ 24.9 ชะลอจากร้อยละ 37.0 ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการผลิต Hard Disk Drive เริ่มชะลอลงในขณะที่การผลิตชิ้นส่วนอื่นๆ หดตัวลง
  • เครื่องจักรและอุปกรณ์ ขยายตัวร้อยละ 16.8 ชะลอจากร้อยละ 17.9 ในไตรมาสที่แล้ว ตามการผลิตเครื่องปรับอากาศ พัดลม และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องใช้ในบ้าน

สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซ

"...การใช้ไฟฟ้าขยายตัวในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัย กิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง ยกเว้นกิจการขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะอย่าง และอื่น ๆ ที่หดตัว..."

ขยายตัวร้อยละ 2.6 ชะลอลงจากร้อยละ 5.8 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากหมวดไฟฟ้า ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 85.7 ของสาขาขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอลงจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสก่อนตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าโดยรวมที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อน โดยผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดใหญ่ และกิจการเฉพาะอย่าง ชะลอลงเหลือร้อยละ 1.7 และ 4.8 ตามลำดับ ในขณะที่ประเภทที่อยู่อาศัย กิจการขนาดกลาง และขนาดเล็กปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ส่วนหมวดประปา ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 0.8 สำหรับโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ตามปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติ

อัตราการขยายตัวของปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าจำแนกตามประเภทผู้ใช้                                         (ร้อยละ)
                         ------------2550----------         --------2551-------

2550

                          Q1      Q2     Q3      Q4         Q1       Q2     Q3
ที่อยู่อาศัย          4.1     3.0     6.1     5.6     1.2        6.0     1.2     3.0
สัดส่วน           21.6    20.8    22.8    21.7    20.9       20.8    22.5    21.7
กิจการขนาดเล็ก     6.2     4.0     6.9     6.0     7.7        7.4     2.7     4.7
สัดส่วน           10.3    10.0    10.5    10.2    10.5       10.1    10.5    10.4
กิจการขนาดกลาง    1.9     3.7     4.3     0.1    -0.4        1.6    -0.5     3.6
สัดส่วน           17.5    18.0    17.6    17.1    17.2       17.3    17.0    17.3
กิจการขนาดใหญ่     4.9     4.5     3.5     5.0     6.6        7.0     4.9     1.7
สัดส่วน           42.0    42.4    40.5    42.1    42.8       43.0    41.4    41.8
กิจการเฉพาะอย่าง   5.9     4.4     6.6     7.1     5.2        9.2     6.0     4.8
สัดส่วน            3.1     3.2     3.1     3.1     3.1        3.3     3.2     3.1
ส่วนราชการ        6.2     4.6     9.1     8.8     1.9        6.9     2.3     3.1
สัดส่วน            3.3     3.1     3.2     3.5     3.2        3.1     3.2     3.6
อื่นๆ             -2.9    -7.2    -7.8     2.5     1.7       -0.5    -3.0    -8.4
สัดส่วน            2.3     2.6     2.2     2.3     2.3        2.4     2.1     2.1
รวม              4.2     3.6     4.5     4.5     4.0        5.8     2.7     2.5

ที่มา : การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน

"...การผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบขยายตัวสูงขึ้น..."

ขยายตัวร้อยละ 5.4 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากปริมาณการผลิตลิกไนต์ ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 12.2 หิน กรวด ทราย ลดลงร้อยละ 3.5 จากที่ขยายตัวร้อยละ 7.7 แร่อื่น ๆ ลดลงร้อยละ 8.8 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 11.9 ประกอบด้วยหินปูนที่ใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์ หินอ่อน ยิปซั่ม ปริมาณการผลิตลดลง ในขณะที่เฟลด์สปาร์ และแบไรต์ ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับก๊าซธรรมชาติ ก๊าชธรรมชาติเหลวและน้ำมันดิบ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 68.8 ของสาขาขยายตัวร้อยละ 11.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.9 ในไตรมาสที่แล้ว โดยน้ำมันดิบ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 จากร้อยละ 2.9 เนื่องจากแหล่งเบญจมาศ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีกำลังการผลิตสูงสุด เพิ่มกำลังการผลิตจากร้อยละ 7.3 เป็นร้อยละ 17.9 ในไตรมาสนี้ ก๊าซธรรมชาติ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 จากร้อยละ 10.5 ก๊าซธรรมชาติเหลว ขยายตัวร้อยละ 11.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 17.2 ในไตรมาสที่แล้ว

สาขาก่อสร้าง

"...การก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 4.5..."

ลดลงร้อยละ 4.5 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วที่ลดลงร้อยละ 3.4 โดยมูลค่าเพิ่มการก่อสร้างภาคเอกชนลดลงร้อยละ 4.9 โดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารโรงงานที่ลดลงร้อยละ 14.4 ในขณะที่อาคารเพื่อที่อยู่อาศัยและอาคารเพื่อการพาณิชย์ชะลอลงร้อยละ 3.1 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ เนื่องจากปัญหาราคาวัสดุก่อสร้างโดยรวมที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง โดยเฉพาะราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 61.5 และ ร้อยละ 61.7 ตามลำดับ ประกอบกับราคาปูนซีเมนต์ ราคาไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลให้ผู้ประกอบชะลอการก่อสร้างโครงการใหม่ ส่วนมูลค่าเพิ่มการก่อสร้างของภาครัฐลดลงร้อยละ 7.3 เนื่องจากรัฐบาลกลาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบประมาณการก่อสร้างลดลง

สาขาคมนาคมและขนส่ง

"...โทรคมนาคมชะลอลงเล็กน้อยแต่บริการขนส่งหดตัว..."

ขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอลงจากร้อยละ 3.6 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากการบริการโทรคมนาคมที่ชะลอลงเล็กน้อยร้อยละ 6.2 จากร้อยละ 6.5 ตามผลประกอบการด้านการสื่อสารที่ชะลอลง ในขณะที่การบริการขนส่งหดตัวลงร้อยละ 1.2 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลจากการบริการขนส่งทางอากาศที่หดตัวลงร้อยละ 5.3 จากที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงเนื่องจากมีการปิดสนามบินบางแห่ง ประกอบกับราคาค่าโดยสารสูงขึ้นทำให้จำนวนผู้โดยสารลดลง

อัตราการขยายตัวรายการสำคัญของการขนส่ง                                                   (ร้อยละ)

------------2550---------- --------2551-------

2550

                          Q1     Q2     Q3     Q4       Q1      Q2      Q3
การขนส่ง           7.3    9.4    6.4    6.4    7.1      2.8     1.9    -1.2
การขนส่งทางบก      1.3    5.6    0.9   -0.0   -1.3     -1.0     0.7     6.4
การขนส่งทางอากาศ  13.6   14.9   10.2   13.6   15.1      6.0     3.8    -5.3
การขนส่งทางน้ำ      8.2    8.2    9.3    7.5    7.8      4.6     1.4    -4.8

สาขาค้าส่งค้าปลีกและการซ่อมแซม

"...การค้าสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัว..."

ขยายตัวร้อยละ 3.1 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 เป็นผลจากภาคการค้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ตามภาวะการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เริ่มชะลอตัว ในขณะที่การผลิตสินค้าเกษตรยังคงขยายตัวเนื่องจากผลผลิตภาคเกษตรออกสู่ตลาด ส่วนการซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 7.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากการซ่อมแซมยานยนต์ บริการล้าง อัดฉีด และการซ่อมแซมของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 และ 4.3 ตามลำดับ

สาขาโรงแรมและภัตตาคาร

"...โรงแรมและภัตตาคารชะลอตัวเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง..."

ขยายตัวร้อยละ 0.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อน โดยบริการภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ1.4 ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน ส่วนบริการโรงแรม ลดลงร้อยละ 2.2 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่ลดลงร้อยละ 1.7 จากที่ขยายตัวร้อยละ 13.8 ในไตรมาสก่อน โดยสาเหตุสำคัญมาจากความไม่สงบทางการเมือง ประกอบกับมีการปิดสนามบินภายในประเทศ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ สำหรับอัตราการเข้าพักปรับลดลงจากร้อยละ 54.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นร้อยละ 53.7 ในไตรมาสนี้

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ จำแนกตามถิ่นที่อยู่                                                   (พันคน)
                          ------------2550----------          --------2551-------

2550

                         Q1       Q2       Q3       Q4       Q1       Q2        Q3
เอเชีย          7,611   1,854    1,752    1,930    2,075    2,111    2,050    1,861
ยุโรป           3,906   1,279      676      756    1,195    1,479      738      747
อเมริกา           921     253      202      195      271      279      219      222
อื่นๆ            2,026     445      493      570      518      458      546      561
รวม           14,464   3,831    3,123    3,451    4,059    4,327    3,553    3,391
อัตราเพิ่มร้อยละ     4.6     5.8      0.4      2.7      8.8     12.9     13.8     -1.7
ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

สาขาตัวกลางทางการเงิน

"...ธนาคารพาณิชย์ขยายตัวจากสินเชื่อและค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น..."

ขยายตัวร้อยละ 9.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.8 ในไตรมาสก่อน โดยกิจการธนาคารพาณิชย์ยังคงมีการขยายตัวจากการให้สินเชื่อภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการขยายตัวดีประกอบกับไตรมาสนี้การประกันภัยขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

สาขาการบริการอื่น ๆ

"...บริการอื่นๆ ลดลง..."

หดตัวร้อยละ 1.3 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว โดยการบริหารราชการแผ่นดินฯ ลดลงร้อยละ 2.9 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 ในไตรมาสที่แล้ว สาขาการศึกษา ลดลงร้อยละ 3.3 จากที่ลดลงร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการศึกษาภาครัฐบาล ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 90.0 ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 4.4 ในขณะที่ภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.9 ส่วนสาขาบริการชุมชนฯ ขยายตัวร้อยละ 0.7 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 โดยสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดของสาขา ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากร้อยละ 3.7 บริการด้านกีฬา ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากที่ลดลงร้อยละ 6.7 ในขณะที่บริการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 0.3 จากที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในไตรมาสที่แล้ว บริการอื่น ๆ ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 5.7

ด้านการใช้จ่าย

การใช้จ่ายของครัวเรือน

"...การใช้จ่ายของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.6 จากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวสูงและการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล..."
  • การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับร้อยละ 2.5 ในไตรมาสที่แล้ว เมื่อปรับค่าการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล การใช้จ่ายขยายตัวจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 1.1
  • แม้ว่าประชาชนยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและปัญหาทางการเมือง รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง แต่ยังมีปัจจัยที่สนับสนุนการใช้จ่ายที่สำคัญ ๆ เช่น รายได้เกษตรกรที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณและราคาสินค้าเกษตร อัตราการว่างงานในระดับต่ำ รวมทั้งการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการ “ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มกำลังซื้อของประชาชน ส่งผลให้การใช้จ่ายของครัวเรือนในไตรมาสนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคงทน ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรถจักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนหนึ่งเป็นการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
การให้บริการบัตรเครดิตและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค                                                   (พันล้านบาท)
                                    ------------2550----------          --------2551-------

2550

                                   Q1       Q2       Q3       Q4       Q1       Q2        Q3
การใช้จ่ายในประเทศ           606    149      142       147     168      173      163       168
การใช้จ่ายในต่างประเทศ         31      6        8         8       8        8       10         9
เบิกเงินสดล่วงหน้า             204     53       49        48      54       56       50        50
การใช้จ่ายรวม                840    209      199       203     230      237      222       227
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)           11.8   13.9     11.2      10.4    11.8     13.5     11.4      11.9
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม  77.1   79.1     77.1      75.8    76.3     79.4     78.9      77.8
อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)           -6.5   -7.3     -5.0      -5.7    -8.0      0.4      2.3       2.6
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนที่ไม่รวมคนไทยในต่างประเทศและคนต่างประเทศในประเทศไทย ขยายตัวร้อยละ 3.0
อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนในประเทศ (ร้อยละ)
                                                 ------------2550----------          --------2551-------

2550

                                                Q1      Q2       Q3       Q4       Q1       Q2        Q3
การใช้จ่ายของครัวเรือนในประเทศ             2.6     2.8     2.2      2.9      2.7      4.2       3.3      2.1
หัก : การใช้จ่ายของชาวต่างประเทศในประเทศ  11.1    14.8     7.9     12.0      9.2     14.1       9.8     -5.4
การใช้จ่ายของครัวเรือนไม่รวมนักท่องเที่ยว       1.7     1.3     1.6      1.9      1.9      2.8       2.7      3.0
บวก : การใช้จ่ายของคนไทยในต่างประเทศ     -0.3     8.2   -12.3      3.0      1.5     -1.6      -4.7     -6.6
การใช้จ่ายของครัวเรือนไทยทั้งหมด             1.6     1.4     1.2      1.9      1.9      2.7       2.5      2.6

รายจ่ายครัวเรือนจำแนกตามหมวด

หมวดสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมง ขยายตัวร้อยละ 1.0 โดยการบริโภคผักและผลไม้ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.8 ในขณะที่สัตว์น้ำลดลงร้อยละ 3.1 สอดคล้องกับปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด

หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ และเครื่องนุ่งห่ม ลดลงร้อยละ 0.5 เป็นผลมาจากการบริโภคเนื้อสัตว์และสินค้าเกษตรแปรรูปลดลงร้อยละ 4.7 เครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.7 ส่วนการอุปโภคเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและสิ่งทออื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 1.1

หมวดไฟฟ้าและประปา ขยายตัวร้อยละ 3.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.9 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 3.0 และค่าน้ำประปาขยายตัวร้อยละ 3.4 ซึ่งได้รวมรายจ่ายส่วนที่รัฐบาลช่วยเหลือตามมาตรการลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำประปาและไฟฟ้าของครัวเรือนแล้ว

หมวดยานพาหนะ ขยายตัวร้อยละ 11.1 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 16.1 ในไตรมาสที่แล้ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวในระดับสูง ประกอบกับในไตรมาสนี้ผู้ประกอบการไม่มีมาตรการใหม่ ๆ ในการส่งเสริมการขายเพื่อจูงใจผู้บริโภค โดยปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวเพียงร้อยละ 22.5 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถปิคอัพ) ลดลงร้อยละ 25.9 อย่างไรก็ตามยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น

ปริมาณการจำหน่ายยานยนต์
                                     ------------2550----------               --------2551-------

2550

                                   Q1        Q2        Q3       Q4          Q1        Q2        Q3
รถยนต์นั่ง (คัน)         169,559    37,522    45,567    45,633    40,837      52,471    56,967    55,923
อัตราเพิ่มร้อยละ           -11.4     -16.2      -7.7       2.1     -22.4        39.8      25.0      22.5
รถยนต์พาณิชย์ (คัน)      461,692   100,748   108,677   113,178   139,089     108,315   102,531    83,860
อัตราเพิ่มร้อยละ            -5.9     -19.4      -5.8       3.8      -1.4         7.5      -5.7     -25.9
รถจักรยานยนต์ (พันคัน)     1,558       393       397       366       402         409       461       452
อัตราเพิ่มร้อยละ           -18.9     -23.3     -20.9     -23.3      -6.3         4.0      16.2      23.4
ที่มา : สถาบันยานยนต์ และธนาคารแห่งประเทศไทย

หมวดโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 1.0 เทียบกับร้อยละ 6.4 ในไตรมาสที่แล้ว โดยบริการโรงแรมลดลงร้อยละ 1.9 เนื่องจากปัญหาความไม่สงบทางการเมืองส่งผลให้มีการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 2-14 กันยายน 2551 โดยการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศลดลง ส่วนบริการภัตตาคารไตรมาสนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3

หมวดขนส่งและสื่อสาร ชะลอตัวเหลือร้อยละ 3.7 โดยบริการขนส่งชะลอตัวร้อยละ 0.7 เนื่องมาจากการปรับขึ้นค่าโดยสารสาธารณะทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ แม้ว่ารัฐบาลได้ช่วยเหลือตามมาตรการลดค่าใช้จ่ายการเดินทางโดยรถประจำทางและรถไฟแล้วก็ตาม เนื่องจากภาวะการท่องเที่ยวที่ซบเซามาก ส่วนบริการไปรษณีย์และสื่อสารโทรคมนาคมขยายตัวร้อยละ 7.6 โดยจำนวนเลขหมายจดทะเบียนโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 ส่วนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 1.4

จำนวนหมายเลขจดทะเบียนโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่
                                     ------------2550----------              --------2551-------

(ณ วันสิ้นงวด) 2550

                                     Q1        Q2      Q3       Q4          Q1        Q2        Q3
โทรศัพท์พื้นฐาน (พันเลขหมาย)    6,709   6,719    6,696    6,732    6,709      6,722     6,723     6,638
จำนวนประชากร / เลขหมาย       9.8     9.8      9.8      9.8      9.8        9.8       9.8      10.0
โทรศัพท์เคลื่อนที่ (พันเลขหมาย)  53,086  43,475   47,229   50,367   53,086     55,383    57,590    59,887
   ระบบ Prepaid           47,487  37,426   41,161   44,556   47,487     49,675    51,750    53,671
   ระบบ Postpaid           5,599   6,049    6,069    5,811    5,599      5,708     5,840     6,216
โทรศัพท์เคลื่อนที่ (ร้อยละ)         100     100      100      100      100        100       100       100
   ระบบ Prepaid             89.5    86.1     87.2     88.5     89.5       89.7      89.9      89.6
   ระบบ Postpaid            10.5    13.9     12.8     11.5     10.5       10.3      10.1      10.4
จำนวนประชากร / เลขหมาย       1.2     1.5      1.4      1.3      1.2        1.2       1.1       1.1

ที่มา : บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

เมื่อพิจารณารายจ่ายของครัวเรือนจำแนกตามลักษณะความคงทนพบว่า รายจ่ายซื้ออาหารลดลงร้อยละ 0.3 ส่วนรายจ่ายซื้อสินค้าและบริการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารขยายตัวร้อยละ 3.4 จำแนกเป็นสินค้าไม่คงทน (ไม่รวมอาหาร) เช่น เครื่องดื่ม ไฟฟ้าและน้ำประปา ยารักษาโรค และของใช้ในครัวเรือน ลดลงร้อยละ 0.7 รายจ่ายซื้อสินค้ากึ่งคงทนประกอบด้วย เสื้อผ้า รองเท้า ภาชนะ และสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.4 ส่วนสินค้าคงทน เช่น ยานยนต์ เครื่องเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ คอมพิวเตอร์ วิทยุและโทรทัศน์ ขยายตัวร้อยละ9.4 สำหรับรายจ่ายด้านบริการประกอบด้วย โรงแรมและภัตตาคาร บริการบันเทิงและนันทนาการ การศึกษาการรักษาพยาบาล และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวสุทธิ ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 5.2

อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน

จำแนกตามลักษณะความคงทน                                                             (ร้อยละ)
                                     ------------2550----------              --------2551-------

(ณ วันสิ้นงวด) 2550

                                     Q1        Q2      Q3       Q4          Q1        Q2        Q3
การใช้จ่ายของครัวเรือน          1.6     1.4       1.2     1.9      1.9         2.7       2.5       2.6
อาหาร                       3.7     4.0       3.4     4.4      2.7         2.6       0.8      -0.3
อื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร             1.1     0.7       0.6     1.3      1.7         2.7       2.9       3.4
สินค้าไม่คงทน                  3.6     6.3       3.1     3.3      1.9         2.4       1.2      -0.7
สินค้ากึ่งคงทน                  1.3     0.7       0.3     0.9      3.0         3.7       3.3       3.4
สินค้าคงทน                   -4.2    -6.4      -6.5     1.4     -5.2        10.0      11.4       9.4
บริการ                       0.6    -2.4       1.3    -0.6      3.5        -0.7       1.0       5.2

รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล

  • การเบิกจ่ายทั้งปีงบประมาณ 2551 เป็นจำนวน 1,532,479 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.3 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย สำหรับการเบิกจ่ายในไตรมาสนี้ลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.8 แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 348,940 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 49,482 ล้านบาท
  • รายจ่ายเพื่อการอุปโภคทั้งหมดของรัฐบาลในราคาประจำปี มูลค่า 300,992 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.4 โดยแบ่งได้เป็นค่าตอบแทนแรงงาน 198,464 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิ จำนวน 102,528 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.5
  • สำหรับมูลค่าที่แท้จริงของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลง ร้อยละ 2.9 เป็นผลมาจากค่าตอบแทนแรงงานลดลงร้อยละ 4.5 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิลดลงร้อยละ 1.1
การเบิกจ่ายงบประมาณ                                                             (พันล้านบาท)
                                  ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ                  ก.ค. — ก.ย.
          หมวดรายจ่าย            2550     2551     %           2550     2551      %
รวมรายจ่ายประจำ+ลงทุน          1,470.8  1,532.5    4.2         405.6    398.4    -1.8
อัตราการเบิกจ่ายต่องบประมาณ (%)     93.9     92.3                 25.9     24.0
ที่มา : ประมวลจากข้อมูล GFMIS

การสะสมทุนถาวรเบื้องต้นหรือการลงทุน

"...การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 0.6 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 เป็นผลมาจากการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอลง และการลงทุนภาครัฐที่ลดลงมาก..."
  • การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.5 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการลงทุนทางด้านการก่อสร้างที่ลดลงร้อยละ 1.9 โดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารโรงงานที่ลดลงร้อยละ 14.4 ในขณะที่อาคารเพื่อที่อยู่อาศัยและอาคารเพื่อการพาณิชย์ชะลอลงเหลือร้อยละ 3.1 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ ส่วนเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วโดยเฉพาะการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
  • การลงทุนภาครัฐ ลดลงร้อยละ 5.5 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.2 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการลงทุนทางด้านการก่อสร้างของภาครัฐที่ลดลงร้อยละ 7.3 เนื่องจากรัฐบาลกลาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบประมาณการก่อสร้างลดลง ประกอบกับการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือลดลงร้อยละ 1.6 เนื่องจากภาครัฐวิสาหกิจยังชะลอการลงทุนขนาดใหญ่
อัตราการขยายตัวของการลงทุน (ร้อยละ)
                                     ------------2550----------              --------2551-------

2550

                                     Q1        Q2      Q3       Q4          Q1        Q2        Q3
ก่อสร้าง                      1.5     0.1       1.3     0.7      4.4         1.4       -3.3     -4.9
  ภาคเอกชน                 -2.7    -0.9      -1.5     0.2     -9.1         0.4        1.3     -1.9
  ภาครัฐ                     6.0     1.2       4.2     1.1     22.2         2.6       -8.0     -7.3
เครื่องจักร                    1.1    -2.0      -0.4     3.8      3.5         7.4        4.6      4.2
  ภาคเอกชน                  1.6    -2.8      -0.3     1.8      7.5         8.3        5.2      5.4
  ภาครัฐ                    -1.6     4.0      -1.4    15.1    -22.2         0.6        0.3     -1.6
มูลค่าการลงทุนรวม              1.3    -1.4       0.1     2.5      3.8         5.4        1.9      0.6
  ภาคเอกชน                  0.6    -2.4      -0.5     1.4      3.8         6.5        4.3      3.5
  ภาครัฐ                     3.4     2.1       2.2     5.1      3.6         1.9       -5.2     -5.5

การก่อสร้างภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 1.9 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสที่แล้ว ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบมาจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาวัสดุก่อสร้างโดยรวมที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 20 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง โดยเฉพาะราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 61.5 และ ร้อยละ 61.7 ตามลำดับ รวมทั้งราคาปูนซีเมนต์ ราคาไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ร้อยละ 26.6 ประกอบกับปัจจัยภายนอก เช่น ปัญหา Sub- prime ของ สหรัฐและวิกฤตการเงินโลกที่ยืดเยื้อทำให้ผู้ประกอบการไทยซึ่งเคยมีบทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี 2540 -2541 มีความระมัดระวังในการลงทุนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ส่งผลทำให้อาคารโรงงานลดลงร้อยละ 14.4 แต่อย่างไรก็ตามการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลยังคงขยายตัวร้อยละ 3.1 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นโครงการเดิมที่สร้างต่อเนื่องให้แล้วเสร็จ

อัตราการขยายตัวของการก่อสร้างภาคเอกชน (ร้อยละ)
                                     ------------2550----------              --------2551-------

2550

                                     Q1        Q2      Q3       Q4          Q1        Q2       Q3
ที่อยู่อาศัย                    -1.8     0.8      -1.0     2.7    -10.5        -5.2       6.4       3.1
อาคารพาณิชย์                 10.7     6.8       2.4     5.1     28.6        14.3       9.8       4.5
โรงงาน                    -17.1   -15.7      16.2    -7.9    -29.6         5.9      10.8     -14.4
อื่นๆ                        -3.4     0.3       5.1    -6.0    -11.6         9.3     -14.8     -17.8
รวม                        -2.7    -0.9      -1.5     0.2     -9.1         0.4       1.3      -1.9

การก่อสร้างภาครัฐ ลดลงร้อยละ 7.3 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ลดลงร้อยละ 8.0 เนื่องมาจากการเบิกจ่ายงบลงทุนทางด้านการก่อสร้างทั้งของรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาครัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 2.9 และร้อยละ 18.7 ตามลำดับ โดยเฉพาะการสร้างที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ โครงการขยายบริการโทรศัพท์ของบริษัท ทีโอทีจำกัด(มหาชน) โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ของบริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัดเป็นต้น ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินงานมาถึงช่วงใกล้จะแล้วเสร็จทำให้ยอดเบิกจ่ายลดน้อยลงประกอบกับการชะลอการลงทุนของโครงการขนาดใหญ่ต่าง ๆ

การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อเนื่องจากร้อยละ 5.2 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีการลงทุนในเครื่องจักรเครื่องมือ หมวดเครื่องใช้สำนักงาน และหมวดเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 21.5 และร้อยละ 6.3 ตามลำดับ โดยเฉพาะการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อรองรับอุตสาหกรรมบริการที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพเพิ่มสูงขึ้น เช่น โรงพยาบาลเอกชน และสถาบันเสริมความงาม ที่ต้องการเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย เป็นต้น ในขณะที่หมวดยานพาหนะลดลงร้อยละ 5.7 โดยลดลงในส่วนของรถบรรทุก เป็นส่วนใหญ่

การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาครัฐ ลดลงร้อยละ 1.6 เป็นผลมาจากรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการชะลอตัวในการซื้อยานพาหนะและเครื่องใช้สำนักงาน ในขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องจักรของภาครัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ11.3 ประกอบกับในไตรมาสนี้ไม่มีการซื้อเครื่องบินนำเข้าจากต่างประเทศ

ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ

ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ ณ ราคาประจำปีมีมูลค่า 65,278 ล้านบาท เนื่องจากภาคการผลิตเริ่มชะลอลง ในขณะที่การอุปโภคบริโภคของครัวเรือนชะลอตัวเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับไตรมาสติดกัน รวมทั้งจากการที่สินค้าส่งออกบางหมวดเริ่มชะลอลง ส่งผลให้สินค้าคงเหลือในหลายหมวดเพิ่มขึ้น เช่น อาหารและเครื่องดื่ม ก๊าซธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ยาง และสิ่งทอ เป็นต้น ในขณะเดียวกันเนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าขั้นกลางในรูปวัตถุดิบมาสำรองเพื่อใช้ในการผลิตในจำนวนมาก ประกอบกับวัตถุดิบนำเข้ามีมูลค่าสูงขึ้นจากราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกรายการที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าสูง ได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์โลหะ โดยเฉพาะเหล็กและเหล็กกล้า เนื่องจากผู้ประกอบการคาดการณ์ว่าราคาเหล็กในตลาดโลกยังมีแนวโน้มสูงขึ้นจึงมีการนำเข้าเหล็กที่เป็นวัตถุดิบเพิ่มขึ้น แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในไตรมาสนี้เริ่มถดถอย โดยภาคอุตสาหกรรมเริ่มชะลอตัวลง รวมทั้งภาวะการก่อสร้างที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สต็อกของวัตถุดิบจากการนำเข้าเริ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า และสำหรับทองคำเนื่องจากช่วงต้นไตรมาสที่ 3 ราคาสูงขึ้นอย่างมาก โดยทองคำแท่งและทองรูปพรรณ มีราคาเฉลี่ยบาทละมากกว่า 15,000 บาท ทำให้มีการนำเข้าทองคำเพิ่มขึ้นในช่วงปลายไตรมาส มีผลทำให้ภาพรวมของการสะสมสต็อกไตรมาสนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนหมวดสินค้าที่มีการสะสมสต็อกลดลงในไตรมาสนี้ ได้แก่ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการส่งออกสินค้าเหล่านี้ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสต็อกข้าวเปลือกลดลงเนื่องจากอยู่ในช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต

ด้านต่างประเทศ

"...การส่งออกชะลอตัวขณะที่การนำเข้าเร่งตัวขึ้น..."

การส่งออกสินค้า ขยายตัวร้อยละ 9.0 ชะลอตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.8 เป็นผลจากการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงาน (Labour-Intensive Product) ประกอบกับการส่งออกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (High-Tech Product) ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญบางรายการชะลอตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ขณะที่บางรายการหดตัวโดยเฉพาะ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศ

รายรับทางด้านบริการ ขยายตัวร้อยละ 4.5 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 เนื่องจากการลดลงของรายรับจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.7 จากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการปรับลดจำนวนเที่ยวบิน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง

การนำเข้าสินค้า ขยายตัวร้อยละ 9.4 เร่งตัวจากไตรมาสที่แล้วซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.4 โดยที่การนำเข้าเร่งตัวขึ้นทุกหมวด ทั้งการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง สินค้าทุน น้ำมันเชื้อเพลิงและสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงกลับมาขยายตัวอีกครั้งจากที่หดตัวในไตรมาสก่อน แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 113.62 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

รายจ่ายทางด้านบริการ ขยายตัวร้อยละ 15.3 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.0 เนื่องจากการเร่งตัวของรายจ่ายค่าระวางสินค้า รายจ่ายค่าบริการโทรคมนาคม และรายจ่ายค่าบริการก่อสร้าง

มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้า
                                                  ------------2550----------        --------2551-------

2550

                                                 Q1       Q2      Q3       Q4        Q1       Q2       Q3

มูลค่า ณ ราคาประจำปี

1. การส่งออก (พันล้านบาท)                5,171    1,195    1,236    1,308    1,432    1,339    1,455    1,632
   อัตราเพิ่ม                              6.9      5.0      6.6      0.9     15.0     12.0     17.8     24.8
2. การนำเข้า (พันล้านบาท)                4,773    1,091    1,196    1,211    1,275    1,343    1,440    1,675
   อัตราเพิ่ม                             -0.6     -4.7     -2.8     -2.7      7.7     23.1     20.4     38.3
3. ดุลการค้า (พันล้านบาท)                   398      104       40       96      157       -4       16      -43

มูลค่า ณ ราคาปีฐาน (2531)

4. การส่งออก (พันล้านบาท)                2,414      580      582      616      636      623      639      671
   อัตราเพิ่ม                              6.7      7.9      8.0      3.4      7.7      7.5      9.8      9.0
5. การนำเข้า (พันล้านบาท)                1,863      440      473      475      475      484      498      520
   อัตราเพิ่ม                              2.2      0.6      1.6      2.3      4.5     10.0      5.4      9.4
6. อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์ สรอ.)      34.6     35.6     34.7     34.1     33.9     32.4     32.3     33.9

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 3/2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 สูงกว่าร้อยละ 5.9 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากไตรมาสนี้ราคาพืชผลเกษตรยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6

--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--

-พห-

แท็ก มอเตอร์  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ