3.1 แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2552: เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงมากและคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.0-2.5
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2552 คาดว่าภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศเศรษฐกิจสำคัญ ๆ จะยังคงอยู่ในช่วงของการแก้ปัญหาภาคการเงิน ซึ่งจะส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินตึงตัวมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อภาคเศรษฐกิจจริงของประเทศต่าง ๆ มากขึ้นโดยเป็นผลกระทบที่จะต่อเนื่องเป็นวงกว้างมากขึ้นจากสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น และลุกลามไปยังประเทศในเอเชียและยุโรปตะวันออก รวมทั้งประเทศจีนและอินเดียที่จะต้องเผชิญกับการชะลอตัวของการส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญที่จะรุนแรง ในปี 2552 นั้นการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจจริงจากผลกระทบเศรษฐกิจโลกยังคงมีข้อจำกัดจากหลายปัจจัย ดังนี้ (i) ภาระหนี้สินของครัวเรือนและภาคธุรกิจสะสมที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงหลังของปี 2551 (ii) การลดลงของความมั่งคั่ง(Wealth destruction) เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้การว่างงานเพิ่มขึ้นขณะที่ราคาหลักทรัพย์และที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลงมากถึงประมาณร้อยละ 50 หากพิจารณาวัฎจักรเศรษฐกิจที่เกิดจากวิกฤติการณ์สถาบันการเงินในอดีตจะพบว่าประเทศที่ประสบปัญหาทางการเงิน จะมีช่วงของความตกต่ำทางเศรษฐกิจประมาณ 4-6 ไตรมาสก่อนที่จะฟื้นตัว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศกลุ่มยูโรโซน และญี่ปุ่นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 มีแนวโน้มที่จะหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงขึ้น ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว คาดว่าเศรษฐกิจประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสำคัญ ๆ ในกลุ่มยูโรโซนจะหดตัวต่อเนื่องอย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ในช่วงครึ่งหลังของปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ และรัฐบาลของประเทศที่ประสบปัญหาสถาบันการเงิน เช่น การเพิ่มทุนให้แก่สถาบันการเงิน การขยายวงเงินการค้ำประกันเงินฝาก การปล่อยสินเชื่อระยะสั้นให้แก่สถาบันการเงินที่มีปัญหาซึ่งคาดว่าจะทำให้ความตึงตัวของสภาพคล่องเริ่มผ่อนคลายลง และการดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่ผ่อนคลายมากขึ้น รวมทั้งการอ่อนตัวของราคาน้ำมันและราคาสินค้าสำคัญ จะเอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศซึ่งคาดว่าจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ในช่วงครึ่งหลังของปี สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวทั้งในภาคการเงินและในด้านอุปสงค์ต่อการส่งออกที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังวิกฤตการณ์ เศรษฐกิจปี 2540 สถาบันการเงินของเอเชียมีความเข้มแข็งมากขึ้นและช่วยลดผลกระทบต่อสถาบันการเงินในภูมิภาค ในขณะที่ภาคธุรกิจเอกชนมีการปรับตัวไปมากและมีการก่อหนี้ในสัดส่วนหนี้ต่ำ (low leverage) อย่างไรก็ตาม การลดลงมากของอุปสงค์ในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งหลายประเทศรุนแรงขนาดที่เศรษฐกิจหดตัวก็จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกสูง ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลและหนี้สินต่างประเทศสูง เช่น ประเทศสิงค์โปร์ ไต้หวันฮ่องกง และเกาหลีใต้ ซึ่งพึ่งพิงการส่งออกในสัดส่วนที่สูงโดยเฉพาะเป็นการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรปจึงคาดว่า
- เศรษฐกิจโลกปี 2552 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.0-2.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.7 ในปี 2551 โดยประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยูโรโซนสหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 0.7, 0.5, 1.3 และ 0.2 ตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ เกาหลีใต้สิงคโปร์ ไต้หวัน ชะลอตัวลงเป็นร้อยละ 3.5, 2.0, และ 2.5 ตามลำดับ เช่นเดียวกับประเทศเกิดใหม่ที่สำคัญ คือ จีน อินเดีย และรัสเซียซึ่งคาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงเป็นร้อยละ 8.5, 6.3 และร้อยละ 3.5 ตามลำดับ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ
(อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา %)
2549 2550 -----2551 (%YoY)----- ---2551 (qoq)-- 2552 Q1 Q2 Q3 ทั้งปี_f Q1 Q2 Q3 _f โลก 5.3 5.0 4.8 3.8 n.a. 3.7 0.9 0.4 n.a. 2.0-2.5 สหรัฐอเมริกา 2.9 2.0 2.5 2.1 0.8 1.3 0.9 2.8 -0.3 -0.7 กลุ่มยูโรโซน 2.8 3.0 2.1 1.5 0.7 1.2 0.7 -0.2 -0.2 -0.5 สหราชอาณาจักร 2.9 3.1 2.3 1.6 0.3 0.8 0.3 0.0 -0.5 -1.3 ญี่ปุ่น 2.4 2.1 1.4 0.7 -0.1 0.2 0.6 -0.9 -0.1 -0.2 จีน 11.6 11.9 10.6 10.1 9.0 9.7 -5.6 12.4 2.7 8.5 สิงคโปร์ 9.4 7.7 6.9 2.3 -0.6 2.3 15.7 -5.7 -6.3 2.0 อินเดีย 9.8 9.2 8.8 7.9 n.a. 7.8 2.2 0.5 n.a. 6.3 มาเลเซีย 5.9 6.3 7.1 6.3 5.7f 6.0 -1.8 2.3 n.a. 4.8 ฟิลิปปินส์ 5.4 7.2 4.7 4.6 n.a. 4.4 0.3 2.0 n.a. 3.8 เวียดนาม 7.9 8.2 7.5 6.5 6.5 6.3 n.a. n.a. n.a. 5.5
ที่มา จาก CEIC หน่วยงานภาครัฐและค่าเฉลี่ยจากหลายแหล่ง
ประมาณการอัตราแลกเปลี่ยน
Annual avg. 2006 2007 2008f 2009f US $/Euro 1.26 1.371 1.456 1.387 Yen/US $ 116.3 116.9 108.1 108.9 ที่มา: Consensus Forecast (Sep 2008)
- อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดโลกยังคงผันผวน โดยค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะแข็งตัวเทียบกับเงินสกุลหลัก ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยที่สำคัญ ๆ 2 ประการ คือ ประการแรก ในช่วงที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงไปมากและแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะมีแนวโน้มอ่อนตัวแต่คาดว่าจะฟื้นตัวจากปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินก่อนกลุ่มประเทศยูโร สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่นประการที่สอง แม้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของสหรัฐฯ แต่ภาวะความถดถอยของเศรษฐกิจที่มีลักษณะนำโดยการหดตัวของการใช้จ่ายครัวเรือน คาดว่าจะส่งผลให้การนำเข้าลดลงและส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้นโดยลำ ดับ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อค่าเงินดอลลาร์ เช่นเดียวกับค่าเงินเยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากการที่การเคลื่อนย้ายเงินไปลงทุนในต่างประเทศ (carry trade) ได้ครบกำหนดหรือหมดลง
- การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของปริมาณการค้าโลก ซึ่งคาดว่าจะชะลอตัวลงจากร้อยละ 5 ในปี 2551 เป็นประมาณร้อยละ 4 ในปี 2552 โดยอุปสงค์ต่อสินค้าและบริการจะหดตัวลง เมื่อรวมกับแนวโน้มการฟื้นตัวของค่าเงินดอลลาร์ซึ่งจะลดแรงกดดันในการเก็งกำไรในตลาดสินค้าของนักลงทุน ปัจจัยดังกล่าวคาดว่าจะทำให้ราคาสินค้าสำคัญ ๆ ในตลาดโลกอยู่ในภาวะอ่อนตัว โดยเฉพาะราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ในตลาดโลก ในขณะเดียวกัน ประเทศต่าง ๆ จะดำ เนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและอัดฉีดสภาพคล่องทางตรงเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง แต่สภาพคล่องในตลาดโลกอาจไม่ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นในระยะอันใกล้ เนื่องจากความต้องการเงินทุนเพื่อชดเชยความเสียหายในภาคการเงินของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินและความเสี่ยงของคู่สัญญา (Counterparty risk) ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งการลดลงของราคาหลักทรัพย์ทำให้การระดมทุนในตลาดทุนทำได้ลำบาก เมื่อรวมกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ลักษณะดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลกระทบในด้านลบต่อการลงทุนของต่างชาติในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในส่วนของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และการลงทุนทางตรง
3.2 แนวโน้มราคาน้ำมันปี 2551-2552
(3.2.1) คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบโดยเฉลี่ยในปี 2551 จะอยู่ที่ประมาณ 95 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจาก 68.83 ดอลลาร์สรอ. ต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.1 จากปี 2550 ทั้งนี้ในช่วง 10 เดือนแรก ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 103.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.4 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับเดือนตุลาคมราคาเฉลี่ย 67.5 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และคาดว่าในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างชัดเจน รวมถึงการคาดการณ์ว่ากำลังการผลิตส่วนเกินของกลุ่มโอเปกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 2.48 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ดังนั้นคาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมจะต่ำกว่าราคาเฉลี่ยเดือนตุลาคม ปี 2551
(3.2.2) ในปี 2552 ราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยจะอยู่ในระดับทรงตัวใกล้เคียงกับราคาในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยรายงานของ Energy Information Administration (EIA)ประจำเดือนพฤศจิกายน 2551 คาดว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบ WTI ในปี 2552 จะอยู่ที่ 63.50 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม สศช.คาดว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบ WTI จะอยู่ในช่วง 60 - 65 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยของปี 2551 ที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 101.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ทำให้คาดว่าราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยจะลดลงต่ำกว่าในปี 2551 ประกอบด้วย
- ปริมาณความต้องการใช้มีแนวโน้มทรงตัวจากผลของภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จากรายงานภาวะตลาดน้ำมัน เดือนพฤศจิกายนของ EIA คาดว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำมันโดยรวมของโลกในปี 2552 จะอยู่ที่ 85.93 ล้านบาร์เรลต่อวัน ใกล้เคียงกับปริมาณความต้องการใช้ในปี 2551 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 85.89 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยคาดว่าความต้องการใช้ของกลุ่มประเทศ OECD จะลดลงจาก 47.79 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็น 46.93 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยปริมาณความต้องการใช้ที่ลดลงทั้งจากประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรป และญี่ปุ่น ขณะที่ความต้องการใช้ของกลุ่มประเทศนอก OECD จะเพิ่มขึ้นจาก 38.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็น 39.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้ในประเทศจีน ประเทศแถบละตินอเมริกา และประเทศแถบตะวันออกกลาง
ปริมาณการใช้น้ำมัน
(million barrels per day) Year 2009_f Consumption 2007 2008_f 2009_f Q1 Q2 Q3 Q4 OECD 49.14 47.79 46.93 47.84 45.80 46.47 47.62 U.S. (50 States) 20.68 19.56 19.31 19.43 19.15 19.28 19.36 U.S. Territories 0.32 0.29 0.29 0.30 0.29 0.28 0.30 Canada 2.37 2.35 2.30 2.33 2.23 2.31 2.35 Europe 15.30 15.16 14.85 14.88 14.50 14.89 15.11 Japan 5.01 4.95 4.81 5.38 4.39 4.53 4.96 Other OECD 5.46 5.48 5.37 5.52 5.23 5.19 5.54 Non-OECD 36.67 38.10 39.00 38.23 39.20 39.14 39.42 Former Soviet Union 4.28 4.41 4.45 4.36 4.54 4.47 4.42 Europe 0.79 0.80 0.82 0.88 0.81 0.76 0.82 China 7.58 8.00 8.34 8.07 8.32 8.33 8.64 Other Asia 8.78 8.91 8.88 8.88 8.97 8.69 8.97 Other Non-OECD 15.24 15.97 16.52 16.04 16.56 16.89 16.57 Total WorldConsumption 85.81 85.89 85.93 86.07 85.00 85.61 87.05 ที่มา : EIA
- ปริมาณการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น EIA คาดว่าในปี 2551 ปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศนอก OPEC ลดลง 280,000 บาร์เรลต่อวัน สาเหตุมาจากโครงการด้านขุดเจาะน้ำมันต่าง ๆ ที่ช้าออกไป อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิตจะกลับมาเพิ่มขึ้นในปี 2552 โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 500,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2552 ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา อาเซอร์ไบจัน และบราซิล การผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศ OPEC มีแนวโน้มลดลง จากการประชุมฉุกเฉินของกลุ่มโอเปกเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2551 ที่ประชุมได้มีมติลดกำ ลังการผลิต 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 นอกจากนี้กลุ่มโอเปกยังประกาศว่าอาจจะมีการประกาศลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมหากราคาน้ำมันยังปรับลดลงอีก(ฉ) นอกจากนั้นยังคาดว่ากำลังการผลิตส่วนเกินของกลุ่ม OPEC จะเพิ่มขึ้นจาก 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในไตรมาสที่สองปี 2551 ไปอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงปี 2552
- ปัญหาและความเสียหายในภาคการเงินรวมทั้งการดำเนินธุรกรรมในตลาดอนุ - พันธุ์จะทำให้แรงจูงใจในการเก็งกำไรในตลาดต่าง ๆ รวมทั้งการเก็งกำ ไรในตลาดล่วงหน้าน้ำมันลดลง กลุ่มประเทศG-20 ได้มีข้อตกลงร่วมกันเพื่อผลักดันให้มีระบบการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใสสำหรับตลาดการเงินและตลาดอนุพันธุ์รวมการดำ เนินธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ และนวธนกิจ
3.3 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2552
3.3.1 ประเด็นหลัก
- ในปี 2552 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลงจากปี 2551 โดยในครึ่งแรกของปีเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกส่งผลให้การส่งออกชะลอตัวมาก ประกอบกับการส่งออกมีฐานที่สูงมากในปี 2551 (high base effect) ด้วย และการลงทุนภาคเอกชนจะยังชะลอตัวต่อเนื่องเนื่องจากความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจจะยังต่ำในภาวะที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงต่ำสุด อย่างไรก็ตามคาดว่าในครึ่งหลังของปีการเร่งรัดการลงทุนภาครัฐและการเบิกจ่ายเม็ดเงินลงสู่โครงการรากหญ้าต่าง ๆ จะมีความคืบหน้ามากขึ้นและช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะความคืบหน้าของโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐจะเป็นรูปธรรมมากขึ้นและทำให้ภาคธุรกิจเอกชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ในขณะที่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจและการเงินโลกจะผ่านพ้นช่วงต่ำสุดไปแล้วในครึ่งแรกของปีและเริ่มปรากฏผลของการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังผ่อนคลายที่ได้ดำเนินมาในช่วงครึ่งหลังปี 2551 และต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2552
หมายเหตุ
(ฉ) ทั้งนี้กลุ่มโอเปกจะมีการประชุมฉุกเฉินเพื่อพิจารณามติให้ลดกำลังการผลิตน้ำมันลงอีก เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันในตลาดโลก ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2551 ที่กรุงไคไร ประเทศอียิปต์
- การส่งออกสินค้าและบริการท่องเที่ยวมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะการส่งออกในกลุ่มสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อรายได้มากและในบางรายการมีลักษณะเป็นสินค้าทุนด้วย ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอัญมณี เป็นต้น สำหรับการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา และสถานการณ์ความไม่แน่นอนในประเทศ แต่คาดว่าสถานการณ์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลัง และการดำเนินแคมเปญเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจะช่วยฟื้นฟูสถานการณ์การท่องเที่ยวในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในปลายปี 2552 ได้ทัน
- ในปี 2552 การบริหารเศรษฐกิจต้องมุ่งเน้นในการกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศโดยใช้การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเป็นตัวนำ เพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากการส่งออกชะลอตัวมาก รวมทั้งให้ลำดับความสำคัญกับการดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มด้อยโอกาส และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพในการพึ่งพาตนเองในระยะยาวและการเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่ไปด้วยนอกจากนี้การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นและการกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนเพื่อเตรียมสภาพคล่องให้มีเพียงพอจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการใช้จ่ายและการลงทุนมากขึ้น
- เศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะมีแหล่งที่มาของการขยายตัวจากอุปสงค์ภายในประเทศมากขึ้น และอุปสงค์ภายในประเทศจะเป็นฐานของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าการส่งออกสุทธิ
- ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มลดลงจากฐานราคาสินค้าและบริการที่ปรับเพิ่มขึ้นมากในปี 2551ในขณะที่ความต้องการสินค้าและบริการยังอ่อนแอ จะมีผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงมากในปี 2552 แต่ทั้งนี้จะต้องระมัดระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดถึงภาวะความต้องการสินค้าและบริการที่มีความอ่อนแอที่จะทำ ให้อัตราเงินเฟ้อลดลงมากและกลายเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะที่ราคาสินค้าลดลงต่อเนื่องและอยู่ในระดับที่ต่ำมาก (deflation)ได้ ซึ่งในปัจจุบันหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เริ่มมีความกังวลว่าจะเกิดภาวะเงินฝืด