4. แนวทางการบริหารเศรษฐกิจในปี 2552
ในปี 2552 เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจโลกต่อการส่งออก การท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นของผู้ บริโภคและนักลงทุนที่จะมีผลต่อการตัดสินใจใช้จ่ายและขยายการลงทุน ดังนั้นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2552 นั้นจะต้องมุ่งเน้นในการกระตุ้นและสร้าง ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินมาตรการเพื่อดูแลผลกระทบและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ ไทย ซึ่งต้องเผชิญกับภาวะดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยเฉพาะการลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาส ได้แก่
1. เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2552 และการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 1 แสน ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและเสริมสร้างสภาพคล่องของวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ รวมทั้งเร่ง รัดดำเนินการโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยที่จะต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายร้อยละ 94 ของวงเงิน งบประมาณ และการเบิกจ่ายงบรัฐวิสาหกิจได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของวงเงินงบประมาณ โดยเฉพาะในกลุ่มงบประมาณที่ลงสู่ประชาชนและการเสริม สร้างศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนต้องดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายครัวเรือนได้ในระยะสั้นและการพึ่งพาตนเองได้มาก ขึ้นในระยะยาว
2. ดูแลแรงงานผู้ถูกเลิกจ้างงาน ให้มีสวัสดิการรองรับที่เหมาะสมและได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะและจัดหางานใหม่
3. การดูแลสาขาการผลิตและบริการที่อาจได้รับผลกระทบรุนแรง เช่น การท่องเที่ยว การส่งออก อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น โดยการเร่ง ส่งเสริมการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องโดยใช้ทั้งกลยุทธ์ตลาดใหม่ การยกระดับมาตรฐานสินค้าและระบบเครือข่ายตลาด โดยอาศัยความ ร่วมมือภาครัฐและเอกชนเป็นกลไกในการขับเคลื่อน
4. วางกลไกช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งเผชิญราคาผลผลิตลดลง ให้วางแผนการผลิตและได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม
5. ดูแลราคาพลังงานให้ปรับตัวลงอย่างเหมาะสมและเก็บเงินสะสมเข้ากองทุนพลังงานเพื่อใช้ยามฉุกเฉินในอนาคต
6. ดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายภายใต้เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยจากการที่แรงกดดันราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อลดลงและการดูแล สภาพคล่องให้มีความเพียงพอโดยเฉพาะการเข้าถึงเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2551 - 2552
ข้อมูลจริง ประมาณการ ปี 2551_f ปี 2552_f 2549 2550 25 ส.ค. 51 24 พ.ย. 51 24 พ.ย. 51 GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 7,841.3 8,493.3 9,410.1 9,232.2 9,813.8 รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 120,933.0 128,686 142,577.1 139,881.8 147,576.6 GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 206.9 245.8 284.3 277.2 284.5 รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 3,191 3,724 4,307.5 4,200.7 4,277.6 อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 5.2 4.9 5.2 — 5.7 4.5 3.0-4.0 การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 3.9 1.3 6.2 2.3 4.8 ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 4.1 0.6 7.3 4.0 3.8 ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) 3.3 3.4 3.0 -2.7 8.0 การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 2.9 2.7 3.5 2.1 4.3 ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 3.0 1.6 3.2 2.6 3.7 ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.4 9.2 5.0 -1.0 8.0 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 9.1 7.1 8.5 7.6 4.4 มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 127.9 150.0 174.8 180.07 192.7 อัตราการขยายตัว (%) 17.0 17.3 16.5 20.0 7.0 อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 11.2 11.0 8.0 8.0 4.0 ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 3.3 3.4 8.4 7.7 5.2 มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 126.9 138.5 171.2 181.05 199.2 อัตราการขยายตัว (%) 7.9 9.1 23.6 30.7 10.0 อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 1.3 3.6 9.5 9.5 5.0 ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1.0 11.6 3.6 -1.0 -6.5 ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)(1/) 2.3 14.0 7.5 -0.3 -3.5 ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 1.1 5.7 2.6 -0.4 -1.2 เงินเฟ้อ (%) ดัชนีราคาผู้บริโภค 4.7 2.3 6.5 — 7.0 5.6 2.5-3.5 GDP Deflator 5.0 2.7 5.5 — 6.0 4.2 2.5-3.5 อัตราการว่างงาน 1.5 1.4 1.5 1.4 1.5-2.5
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 24 พฤศจิกายน 2551
หมายเหตุ (1/) Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its contra entry recorded as income on equity in current account.
กรอบบริหารงบประมาณปี 2552
รัฐบาลได้จัดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 เป็นแบบขาดดุล วงเงิน 1,835,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.2 ของ GDP เพิ่มจากปี งบประมาณ 2551 จำนวน 175,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.5 และได้ประมาณการรายได้สุทธิ 1,585,500 ล้านบาท โดยมีวงเงินกู้เพื่อชดเชย ขาดดุลงบประมาณ 249,500 ล้านบาทหรือร้อยละ 2.4 ของ GDP ทั้งนี้ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2552 ได้ประกาศในราช กิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551
รัฐบาลได้ประมาณการรายได้ปี 2552 จำนวน 1,585,500 ล้านบาท จำแนกเป็นรายได้จากภาษีทางตรง 751,000 ล้านบาท และภาษี ทางอ้อม 1,017,497 ล้านบาท รายได้จากรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่น 131,503 ล้านบาท ซึ่งหลังหักรายการคืนภาษีของกรมสรรพากร การกันเงิน ชดเชยสำหรับสินค้าส่งออก และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 242,600 ล้านบาท จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาด ดุล 249,500 ล้านบาท
โครงสร้างงบประมาณด้านรายจ่าย 1,835,000 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 1,336,466 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.8 ของงบประมาณรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 รายจ่ายลงทุน 407,318 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และรายจ่าย ชำระคืนต้นเงินกู้และรายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง 63,676 และ 27,540.2 ล้านบาทตามลำดับ สำหรับรายจ่ายชดใช้เงินคงคลังให้กำหนดแหล่งที่มาของ รายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปในปีงบประมาณก่อนหน้าด้วย ทั้งนี้ได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2552 ร้อยละ 94.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย 1,835,000 ล้านบาท สำหรับรายจ่ายลงทุนได้กำหนดเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 74.0 ของวงเงินรายจ่ายลง ทุนของแต่ละส่วนราชการ โดยมีเป้าหมายการเบิกจ่าย จำแนกเป็นรายไตรมาส ดังนี้
ระยะเวลา เป้าหมายการเบิกจ่าย เป้าหมายการเบิกจ่าย เป้าหมายอัตราการเบิกจ่าย
แต่ละไตรมาส (ล้านบาท) สะสม ณ สิ้นระยะเวลา (ล้านบาท) สะสม ณ สิ้นระยะเวลา (%)
ต.ค.-ธ.ค.2551 412,875 412,875 22.5 ม.ค.-มี.ค.2552 431,225 844,100 46.0 เม.ย.-มิ.ย.2552 440,400 1,284,500 70.0 ก.ค.-ก.ย.2552 440,400 1,724,900 94.0
ที่มา : กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 อนุมัติในหลักการการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 วงเงิน 100,000 ล้านบาท เพื่อรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้อยู่ระหว่าง การนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพิจารณา ก่อนทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 อนุมัติแผนบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2552 วงเงิน 1,095,191.89 ล้าน บาท และวงเงินสำรองเผื่อไว้ประมาณร้อยละ 10 ของยอดวงเงินรวมของแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2552 เพื่อรองรับการปรับ ปรุงแผนระหว่างปีสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต้องปรับแผนการกู้เงินและบริหารหนี้เพิ่มเติม คิดเป็นกรอบวงเงินรวมของแผนทั้งสิ้น 1,200,000 ล้านบาท
แผนงาน วงเงิน (ล้านบาท) 1. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล 513,576.19 2. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 218,190.72 3. การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน n.a. 4. การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ 184,838.89 5. การก่อหนี้จากต่างประเทศ 81,563.44 6. การบริหารหนี้ต่างประเทศ 97,022.65 รวม 1,095,191.89
ที่มา : กระทรวงการคลัง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--