4.5 ข้อสังเกตจากผลการจัดลำดับความสำคัญ
1) ภาพรวมการจัดลำดับความสำคัญ
(1) ประจำปี 2550
(1.1) โครงการที่มีลำดับความสำคัญสูงส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของประเทศ สามารถสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความจำเป็นเร่งด่วนและความพร้อมที่จะเริ่มดำเนินโครงการได้ ดังเช่นแผนฯ 3 ปี ในรอบที่ผ่านๆ มา อาทิ โครงการจัดซื้อเครื่องบิน โครงการด้านคมนาคม โครงการพัฒนาด้านไฟฟ้า และโครงการจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(1.2) โดยในปีนี้จากผลการจัดลำดับความสำคัญดังกล่าว ไม่มีโครงการที่สนับสนุนการเพิ่มความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพด้านแรงงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรากฏอยู่เลย
(2) ประจำปี 2551
(2.1) โครงการที่มีความสำคัญลำดับสูงส่วนใหญ่ประจำปี 2551 นี้มีลักษณะคล้ายกับโครงการที่ได้อยู่ในลำดับความสำคัญสูงของปี 2550 โดยเฉพาะการเสนอดำเนินโครงการจัดซื้อเครื่องบินก็ยังมีอยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อนำโครงการที่อยู่ในกลุ่มที่เห็นควรทบทวน ชะลอ ศึกษาเพิ่มเติมในปี 2550 เข้ามารวมพิจารณาด้วยแล้ว ปรากฏว่ามีโครงการจากกรมชลประทาน เข้ามารวมด้วย
(2.2) แต่เมื่อพิจารณาในแง่ความพร้อมของโครงการแล้ว ส่วนใหญ่มีความพร้อมน้อยมาก ทั้งนี้ อาจเนื่องจากหน่วยงานเห็นว่ายังมีระยะเวลาที่จะจัดเตรียมโครงการอยู่อีกค่อนข้างมาก
(3) ประจำปี 2553
(3.1) โครงการที่อยู่ในลำดับความสำคัญของปี 2553 ก็ยังเป็นโครงการจัดซื้อเครื่องบิน ที่บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เสนอขอบรรจุในแผนฯ
(3.2) ส่วนโครงการที่เหลือในลำดับถัดไป ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการพัฒนาด้านพลังงานไฟฟ้า ในขณะที่อีก 2 โครงการที่เหลือจะเป็นโครงการทางด้านการเกษตร และสิ่งแวดล้อม
2) ความสอดคล้องกับกรอบเพดานเงินกู้ต่างประเทศ
(1) หากกรอบเพดานเงินกู้ต่างประเทศในระยะ 3 ปีข้างหน้าที่คาดว่าอยู่ที่ระดับ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จะมีโครงการที่มีผลอยู่ในลำดับความสำคัญแรกภายใต้แผนเงินกู้ต่างประเทศประจำปี 2550 จำนวน 3 โครงการ วงเงินรวม 347.02 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนลำดับที่สองจะมี 11 โครงการ รวมวงเงิน 2,517.22 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อรวมวงเงินโครงการทั้งสองลำดับแล้วจะเกินกรอบเพดานเงินกู้ที่คาดไว้ จึงอาจต้องพิจารณาตัดโครงการที่ยังไม่มีความพร้อมออกไป ดังนั้นหน่วยงานเจ้าของโครงการจึงควรเร่งเตรียมความพร้อมของโครงการล่วงหน้าด้วย หรืออาจปรับไปหาแหล่งเงินทุนจากภายในประเทศเพื่อดำเนินโครงการแทน
(2) สำหรับผลการจัดลำดับความสำคัญของโครงการปี 2551 และ 2552 เมื่อพิจารณาแล้วก็ล้วนแต่มีวงเงินรวมเกินกรอบเพดานเงินกู้ที่คาดไว้เช่นกัน ดังนั้นหากหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องการที่จะดำเนินโครงการให้ทันในปีที่กำหนดก็ควรเร่งเตรียมความพร้อมของโครงการให้ทันการของบประมาณประจำปี หรือปรับไปหาแหล่งเงินทุนจากภายในประเทศเพื่อดำเนินโครงการแทนเช่นกัน
5. การจัดทำแผนโครงการเงินกู้ต่างประเทศ 3 ปี สำหรับรอบปีถัดไป
ในรอบปีที่ผ่านมา สศช. ได้จัดทำแผนโครงการเงินกู้ต่างประเทศ 3 ปี (พ.ศ. 2550-2552) เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางการผูกพันเงินกู้จากต่างประเทศในอนาคต และเป็นแนวทางการจัดลำดับความสำคัญของโครงการในระยะ 3 ปีข้างหน้าให้สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ดังนั้น ในการจัดทำแผนโครงการเงินกู้ต่างประเทศ 3 ปี ในรอบปีหน้า (พ.ศ. 2551-2553) หน่วยงานต่างๆ จึงควรเสนอโครงการที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินตราต่างประเทศเป็นสำคัญ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะลดการก่อหนี้ต่างประเทศลง โดยจะให้กู้จากต่างประเทศได้เฉพาะโครงการที่มีความจำเป็นและต้องใช้เงินตราต่างประเทศเป็นสำคัญเท่านั้น ส่วนโครงการที่เป็นประโยชน์และมีความคุ้มค่าอื่นๆ จะสนับสนุนให้ใช้เงินกู้ภายในประเทศเพื่อทดแทนการกู้จากต่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1) ภาพรวมการจัดลำดับความสำคัญ
(1) ประจำปี 2550
(1.1) โครงการที่มีลำดับความสำคัญสูงส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของประเทศ สามารถสร้างรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความจำเป็นเร่งด่วนและความพร้อมที่จะเริ่มดำเนินโครงการได้ ดังเช่นแผนฯ 3 ปี ในรอบที่ผ่านๆ มา อาทิ โครงการจัดซื้อเครื่องบิน โครงการด้านคมนาคม โครงการพัฒนาด้านไฟฟ้า และโครงการจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(1.2) โดยในปีนี้จากผลการจัดลำดับความสำคัญดังกล่าว ไม่มีโครงการที่สนับสนุนการเพิ่มความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพด้านแรงงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรากฏอยู่เลย
(2) ประจำปี 2551
(2.1) โครงการที่มีความสำคัญลำดับสูงส่วนใหญ่ประจำปี 2551 นี้มีลักษณะคล้ายกับโครงการที่ได้อยู่ในลำดับความสำคัญสูงของปี 2550 โดยเฉพาะการเสนอดำเนินโครงการจัดซื้อเครื่องบินก็ยังมีอยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อนำโครงการที่อยู่ในกลุ่มที่เห็นควรทบทวน ชะลอ ศึกษาเพิ่มเติมในปี 2550 เข้ามารวมพิจารณาด้วยแล้ว ปรากฏว่ามีโครงการจากกรมชลประทาน เข้ามารวมด้วย
(2.2) แต่เมื่อพิจารณาในแง่ความพร้อมของโครงการแล้ว ส่วนใหญ่มีความพร้อมน้อยมาก ทั้งนี้ อาจเนื่องจากหน่วยงานเห็นว่ายังมีระยะเวลาที่จะจัดเตรียมโครงการอยู่อีกค่อนข้างมาก
(3) ประจำปี 2553
(3.1) โครงการที่อยู่ในลำดับความสำคัญของปี 2553 ก็ยังเป็นโครงการจัดซื้อเครื่องบิน ที่บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เสนอขอบรรจุในแผนฯ
(3.2) ส่วนโครงการที่เหลือในลำดับถัดไป ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการพัฒนาด้านพลังงานไฟฟ้า ในขณะที่อีก 2 โครงการที่เหลือจะเป็นโครงการทางด้านการเกษตร และสิ่งแวดล้อม
2) ความสอดคล้องกับกรอบเพดานเงินกู้ต่างประเทศ
(1) หากกรอบเพดานเงินกู้ต่างประเทศในระยะ 3 ปีข้างหน้าที่คาดว่าอยู่ที่ระดับ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จะมีโครงการที่มีผลอยู่ในลำดับความสำคัญแรกภายใต้แผนเงินกู้ต่างประเทศประจำปี 2550 จำนวน 3 โครงการ วงเงินรวม 347.02 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนลำดับที่สองจะมี 11 โครงการ รวมวงเงิน 2,517.22 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเห็นว่าเมื่อรวมวงเงินโครงการทั้งสองลำดับแล้วจะเกินกรอบเพดานเงินกู้ที่คาดไว้ จึงอาจต้องพิจารณาตัดโครงการที่ยังไม่มีความพร้อมออกไป ดังนั้นหน่วยงานเจ้าของโครงการจึงควรเร่งเตรียมความพร้อมของโครงการล่วงหน้าด้วย หรืออาจปรับไปหาแหล่งเงินทุนจากภายในประเทศเพื่อดำเนินโครงการแทน
(2) สำหรับผลการจัดลำดับความสำคัญของโครงการปี 2551 และ 2552 เมื่อพิจารณาแล้วก็ล้วนแต่มีวงเงินรวมเกินกรอบเพดานเงินกู้ที่คาดไว้เช่นกัน ดังนั้นหากหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องการที่จะดำเนินโครงการให้ทันในปีที่กำหนดก็ควรเร่งเตรียมความพร้อมของโครงการให้ทันการของบประมาณประจำปี หรือปรับไปหาแหล่งเงินทุนจากภายในประเทศเพื่อดำเนินโครงการแทนเช่นกัน
5. การจัดทำแผนโครงการเงินกู้ต่างประเทศ 3 ปี สำหรับรอบปีถัดไป
ในรอบปีที่ผ่านมา สศช. ได้จัดทำแผนโครงการเงินกู้ต่างประเทศ 3 ปี (พ.ศ. 2550-2552) เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางการผูกพันเงินกู้จากต่างประเทศในอนาคต และเป็นแนวทางการจัดลำดับความสำคัญของโครงการในระยะ 3 ปีข้างหน้าให้สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ดังนั้น ในการจัดทำแผนโครงการเงินกู้ต่างประเทศ 3 ปี ในรอบปีหน้า (พ.ศ. 2551-2553) หน่วยงานต่างๆ จึงควรเสนอโครงการที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินตราต่างประเทศเป็นสำคัญ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะลดการก่อหนี้ต่างประเทศลง โดยจะให้กู้จากต่างประเทศได้เฉพาะโครงการที่มีความจำเป็นและต้องใช้เงินตราต่างประเทศเป็นสำคัญเท่านั้น ส่วนโครงการที่เป็นประโยชน์และมีความคุ้มค่าอื่นๆ จะสนับสนุนให้ใช้เงินกู้ภายในประเทศเพื่อทดแทนการกู้จากต่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-