(ต่อ6)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2551 และแนวโน้มปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 26, 2009 15:28 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  • ทุกประเทศประสบปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีหลายประเทศภาระหนี้สินของ
ครัวเรือนและภาคธุรกิจสะสมได้เพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงหลังของปี 2551 และความมั่งคั่ง
ได้ลดลง (Wealth destruction) ทั้งนี้เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้การว่างงานเพิ่มขึ้นตามลำดับ ในขณะที่ราคา
หลักทรัพย์และที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลงมากถึงประมาณร้อยละ 50 ซึ่งปัญหานี้จะส่งผลกระทบทั้งทางจิตวิทยาต่อความเชื่อมั่นและกำลังซื้อที่แท้จริง ดังนั้น
ประสิทธิผลของการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายจะมีข้อจำกัดมากขึ้น
  • ปัญหาจากภาคการเงินที่ลุกลามต่อเนื่องไปยังภาคเศรษฐกิจจริงและทำ ให้ภาคการผลิตและบริการบางส่วนต้องปิดตัวเองลง จะทำให้

เกิดผลต่อเนื่องตามมาหลายประการและกลายเป็น vicious circle ได้เช่น (i) ปัญหาการว่างงาน (ii) ปัญหาหนี้เสียที่จะย้อนกลับมาเป็นปัญหา

สำ หรับภาคการเงินซึ่งยังอยู่ในช่วงของแก้ปัญหาจากวิกฤตหนี้ด้อยคุณภาพ และ (iii) กำลังการผลิตส่วนเกินในภาวะที่ความต้องการสินค้าและบริการมี

จำกัดจะทำให้ภาคธุรกิจที่ยังดำเนินการผลิตต้องใช้กลยุทธ์การลดราคาสินค้าเพื่อการแข่งขัน ซึ่งจะมีผลให้เกิดการคาดการณ์ภาวะเงินฝืดขึ้นได้

(expected deflation) ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ที่เป็นลูกหนี้ต้องเผชิญกับปัญหามูลค่าหนี้ที่แท้จริงเพิ่มสูงขึ้น และขาดความสามารถในการชำระหนี้

และในขณะเดียวกันอาจจะทำให้ประเทศต่าง ๆ หันไปใช้มาตรการกีดกันทางการค้ามากขึ้น

การลดดอกเบี้ยและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 ประเทศ                 อัตราดอกเบี้ยนโยบาย*         % of GDP     พันล้านเหรียญสหรัฐ
 สหรัฐ                     4.0 % --> (0-0.25%)       10.8           1,489
 ญี่ปุ่น                      0.5 % --> 0.1 %            2.0            87.6
 กลุ่มประเทศยูโร            4.25 % --> 2.0 %            n.a.            250
   -เยอรมนี                  -                        3.1           102.9
   -ฝรั่งเศส                  -                        1.5             38.9
   -อิตาลี                    -                        4.3             90.5
   -บัลแกเรีย                 -                        0.8              0.3
   -สาธารณรัฐเชค             -                        0.4              0.7
   -สโลเวเนีย                -                        1.4              0.6
   -อังกฤษ                 5.0 % --> 1.0 %            1.1             30.8
 แคนาดา                     4 % --> 1.0%             2.0             28.7
 ออสเตรเลีย               7.25 % --> 3.25 %           4.0             36.4
 นิวซีแลนด์                 8.25 % --> 3.25 %           4.0              5.1
 จีน                      7.47 % --> 5.31 %          15.0            586.0
 อินเดีย                      4 % --> (0-0.25%)        1.3             14.3
 เกาหลีใต้                  5.0 % --> 2.0 %            1.0              9.7
 สิงคโปร์                     -                        8.2             13.2
 ไต้หวัน                    3.5 % --> 1.25 %           1.7              6.5
 มาเลเซีย                  3.5 % --> 2.5 %            1.0              1.9
 เวียดนาม                 13.0 % --> 7.0 %            1.1              0.8
 อินโดนีเซีย                 9.25 % --> 8.25 %          1.5              6.5
 อิยิปต์                    12.50 % --> 10.5 %           0.3              0.4
 แมกซิโก                   8.25 % --> 7.75 %          0.7              7.2
 บราซิล                   13.75 % --> 12.75%           0.2              2.6
 ชิลี                       8.25 % --> 4.75 %          2.8              4.6

ที่มา : IMF และแหล่งอื่น ๆ

  • อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2551 ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2552
  • ประเทศส่วนใหญ่ได้ดำเนินมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยลงถึงระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์แล้วแต่การขยายสินเชื่อยังมีจำกัดเนื่องจาก
สถาบันการเงินมีความระมัดระวังที่จะขยายสินเชื่อ ในขณะที่การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลที่สูงขึ้นก็เริ่มเป็นข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายการคลัง
ให้ผ่อนคลายมากขึ้น
  • หลายประเทศยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งปัญหาความยากจนภายในประเทศรวมทั้งยังมีจุดอ่อนในด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำ
ให้ยังมีภาระด้านการคลังอีกมากในการที่จะดำเนินนโยบายเพื่อสร้างความเข้มแข็งในเชิงโครงสร้างและมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมที่แข็งแกร่งขึ้น
จึงทำ ให้การจัดสรรงบประมาณมีความยากลำบากมากขึ้นและต้องหันไปพึ่งพาเงินกู้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยที่บางประเทศก็ต้องพึ่งพาการกู้ยืมจากองค์กร
การเงินระหว่างประเทศต่าง ๆ
  • ผลกระทบต่อเนื่องผ่านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศทำให้ผลกระทบจากภาวะวิกฤตเป็นวงกว้างและซ้ำเติมซึ่งกันและกันเป็นลูกโซ่

2.2 แนวโน้มราคาน้ำมันปี 2552

(1) คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบโดยเฉลี่ยในปี 2552 จะอยู่ที่ 45-55 ดอลลาร์ สรอ .ต่อบาร์เรล ต่ำกว่าราคาเฉลี่ย 93.65 ดอลลาร์ สรอ .ต่อบาร์เรล ในปี 2551 โดยในเดือนมกราคม ราคาน้ำ มันดูไบเฉลี่ยเท่ากับ 44.12 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล และราคา ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 เท่ากับ 40.01 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ทั้งนี้คาดว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังของปีถ้าภาวะถดถอยของเศรษฐกิจ โลกผ่านจุดต่ำสุดภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 และเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี จะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม รวมถึง ความต้องการใช้น้ำมันจากประเทศจีน ภูมิภาคตะวันออกกลาง และละตินอเมริกาที่ยังมีการเพิ่มขึ้นอยู่

(2) อย่างไรก็ตามเนื่องจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกภายในปี 2552 ยังมีความไม่แน่นอนสูงและยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจ โลกอาจจะหดตัวตลอดปี จึงมีหลายสถาบันที่คาดว่าราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยจะอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ สรอ .ต่อบาร์เรล อาทิ Energy Information Administration (EIA)ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ได้คาดการณ์ว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบ WTI ในปี 2552 จะอยู่ที่ 43.0 ดอลลาร์ สรอ .ต่อบาร์เรล ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยที่ 99.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในปี 2551 ในขณะที่ IMF และ Goldman Sachs คาดว่าราคาเฉลี่ย น้ำมันดิบ WTI ในปี 2552 จะอยู่ที่ 50 ดอลลาร์สรอ .ต่อบาร์เรล โดยสรุปแล้วปัจจัยที่ทำให้คาดว่าราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยจะลดลงมากในปี 2552 นี้ ประกอบด้วย

  • ปริมาณความต้องการใช้มีแนวโน้มลดลงอันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย จากรายงานภาวะตลาดน้ำมัน เดือนกุมภาพันธ์ของ

EIA คาดว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำมันโดยรวมของโลกในปี 2552 จะอยู่ที่ 84.70 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลง 1.17 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบ

กับความต้องการที่ระดับ 85.87 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2551 โดยคาดว่าความต้องการใช้ของกลุ่มประเทศ OECD จะลดจาก 47.69 ล้านบาร์เรล

ต่อวัน เป็น 46.08 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยที่ปริมาณความต้องการใช้ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะลดลงในขณะที่ความต้องการใช้ของกลุ่มประเทศนอก

OECD จะยังเพิ่มขึ้นจาก 38.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็น 38.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งปริมาณความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นจะเป็นความต้องการใน

ประเทศจีน ประเทศในตะวันออกกลาง และละตินอเมริกา

ปริมาณการใช้น้ำมันของโลก

(million barrels per day)               Year                                2552_f
   Consumption                  2550    2551   2552_f           1st      2nd      3rd     4th
 OECD                          49.14   47.69   46.08           46.97    44.86    45.40    47.09
 -----------------------------------------------------------------------------------------------
    U.S. (50 States)           20.68   19.48   19.02           19.19    18.82    18.86    19.22
    U.S. Territories            0.32    0.27    0.26            0.27     0.26     0.26     0.27
    Canada                      2.37    2.36    2.26            2.25     2.20     2.29     2.32
    Europe                     15.30   15.26   14.59           14.77    14.17    14.49    14.93
    Japan                       5.01    4.85    4.65            5.10     4.27     4.40     4.84
    Other OECD                  5.46    5.47    5.29            5.40     5.14     5.09     5.51
Non-OECD                       36.67   38.18   38.63           38.09    38.57    38.70    39.13
    Former Soviet Union         4.28    4.34    4.31            4.35     4.26     4.26     4.37
    Europe                      0.79    0.80    0.80            0.83     0.79     0.76     0.80
    China                       7.58    7.98    8.23            7.97     8.22     8.26     8.44
    Other Asia                  8.78    9.24    9.17            9.13     9.18     9.07     9.29
    Other Non-OECD             15.24   15.82   16.13           15.80    16.13    16.34    16.23
Total World Consumption        85.81   85.87   84.70           85.06    83.44    84.09    86.21
          ที่มา :Energy Information Administration (EIA)

          - การปรับลดปริมาณการผลิตลงมีผลต่อราคาน้ำมันน้อยกว่าอิทธิพลของการลดลงของความต้องการโดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยเป็น
วงกว้างหลายประทศ แม้ว่ากลุ่มโอเปคจะมีการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำ มันลงโดยที่ในการประชุมในวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมากลุ่มโอเปกได้ปรับลด
ปริมาณการผลิตลงประมาณวันละ 2 ล้านบาเรล (เป็นการปรับลดที่มากที่สุดตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา) จากการปรับลดปริมาณการผลิตของประเทศซาอุดิ
อาระเบีย เพื่อลด supply overhang แต่ความต้องการใช้น้ำ มันลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากกว่า ทั้งนี้ EIA ได้คาดว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของโลกใน
ปี 2552 จะอยู่ที่ 84.43 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากระดับ 85.49 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2551จากปริมาณการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศโอเปกที่
คาดว่าจะลดลงถึง 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 โดยปริมาณการผลิตจะอยู่ที่ระดับ 29.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่
ต่ำสุดในรอบ 5 ปี โดยสาเหตุมาจากการลดการผลิตของประเทศซาอุดิอาระเบีย และคาดว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของกล่มประเทศโอเปกในปี 2552
จะอยู่ที่ 34.54 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากการผลิตที่ 35.75 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2551 สำหรับการผลิตน้ำมันของกลุ่มนอกโอเปก แม้จะมีแนว
โน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 150,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2552 แต่อาจมีความเสี่ยงเรื่องโครงการขุดเจาะน้ำมันต่าง ๆ ที่ต้องล่าช้า เพราะได้รับผลกระทบ
จากวิกฤตการณ์ทางการเงิน ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการขยายกำลังการผลิต รวมถึงวิกฤติสภาพคล่องที่เกิดขึ้นก็อาจ
ทำให้ยากต่อการกู้เงินเพื่อมาลงทุนในโครงการใหม่
          - การบังคับใช้ Stop Excessive Energy Speculation Act of 2008 ของสหรัฐฯ จะช่วยลดปริมาณการเก็งกำไรราคาน้ำมัน
นอกจากนี้การดำเนินงานของ The U.S. Commodity Futures Trading Commission (CFTC) จะช่วยปิดช่องโหว่ของกฎระเบียบการซื้อขายใน
ตลาดล่วงหน้าเพื่อป้องกันการเก็งกำไร รวมทั้งยังอยู่ในช่วงและบรรยากาศของการรับรู้ความเสียหายที่เกิดจากการเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้าและการ
ซื้อขายตราสารอนุพันธ์ ดังนั้นแรงจูงใจในการเก็งกำไรจะลดลงประกอบกับการขอสินเชื่อเพื่อมาดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ นั้นทำได้ยากขึ้น

                                  ปริมาณการผลิตน้ำมันของโลก
(million barrels per day)               Year                                2552_f
   Consumption                  2550    2551   2552_f           1st      2nd     3rd    4th
OECD                           21.46   20.94   20.84           21.03   21.01   20.57   20.76
    U.S. (50 States)            8.46    8.51    8.96            8.91    9.03    8.92    8.98
    Canada                      3.42    3.35    3.49            3.46    3.49    3.49    3.53
    Mexico                      3.50    3.19    2.89            2.95    2.97    2.86    2.81
    North Sea                   4.54    4.30    3.90            4.08    3.92    3.72    3.89
    Other OECD                  1.53    1.58    1.59            1.64    1.60    1.58    1.55
Non-OECD                       62.95   64.55   63.59           62.44   63.49   64.12   64.28
    OPEC                       35.42   35.75   34.54           33.89   34.36   34.77   35.14
    Crude Oil Portion          30.90   31.27   29.41           29.12   29.29   29.53   29.67
    Other Liquids               4.52    4.48    5.14            4.77    5.07    5.23    5.47
    Former Soviet Union        12.60   12.52   12.50           12.45   12.54   12.47   12.53
    China                       3.90    3.98    4.00            3.93    4.02    4.00    4.03
    Other Non-OECD             11.02   12.31   12.55           12.17   12.57   12.88   12.58
Total World Production         84.40   85.49   84.43           83.47   84.50   84.68   85.05
Non-OPEC Production            48.98   49.74   49.89           49.58   50.14   49.92   49.91
          ที่มา :EIA

           ประมาณการราคาน้ำมันปี2552 ของหน่วยงานต่าง ๆ
                                          ประมาณการราคาน้ำมันปี2552
 EIA (ณ กุมภาพันธ์ 2552)                     WTI = 43.14 US$/Barrel
 UBS Securities LLC (ณ มกราคม 2552)       BRENT = 60 US$/Barrel
 Barclays Capital (ณ มกราคม 2552)         BRENT,WTI = 76 US$/Barrel
 UniCredit (ณ มกราคม 2552)                BRENT,WTI = 55 US$/Barrel
 Goldman Sachs (ณ ธันวาคม 2551)            WTI = 30-45 US$/Barrel
 CIBC (ณ ธันวาคม 2551)                     WTI = 50 US$/Barrel
 IMF                                      WTI = 50 US$/Barrel
 S&P                                      WTI = 50-60 US$/Barrel
 Energy&Capital                           WTI = ต่ำกว่า 50 US$/Barrel
 TD Newcrest analyst                      WTI = 50 US$/Barrel

(ยังมีต่อ).../2.3 แนวโน้มเศรษฐกิจ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ