(ต่อ7)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม และแนวโน้มปี 2551 - 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 8, 2008 14:47 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

3.3.2 ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2552 การขยายตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในปี 2552 จะมีแรงสนับสนุนจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

(1) การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลและเร่งรัดการดำเนินโครงการของภาครัฐเพื่อเร่งให้เกิดกิจกรรมและการเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะในกลุ่มงบประมาณที่ลงสู่ประชาชนและการเสริมสร้างศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชนเพื่อช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายครัวเรือนในช่วงปี 2551 และเป็นการเตรียมพื้นฐานให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้นในระยะยาว นอกจากนี้การจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมอีก 1 แสนล้านบาท ก็จะสนับสนุนให้เกิดผลต่อเนื่องให้การใช้จ่ายและการลงทุนมีการขยายตัว โดยส่วนหนึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและเสริมสภาพคล่องของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ รวมทั้งการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส

(2) มาตรการภาครัฐเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุน รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคธุรกิจเอกชน ประกอบด้วยมาตรการภาษีเพื่อเพิ่มรายได้แก่ประชาชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมาตรการเงินทุนเพื่อประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก และมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์

(3) ปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ ที่จะสนับสนุนการใช้จ่ายและจูงใจต่อการลงทุน ได้แก่ การดำ เนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น ราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบที่ลดลง และอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง

3.3.3 ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2552

(1) ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวของประเทศไทยจะชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2551 และตลอดช่วงปี 2552 เนื่องจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เป็นวงกว้างมากขึ้นและครอบคลุมทั่วตลาดเอเชียซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่รองรับการส่งออกของไทยในช่วงที่ผ่านมาประกอบกับสินค้าเกษตรเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้นจากการปรับเพิ่มผลผลิตของหลายประเทศ และมีการระบายสต็อกข้าวของประเทศจีนและเวียดนามและการระบายสต็อกยางพาราของประเทศจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย

(2) การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวตลอดช่วงปี 2551 ในขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลง ได้ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในภาพรวม ดังนั้นในปี 2552 ความคืบหน้าและความชัดเจนของการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐจะเป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศ

(3) ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจลดลงอันเนื่องมาจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลกและความไม่แน่นอนด้านการเมืองภายในประเทศ โดยที่ข่าวสารเกี่ยวกับการรับรู้ความเสียหายในภาคการเงินและการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกของประเทศต่าง ๆและภาวะการค้าโลกในภาพรวมจะกระทบความเชื่อมั่นและการตัดสินใจในด้านการลงทุนได้ง่าย

3.4 ข้อสมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2552

(1) เศรษฐกิจโลกในปี 2552 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.0-2.5 ชะลอตัวลงมากจากที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ในปี 2550 และที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.7 ในปี 2551(ช) ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจชะลอตัวเป็นวงกว้างทั้งในประเทศเศรษฐกิจหลักเป็นสำคัญ โดยที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป หดตัว ในขณะที่เศรษฐกิจจีนอินเดียและกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกและอาเซียน(5) รวมทั้งยุโรปตะวันออกชะลอตัวอย่างชัดเจน

(2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2552 เท่ากับ 55 — 65 ดอลลาร์ต่อบาเรล ซึ่งต่ำกว่าราคาเฉลี่ย 68.83 ดอลลาร์ต่อบาเรลในปี 2550 และราคาคาดการณ์บาเรลละ 95 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2551

  • ตั้งแต่ต้นปี 2551 จนถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน ราคาเฉลี่ยน้ำมันดูไบอยู่ที่บาเรลละ 100.43 ดอลลาร์สรอ. สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 52.12
  • อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบได้ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคมของปี 2551 เนื่องจาก(i) ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงและมีผลให้ความต้องการใช้น้ำมันชะลอตัวลง (ii) วิกฤตการเงินที่ลุกลามและเกิดความเสียมากขึ้นนั้นได้ทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนกลับสู่ตลาดสหรัฐฯ มากขึ้นส่วนหนึ่งเป็นการชดเชยความเสียหาย ดังนั้นความต้องการเงินดอลลาร์ สรอ. จึงเพิ่มขึ้นและค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และ (iii) การเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้าลดลงในภาวะที่ความเสี่ยงมีมากขึ้นประกอบกับการคาดการณ์ว่าตลาดน้ำมันจะผ่อนคลายลงเมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากขึ้น
  • ในไตรมาสสามราคาน้ำมันดิบดูไบเท่ากับ 113.32 ดอลลาร์ต่อบาเรล ลดลงเล็กน้อยจากเฉลี่ย 117.02 ดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสอง แต่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนนั้นราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย

หมายเหตุ

(ช) ในการแถลงข่าวครั้งวันที่ 24 สิงหาคม 2551 นั้นมีสมมุติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเท่ากับร้อยละ 4.0 อยู่ที่บาเรลละ 58.73 ดอลลาร์ สรอ. โดยที่ในครึ่งหลังของเดือนพฤศจิกายนราคาได้ลดลงเป็นต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ สรอ. และคาดว่าราคาน้ำมันดิบจะยังมีแนวโน้มชะลอตัวในระยะต่อไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง

  • ปี 2552 ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสที่จะปรับสูงขึ้นกว่าระดับปัจจุบันได้ เนื่องจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศโอเปค ทั้งที่เริ่มมีผลในเดือนพฤศจิกายนและความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดลงอีกเพื่อดึงระดับราคาให้สูงขึ้นกว่าในปัจจุบันในขณะเดียวกันยังมีความเสี่ยงจากผลกระทบจากภัยธรรมชาติหรือปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างประเทศ (geopolitics) ที่อาจจะทำให้ราคาน้ำมันมีความผันผวนเป็นช่วงสั้น ๆ ได้ นอกจากนี้ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นในช่วงปลายปี 2552 ราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าในระดับปัจจุบัน (ซึ่งต่ำกว่าบาเรลละ 50 ดอลลาร์ สรอ.)

(3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปของเงินดอลลาร์ สรอ.คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.0 และราคานำเข้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ราคาสินค้าที่คาดว่าจะชะลอตัวส่วนหนึ่งเป็นการปรับตัวจากฐานราคาที่สูงขึ้นมากในปี 2551 โดยเฉพาะราคาเหล็ก โลหะ ทองคำและน้ำมัน และคาดว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาน้ำมันมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในปี 2552 เนื่องจากความต้องการที่ชะลอลงและปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรของโลกเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นการปรับผลผลิตตามแรงกดดันและแรงจูงใจด้านราคาในช่วงปี 2551 เช่น ข้าว และข้าวสาลี นอกจากนั้นพืชพลังงานทั้งข้าวโพด และมันสำปะหลังจะมีราคาที่ลดลงตามภาวะราคาน้ำมัน ในปี 2552 ราคานำเข้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาส่งออกจะทำให้ประเทศไทยอยู่ในฐานะเสียเปรียบอัตราการค้า (Term of trade)

3.5 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2552: เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.0-4.0 และอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 2.5-3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 1.2 ของGDP

ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวถึงร้อยละ 4.0 ได้ในกรณีที่การดำเนินมาตรการรัฐบาลภายใต้กรอบทิศทางการบริหารเศรษฐกิจในปี 2552 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และราคาน้ำมันไม่สูงเกินกว่าบาเรลละ 75 ดอลลาร์ สรอ. และเศรษฐกิจโลกขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0

องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2552

3.5.1 ด้านอุปสงค์ และเสถียรภาพของเศรษฐกิจ

(1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 โดยที่การใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ปรับตัวดีขึ้นจากที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 2551 เนื่องจากแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อลดลง และมีแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยที่คาดว่าการใช้จ่ายรัฐบาล ณ ราคาคงที่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 จากการเร่งรัดการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณขาดดุลและการจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมอีก 1 แสนล้านบาท

(2) การลงทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ปรับตัวดีขึ้นจากที่คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3 ในปี 2551 จากการที่คาดว่าการลงทุนภาครัฐจะเร่งตัวมากขึ้นเมื่อการดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมมากขึ้นในครึ่งหลังของปีสำหรับการลงทุนภาคเอกชนนั้นคาดว่าจะยังคงชะลอตัวโดยขยายตัวประมาณร้อยละ 3.8 เนื่องจากภาคธุรกิจส่วนหนึ่งจะยังรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ด้านการเมืองภายในประเทศให้มีความชัดเจนขึ้นก่อน ประกอบกับยังมีกฎหมายที่ภาคเอกชนยังรอความชัดเจนทั้งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวและพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกและการค้าส่ง เป็นต้น นอกจากนี้คาดว่าในปี 2552 สถาบันการเงินจะมีความระมัดระวังมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อแม้จะยังมีสภาพคล่องเพียงพอ ทั้งนี้เนื่องจากมีความกังวลที่จะเกิดภาวะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ได้ง่ายในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว

(3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในปี 2552 คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ชะลอตัวลงมากจากที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 20.0 ในปี 2551 โดยทั้งปริมาณและราคาสินค้าส่งออกจะชะลอตัวลงในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจชะลอตัวแรง และเป็นการชะลอตัวลงจากฐานการส่งออกที่สูงในปี 2551 ในด้านปริมาณการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.0 และราคาสินค้าออกโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.0 ตามภาวะของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ชะลอลงมาก นอกจากนี้ภายใต้สถานการณ์ที่ความต้องการสินค้าในตลาดโลกมีแนวโน้มชะลอตัว โดยที่ประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญ โดยเฉพาะจีนมีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่มากจะทำให้มีการแข่งขันด้านราคามากขึ้น สำหรับสินค้าเกษตรคาดว่าผลผลิตในตลาดโลกปี 2552 จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นชัดเจนเพื่อตอบสนองกับราคาที่เพิ่มขึ้นมากในปี 2551 ราคาสินค้าเกษตรส่งออกจึงมีแนวโน้มลดลงกว่าในปี 2551

โดยรวมคาดว่าปริมาณการส่งออกทั้งสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ชะลอลงมากจากร้อยละ 7.4 ในปี 2551

(4) ปี 2551 การนำเข้าเร่งตัวขึ้นมากจากฐานการนำเข้าที่ต่ำในปี 2550 โดยการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากในปี 2551 เป็นทั้งในกลุ่มวัตถุดิบและชิ้นส่วนในการผลิตเพื่อส่งออกและสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนหนึ่งเป็นการสะสมสต็อกโดยเฉพาะในกลุ่มทองคำเหล็ก โลหะ และชิ้นส่วนยานยนต์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับในปี 2552 คาดว่าการนำเข้าจะชะลอตัวลงมากตามภาวะการลงทุนและการส่งออกที่ชะลอลงในขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังอ่อนแอประกอบกับจะมีการนำสต็อกออกมาใช้ โดยคาดว่าในปี 2551 การนำเข้าสินค้าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 และมูลค่าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.7 สำ หรับปี 2552 คาดว่าปริมาณการนำเข้าขยายตัวในอัตราชะลอตัว โดยขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปี 2552 โดยที่ราคานำเข้าสินค้าจะชะลอลงมาก โดยเฉพาะในกลุ่มวัตถุดิบและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 10.0 ปริมาณการนำ เข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.7 ในปี 2551

(5) ดุลการค้ามีแนวโน้มขาดดุลประมาณ 6.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2552 ขาดดุลมากกว่าที่ขาดดุลประมาณ 1.0 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในปี 2551 ซึ่งเป็นผลมาจากฐานการนำเข้าที่สูงขึ้นมากในปี 2551 และในปี 2552 การส่งออกชะลอตัวลงมากกว่าการนำเข้า และเมื่อรวมกับดุลบริการที่คาดว่าจะเกินดุล ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลประมาณ 3.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 1.2 ของ GDP ซึ่งเป็นการขาดดุลเพิ่มขึ้นจากที่ขาดดุลประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ ในปี 2551

(6) เศรษฐกิจโดยรวมปี 2552 คาดว่ายังมีเสถียรภาพ แม้ว่าจะเริ่มมีสัญญาณการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้โดยที่เสถียรภาพภายในประเทศอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.5-3.5 ลดลงอย่างชัดเจนจากประมาณการอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 5.6 ในปี 2551 เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงประกอบกับความต้องการสินค้ายังอ่อนตัว แม้ว่าผลของมาตรการ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” จะหมดลงในเดือนมกราคมปี 2552 แต่เป็นช่วงจังหวะเวลาที่ราคาน้ำมันลดลงมากแล้วจึงไม่กลายเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อ สำหรับอัตราการว่างงานมีแนวโน้มอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.5-2.5 โดยที่เป็นการว่างงานมากกว่าในปัจจุบันอีกประมาณ 5-6 แสนคน ทั้งนี้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 นี้ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.42 โดยเป็นการว่างงานเฉลี่ยประมาณ 530,000 คนจากกำลังแรงงานเฉลี่ย 37.55 ล้านคน

3.5.2 แนวโน้มการผลิตในปี 2552: โดยรวมในปี 2552 มีแนวโน้มชะลอตัวจากปี 2551 ซึ่งสถานการณ์การผลิตมีแนวโน้มดังนี้

(1) สาขาเกษตรกรรม คาดว่าอุปสงค์สำหรับพืชเกษตรจะเพิ่มช้ากว่าปริมาณผลผลิต ดังนั้นจึงคาดว่าจะเกิดอุปทานส่วนเกิน และระดับราคาเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าส่วนใหญ่ได้เพิ่มปริมาณผลผลิต เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ และคาดว่าในปี 2552 การแข่งขันในตลาดโลกจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้บทบาทของประเทศผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองราคามากกว่าประเทศผู้ขาย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ระดับราคาในตลาดโลกมีแนวโน้มที่ลดลงกว่าปี 2551 ส่วนรายได้เกษตรกรในปี 2552 แนวโน้มชะลอตัวลงจากปี 2551 ซึ่งแนวโน้มการผลิตภาคเกษตรสำคัญ ได้แก่

(1.1) ข้าว ผลผลิตข้าวของไทยมีแนวโน้มที่ดีโดยเฉพาะข้าวนาปี นาปรัง เป็นผลจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้นตามแรงจูงใจทางด้านราคาในปีที่ผ่านมาที่สูงเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับแนวโน้มราคาในตลาดโลกลดลง ทำให้รัฐบาลได้ออกมาตรการโครงการรับจำ นำ ข้าวเปลือก ฤดูการผลิต 2551/2552 โดยเริ่มตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2551 และสิ้นสุดในเดือนเมษายน 2552 เพื่อช่วยพยุงราคาข้าวในประเทศให้อยู่ในเกณฑ์ดีช่วยชะลอการอ่อนตัวของราคาข้าวเปลือกได้ระดับหนึ่ง

(1.2) มันสำปะหลัง คาดว่าในปี 2552 ปริมาณผลผลิตจะอยู่ที่ 28.891 ล้านตัน เนื้อที่เก็บเกี่ยว 7.824 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.0 และ 5.8 จากปี 2551 ตามลำดับ เนื่องจากเกษตรกรมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น จากแรงจูงใจด้านราคาในช่วงที่ผ่านมา การที่ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นสินค้าที่พึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลักถึงร้อยละ 70 จึงคาดว่าอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในตลาดส่งออกจะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนมีการนำเข้ามันเส้นปริมาณมากเพื่อผลิตแอลกอฮอล์ ส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในช่วงกีฬาโอลิมปิกซึ่งขณะนี้ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ส่วนตลาดมันอัดเม็ด สหภาพยุโรปมีผลผลิตธัญพืชมากขึ้นจึงยังไม่มีคำ สั่งซื้อล่วงหน้าจากไทย สำหรับตลาดในประเทศคาดว่าอุปสงค์จะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ยกเว้นสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลหากมีการปรับราคาเอทานอลให้สูงขึ้นจะส่งผลให้มีการใช้มันสำปะหลังในการผลิตเอทานอลมากขึ้น เพราะผู้ประกอบการขายเอทานอลได้ผลตอบแทนคุ้มค่าจากการลงทุนและคาดว่าราคามันสำ ปะหลังปี 2552 จะประมาณ 1.70 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในปี 2551 ซึ่งเป็นไปตามทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

(1.3) ยางพารา คาดว่าผลผลิตยางพาราปี 2552 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นยางที่มีการปลูกทดแทนและปลูกเพิ่มในระยะที่ผ่านมาเริ่มเปิดกรีดได้มากขึ้น ในขณะที่ระดับราคายางพาราโดยเฉลี่ยต่ำกว่าปี 2551 โดยที่ราคายางจะมีการปรับฐานลงมาสู่ภาวะปกติ จากราคายางที่สูงกว่าแนวโน้มปกติใน ปี 2551 ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐานที่กำหนดราคายาง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากและจูงใจให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ นอกจากนี้คาดว่าความต้องการใช้ยางในตลาดโลกจะชะลอตัวลง ในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศผู้ใช้ยางพาราหลักทั้งสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีนและอินเดีย ชะลอตัวลง

(1.4) ประมง คาดว่าการส่งออกกุ้งในปี 2552 มีแนวโน้มชะลอลง เนื่องจากวิกฤติการเงินโลกส่งผลทำให้ผู้บริโภคในตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ลดลง ประกอบกับผู้นำเข้าเริ่มขาดสภาพคล่องและขอชะลอการจ่ายเงิน ชะลอการส่งมอบสินค้าและต่อรองราคาสินค้าลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความผันผวนของค่าเงินทำให้ลูกค้าไม่มีคำสั่งซื้อ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันแล้ว ประเทศไทยได้เปรียบและได้รับการยอมรับจากประเทศคู่ค้าใน 3 เรื่องคือ

สินค้ามีคุณภาพความปลอดภัย มีระบบการ ตรวจสอบย้อนกลับดี และปลอดสารปฏิชีวนะประกอบกับผู้ส่งออกกุ้งไทยมากกว่าร้อยละ 50 ได้ทำการตลาดเชิงรุกกับกลุ่ม modern trade และ super market รายใหญ่ทั้งในสหรัฐ ญี่ปุ่นยุโรป และแคนาดา นอกจากการรักษาตลาดหลักไว้แล้ว จะต้องเร่งหาตลาดใหม่เพิ่มเติมเช่น ยุโรปตะวันออก และรัสเซีย ซึ่งไทย-รัสเซียได้จัดทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกันของระบบตรวจรับรองความปลอดภัยอาหารจึงนับเป็นโอกาสอันดีสำ หรับผู้ส่งออกสินค้าประมงไทย ที่จะมีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เพราะรัสเซียเป็นตลาดที่เปิดการค้าแบบเสรีและเป็นตลาดใหม่ รวมทั้งโอกาสในการส่งออกอาหารกระป๋องประเภทปลา และปลาทูน่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น

(2) ภาคอุตสาหกรรม คาดว่าปี 2552 มีแนวโน้มชะลอตัวจากปี 2551 อุตสาหกรรมที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อัญมณีและเครื่องประดับ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมเครื่องเรือนไม้ เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ยังซบเซาอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มดี คือ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้รับผลดีจากราคาพลังงานปรับตัวลง ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตของโลกที่มีการแข่งขันจากผู้ผลิตต้นทุนต่ำ เช่น จีน อินเดีย และเวียดนาม เป็นต้น

(3) สาขาการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ปี 2552 มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปี 2551 เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤติการเงิน ที่จะกระทบต่อตลาดการเงิน ตลาดทุน ตลาดส่งออก ปัญหาการว่างงานทำให้อำนาจซื้อลดลง ซึ่งจะเริ่มเห็นสัญญาณใน

ไตรมาสที่ 2 ปี 2552 ปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนไม่ให้การผลิตในสาขานี้หดตัวมาก คือการเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล (Mega project) การขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่จะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2552 ออกไปอีก 1 ปี สำหรับปัจจัยเสี่ยงในปี 2552 ผู้ประกอบการจะต้องระมัดระวัง คือ ต้นทุนค่าก่อสร้างที่ยังผันผวนอยู่ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยากขึ้น ประกอบกับต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ซึ่งธนาคารจะเข้มงวดและระมัดระวังในการให้สินเชื่อ

(4) สาขาบริการท่องเที่ยว ปี 2552 คาดว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงรุกจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่าปี 2551 โดยคาดว่าจำ นวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 15.0 ล้านคน จากที่คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 14.5 ล้านคน ในปี 2551 รัฐบาลได้ประกาศนโยบายปีท่องเที่ยวไทย 2552 (Visit Amazing Thailand 2009) เพื่อส่งเสริมให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ และส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยการจัดโครงการ Invitation to Visit Amazing Thailand 2009 ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อเป็นการนำเสนอสินค้าและบริการท่องเที่ยวใหม่ที่มีศักยภาพในประเทศ เพื่อที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวเพิ่มขึ้น และได้เน้นภารกิจการท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิด “7 Greens” รวมทั้งการส่งเสริมการตลาดต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการรุกตลาดดาวรุ่ง (Rising Star) เช่น รัสเซีย อินเดียตะวันออกกลาง สเปน มีการรักษาฐานตลาดเดิมโดยเฉพาะกลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มตลาดหลักในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลี ฮ่องกง และขยายฐานตลาดระยะใกล้ที่มีศักยภาพ เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย

(ยังมีต่อ).../4. แนวทางการบริหาร..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ