- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงเกือบตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.09375 - 4.125 และ 4.21875 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน และ Interbank ปิตตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ทั้งของไทยและสหรัฐฯ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรฯ ระยะยาวปรับตัวลดลง
- เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ท่ามกลางปริมาณการทำธุรกรรมที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากความกังวลต่อความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนจะปรับแข็งขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์จากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ถึงกว่า 2 พันล้านบาท
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในวันทำการแรกของสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.25 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 4.21875 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.125 และ 4.25 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันพุธเนื่องจากสภาพคล่องส่วนหนึ่งติดอยู่ในระบบ เคลียริ่งจากการโอนเงินจำนวนมากในระบบธนาคารพาณิชย์ แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนทุกระยะยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงอีกครั้ง หลังจากปริมาณเงินที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดต่อเนื่องได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบ ประกอบกับมีการนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์จึงนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.09375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะอื่นๆ ยังปิดตลาดในอัตราเดิม ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.0 - 4.2 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.14 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 19,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 14,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี 6 เดือน วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย เนื่องจากมีอุปสงค์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลฯ ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนค่อนข้างมากนอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 4 6 และ 8 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 25,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 15,000 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 73,853 ล้านบาท หรือ 18,463 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.6 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 54 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนปรับลดลงในปลายสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-5 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 0-2 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 16 basis points สำหรับ US Treasury Yield โดยรวมปรับตัวลดลง 5-13 basis points ถึง แม้จะยังมีการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมครั้งหน้า
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ม.ค. 49 39.58
เฉลี่ย 6 - 10 ก.พ. 49 39.52
14 ก.พ. 49 39.25
15 ก.พ. 49 39.30
16 ก.พ. 49 39.33
17 ก.พ. 49 39.28
เฉลี่ย 14 - 17 ก.พ. 49 39.29
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 39.25 - 39.33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากความกังวลต่อความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ โดยเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.29 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.6 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ได้รับปัจจัยบวกจากการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีขายส่งสู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยบวกจากความต้องการซื้อเงินบาทของนักลงทุน ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ โดยยังคงถูกกดดันจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ และการปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากแถลงการณ์ของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ คนใหม่ส่งสัญญาณในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแสดงความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อ อันจะเป็นปัจจัยสนับสนุนอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ช่วงขาขึ้นในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยอีกครั้งถึงกว่า 2 พันล้านบาท หลังจากสถานการณ์การเมืองในประเทศเริ่มมีความชัดเจนขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ทั้งของไทยและสหรัฐฯ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรฯ ระยะยาวปรับตัวลดลง
- เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ท่ามกลางปริมาณการทำธุรกรรมที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากความกังวลต่อความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ โดยเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนจะปรับแข็งขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์จากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ถึงกว่า 2 พันล้านบาท
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในวันทำการแรกของสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.25 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 4.21875 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.125 และ 4.25 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันพุธเนื่องจากสภาพคล่องส่วนหนึ่งติดอยู่ในระบบ เคลียริ่งจากการโอนเงินจำนวนมากในระบบธนาคารพาณิชย์ แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนทุกระยะยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงอีกครั้ง หลังจากปริมาณเงินที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดต่อเนื่องได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบ ประกอบกับมีการนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์จึงนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.09375 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะอื่นๆ ยังปิดตลาดในอัตราเดิม ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.0 - 4.2 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.14 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 40,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 19,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 14,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี 6 เดือน วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย เนื่องจากมีอุปสงค์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลฯ ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนค่อนข้างมากนอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 4 6 และ 8 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 25,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 15,000 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 73,853 ล้านบาท หรือ 18,463 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.6 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 54 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนปรับลดลงในปลายสัปดาห์ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-5 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 0-2 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 16 basis points สำหรับ US Treasury Yield โดยรวมปรับตัวลดลง 5-13 basis points ถึง แม้จะยังมีการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมครั้งหน้า
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ม.ค. 49 39.58
เฉลี่ย 6 - 10 ก.พ. 49 39.52
14 ก.พ. 49 39.25
15 ก.พ. 49 39.30
16 ก.พ. 49 39.33
17 ก.พ. 49 39.28
เฉลี่ย 14 - 17 ก.พ. 49 39.29
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 39.25 - 39.33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากความกังวลต่อความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ โดยเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.29 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.6 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ได้รับปัจจัยบวกจากการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีขายส่งสู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยบวกจากความต้องการซื้อเงินบาทของนักลงทุน ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ โดยยังคงถูกกดดันจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ และการปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากแถลงการณ์ของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ คนใหม่ส่งสัญญาณในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแสดงความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อ อันจะเป็นปัจจัยสนับสนุนอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ช่วงขาขึ้นในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยอีกครั้งถึงกว่า 2 พันล้านบาท หลังจากสถานการณ์การเมืองในประเทศเริ่มมีความชัดเจนขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-