- จีน ในไตรมาส 3 เศรษฐกิจจีนชะลอตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 โดยขยายตัวร้อยละ 9.0 (yoy) เทียบกับร้อยละ 10.1 ในไตรมาส 2 นับเป็นการขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 10 ครั้งแรกนับจากไตรมาส 4 ปี 2548 แม้ว่าทางการจีนจะไม่เผยแพร่รายงานเศรษฐกิจด้านอุปสงค์เป็นรายไตรมาส แต่คาดว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจมีสาเหตุมาจากการชะลอตัวในภาคการส่งออก สอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 10.5 ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากสินเชื่อที่ตึงตัวมากขึ้น ยอดขายบ้านรวมทั้งประเทศเมื่อสิ้นสุดไตรมาส 3 ลดลงร้อยละ 42 จากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2550 อย่างไรก็ตามอุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวในเกณฑ์ดี การค้าปลีกเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 การลงทุนในสินทรัพย์คงทนในช่วง 9 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 27.6 ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 4 การชะลอตัวของภาคการส่งออก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในทรัพย์สินถาวรและการบริโภคของภาคครัวเรือนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3 มากขึ้น เนื่องจากการลงทุนใน ภาคอุตสาหกรรมและภาคอสังหาริมทรัพย์คิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 และ 1 ใน 4 ของการลงทุนในทรัพย์สินถาวรทั้งหมด ดังนั้นการชะลอตัวของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคอสังหาริมทรัพย์คาดว่าจะทำให้การลงทุนในทรัพย์สินถาวรเริ่มชะลอตัว ขณะที่แรงงานในภาคการส่งออกมีประมาณ 45 ล้านคน ดังนั้นการชะลอตัวของภาคส่งออกคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้และการบริโภคมากขึ้นโดยลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 4 ชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 และทำให้เศรษฐกิจจีนทั้งปีขยายตัวร้อยละ 9.7 ลดลงจากร้อยละ 11.9 ในปี 2550
- เกาหลีใต้ ในไตรมาส 3 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.9 (yoy) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.8 ในไตรมาสที่ 2 และขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2547 ในด้านการผลิต การชะลอตัวของเศรษฐกิจมีสาเหตุ สำคัญมาจากการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรมซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ของ GDP โดยในไตรมาสที่ 3 การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.5 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 8.9 และ 9.0 ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ตามลำดับ เนื่องจากการชะลอตัวของการส่งออกไปยังจีนและตลาดสำคัญอื่น ๆ สาขาการเงินหดตัวร้อยละ 0.03 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 15.0 ในไตรมาส 2 สาขาการค้าส่งค้าปลีกปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ในด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เกาหลีใต้ประสบกับปัญหาความตึงตัวของสภาพคล่องเนื่องมาจากการไหลออกของเงินทุนจำนวนมาก อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นสูงเป็นร้อยละ 140 ในเดือนสิงหาคม ค่าเงินวอนอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องในขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงจากการพยุงค่าเงิน ปัญหาสภาพคล่องที่เกิดขึ้นและคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่ลดลงตามการชะลอตัวของประเทศคู่ค้าสำคัญ ๆ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจเกาหลีใต้มากขึ้นในไตรมาสที่ 4 ในภาพรวมคาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ปี 2551 จะขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.0 ในปี 2550
- สิงคโปร์ ในไตรมาส 3 เศรษฐกิจหดตัวประมาณร้อยละ 0.6 (yoy) เทียบกับร้อยละ 2.3 ในไตรมาส 2 แนวโน้มการหดตัวของเศรษฐกิจมีสาเหตุสำคัญมาจากแนวโน้มการหดตัวและชะลอตัวในแทบทุกองค์ประกอบของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวร้อยละ 11.4 (yoy) เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ของสิงคโปร์เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยอุตสาหกรรมที่หดตัวมาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม (ร้อยละ -35.7) อิเล็คทรอนิคส์ (ร้อยละ — 7.1) ในด้านการส่งออกซึ่งคิดเป็นร้อยละ 230 ของ GDP ในเดือนสิงหาคมและกันยายนหดตัวร้อยละ 13.9 และ 5.7 (yoy) ตามลำดับ โดยการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศกลุ่มยูโรโซนลดลงถึงร้อยละ 24.5 และ 23.6 ในเดือนกันยายน ซึ่งส่งผลให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง ตามลำดับ คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะยังคงชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้าย โดยปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 2.3
- ไต้หวัน เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 1.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.3 ในไตรมาส 2 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเนื่องจากเศรษฐกิจของไต้หวันนั้นพึ่งพิงการส่งออกสูงถึงร้อยละ 74 ของ GDP ทั้งนี้การส่งออกในไตรมาส 3 หดตัวร้อยละ 0.3 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 9.2 ในไตรมาส 2 โดยเฉพาะการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญมีแนวโน้มชะลอตัวจากร้อยละ 9.3 ในเดือนสิงหาคมเป็นร้อยละ 4.6 ในเดือนกันยายน การชะลอตัวของการส่งออกทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ในภาวะชะลอตัว ล่าสุดดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนลดลงร้อยละ 1.39 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 0.66 ในเดือนสิงหาคมในขณะที่คำสั่งซื้อในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.82 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี โดยคำสั่งซื้อจากจีนและสหรัฐฯ (ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของไต้หวัน) ลดลงร้อยละ 10.79 และ 2.29 ตามลำดับ ซึ่งสัญญาณแสดงว่าเศรษฐกิจไต้หวันจะชะลอตัวมากขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี ทั้งปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจไต้หวันจะขยายตัวร้อยละ 2.8 เทียบกับร้อยละ 5.7 ในปี 2550
- กลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนใหญ่มีแนวโน้มชะลอตัวลงยกเว้นประเทศเวียดนามที่ยังขยายตัวร้อยละ 6.5 สูงขึ้น จากร้อยละ 5.6 ในไตรมาส 2 แต่ต่ำกว่าขยายตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ประเทศที่มีสัดส่วนของการส่งออกสูงเช่น สิงคโปร์ (ร้อยละ 230.9 ของร้อยละ 11.4 (yoy) เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ของสิงคโปร์เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยอุตสาหกรรมที่หดตัวมาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม (ร้อยละ -35.7) อิเล็คทรอนิคส์ (ร้อยละ — 7.1) ในด้านการส่งออกซึ่งคิดเป็นร้อยละ 230 ของ GDP ในเดือนสิงหาคมและกันยายนหดตัวร้อยละ 13.9 และ 5.7 (yoy) ตามลำดับ โดยการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศกลุ่มยูโรโซนลดลงถึงร้อยละ 24.5 และ 23.6 ในเดือนกันยายน ซึ่งส่งผลให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง ตามลำดับ คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะยังคงชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้าย โดยปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 2.3
- ไต้หวัน เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 1.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.3 ในไตรมาส 2 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเนื่องจากเศรษฐกิจของไต้หวันนั้นพึ่งพิงการส่งออกสูงถึงร้อยละ 74 ของ GDP ทั้งนี้การส่งออกในไตรมาส 3 หดตัวร้อยละ 0.3 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 9.2 ในไตรมาส 2 โดยเฉพาะการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญมีแนวโน้มชะลอตัวจากร้อยละ 9.3 ในเดือนสิงหาคมเป็นร้อยละ 4.6 ในเดือนกันยายน การชะลอตัวของการส่งออกทำให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ในภาวะชะลอตัว ล่าสุดดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนลดลงร้อยละ 1.39 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 0.66 ในเดือนสิงหาคม ในขณะที่คำสั่งซื้อในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.82 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี โดยคำสั่งซื้อจากจีนและสหรัฐฯ (ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของไต้หวัน) ลดลงร้อยละ 10.79 และ 2.29 ตามลำดับ ซึ่งสัญญาณแสดงว่าเศรษฐกิจไต้หวันจะชะลอตัวมากขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี ทั้งปี 2551 คาดว่าเศรษฐกิจไต้หวันจะขยายตัวร้อยละ 2.8 เทียบกับร้อยละ 5.7 ในปี 2550
- กลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนใหญ่มีแนวโน้มชะลอตัวลงยกเว้นประเทศเวียดนามที่ยังขยายตัวร้อยละ 6.5 สูงขึ้นจากร้อยละ 5.6 ในไตรมาส 2 แต่ต่ำกว่าขยายตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2550 ประเทศที่มีสัดส่วนของการส่งออกสูงเช่น สิงคโปร์ (ร้อยละ 230.9 ของGDP) เวียดนาม (ร้อยละ 77 ของ GDP) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 42.6 ของ GDP) เริ่มได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น โดยการส่งออกเริ่มชะลอตัวลง ทั้งด้านปริมาณจากความต้องการในตลาดโลกที่ลดลงและด้านมูลค่าจากราคาสินค้าสำคัญ ๆ ลดลง เช่น ข้าว ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อรวมกับการไหลออกของเงินทุนและการปรับตัวลงของตลาดหลักทรัพย์กว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าในปี 2550 ทำให้ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคอาเซียนอ่อนค่าลง สถาบันการเงินในภูมิภาคอาเซียนเริ่มเผชิญกับปัญหาสภาพคล่องตึงตัวเช่นเดียวกับสถาบันการเงินในภูมิภาคอื่นๆ อัตราส่วนของสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการบริโภคและการลงทุนในไตรมาส 4 มากขึ้น ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งยังอยู่ในระดับที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ นอกจากนั้นการลดลงของดุลบัญชีเดินสะพัดตามการชะลอตัวของการส่งออก และการไหลออกของเงินทุนมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันต่อปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยประเทศที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยไตรมาสสุดท้ายและภาพรวมปี 2551
ในไตรมาสสุดท้ายของปีเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซาต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังอยู่ในช่วงของการชะลอตัวอย่างไรก็ตามมีปัจจัยสนับสนุนที่จะช่วยให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ต่อไปในไตรมาสสุดท้ายของปี ได้แก่ การดำเนินมาตรการของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบลดลง และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง รวมทั้งการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น
2.1 เงื่อนไข/ปัจจัยเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551
(1) ปัจจัยเสี่ยง/ข้อจำกัด ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 เศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา ความไม่แน่นอนด้านการเมืองในประเทศเอง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้คาดว่าภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงมากตั้งแต่ไตรมาสสามของปี 2551 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกที่ชัดเจนมากขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งจะเห็นว่าปริมาณการส่งออกของประเทศไทยได้เริ่มชะลอตัวตั้งแต่ในไตรมาสที่สามโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 11.8 และ 12.3 ในสองไตรมาสแรก นอกจากนี้การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นข้อจำกัดต่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวในตลาดบนเช่น ยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งมีเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนั้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับต่ำอันเกิดจากความกังวลเรื่องผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองภายในประเทศเองด้วย
สำหรับผลกระทบต่อภาคการเงินจากความเสียหายในการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศและความเสียหายที่ต่อเนื่องที่เกิดจากสัญญา Credit Default Swap นั้นคาดว่าจะมีจำนวนจำกัดเนื่องจากเงินลงทุนและสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศนั้นมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 8.0-10.0 ของสินทรัพย์รวม
สำหรับในด้านสภาพคล่องทางการเงินนั้นจะยังมีเพียงพอ ซึ่งหากประเมินจากพันธบัตรและเงินฝากในระบบการเงินแล้วคาดว่าสภาพคล่องที่พร้อมใช้ได้จะอยู่ที่ระดับประมาณ 7-8 แสนล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามสถาบันการเงินจะมีความระมัดระวังและเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อโดยเฉพาะในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนั้นการเตรียมสภาพคล่องสำหรับการเข้าถึงของกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยผ่านทางสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจึงเป็นนโยบายของรัฐที่มีลำดับความสำคัญ
(2) ปัจจัยสนับสนุน ในไตรมาสสุดท้ายของปีมีปัจจัยที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้ ประกอบด้วย
(2.1) ราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลง จะลดแรงกดดันต่อค่าครองชีพของประชาชน และลดต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจลง คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในไตรมาสสุดท้ายของปีจะอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 3.0-3.5 โดยที่ในไตรมาสสุดท้ายของปีจะยังมีผลจาก “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” ที่จะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อและลดภาระรายจ่ายของประชาชน
(2.2) อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ในภาวะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังอยู่ในช่วงชะลอตัวต่อเนื่องและแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อลดลงมาก ประกอบกับประเทศต่าง ๆ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่องเพื่อพยุงสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ให้เกิดการชะลอตัวอย่างรุนแรงนั้น คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินลง
(2.3) การเร่งรัดการเบิกจ่ายและการดำเนินโครงการของภาครัฐภายใต้กรอบนโยบายการคลังขาดดุลและการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคประชาชนและภาคธุรกิจ
(2.4) การส่งออกและการท่องเที่ยวจะยังมีแนวโน้มขยายตัวแม้จะในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้คาดว่าผลจากคำ สั่งซื้อล่วงหน้า 2-3 เดือนก่อนหน้าที่เศรษฐกิจโลกจะซบเซาลงมากจะทำ ให้การส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปีจะยังขยายตัวได้ในอัตราประมาณร้อยละ 10 นอกจากนี้การส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการส่งเสริมไทยเที่ยวไทยจะช่วยพยุงสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวปลายปี
2.2 ประมาณการเศรษฐกิจทั้งปี 2551: คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับร้อยละ 4.9 ในปี 2550 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากร้อยละ 2.3 ในปี 2550 อัตราการว่างงานทรงตัวที่ร้อยละ 1.4 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่เกินดุล 14,049 ล้านดอลลาร์สรอ. ในปี 2550
ในการแถลงข่าวครั้งวันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ปรับลดการประมาณลงจากที่คาดไว้เดิมร้อยละ 5.2-5.7 ในการแถลงข่าววันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมาด้วยเหตุผล ดังนี้
(1) สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดประกอบกับความไม่สงบภายในประเทศในช่วงไตรมาสสามได้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและบริการมากกว่าที่คาด
(2) ในช่วงไตรมาสที่สามการนำเข้าเร่งตัวขึ้นกว่าที่คาดในทุกหมวดสินค้า ได้แก่ สินค้าวัตถุดิบ สินค้าทุน น้ำมันเชื้อเพลง และสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนหนึ่งเพราะมีการคาดการณ์ว่าราคาจะยังเพิ่มสูงขึ้นมากโดยเฉพาะในกลุ่มเหล็ก ทองคำ และโลหะ ดังนั้นปริมาณการส่งออกสุทธิจึงช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจได้น้อยลง
(3) การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงมากกว่าที่คาด เนื่องสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงรุนแรงกว่าที่คาด รวมทั้งผลกระทบที่ผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ราคาสินทรัพย์และความมั่งคั่งของครัวเรือนในประเทศต่าง ๆ มีความรุนแรงและลุกลามเป็นวงกว้างจึงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในสถานการณ์เศรษฐกิจและโอกาสทางการตลาด นอกจากนี้สถานการณ์ด้านการเมืองในประเทศไทยที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นได้ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและเลื่อนการตัดสินใจการขยายการลงทุนออกไป
(4) มูลค่าการนำเข้าที่เร่งตัวมากขึ้นกว่าที่คาด ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวจากภาวะเศรษฐกิจโลกและเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศไทยส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเล็กน้อย จากที่คาดว่าจะเกินดุลประมาณ 750 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(5) ปรับลดการประมาณการการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐตามภาวะการเบิกจ่ายในไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2551 ที่ต่ำกว่าคาดไว้เดิม