-คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ต่อปี เพื่อ
ควบคุมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเป็นบวก
-การทำธุรกรรมในตลาด R/P 14 วัน ค่อนข้างเบาบางก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธ โดยหลังจากนั้นอัตรา
ดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นตาม
ทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ตามค่าเงินในภูมิภาค ความไม่แน่นอนทางการเมือง และตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาต่ำกว่าการคาด
การณ์ของตลาด แต่ค่าเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 8 มีนาคม 2549 มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่
ร้อยละ 4.5 ต่อปี โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าแรงกดดันต่อเสถียรภาพภายในประเทศยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่อยู่ในระดับสูงและมี
แนวโน้มเร่งตัวเกินระดับเป้าหมายในระยะต่อไป รวมถึงต้องการให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเป็นบวก ขณะที่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนว
โน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องจากการส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ดี
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการดำรงเงินสดสำรอง
ในระดับสูงเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า และรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 8 มี.ค. ความต้องการกู้ยืมจึงเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยปิดตลาดสูง
ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.3125 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.09375 และ 4.25 ต่อปี ตามลำดับ
โดยในช่วงต้นสัปดาห์ มีการทำธุรกรรมระยะ 14 วัน เบาบางมาก แต่หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในวันพุธ ความต้อง
การลงทุนในระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ
4.34375 4.4375 และ 4.5 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์ส่วน
ใหญ่ต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูง จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1
และ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.34375 - 4.375 และ 4.4375 - 4.46875 ต่อปี ตามลำดับ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิด
ตลาดไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.1 -- 4.4 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิด
ตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.14 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.35 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตรา
ดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 47,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
17,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 ปี 6 เดือน วงเงิน 4,000 ล้านบาท และ พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม
24,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี และพันธบัตรรัฐบาล มีอัตราผลตอบแทนลด
ลง นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 6 และ 8 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบ
กำหนด 26,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 21,000 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 129,752 ล้านบาท หรือ 25,950 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ
51.9 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากธุรกรรม Financing ที่มีปริมาณค่อนข้างสูงมากในช่วงต้นสัปดาห์ เมื่อพิจารณาเฉพาะธุรกรรม Outright ใน
สัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 22.3 โดยตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทนโดย
รวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 6-18 basis
points ตามทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 61 และ 26
basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ จากผลของการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในระหว่าง
สัปดาห์ และยังคงมีการคาดการณ์การปรับขึ้น Fed Fund Rate ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.พ.49 39.35
เฉลี่ย 27 ก.พ.-3 มี.ค.49 39.01
6 มี.ค. 49 38.75
7 มี.ค. 49 38.79
8 มี.ค. 49 39.05
9 มี.ค. 49 39.14
10 มี.ค. 49 39.10
เฉลี่ย 6 - 10 มี.ค. 49 38.97
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า และมีทิศทางอ่อนค่าลงถึงวันพฤหัสบดี โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของ
เงินสกุลภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าลงจากแรงขายเพื่อทำกำไรของนักลงทุนเนื่องจากไม่มั่นใจเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป
แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะประกาศยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายแล้วก็ตาม นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมือง
ภายในประเทศ ตัวเลข GDP ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด และการกลับมาขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย โดยการปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางสัปดาห์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากนักเนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้แล้ว ในขณะที่เงินดอลลาร์
สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดีโดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอก
ภาคเกษตรประจำเดือนกุมภาพันธ์ที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ซึ่ง
เป็นไปตามการแข็งค่าของเงินภูมิภาค ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.97 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จาก
ค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ควบคุมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเป็นบวก
-การทำธุรกรรมในตลาด R/P 14 วัน ค่อนข้างเบาบางก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธ โดยหลังจากนั้นอัตรา
ดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยและสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นตาม
ทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ตามค่าเงินในภูมิภาค ความไม่แน่นอนทางการเมือง และตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาต่ำกว่าการคาด
การณ์ของตลาด แต่ค่าเฉลี่ยทั้งสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้า
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 8 มีนาคม 2549 มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่
ร้อยละ 4.5 ต่อปี โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าแรงกดดันต่อเสถียรภาพภายในประเทศยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่อยู่ในระดับสูงและมี
แนวโน้มเร่งตัวเกินระดับเป้าหมายในระยะต่อไป รวมถึงต้องการให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเป็นบวก ขณะที่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนว
โน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องจากการส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ดี
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการดำรงเงินสดสำรอง
ในระดับสูงเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า และรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 8 มี.ค. ความต้องการกู้ยืมจึงเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยปิดตลาดสูง
ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.3125 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 4.09375 และ 4.25 ต่อปี ตามลำดับ
โดยในช่วงต้นสัปดาห์ มีการทำธุรกรรมระยะ 14 วัน เบาบางมาก แต่หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในวันพุธ ความต้อง
การลงทุนในระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ
4.34375 4.4375 และ 4.5 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์ส่วน
ใหญ่ต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูง จึงมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1
และ 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.34375 - 4.375 และ 4.4375 - 4.46875 ต่อปี ตามลำดับ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังปิด
ตลาดไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.1 -- 4.4 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิด
ตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.14 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.35 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตรา
ดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 47,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
17,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 ปี 6 เดือน วงเงิน 4,000 ล้านบาท และ พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม
24,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี และพันธบัตรรัฐบาล มีอัตราผลตอบแทนลด
ลง นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 6 และ 8 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบ
กำหนด 26,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 21,000 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 129,752 ล้านบาท หรือ 25,950 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ
51.9 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากธุรกรรม Financing ที่มีปริมาณค่อนข้างสูงมากในช่วงต้นสัปดาห์ เมื่อพิจารณาเฉพาะธุรกรรม Outright ใน
สัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 22.3 โดยตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทนโดย
รวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 6-18 basis
points ตามทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 61 และ 26
basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ จากผลของการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในระหว่าง
สัปดาห์ และยังคงมีการคาดการณ์การปรับขึ้น Fed Fund Rate ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.พ.49 39.35
เฉลี่ย 27 ก.พ.-3 มี.ค.49 39.01
6 มี.ค. 49 38.75
7 มี.ค. 49 38.79
8 มี.ค. 49 39.05
9 มี.ค. 49 39.14
10 มี.ค. 49 39.10
เฉลี่ย 6 - 10 มี.ค. 49 38.97
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า และมีทิศทางอ่อนค่าลงถึงวันพฤหัสบดี โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของ
เงินสกุลภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าลงจากแรงขายเพื่อทำกำไรของนักลงทุนเนื่องจากไม่มั่นใจเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป
แม้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะประกาศยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายแล้วก็ตาม นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมือง
ภายในประเทศ ตัวเลข GDP ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด และการกลับมาขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย โดยการปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางสัปดาห์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากนักเนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้แล้ว ในขณะที่เงินดอลลาร์
สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดีโดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอก
ภาคเกษตรประจำเดือนกุมภาพันธ์ที่ออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ซึ่ง
เป็นไปตามการแข็งค่าของเงินภูมิภาค ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.97 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จาก
ค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-