- ความเคลื่อนไหวราคาน้ำมัน
- ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก: ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในไตรมาสที่สี่ของปี 2551 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และ WTI) อยู่ที่ 55.3 ดอลลาร์ สรอ .ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 36.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และปรับตัวลดลงร้อยละ 52.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ เนื่องจากอุปสงค์น้ำมันโลกที่ลดลงตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลจากวิกฤติเศรษฐกิจที่แผ่วงกว้างไปทั่วโลก และกำลังการผลิตส่วนเกินทั้งจากกลุ่มประเทศ OPEC และกลุ่มประเทศนอก OPEC ที่อยู่ในระดับสูงเฉลี่ยทั้งปี 2551 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย (ดูไบเบรนท์ โอมาน และ WTI) อยู่ที่ 96.4 ดอลลาร์ สรอ .ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 ทั้งนี้ราคามีความผันผวนตลอดทั้งปี 2551 โดยครึ่งปีแรกราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 75.1 ขณะที่ครึ่งปีหลังราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.7 อย่างไรก็ตามตั้งแต่ต้นปี 2552 ราคาน้ำมันดิบเริ่มมีเสถียรภาพ โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และ WTI) เดือนมกราคม 2552 อยู่ที่ 43.9 ดอลลาร์ สรอ .ต่อบาร์เรล ใกล้เคียงกับราคาเฉลี่ยเดือนธันวาคม 2551 ที่ระดับ 42.0 ดอลลาร์ สรอ . ต่อบาร์เรล และมีแนวโน้มว่าราคาน้ำมันดิบในปี 2552 จะมีเสถียรภาพมากกว่าในปี 2551
ราคาน้ำมันดิบ
US$/Barrel OMAN DUBAI BRENT WTI เฉลี่ย 2550 ทั้งปี 68.75 68.83 72.60 72.64 70.70 2551 Q1 92.34 91.50 96.72 98.03 94.65 Q2 117.75 117.02 112.21 124.02 120.25 Q3 114.16 113.32 116.24 117.85 115.39 Q4 53.21 52.75 56.54 58.89 55.35 ทั้งปี 94.37 93.65 97.93 99.69 96.41 ม.ค.52 44.45 44.12 45.02 41.93 43.88 1-10 ก.พ.52 44.67 44.30 45.00 39.96 43.48
ที่มา: รอยเตอร์
- ราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศ: ปรับลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ในไตรมาสที่สี่ ปี 2551 ราคาขายปลีกน้ำ มันภายในประเทศปรับตัวลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลง และการลดอัตราภาษีสรรพาสามิตที่จัดเก็บจากแก๊สโซฮอล์และน้ำมันดีเซลตามมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 — 31 มกราคม 2552 โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 29.79 บาทต่อลิตร ลดลงร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ราคาน้ำมันเบนซิน 91 อยู่ที่ 26.35 บาทต่อลิตร ลดลงร้อยละ 14.0 ราคาแก๊สโซฮอล์ 95 (E10) และ ก๊าซโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 21.01 และ 20.20 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ลดลงร้อยละ 24.8 และ 25.4 ตามลำดับ สำหรับราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 อยู่ที่ 22.70 และ 21.55 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ลดลงร้อยละ 20.2 และ 21.8 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามราคาขายปลีกน้ำมันในช่วง 3 ไตรมาสแรกที่อยู่ในระดับสูง ทำให้เฉลี่ยทั้งปี 2551 ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 35.33 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ราคาน้ำมันเบนซิน 91 อยู่ที่ 33.43 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 ราคาแก๊สโซฮอล์ 95 (E10) และ ก๊าซโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 28.97 และ 28.16 บาทต่อลิตร ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 และ 9.9 ตามลำดับ สำหรับราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 เท่ากัน โดยราคาอยู่ที่ 31.26 และ 30.39 บาทต่อลิตรตามลำดับ
ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ
บาท/ลิตร ULG95 UGR91 Gasohol HSD HSD(B5)
95E10 95E20 91E10
2550 ทั้งป? 29.18 28.32 26.17 - 25.62 25.66 95.24 2551 Q1 33.39 32.22 29.38 27.47 28.57 29.78 29.04 Q2 38.43 37.26 34.12 32.22 33.29 36.35 35.47 Q3 39.72 37.87 31.37 30.05 30.56 36.21 35.52 Q4 29.79 26.35 21.01 19.72 20.20 22.70 21.55 ทั้งปี 35.33 33.43 28.97 27.37 28.16 31.26 30.39 2552 ม.ค. 30.29 21.99 17.44 16.14 16.64 18.61 17.11 1-11 ก.พ. 34.25 25.65 20.82 19.52 20.02 19.57 18.07
ที่มา: EPPO
1.2 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สี่ และตลอดปี 2551
เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 4 ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วจากการหดตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ และประเทศที่ต้องพึ่งพิงการส่งออกเป็นสำคัญโดยเฉพาะในเอเชีย ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเกิดใหม่สำคัญ ๆ ชะลอตัวอย่างรุนแรงและปริมาณ การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและปริมาณการค้าโลกเข้าสู่ภาวะหดตัว
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ
---- -------2551 (yoy)------- --------2551 (qoq)------ ---- % yoy 2550 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 2551 โลก 5.0 4.8 3.8 2.3 -0.2 n.a. n.a. n.a. n.a. 2.8 สหรัฐอเมริกา 2.0 2.5 2.1 0.8 -0.2 0.9 2.8 -0.3 -3.8 1.3 กลุ่มยูโรโซน 3.0 2.1 1.4 0.6 -1.2 0.7 -0.2 -0.2 -1.5 0.7 อังกฤษ 3.1 2.3 1.6 0.0 -1.0 0.3 0.0 -0.5 -1.5 0.7 ญี่ปุ่น 2.1 1.5 0.7 -0.1 -4.6 0.6 -0.9 -0.1 -3.3 -0.7 จีน 13.0 10.6 10.1 9.0 6.8 -5.6 12.4 2.7 n.a. 9.1 อินเดีย 9.3 8.8 7.9 7.6 4.9 2.2 0.5 -1.3 n.a. 7.3 เกาหลีใต้ 5.0 5.7 4.8 3.8 -3.4 5.7 4.8 0.5 -5.6 2.5 ไต้หวัน 5.7 6.25 4.56 -1.0 -8.4 -3.1 -1.6 1.5 -5.4 0.1 ฮ่องกง 6.4 7.3 4.2 1.7 -3.0 2.0 -1.4 -0.5 n.a. 2.6 สิงคโปร์ 7.7 6.9 2.1 -0.7 -3.7 15.7 -5.5 -5.1 -16.9 1.2 มาเลเซีย 6.3 7.1 6.3 4.7 1.9 -1.8 2.3 3.0 n.a. 5.0 ฟิลิปปินส์ 7.2 4.7 4.6 4.6 4.5 0.3 2.0 -2.4 n.a. 4.6 เวียดนาม 8.2 7.5 5.6 6.5 5.6 n.a. n.a. n.a. n.a. 6.3
ที่มา: CEIC และแหล่งอ้างอิงอื่น ๆ
ในไตรมาสที่ 4 ปัญหาการเงินในสหรัฐทวีความรุนแรงมากขึ้น สินเชื่อตึงตัวมาก เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญๆ อยู่ในภาวะหดตัว การว่างงานเพิ่มสูงขึ้น ราคาที่อยู่อาศัยและหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อุปสงค์ในประเทศหดตัวตามในภาวะที่สินเชื่อตึงตัวและความมั่งคั่งลดลง การล้มละลายของสถาบันการเงินและการขาดความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงทั่วทุกภูมิภาค ต้นทุนของการระดมเงินทุนในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น การหดตัวของอุปสงค์ในประเทศอุตสาหกรรมทำให้การส่งออกของประเทศต่าง ๆ ลดลงอย่างเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นโดยลำดับ ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศสำคัญอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ สิงคโปร์ เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเกิดใหม่อื่น ๆ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงมากและส่งผลให้เศรษฐกิจโลกในปี 2551 ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.8 เทียบกับร้อยละ 5.0 ในปี 2550
การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงในไตรมาสสุดท้าย ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและมูลค่าการส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดโลกในไตรมาสที่ 4 หดตัว และส่งผลให้ปริมาณการค้าโลกในปี 2551 ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.1 ชะลอตัวลงมากเมื่อเทียบกับร้อยละ 7.2 ในปี 2550
อย่างไรก็ตามภาวะความตกต่ำทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นโดยลำดับได้ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างรวดเร็ว โดย สหรัฐอเมริกากลุ่มประเทศยูโร สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น แคนาดา ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตามปัญหาความตึงตัวของสินเชื่อยังไม่ปรับตัวดีขึ้นมากนักในขณะที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินฝืด (Deflation) มากขึ้นในสถานการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อลดลงตามลำดับ ดังนั้นธนาคารกลางของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ จึงเริ่มหันมาใช้นโยบายการเงินในลักษณะการขยายสินเชื่อทางตรง(Credit expansion) และการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาที่เริ่มประกาศนโยบายการคลังขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศเพื่อชดเชยผลกระทบจากการส่งออกลดลง ในไตรมาสสี่ปี 2551 สรุปความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ได้ดังนี้
- เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 และรุนแรงมากขึ้น ในไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 และหดตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยที่การบริโภคภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 1.3 ซึ่งนับเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ในขณะที่การลงทุนหดตัวถึงร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันของปี 2551 การหดตัวทางเศรษฐกิจที่รุนแรงมากขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมในปี 2551 ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 เทียบกับร้อยละ 2 ในปี 2550 ดัชนีสำ คัญ ๆ ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังมีแนวโน้มที่จะหดตัวต่อเนื่องในต้นปี 2552 โดยดัชนี ISM ภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคมลดลงมาเหลือ 32.9 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 26 ปี ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนมกราคม 2552 ยังลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 37.7 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดนับจากปี 2520 อัตราการว่างงานได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 7.6 ในเดือนมกราคม จำนวนพนักงานที่โดนปลดออกจากงานเพิ่มขึ้นจาก 577,000 ตำแหน่งในเดือนธันวาคม 2551 เป็น 598,000 ตำแหน่งในเดือนมกราคม 2552 โดยภาคการผลิตที่มีการปลดพนักงานจำนวนมากได้แก่ ภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคก่อสร้าง การว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบย้อนกลับต่อสถานการณ์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์และตลาดสินเชื่อ รวมทั้งเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตลาดสินเชื่อยังไม่ปรับตัวดีขึ้นมากนักเนื่องจากความเสี่ยงของคู่สัญญา (Counterparty risk) ยังอยู่ในระดับสูงแม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะได้ดำเนินการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องมาสู่ระดับร้อยละ 0-0.25 ในขณะที่ความเสี่ยงของการเข้าสู่ภาวะเงินฝืด (Deflation) ในปี 2552 มีมากขึ้นจากการหดตัวอย่างรุนแรงของอุปสงค์และการลดลงของระดับราคาในตลาดโลก ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ธนาคารกลางสหรัฐได้ให้ความสำคัญกับมาตรการปล่อยกู้ทางตรง (Credit expansion) เพื่อลดต้นทุนทางการเงินและขยายโอกาสในการเข้าสู่สินเชื่อของภาคเอกชนและรัฐบาล รวมทั้งเพื่อปล่อยสินเชื่อและเข้าควบคุมสถาบันการเงินที่มีปัญหาโดยตรง ในขณะที่รัฐบาลกลางได้ประกาศมาตรการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (Troubled Asset Relief Program: TARP)จำนวน 7 แสนล้านเหรียญ สรอ. ( 24.5 ล้านล้านบาท) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ที่ประสบปัญหา สถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่อง รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมรถยนต์ และยังได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีกมูลค่า 7.87 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ
- เศรษฐกิจประเทศกลุ่มยูโรโซนหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 เศรษฐกิจของประเทศยูโรโซนหดตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 นับเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 และหดตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปี ขยายตัวร้อยละ 0.7 เทียบกับร้อยละ 3 ในปี 2550 ประเทศกลุ่มยุโรโซนได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนี้เนื่องจากเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการส่งออก ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำ ให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง ทั้งนี้ดัชนีภาคการผลิตของกลุ่มยูโรโซนอยู่ที่ระดับ 40.2 ในไตรมาสที่ 4 เทียบกับระดับ 52.1 ในไตรมาสแรกของปี 2551 เช่นเดียวกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสสี่ที่หดตัวถึงร้อยละ 3.4 จากไตรมาสที่สาม ในขณะที่อัตราการว่างงานในไตรมาสสี่เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 7.9 เทียบกับร้อยละ 7.2 ในไตรมาสแรกและการส่งออกหดตัวลงในทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมที่มีสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าที่สำคัญ โดยการส่งออกในไตรมาสที่ 4 หดตัวถึงร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 นอกจากนี้สถาบันการเงินในภูมิภาคหลายแห่งได้ประสบกับปัญหาการขาดสภาพคล่องและอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการล้มละลายจากผลกระทบมาจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐฯ
- เศรษฐกิจอังกฤษ เศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาสที่ 4 หดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 1.5 นับเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สองส่งผลให้เศรษฐกิจของอังกฤษเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคโดยสมบูรณ์ (Full-fledged recession) เป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปอยู่ในภาวะใกล้เคียงกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นั่นคือ การลดลงของราคาที่อยู่อาศัย ภาวะความตกต่ำของตลาดอสังหาริมทรัพย์ การหดตัวของสินเชื่อและหนี้สินอยู่ในระดับสูงทั้งในภาคครัวเรือนและธุรกิจ สาขาการผลิตที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ สาขาการเงินซึ่งขนาดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของ GDP สาขาอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งหดตัวถึงร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่ 4 สอดคล้องกับดัชนีภาคการผลิตในเดือนธันวาคมซึ่งปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 34.4 หรือหดตัวร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งสาขาการก่อสร้างซึ่งสอดคล้องกับดัชนีการผลิตภาคการก่อสร้างในเดือนธันวาคมอยู่ที่ระดับ 29.3 ต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลเมื่อปี 2535 การหดตัวรุนแรงของเศรษฐกิจส่งผลให้จำนวนผู้เรียกร้องค่าชดเชยจากการว่างงานในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นอีก 77,900 คนเป็น 336,000 คน ในปี 2551 ทั้งนี้ธนาคารกลางอังกฤษประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือร้อยละ 1.0 นอกจากนี้รัฐบาลอังกฤษเตรียมจัดตั้งกองทุนค้ำประกันสินเชื่อของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีมูลค่า 21.3 พันล้านปอนด์ รวมทั้งประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 30.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับผลกระทบรุนแรงจากภาวะวิกฤตการเงินโลกและส่งผลให้เศรษฐกิจปี 2551 หดตัวเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 หดตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าและหดตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว นับเป็นการหดตัวทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี และเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2551 หดตัวร้อยละ 0.7 โดยมีสาเหตุมาจากการลดลงของการส่งออก ซึ่งในไตรมาสที่ 4 หดตัวร้อยละ 12.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศหดตัวต่อเนื่องโดยยอดการค้าปลีกในไตรมาส 4 หดตัวร้อยละ 1.5 เครื่องชี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจล่าสุดยังชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการหดตัวที่รุนแรงทางเศรษฐกิจ โดยการส่งออกเดือนธันวาคมหดตัวถึงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่การนำเข้าเดือนธันวาคมหดตัวร้อยละ 21 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธันวาคมลดลงสู่ระดับ 26.7 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับจากปี 2518 อุปสงค์หดตัวทั้งภายในและภายนอกประเทศส่งผลให้ภาคการผลิตของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคมหดตัวร้อยละ 20.0 ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2513 อย่างไรก็ตามอัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับร้อยละ 4 ในไตรมาสก่อน
- เศรษฐกิจจีนชะลอตัวรุนแรง เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 นับเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2544 มีผลให้เศรษฐกิจจีนทั้งปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 9.0 ทั้งนี้เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวส่งผลให้ภาคการค้าระหว่างประเทศของจีนได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยการส่งออกเดือนธันวาคมหดตัวถึงร้อยละ 17.5 จากเดือนเดียวกันของปี 2550 การส่งออกที่ลดลงส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการลงทุน โดยดัชนี PMI เดือนธันวาคมและพฤศจิกายนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 41.2 และ 38.8 ตามลำดับเทียบกับระดับ 53.1 ในเดือนมกราคม 2551 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเดือนธันวาคมหดตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่า 5.98 พันล้านเหรียญ สรอ. และหดตัวลงรุนแรงถึงร้อยละ 33 ในเดือนมกราคม ภายใต้สถานการณ์การชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง รัฐบาลจีนได้ประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 586,000 ล้านเหรียญ สรอ. ประกอบด้วยโครงการสร้างที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อย ก่อสร้าง สาธารณูปโภคในพื้นที่ชนบท พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งพัฒนาการศึกษาและสาธารณสุขแก่ผู้มีรายได้น้อย โครงการด้านสิ่งแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม ฟื้นฟูพื้นที่ที่รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว นอกจากนี้ยังได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงจากร้อยละ 5.31 เหลือร้อยละ 2.16 อีกด้วย
- เศรษฐกิจอินเดีย คาดว่าเศรษฐกิจอินเดียในไตรมาสที่ 4 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 7.6 และคาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปี 2551 ขยายตัวประมาณร้อยละ 7.3 ทั้งนี้เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมีผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกและภาคอุตสาหกรรมของอินเดีย โดยปริมาณการส่งออกได้ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นไตรมาสที่ 4 โดยหดตัวร้อยละ 12.1, 9.9 และร้อยละ 1.1 ในเดือนตุลาคม พฤศจิกายนและธันวาคม ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 และเนื่องจากสินค้าที่การผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้น(Labor-Intensive) คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด ดังนั้นการหดตัวของการส่งออกจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจ้างงานในประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องหนังอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนัก และนำไปสู่การปลดพนักงาน อย่างไรก็ตามรัฐบาลอินเดียได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 6 หมื่นล้านเหรียญ สรอ.โดยมุ่งเน้นไปที่การให้ความช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ และการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมถึงการลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 4 นอกจากนั้นธนาคารกลางอินเดียยังได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่ง SMEs โดยการจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำรวมถึงการลดดอกเบี้ยจากร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 5.5 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่กันไปอีกด้วย
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศ NIEs เข้าสู่ภาวะหดตัวทางเศรษฐกิจ ภาวะความตกต่ำทางเศรษฐกิจของสหรัฐ กลุ่มประเทศยูโร สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญได้ส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ NIEs หดตัวในไตรมาสที่ 4 โดยที่มูลค่าการส่งออกของประเทศเหล่านี้เริ่มลดลงในเดือนตุลาคม และทวีความรุนแรงมากขึ้นในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ตามลำดับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ NIEs อย่างรุนแรงเนื่องจากสัดส่วนของการส่งออกต่อ GDP ของประเทศเหล่านี้อยู่ในระดับสูง และเนื่องจากฐานการผลิตเป็นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเป็นหลัก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมได้ปรับลดลงอย่างมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ของเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และไต้หวัน หดตัวร้อยละ 3.4, 3.7 และ 8.36 ตามลำดับ ทำให้เศรษฐกิจทั้งปีของประเทศดังกล่าวขยายตัวร้อยละ 2.5, 1.2 และ 0.12 ตามลำดับนอกจากนั้นเครื่องชี้เศรษฐกิจล่าสุดแสดงให้เห็นว่าผลกระทบต่อการส่งออกมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคมของเกาหลีใต้และไต้หวันลดลงถึงร้อยละ 32.1 และ 42.9 ตามลำดับ
- เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียนชะลอตัวรุนแรง การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการส่งออกของประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยในไตรมาสที่ 4 การส่งออกของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ อยู่ในภาวะหดตัวถึงร้อยละ 13.8, 0.3 และ 19.0 ตามลำดับ
ในขณะที่มูลค่าการส่งออกของเวียดนามขยายตัวเพียงร้อยละ 6.4 เทียบกับร้อยละ 45.0 ในไตรมาสที่ 3 และได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องอย่างรุนแรงต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยผลผลิตอุตสาหกรรมของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวเพียงร้อยละ 1.96 และ 1.35 เทียบกับเดือนตุลาคมที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 และ 9.23 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียหดตัวร้อยละ 15.54 ในเดือนธันวาคม การลดลงของการผลิตและการส่งออกสร้างแรงกดดันต่อการจ้างงานและอุปสงค์ภายในประเทศ ทำ ให้ในไตรมาสที่สี่ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 5.6 และ 5.7 ตามลำดับ โดยทั้งปีขยายตัวร้อยละ 4.6 และ 6.0 ตามลำดับ สำหรับมาเลเซียและเวียดนาม คาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.9 และ 5.6 ตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปี 2551 ร้อยละ 5.0 และ 6.3 ตามลำดับ ภายใต้แนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงรัฐบาลมาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซียได้ประกาศแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 2, 5.7 และ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ และธนาคารกลางของมาเลเซียฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซียได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 2.5, 5.0, 7.0 และ 8.25 ตามลำดับ