- การนำเข้า: ปริมาณการนำเข้าชะลอตัวลงมากตามการส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัว และราคาปรับตัวลงเร็วตามราคาน้ำมันที่ลดลง ในไตรมาสที่สี่ของปี 2551 มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ชะลอตัวลงมากจากที่ขยายตัวร้อยละ 35.0 28.7 และ 39.1 ในไตรมาสแรก — ไตรมาสที่สามตามลำดับ ปริมาณนำเข้าสินค้ารวมขยายตัวร้อยละ 3.2 และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และเมื่อคิดในรูปเงินบาทมูลค่าและราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 และ 4.7 ตามลำดับ ทั้งนี้มูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปนั้นมูลค่าการนำเข้าหดตัวลงตามภาวการณ์ส่งออกที่ลดลงและความต้องการภายในประเทศที่ชะลอตัว
- สินค้าทุน: ชะลอตัวทั้งมูลค่าและปริมาณการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 มูลค่านำเข้าสินค้าทุนขยายตัวเพียงร้อยละ 4.5 เนื่องจากการลงทุนในประเทศเริ่มลดลง โดยสินค้าที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ สินค้าทุนอื่น ๆ เป็นต้น สำหรับสินค้าที่มีมูลค่านำเข้าลดลงได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.7 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7
- สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป: มูลค่าและปริมาณการนำเข้าหดตัว ในไตรมาสที่สี่มูลค่าการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 1.9 ตามภาวะการส่งออกและความต้องการภายในประเทศที่ลดลง สำหรับสินค้านำ เข้าที่ลดลง ได้แก่ อุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ อย่างไรก็ตาม การนำเข้าเหล็กและทองคำยังขยายตัวอยู่ในระดับสูง เนื่องจากมีความต้องการซื้อทองคำ เพื่อการเก็งกำ ไรเป็นจำ นวนมากในภาวะที่ช่องทางการลงทุนอื่น (เช่นน้ำมันและเงินดอลลาร์ สรอ.)มีผลตอบแทนต่ำและมีความเสี่ยงสูง ส่งผลให้การนำเข้าทองคำ ในเดือนพฤศจิกายน 2551 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับราคาเหล็กที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ผู้นำเข้าคาดการณ์ว่าราคาจะสูงขึ้นอีก จึงนำเข้าเหล็กเพื่อสะสมสต็อก ทั้งนี้โดยรวมในไตรมาสสี่ ปริมาณการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 8.0 แต่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6
- สินค้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น: มูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงตามราคานำเข้าที่ลดลงมาก มูลค่านำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 โดยปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 แต่ราคานำเข้าลดลงถึงร้อยละ 12.5 ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงมากเป็นสำคัญ โดยมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากการที่ปริมาณการนำเข้ายังเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 ในขณะที่ราคาลดลงร้อยละ 9.5 สำหรับมูลค่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปนั้นในไตรมาสที่สี่ลดลงร้อยละ 56.5
- สินค้าอุปโภคบริโภค: มูลค่าและปริมาณการนำเข้าชะลอตัว มูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 6 .2 ชะลอตัวลงมากจากที่ขยายตัวร้อยละ 33.1 ในไตรมาสที่สาม เป็นผลมาจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนที่ชะลอตัวลง สินค้าที่มีมูลค่านำเข้าชะลอตัวลง ได้แก่ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ผลิตภัณฑ์เวชกรรม และเภสัชกรรมเครื่องประดับอัญมณี เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน นาฬิกาและส่วนประกอบ นมและผลิตภัณฑ์นม โดยรวมปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 1.6 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0
รวมทั้งปี 2551 มูลค่านำ เข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 เมื่อคิดในรูปเงินบาทมูลค่านำเข้าขยายตัวร้อยละ 22.1 และราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8
- อัตราการค้า (Term of Trade) ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ในไตรมาสที่สี่ ปี 2551 ราคาส่งออกเฉลี่ยในรูปเงินดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ชะลอตัวลงช้ากว่าราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 ทำให้อัตราการค้าในไตรมาสที่สี่ปรับตัวดีขึ้น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับไตรมาสที่สามที่ลดลงร้อยละ 0.8 ซึ่งมีผลดีต่อรายได้จากการส่งออกโดยสุทธิ
- ดุลการค้าขาดดุล ในไตรมาสที่สี่ ดุลการค้าขาดดุล 1,365 ล้านดอลลาร์ สรอ. ) (หรือเท่ากับ 47,201 ล้านบาท) ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สามที่ขาดดุล 180 ล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตามรวมทั้งปี 2551 ดุลการค้าเกินดุล 237 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับ 6,027 ล้านบาท
- ด้านการผลิต
- สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.8 ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 และ 8.6 ในไตรมาสสามและสองที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการที่ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญเช่น ข้าว ปาล์ม หดตัวร้อยละ 0.2 และ 0.7 ตามลำดับ
ส่วนผลผลิตมันสำปะหลัง และยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และ 4.7 ตามลำดับ ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตเป็นปัจจัยทางด้านภัยธรรมชาติ เช่น สภาพอากาศที่หนาวกว่าปีที่ผ่านมาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้สินค้าเกษตรบางส่วนเสียหาย โดยเฉพาะผลผลิตข้าวที่ออกรวงเกิดปัญหาข้าวผสมไม่ติดเมล็ดทำ ให้ข้าวลีบ ทำ ให้ผลผลิตข้าวในไตรมาสนี้ลดลง และการเกิดอุทุกภัยในภาคใต้ รวมถึงมีการโค่นต้นยางรุ่นเก่าเพื่อปลูกใหม่ ทำ ให้ปริมาณผลผลิตยางพาราชะลอตัวลง นอกจากนี้ในบางส่วนยังเป็นผลกระทบมากจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวมาตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปีที่ทำให้อุปสงค์สินค้าเกษตรโดยเฉพาะในกลุ่มยางพาราและมันสำปะหลังชะลอลงและในขณะเดียวกันราคาสินค้าเกษตรตลาดโลกในไตรมาสนี้ก็ชะลอลง จึงทำ ให้ราคาสินค้าเกษตรในประเทศชะลอตัวตาม
อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายรับจำนำสินค้าเกษตรบางชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำ ปะหลัง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นการช่วยพยุงราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ลดต่ำมาก นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่ลดลงได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรลดลงและช่วยพยุงสถานการณ์ไว้อีกด้านหนึ่ง
ในไตรมาสที่สี่รายได้เกษตรกรชะลอลงจากการที่ทั้งราคาและปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรชะลอลง โดยรายได้ของเกษตรในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 ชะลอตัวจากไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเมื่อรวมทั้งปี 2551 รายได้เกษตรกรยังเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34.0 และมูลค่าเพิ่มสาขาเกษตรกรรมทั้งปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 5.1 ปรับตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 1.8
- สาขาอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 6.8 จากที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 และ 7.7 ในไตรมาสสามและสองตามลำดับ โดยที่การผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกหดตัวร้อยละ 11.5 ซึ่งเป็นผลของวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้ประเทศคู่ค้าลดคำสั่งซื้อสินค้าจากไทย โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรรวม โทรทัศน์สีผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนไม้ และผลิตภัณฑ์เครื่องหนังมูลค่าการส่งออกหดตัวร้อยละ 49.1, 58.0, 57.5, 51.4 และ 43.4 ตามลำดับ ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศหดตัวร้อยละ 1.2 เป็นผลมาจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศ และความล่าช้าของการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เหล็กเส้น เหล็กโครงสร้าง ปิโตรเคมี การผลิตเส้นใย ประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษ และซิเมนต์ ลดลง มีเพียงกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และกลุ่มรถยนต์นั่ง ที่ยังขยายตัว สำหรับการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 61.8 เทียบกับร้อยละ 69.6 และ 71.1 ในไตรมาสสามและสองตามลำดับ ซึ่งสะท้อนว่ามีกำลังการผลิตเหลือในระบบมากขึ้น และจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายการลงทุนในระยะต่อไป สำ หรับในปี 2551 มูลค่าเพิ่มในสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 3.9 ชะลอตัวจากปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.2
- สาขาก่อสร้าง หดตัวร้อยละ 12.8 เป็นการหดตัว 3 ไตรมาสติดต่อกัน ส่งผลให้รวมทั้งปี 2551 สาขาก่อสร้างหดตัวร้อยละ 4.7 เป็นผลมาจากความต้องการที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและโอกาสการหารายได้ ทำให้ภาวะการก่อสร้างของภาคเอกชนในไตรมาสนี้หดตัวลง เครื่องชี้ที่แสดงว่าสาขาก่อสร้างหดตัวต่อเนื่อง ประกอบด้วย พื้นที่ได้รับอนุญาตการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยและอาคารเพื่อการพาณิชยกรรม ลดลงร้อยละ 1.8 และ 3.4 ตามลำดับ ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวถึงร้อยละ 65.7 สำ หรับการก่อสร้างภาครัฐหดตัวร้อยละ 26.2
อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในไตรมาสนี้ยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงซึ่งเป็นผลมาจากราคาเหล็กที่ลดลงร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
- ภาคอสังหาริมทรัพย์ หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.3 เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงและผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่น ประกอบกับความเข้มงวดของสถาบันทางการเงินในการปล่อยสินเชื่อเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับผู้ประกอบการและสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชน ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีเงินทุนต่ำรวมทั้งผู้บริโภคบางส่วนเลื่อนการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ออกไป เมื่อพิจารณาจากอุปทานที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล คงเหลือ ณ สิ้นปี 2551 มีจำนนวน 110,812 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากปี 2550 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยว คิดเป็นร้อยละ 32 ของอุปทานทั้งหมด ส่วนทาวเฮาส์ และอาคารชุดมีสัดส่วนร้อยละ 27 และ 29 ตามลำดับ
- สาขาโรงแรมและภัตตาคาร หดตัวร้อยละ 8.3 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 และ 0.2 ในไตรมาสสองและสาม ตามลำดับ เป็นผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโลกต่อกำลังซื้อของนักท่องเที่ยว ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในประเทศไทยที่สูงขึ้นทั้งค่าเดินทาง ค่าที่พักอาศัย เห็นได้จากราคาห้องพักเฉลี่ยทั่วประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 โดยราคาห้องพักในเขตกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ประกอบกับเหตุการณ์การชุมนุมปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ในช่วงวันที่ 25พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม ทำให้หลายเที่ยวบินยกเลิกการบินมาประเทศไทย ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความระมัดระวังที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ดังนั้นในไตรมาสที่สี่จำ นวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจึงลดลงร้อยละ 19.4 โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนลดลงถึงร้อยละ 56.6 รองลงมาคือ เกาหลีใต้ลดลงร้อยละ 47.0 ในขณะที่นักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ดังนั้นอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้จึงลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 50.6 ลดลงจากร้อยละ 62.2 ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา หรือลดลงร้อยละ 18.6
- สาขาการเงิน ไตรมาสที่สี่ ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 5.3 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของสินเชื่อรวมที่ขยายตัวร้อยละ 21.2 โดยสินเชื่อเพื่อภาคการผลิต และสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ขยายตัวร้อยละ 8.9 และ 15.5 ตามลำดับ โดยที่สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยและเพื่อการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 13.3 และ 22.9 ตามลำดับ และในช่วงไตรมาสที่สี่นั้นส่วนต่างดอกเบี้ย (Net Interest Margin: NIM) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.36 เทียบกับร้อยละ 3.29 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2550 สำหรับภาพรวมทั้งปี 2551 สาขาการเงินขยายตัวร้อยละ 8.1
- ประสิทธิภาพการใช้น้ำมันโดยรวมดีขึ้นบนพื้นฐานของโครงสร้างการใช้พลังงานที่มีความสมดุลและยืดหยุ่นมากขึ้น
- สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประสิทธิภาพการใช้น้ำมันโดยรวมปรับตัวดีขึ้น โดยไตรมาสที่สี่ของปี 2551 สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP อยู่ที่ 0.8855 ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างชัดเจนจากสัดส่วนในไตรมาสสามที่ระดับ 0.8502 แต่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วน 0.8938 ในช่วงไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วรวมทั้งปี 2551 สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.8956 ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 0.9447 ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลจากมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงานไปสู่พลังงานทางเลือกมากขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินและดีเซลธรรมดา ส่งผลให้ต้นทุนการใช้น้ำมันต่อการสร้างมูลค่า GDP ลดลง ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงประสิทธิภาพการใช้น้ำมันที่ปรับตัวดีขึ้นอีกด้านหนึ่งด้วย
- สถานการณ์การใช้น้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศ: ปริมาณการใช้พลังงานทางเลือกยังเพิ่มในอัตราสูงในไตรมาสที่สี่ของปี 2551 การใช้แก๊สโซฮอล์เฉลี่ย 11.6 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.5 (คิดเป็นร้อยละ 48 ของปริมาณการใช้เบนซินทั้งหมด) เพิ่มขึ้นจากการใช้ 9.6 ล้านลิตรต่อวัน ในไตรมาสที่สาม สำหรับการใช้ไบโอดีเซล (บี 5) เฉลี่ย 15.0 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 385 การใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 224.2 ส่วนปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจีขยายตัวเพียงร้อยละ 1.8
ในขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปชนิดอื่น เช่นน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 น้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงร้อยละ 76.8 25.6 และ 30.1 ตามลำดับ โดยเป็นผลมาจากการผู้บริโภคหันมาใช้พลังงานทางเลือกอื่น เช่น แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล ซึ่งมีราคาถูกกว่า ประกอบกับผลของมาตรการ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน” ที่ส่งเสริมให้มีการใช้แก๊สโซฮอล์ ด้วยการลดภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 ลง3.30 บาทต่อลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ลดภาษีสรรพสามิตลง 2.30 และ 2.10 บาทต่อลิตร ตามลำดับ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 — 31 มกราคม 2552 รวมทั้งปี 2551 ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วและหมุนช้าลดลงร้อยละ 23.3 ขณะที่การใช้ไบโอดีเซล (บี 5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 502.4 ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน 91 และ 95 ลดลงร้อยละ 33 ขณะที่การใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.4 สำหรับการใช้ก๊าซแอลพีจีและก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 และ 229.4 ตามลำดับ