แท็ก
SET
ทุนที่ไม่สามารภจับต้องได้ ( Intangible assets ) นั้น เป็นทรัพย์สินที่มีแนวโน้มความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และจะมีบทบาททดแทนปัจจัยการผลิตต่างๆมากขึ้นเรื่อยๆ แต่การพัฒนาทุน Intangible assets ให้มีศักยภาพมากขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องเข้าใจถึงสถานะของทุนประเภทนี้และเข้าใจถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงบริบทของการพัฒนาในด้านต่างๆให้ชัดเจน
ปัจจุบันสถานะทุน Intangible assets ของประเทศไทยยังมีความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( S&T ) ค่อนข้างต่ำ โดยดูได้จากการที่ประเทศมีการจดสิทธิบัตรน้อยและยังขาดดุลการชำระเงินทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในด้านการวิจัยและพัฒนา ( R&D ) จะมาจากภาครัฐเป็นส่วนใหญ่และสัดส่วนผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์มีอยู่น้อยกว่าสาขาอื่น นอกจากนี้ยังพบว่า ไม่ค่อยมีการนำเอกลักษณ์ไทย หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าต่างๆ รวมถึงสินค้าส่วนใหญ่ยังขาดการออกแบบยี่ห้อหรือสร้าง brand ที่เป็นของไทยที่โดดเด่นชัดเจน
ยิ่งเมื่อนำความสามรถการแข่งขันทางด้าน S&T ของไทยไปเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว พบว่า สถานะทุน Intangible assets ยังมีปัญหาอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัดส่วนของ R&D ต่อ GDP สัดส่วนของบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้าน R&D ต่อประชากรที่ล้วนอยู่ในระดับต่ำ หรือมีบทความด้านวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการเผยแพร่น้อยมาก รวมถึงการจดสิทธิบัตรให้แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศ และที่คุ้มครองในต่างประเทศยังมีจำนวนไม่มากนัก
ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงบริบทของการพัฒนาในด้านต่างๆ ยังส่งผลต่อการพัฒนาทุน Intangible assets ของไทยอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ
การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก ได้ทำให้ระบบการค้าของโลกมีความยุ่งยากมากขึ้น มีแรงกดดันให้คุ้มครองและป้องปรามทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งมีการคุ้มครองที่เข้มงวด อย่างไรก็ตามบริบทและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจช่วยเพิ่ม FDI และการกระจาย S&T ให้ดีขึ้น ทั้งยังอาจเป็นโอกาสอันดีทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความร่วมมือกับจีนและอินเดีย
บริบทด้านเทคโนโลยี โดยประชากรเข้าถึงเทคโนโลยีได้สะดวกขึ้น แต่ยังมีปัญหาเรื่องของขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในระดับบนและระดับล่าง ( nutcracker ) นอกจากนี้ยังมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอยู่มาก
บริบทด้านสังคม มีแนวโน้มของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่าน ICT มีมากขึ้นแต่ระบบการศึกษาในภาพรวม ยังไม่สามารถสร้างคนได้ตรงกับความต้องการมากนัก การผลิตและพัฒนากำลังคนให้ปฏิบัติงานได้จริงยังเป็นปัญหา
บริบทด้านสิ่งแวดล้อม เกิดปรากฏการณ์ global warming ขณะที่ ความหลากหลายทางชีวภาพ ( biodiversity ) ลดลง
บริบทด้านแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นโอกาสของธุรกิจในการปรับตัวให้รองรับกระแสความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ไทยจึงควรหาทางใช้ประโยชน์และป้องกันผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงบริบทการพัฒนาทุน Intangible assets เป็นไปอย่างยั่งยืน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วส/พห-
ปัจจุบันสถานะทุน Intangible assets ของประเทศไทยยังมีความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( S&T ) ค่อนข้างต่ำ โดยดูได้จากการที่ประเทศมีการจดสิทธิบัตรน้อยและยังขาดดุลการชำระเงินทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในด้านการวิจัยและพัฒนา ( R&D ) จะมาจากภาครัฐเป็นส่วนใหญ่และสัดส่วนผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์มีอยู่น้อยกว่าสาขาอื่น นอกจากนี้ยังพบว่า ไม่ค่อยมีการนำเอกลักษณ์ไทย หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าต่างๆ รวมถึงสินค้าส่วนใหญ่ยังขาดการออกแบบยี่ห้อหรือสร้าง brand ที่เป็นของไทยที่โดดเด่นชัดเจน
ยิ่งเมื่อนำความสามรถการแข่งขันทางด้าน S&T ของไทยไปเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว พบว่า สถานะทุน Intangible assets ยังมีปัญหาอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัดส่วนของ R&D ต่อ GDP สัดส่วนของบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้าน R&D ต่อประชากรที่ล้วนอยู่ในระดับต่ำ หรือมีบทความด้านวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการเผยแพร่น้อยมาก รวมถึงการจดสิทธิบัตรให้แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศ และที่คุ้มครองในต่างประเทศยังมีจำนวนไม่มากนัก
ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงบริบทของการพัฒนาในด้านต่างๆ ยังส่งผลต่อการพัฒนาทุน Intangible assets ของไทยอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ
การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก ได้ทำให้ระบบการค้าของโลกมีความยุ่งยากมากขึ้น มีแรงกดดันให้คุ้มครองและป้องปรามทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งมีการคุ้มครองที่เข้มงวด อย่างไรก็ตามบริบทและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจช่วยเพิ่ม FDI และการกระจาย S&T ให้ดีขึ้น ทั้งยังอาจเป็นโอกาสอันดีทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความร่วมมือกับจีนและอินเดีย
บริบทด้านเทคโนโลยี โดยประชากรเข้าถึงเทคโนโลยีได้สะดวกขึ้น แต่ยังมีปัญหาเรื่องของขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในระดับบนและระดับล่าง ( nutcracker ) นอกจากนี้ยังมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอยู่มาก
บริบทด้านสังคม มีแนวโน้มของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่าน ICT มีมากขึ้นแต่ระบบการศึกษาในภาพรวม ยังไม่สามารถสร้างคนได้ตรงกับความต้องการมากนัก การผลิตและพัฒนากำลังคนให้ปฏิบัติงานได้จริงยังเป็นปัญหา
บริบทด้านสิ่งแวดล้อม เกิดปรากฏการณ์ global warming ขณะที่ ความหลากหลายทางชีวภาพ ( biodiversity ) ลดลง
บริบทด้านแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นโอกาสของธุรกิจในการปรับตัวให้รองรับกระแสความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น ไทยจึงควรหาทางใช้ประโยชน์และป้องกันผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงบริบทการพัฒนาทุน Intangible assets เป็นไปอย่างยั่งยืน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วส/พห-