(ต่อ2) สรุปผลการดูงาน ณ ประเทศเกาหลีใต้ ภายใต้โครงการ Planning Agencies Networking and Macroeconomic Surveillance

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 22, 2006 16:21 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                              -จัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อ SMEs (Mutual Aid Fund) โดยในช่วงเริ่มต้นรัฐบาลและเอกชนได้ร่วมลงทุนในกองทุน ทั้งนี้กิจการ SMEs  ที่เป็นสมาชิกจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนทุกเดือนติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน กิจการนั้น ๆ จึงจะสามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนได้และในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เพื่อการเริ่มต้นกิจการ เพื่อซื้อเครื่องมือเครื่องจักร และเพื่อการค้าเทคโนโลยีใหม่ โดยในปี 2004 เงินกองทุนดำเนินการสำหรับ SMEs มีจำนวน 3 พันล้านวอน 
-จัดทำประกันคุณภาพสินค้า (Insurance for Product liability) ซึ่งกิจการสามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ โดยจ่ายอัตราค่าเบี้ยประกันเพียงร้อยละ 20 - 30 ซึ่งต่ำกว่าค่าประกันที่แต่ละกิจการต้องไปจัดทำเอง
* การให้ความช่วยเหลือโดยทางตรง รัฐบาลให้สนับสนุนการร่วมลงทุนจากต่างประเทศ และจากการระดมทุนในตลาด KOSDAQ
3.2.3) การสร้างบุคลลากรในกิจการ SMEs กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานแม้ว่าการว่างงานในกลุ่มแรงงานอายุน้อยจะเพิ่มขึ้น โดยแรงงานที่มีอายุน้อยที่ยังว่างงานอยู่มีประมาณ 4 แสนคน ในขณะที่กิจการ SMEs ยังต้องการแรงงานเพิ่มประมาณ 1.4 แสนคน แต่ผู้ว่างงานยินยอมที่จะว่างงานมากกว่าทำงานในกิจการ SMEs เนื่องจากเงื่อนไขการทำงานในกิจการ SMEs รวมถึงสวัสดิการ และผลตอบแทน ไม่เป็นที่พอใจของแรงงานอายุน้อยเหมือนกับผลตอบแทนที่จะได้รับจากกิจการขนาดใหญ่ ซึ่งรัฐบาลได้เล็งเห็นปัญหาและมีนโยบายแก้ไขดังนี้
* ปรับปรุงสภาพแวดล้อม และเงื่อนไขการทำงาน (On-site Work Conditions Improvement Program) และให้ส่วนลดด้านภาษีแก่กิจการโดยพิจารณาจากต้นทุนการวิจัยและพัฒนาของกิจการ การพัฒนาบุคลากรของกิจการ และการลงทุนด้านสวัสดิการของกิจการ นอกจากนั้นแรงงานที่ทำงานในกิจการ SMEs เกินกว่า 10 ปีจะมีสิทธิซื้อคอนโดมิเนียมของรัฐบาล
* ดำเนินโครงการ "Collegian SMEs experiencing program" โดยให้นักศึกษามีโอกาสทำงานร่วมกับกิจการ SMEs เป็นการชั่วคราว เพื่อเปลี่ยนมุมมองของนักศึกษาที่มีต่อการทำงานกับกิจการ SMEs และโครงการ "Youth employment package program" เพื่อกระชับความเป็นมิตรระหว่างนักเรียนและ SMEs
* การจัดตั้งศูนย์อบรม SMEs โดยจัดหาโปรแกรมการที่อบรมหลากหลายสำหรับให้ความรู้แก่แรงงานของกิจการ SMEs ที่ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในการอบรมภายในโรงงาน โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ โปรแกรมการอบรมจะมีหลากหลายรวมถึงอบรมด้านรพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี เทคโนโลยีและการสื่อสาร การรับรองคุณภาพสินค้า และ เทคโนโลยีดิจิตอล
* การจัดระบบการอบรมอุตสาหกรรม (The industrial training system) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนแรงงานที่ SMEs กำลังเผชิญ และเพื่อสร้างความร่วมมือทางอุตสาหกรรมให้มีความเข้มแข็งระหว่างประเทศเกาหลีกับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่น ๆ อาทิ จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย นอกจากนั้นยังมีระบบใบประกาศความเชี่ยวชาญอุตสาหกรรม Industrial Technician Certified
System) เพื่อรับรองความสามารถของแรงงานในโรงงาน และช่างเทคนิคที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
* การขยายฐานการผลิตไปยังแหล่งที่มีแรงงาน และต้นทุนต่ำ อาทิ การจัดตั้งสวนอุตสาหกรรมในเกาหลีเหนือ ซึ่งทำให้กิจการไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน เพราะสามารถจ้างแรงงานเกาหลีเหนือได้และมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการจ้างแรงงานในเกาหลีใต้ นอกจากนั้นสวนอุตสาหกรรมแห่งนี้อยู่ไม่ไกลจากกรุงโซลมากนัก ปัจจุบันมีกิจการขนาดใหญ่เข้าไปดำเนินการในสวนอุตสาหกรรมนี้ประมาณ 15 กิจการ
3.2.4) การขยายช่องทางการตลาดของ SMEs
* สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการส่งออกสินค้า SMEs และ
* สร้างความต้องการสินค้า SMEs ภายในประเทศ โดยมีตัวแทนรัฐบาลรับซื้อสินค้า SMEs เพื่อใช้ภายในประเทศ และให้การสนับสนุนการแสดงสินค้าอุตสาหกรรม
* การจัดแสดงสินค้าในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มการทำสัญญาซื้อขายระหว่างเจ้าของกิจการ SMEs และผู้ซื้อชาวต่างประเทศ และการส่งแรงงานที่มีความสามารถไปอบรมในต่างประเทศเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการค้า ในปี 2003 มีกิจการที่ได้รับการสนับสนุนไปแสดงสินค้าต่างประเทศ 1,209 ราย และมีการทำสัญญาส่งออกใหม่เป็นมูลค่า 298 ล้านดอลลาร์ สรอ.
* สนับสนุนการหาตลาดใหม่ ผ่านการสร้างความร่วมมือกับบริษัทจัดการเพื่อการส่งออก (Export Management Companies: EMCs) โดย EMCs จะทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการส่งออกให้กับกิจการ SMEs ทั้งด้านการทำวิจัยตลาด การต่อรองกับลูกค้าต่างประเทศ การหาผู้ซื้อจากต่างประเทศ รวมถึงการจัดการด้านสัญญา พิธีการศุลกากร การขนส่ง และการจ่ายเงิน เป็นต้น และในอนาคตรัฐบาลจะให้การสนับสนุนให้มี EMCs ในภูมิภาค และในสินค้าแต่ละประเภท และให้ EMCs เหล่านั้นเป็นหน่วยสนับสนุนกิจการ SMEs ส่งออกที่เพิ่งเริ่มต้น นอกจากนั้นรัฐบาลได้จัดหาข้อมูลเกี่ยวกับตลาดส่งออกต่างประเทศให้กับกิจการ SMEs ในอีกทางหนึ่งด้วย
(5) การเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าเทคโนโลยีใหม่
* ให้การสนับสนุน SMEs ที่จะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม การสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมกับสถาบันการศึกษาให้แข็งแกร่ง ส่งเสริมการการค้าด้านเทคโนโลยี และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสินค้าดิจิตอล
* ใช้มาตรการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายระหว่างกิจการ SMEs และระหว่างอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา ซึ่งรวมถึง สถาบันวิจัยและพัฒนา SMEs (SMEs R&D Institute) โครงการศึกษาอุตสาหกรรมและให้คำปรึกษาด้านการวิจัย (Industry Education and Research Consortium Project) โครงการอบรมด้านเทคโนโลยี (SMEs Technology Training
Programe) และการอบรมแรงงานโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัย
* สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของ SMEs ผ่านมาตรการต่าง ๆ อาทิ การประเมินระดับ digitalization ของกิจการ การให้คำปรึกษาสำหรับการพัฒนาและคิดค้นเทคโนโลยีระดับสูง และการติดตั้งเทคโนโลยีสารสนเทศที่โรงงานของกิจการ SMEs
(6) ส่งเสริมการร่วมลงทุนจากต่างประเทศ
* สนับสนุนการร่วมลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยมีนโยบายเน้นการปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ SMEs
* สร้างความมั่นใจให้นักทุนต่างชาติ ในด้านเงินทุน บุคลากร ที่ดิน และอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการลงทุนในกิจการ SMEs โดยสร้างบรรยากาศทางธุรกิจให้เอื้ออำนวยต่อการเริ่มต้นกิจการ รวมถึงการยกเลิกกฎระเบียบที่ล้าหลังและมีผลให้การเริ่มต้นกิจการล่าช้า ภายใต้กรอบกฎหมายพิเศษสำหรับส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
* เอื้ออำนวยต่อการรวมกิจการ (M&A) ของนักลงทุนต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างพันธมิตรระหว่างกิจการ การถ่ายทอดเทคโนโลยี
* สนับสนุนการร่วมลงทุนในต่างประเทศ โดยการจัดตั้งศูนย์สนับสนุนในต่างประเทศ และ กองทุน Global star fund ซึ่งเป็นกองทุนสนับสนุนการลงทุนของ SMEs ในต่างประเทศ
4. สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและการคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2548-2549
4.1 ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงของการฟื้นตัวจากปัญหาหนี้สินครัวเรือน
* เศรษฐกิจประเทศเกาหลีใต้อยู่ในช่วงของฟื้นตัว โดยที่เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.6 ในปี 2547 ฟื้นตัวจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในปี 2546 แต่ยังเป็นขยายตัวที่ต่ำเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.0 ในปี 2545 และยังต่ำกว่าศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 5.0 แสดงให้เห็นว่าประเทศเกาหลีใต้อยู่ในช่วงที่มีอุปทานส่วนเกิน ซึ่งโดยปกติแล้ววัฎจักรทางธุรกิจ (business cycle) ของประเทศเกาหลีใต้ ในช่วงขยายตัวจะมีระยะเวลายาวกว่าช่วงหดตัว ช่วงขยายตัวใช้เวลาประมาณ 3 ปี และช่วงหดตัวใช้เวลาประมาณ 18-19 เดือน อย่างไรก็ตามวัฏจักรเศรษฐกิจประเทศเกาหลีใต้ในช่วงหดตัวเริ่มมีเวลานานขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายใต้รัฐบาลเสียงข้างน้อย และความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง โดยที่ภายหลังจากภาวะวิกฤตในปี 2540-2541 ประชาชนเริ่มให้มีความกังวลเรื่องการว่างงานมากขึ้นรวมทั้งการคำนึงถึง life expectancy ที่ยืนยาวขึ้นที่จำเป็นจะต้องพึ่งพาเงินออมในยามชรามากขึ้น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ฟื้นตัวช้าก็คือการที่เศรษฐกิจภายในประเทศมีความเปราะบาง จากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงและการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ลดลง
* รายจ่ายการบริโภคภาคเอกชนหดตัวตามภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยการบริโภคภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 1.2 และ 0.4 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 ในปี 2545 นอกจากนี้การใช้จ่ายเพื่อบริโภคในประเทศ (domestic consumption) มีแนวโน้มลดลงจากการที่ค่าใช้จ่ายการศึกษา และการท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ประชาชนมีการใช้จ่ายเพื่อบริโภคในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
* การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.8 และ 2.4 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับร้อยละ 6.6 ในปี 2545 และร้อยละ 10 ในปี 2543 การชะลอตัวส่วนหนึ่งเนื่องจากธุรกิจขนาดใหญ่มีความลังเลในการลงทุน และ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ประสบปัญหาทางการเงินในการลงทุน ธุรกิจขนาดใหญ่มีความลังเลในการลงทุน จึงใช้กำไรจ่ายหนี้สินหรือลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือลงทุนในประเทศจีนมากกว่าที่จะขยายการลงทุนในประเทศ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการที่ตลาดแรงงานมีการกำกับดูแลโดยรัฐค่อนข้างเข้มงวด แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ SMEs มีความต้องการลงทุนแต่ขาดหลักประกันในการกู้เงิน ภาครัฐจึงเข้ามาประกันการกู้เงินของ SMEs ทำให้ภาคธนาคารเน้นไปที่การให้กู้ยืมกับ SMEs เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ปัจจุบันสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของประเทศเกาหลีอยู่ที่ประมาณเกือบร้อยละ 80 ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่ต่ำและสะท้อนถึงภาวะที่มีสภาพล่องส่วนเกินมาก
* ปัญหาหนี้สินครัวเรือน ในปี 2545 เศรษฐกิจขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 7 จากการบริโภคที่เป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิต ทำให้หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 41 ต่อ GDP ในปี 2541 เป็นร้อยละ 74 ต่อ GDP ในปี 2545 และสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ที่จับจ่ายใช้สอยได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 64 ในปี 2541 เป็นร้อยละ 117 ในปี 2545 และประชาชนประมาณร้อยละ 10 ของกำลังแรงงานทั้งหมดไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทั้งนี้การที่หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากนโยบายรัฐบาลในปี 2542-2543 ที่ต้องการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศด้วยการสนับสนุนการใช้บัตรเครดิตด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น การลดข้อจำกัดในการเบิกเงินสดล่วงหน้า หรือมีแรงจูงใจทางภาษีต่าง ๆ นอกจากนี้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ และเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ เป็นปัจจัยที่ช่วยให้สินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้โครงสร้างการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินประเทศเกาหลีที่เปลี่ยนแปลงไปช่วงการฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจเนื่องจากสินเชื่อที่ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ประสบปัญหาการชำระคืนหนี้เงินในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ สถาบันการเงินจึงหันมามุ่งเน้นที่จะขยายสินเชื่อให้กับภาคครัวเรือนแทน โดยมีการแข่งขันการให้สินเชื่อแก่ภาคครัวเรือนกันมากขึ้น
ในปี 2546 รัฐบาลได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน เช่น การกำหนดระดับความพอเพียงของส่วนของทุนโดยหน่วยงานกำกับสถาบันการเงิน (Financial Supervisory Office) การจัดตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านสินเชื่อ เพื่อที่จะจัดทำแผนงานการปรับโครงสร้างหนี้ และการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (Korea Asset Management Cooperation : KAMCO) เพื่อแก้ปัญหาหนี้เสียและการจัดการกับหลักทรัพย์ค้ำประกัน
4.2 สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มในปี 2548-2549
* เศรษฐกิจเกาหลีใต้เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ในไตรมาสที่สองปี 2548 โดยขยายตัวร้อยละ 3.3 เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่หนึ่งปี 2548 การใช้จ่ายในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การจ้างงานและหนี้ครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้นจากการที่สัดส่วนหนี้เสียบัตรเครดิตลดลง โดยอยู่ที่ร้อยละ 13.27 หรือลดลงร้อยละ 4.95 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าและบริการชะลอตัวลงและการนำเข้าสินค้าและบริการเร่งตัวขึ้น มูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่สอง ขยายตัวร้อยละ 9.4 ชะลอตัวจากร้อยละ 12.9 ในไตรมาสที่ 1 โดยการส่งออกในหมวดเหล็กและเหล็กกล้า ปิโตรเคมี และรถยนต์ ยังคงขยายตัวได้
ในระดับสูง แม้ว่ามูลค่าสินค้าส่งออกหลักเกือบทุกหมวดจะชะลอตัวลง (สินค้ากลุ่มเครื่องเสียงชะลอตัวอย่างมาก และสิ่งทอยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่หนึ่งจากการที่ราคาสินค้าในจีนถูกลงหลังจากการยกเลิกโควตา) มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่สองขยายตัวร้อยละ 14.6 อยู่ในระดับเดียวกับในไตรมาสที่ 1 โดยการนำเข้าในหมวดวัตถุดิบและนำมันเพิ่มขึ้น ในขณะที่หมวดสินค้าทุนชะลอตัวอย่างมาก ดุลการค้าในไตรมาสที่สองเกินดุล 6.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการเกินดุล 6.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสที่หนึ่ง และคาดว่าทั้งปี 2548 เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.0
* สถานการณ์หนี้สาธารณะ ปัจจุบันหนี้สาธารณะคงค้างอยู่ที่ 203.1 ล้านล้านวอน หรือคิดเป็นร้อยละ 26.1 ต่อ GDP แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตจากการที่รัฐบาลจะมีการออกพันธบัตรเพื่อการแปลงหนี้สินภาคเอกชนจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (KAMCO) เป็นหนี้สินภาครัฐบาล ซึ่งกระบวนการนี้จะเสร็จสิ้นในปลายปี 2549 ทำให้หนี้สาธารณะคงค้างจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ณ ปลายปี 2549 และลดลงหลังจากนั้นเมื่อมีการจัดการสินทรัพย์คืบหน้ามากขึ้นตามลำดับ
* เศรษฐกิจเกาหลีใต้มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.7 ในปี 2548 และปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ 3.9 ในปี 2549 โดยที่ทั้งการใช้จ่ายครัวเรือนกลับมาขยายตัวแต่ยังเป็นการขยายตัวในระดับ เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะยังอยู่ในภาวะค่อนข้างซบเซา โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้าง เนื่องจากยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากภาวะอสังหาริมทรัพย์ที่ร้อนแรงเกินไปในช่วงปี 2543-2546 ต้องปรับตัวอย่างรุนแรง
* แม้ว่าการส่งออกจะมีแนวโน้มชะลอลงแต่คาดว่าประทศเกาหลีใต้จะยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.3 และ 1.7 ต่อ GDP ในปี 2548 และ 2549 ตามลำดับ
4.3 มุมมองของธนาคารกลางแห่งประเทศเกาหลีใต้ต่อทิศทางการดำเนินนโยบายเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
* การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจจากข้อจำกัดจากการดำเนินนโยบายการเงินอย่างรอบคอบ ได้แก่การที่หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง (ในปี 2548 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 71 เมื่อเทียบกับร้อยละ 74 ในปี 2545 และร้อยละ 50 ในช่วงก่อนปี 2545 ที่จะมีปัญหาหนี้สินครัวเรือน) และความเป็นไปได้ที่ภาระทางการเงินของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กจะเพิ่มขึ้น จากการที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน การปรับโครงสร้างในระดับจุลภาคเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของนโยบายการเงินเป็นสิ่งที่รัฐบาลเร่งดำเนินการ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ และการลดระเบียบ และกฎหมายที่ไม่จำเป็น การลดความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน
* นโยบายการคลังสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้แต่ก็เป็นเฉพาะในระยะสั้น ความเหมาะสมทางการคลัง (fiscal soundness) และความยั่งยืนของการขาดดุลการคลังและหนี้สาธารณะเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาในระยะยาว ดังนั้น การดำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายควรที่จะให้ความสำคัญกับความเหมาะสมทางการคลังและประสิทธิภาพทางการคลังที่จะเพิ่มศักยภาพการขยายตัวในอนาคต เช่น การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ประกอบด้วย
* นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน แม้ว่าการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะทำให้ค่าเงินวอนมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ แต่ควรจะใช้กลไกตลาดเป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนและให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวไปสู่ดุลยภาพในระยะยาว ดังนั้น นโยบายการแทรกแซงค่าเงินควรจะถูกจำกัดในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เช่น ในกรณีที่เกิด overshooting ในระยะสั้น และโอกาสที่จะเกิด misalignment ในระยะยาว
* ระดับการพัฒนาของตลาดพันธบัตรมีน้อยกว่าตลาดหุ้น ดังนั้นเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนในตลาดหุ้นมากกว่าตลาดพันธบัตร (ในปี 2548 การลงทุนในหลักทรัพย์ หรือ Portfolio investment สุทธิในตลาดหุ้น อยู่ที่ 126.2 ร้อยล้านวอน ในขณะที่ยอดสุทธิในตลาดพันธบัตรอยู่ที่ 20.3 ล้านวอน) ทำให้การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดเงินทุนไหลเข้าไปที่ตลาดหุ้นจากการคาดการณ์ว่าราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นในอนาคต และส่งผลต่อเนื่องให้อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น
* การที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นจากเงินทุนไหลเข้าไปที่ตลาดหุ้น ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับดุลบัญชีเดินสะพัดที่จะได้รับผลกระทบทางลบจากการแข็งค่าเงิน และธนาคารกลางได้เข้าไปแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศแบบ sterilized intervention โดยการซื้อเงินตราต่างประเทศและขายพันธบัตรในประเทศเพื่อที่จะรักษาค่าเงินไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไปโดยไม่สร้างแรงกดดันต่อปริมาณเงินและเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินวอนยังคงแข็งค่าอย่างมากตั้งแต่ปี 2545 แม้ว่าธนาคารกลางจะทำการแทรกแซงแบบ sterilized อย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยอื่นที่ เช่น การเปลี่ยนแปลงในค่าเงินเยนเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ และการคาดการณ์การแข็งค่าเงินวอนของตลาด ที่มีผลต่อค่าเงินวอน
4.4 ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจในอนาคต
โดยภาพรวมแล้วทิศทางนโยบายในอนาคต มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างงานที่มุ่งเน้นคุณภาพของการจ้างงาน และสนับสนุนให้เกิดการเติบโตที่มีลักษณะฐานกว้าง และยั่งยืน โดยการดำเนินนโยบายเชิงรุกที่มุ่งไปสู่ 1) การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการใหม่ และ SMEs และสาขาบริการ ได้แก่ บริการดูแลเด็ก บริการทางการศึกษา และบริการสุขภาพ 2)การพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดยรัฐบาลจะเน้นรายจ่ายในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ 3) การยกเลิกกฎหมาย และระเบียบที่ไม่จำเป็น การสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันอย่างโปร่งใส เพื่อที่จะไม่ให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์ (rent seeking) ในแต่ละสาขาการผลิต
พร้อม ๆ ไปกับ การเปิดตลาดเสรีให้ต่างชาติเข้ามาแข่งขัน และสนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี นอกจากนี้ทิศทางนโยบายในอนาคตยังมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความมั่นคงในการดำรงชีวิต และสนับสนุนกลุ่มคนด้อยโอกาส เช่น การสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบคุ้มครองความปลอดภัยทางสังคม (social safety net) โดยการขยายโอกาสทางศึกษา คุ้มครองกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ พร้อม ๆ กับ การรักษาสมดุลกับสิ่งแวดล้อมภายใต้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด
4.5 ประเด็นทางเศรษฐกิจที่สำคัญอื่น ๆ
(1) การนำเงินสำรองระหว่างประเทศมาใช้ในการลงทุน รัฐบาลเกาหลีใต้ได้จัดตั้ง Korean Investment Corporation (KIC) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 โดยมีวงเงินในการลงทุนเริ่มต้น 20 พันล้านดอลลาร์ (เงินลงทุนจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 17 พันล้านดอลลาร์ และจากทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน 3 พันล้านดอลลาร์) โดยมีเงื่อนไขว่าการนำเงินสำรองไปใช้จะต้องไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องและธนาคารกลางจะสามารถได้รับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศคืนในเวลาที่ต้องการ
(2) ราคาน้ำมัน น้ำมันที่นำเข้าจากต่างประเทศมีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทำให้ราคาน้ำมันนำเข้าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาตลาด นอกจากนี้บทความของ UBS ได้วิเคราะห์ว่าโครงสร้างราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเกาหลีใต้มีการเก็บภาษีในอัตราที่สูง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของราคาน้ำมันขายปลีก และเป็นสัดส่วนที่คงที่ไม่ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน ทำให้กรณีที่มีการเก็บภาษีในโครงสร้างราคาน้ำมันในสัดส่วนสูง ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาขายปลีกในประเทศเพิ่มขึ้นน้อยกว่าในกรณีที่ไม่มีการเก็บภาษีในโครงสร้างน้ำมัน จึงช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากราคาน้ำมัน
(3) การกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ร้อยละ 2.5-3.5 อาจมีความจำเป็นที่จะมีการทบทวนเป้าหมาย เนื่องจากในช่วงเริ่มต้นของการนำนโยบายการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อมาใช้ เศรษฐกิจอยู่ในสถานการณ์เงินเฟ้อต่ำ อย่างไรก็ตามสถานการณ์ปัจจุบันที่แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาก จึงน่าจะมีการทบทวนเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ
(4) สถาบันประกันเงินฝาก (Korea Deposit Insurance Corportatio : KDIC) ในเริ่มแรกสถาบันจัดตั้งประกันเงินฝากจะคุ้มครองผู้ฝากที่จ่ายเบี้ยประกันเฉพาะธนาคารเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้คุ้มครองถึงผู้ฝากในสถาบันการเงินอื่น ๆ ด้วย เช่นบริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ และเครดิตยูเนียน โดยที่สถาบันประกันเงินฝากของประเทศ (KDIC) เกาหลีใต้นั้นมีความเป็นอิสระ และไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลางหรือรัฐบาล
5. ระบบเตือนภัยทางเศรษฐกิจล่วงหน้าของประเทศเกาหลีใต้
นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2540 ประกอบกับการเปิดเสรีตลาดเงินตราต่างประเทศซึ่งในปัจจุบันได้กำหนดที่จะเปิดเสรีเต็มรูปแบบภายในปี 2553 เพื่อเป็น Northeast Asian Business Hub (ภายใต้ Long Term Foreign Exchange Market Promotion Plan) ซึ่งจะทำให้ตลาดการเงินมีความอ่อนไหวและผันผวนได้มากขึ้น ประเทศเกาหลีใต้จึงได้พัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System: EWS) สำหรับระบบการเงินของประเทศ เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยให้แก่ทางการ โดยหน่วยงานต่าง ๆ รายงานดัชนีเตือนภัยทางเศรษฐกิจต่อกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ: Ministry of Finance and Economy ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลระบบการเงินของประเทศ โดยในการจัดทำระบบเตือนภัยของประเทศเกาหลีใต้ สามารถจำแนกออกเป็น 3 ระดับ คือ ระบบเตือนภัยระดับประเทศ ระบบสัญญาณเตือนภัยของ Financial Supervisory Service (FSS) และระบบสัญญาณเตือนภัยสำหรับการกำกับธนาคารพาณิชย์ ได้แก่
5.1) ระบบเตือนภัยระดับประเทศ (Nationwide Early Warning System) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ประกอบการพิจารณานโยบายเศรษฐกิจในภาพรวมโดยมีการประสานงานและประชุมร่วมกันระหว่าง Financial Supervisory Service (FSS) ธนาคารกลางประเทศเกาหลี (Bank of Korea: BOK) กระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ (Ministry of Finance and Economy) และ Korea Center for
International Finance (KCIF) เป็นประจำทุกไตรมาส
ระบบเตือนภัยระดับประเทศประกอบด้วยสัญญาณเตือนภัยที่สำคัญของภาคการเงิน ดังนี้
(1) สัญญาณเตือนภัยสำหรับตลาดการเงิน (Financial Market) เช่น ตลาดตราสารทุน ตลาดตราสารหนี้ อยู่ในความดูแลของ FSS
(2) สัญญาณเตือนภัยสำหรับอุตสาหกรรมการเงิน (Financial Industry) เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกัน และสถาบันการเงินอื่นที่ไม่ไช่ธนาคารพาณิชย์ อยู่ในความดูแลของ FSS
(3) สัญญาณเตือนภัยสำหรับสภาพคล่องที่เป็นเงินตราต่างประเทศ (Foreign liquidity) อยู่ในความดูแลของ FSS และ KCIF
(4) สัญญาณเตือนภัยสำหรับอัตราแลกเปลี่ยนและค่าเงิน (Currency EWS) อยู่ในความดูแลของ BOK และ KCIF
5.2) ระบบเตือนภัยของ Financial Supervisory Service (FSS) ประกอบด้วย
(1) สัญญาณเตือนภัยสำหรับอุตสาหกรรมการเงิน (Financial Industry) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ติดตามเสถียรภาพของตลาดการเงิน ได้แก่ สัญญาณเตือนภัยสำหรับอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกัน ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ และตลาตราสารหนี้
(2) สัญญาณเตือนภัยสำหรับรายธนาคารพาณิชย์และระบบธนาคารพาณิชย์ (Bank and Banking Industry) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อติดตามเสถียรภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ โดยตัวชี้วัดสำหรับใช้ในการติดตามมีทั้งในลักษณะรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และ รายไตรมาส
5.3) ระบบเตือนภัยสำหรับการกำกับธนาคารพาณิชย์
FSS ได้พัฒนาระบบเตือนภัยสำหรับใช้ในการกำกับดูแลระบบธนาคารพาณิชย์และรายธนาคารพาณิชย์ ดังนี้
(1) การกำกับดูแลในระดับมหภาค (Macro Surveillance) โดยใช้แบบจำลองทางสถิติ (Statistical Model) มาช่วยในการพยากรณ์สัญญาณเตือนภัย ซึ่งสามารถนำผลที่ได้มาใช้กำกับดูแลทั้งในกรณีระบบธนาคารพาณิชย์และรายธนาคารพาณิชย์
กรณีของระบบธนาคารพาณิชย์นั้น FSS ใช้ทั้งแบบจำลองปฐมภูมิและทุติยภูมิ (Primary and Secondary Models) มาช่วยในการประมาณความน่าจะเป็นที่ระบบธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะล้มละลาย ซึ่งมีทั้ง Capital Asset Earnings Liquidity Model (CAEL Model) ที่คำนึงถึงผลการจัดระดับ (Composite Rating) และ OLS Model ที่ FSS ใช้ในการติตามดูแลธนาคารพาณิชย์
ซึ่งวิธีที่ใช้สำหรับ Primary models ได้แก่การพิจารณาจากอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ (Signal approach) ที่ใช้ปัจจัยทางการเงินประมาณ 10 ตัว เช่น อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on assets) อัตราแลกเปลี่ยน อัตราส่วนหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อสินทรัพย์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ราคาหลักทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ฯลฯ และใช้ผลการ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ