-สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ปิดตลาดในวันศุกร์ไม่เปลี่ยนแปลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน และ Interbank ปิดตลาดในอัตราเดิม
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรฯ ระยะยาวปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับพันธบัตรฯ สหรัฐฯ
-เงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่และปรับแข็งค่าที่สุดทำสถิติรอบใหม่ในรอบ 6 ปี ที่ระดับ 37.72 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพฤหัสบดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นจำนวนมาก และแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อเก็งกำไร
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงต้นสัปดาห์เนื่องจากปริมาณเงินที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ยังไม่ไหลกลับคืนสู่ระบบสถาบันการเงิน ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอน
เงินสดของลูกค้า หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.71875 ต่อปี ใน
วันจันทร์ ก่อนที่จะปรับลดลงมาอยู่ในระดับเดิมที่ร้อยละ 4.6875 ต่อปี ในวันอังคาร ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 4.625 และ 4.75 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ลดการลงทุนลงและมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อ
ดำรงเงินสดสำรองให้ได้ตามเกณฑ์เฉลี่ยสำหรับการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน เคลื่อนไหวระหว่างวัน
สูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังปิดตลาดในอัตราเดิม ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงต้นสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย
Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.61 - 4.75 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดในอัตราเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.63 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 47,500 ล้านบาท เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 27 และ 90 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ อายุ 181 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 24,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปี 6 เดือน และ 15 ปี วงเงินรวม 6,500 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทุกรุ่นปรับตัวสูงขึ้น และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 29,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 18,500 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 101,152 ล้านบาท คิดเป็น 25,288 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 16.2 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 48 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของ
พันธบัตรฯ ระยะสั้นยังคงปรับตัวสูงขึ้น ส่วนพันธบัตรฯ ระยะยาวปรับตัวลดลง โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรทุกช่วงอายุปรับเพิ่มสูงขึ้นมากใน
วันเปิดทำการวันแรกหลังจากวันหยุดต่อเนื่อง เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนกังวลว่าจะเกิดแรงกดดันต่อภาวะ
เงินเฟ้อ หลังจากนั้นอัตราผลตอบแทนเริ่มปรับตัวลดลง แต่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นยังคงปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแข่งขันกันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่มีระยะเวลาต่ำกว่า 1 ปีของ ธพ. ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-9 basis points ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 4-11 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 34 และ 49 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับพันธบัตรฯไทย โดยพันธบัตรระยะสั้นมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรฯ ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนปรับลดลง
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 49 38.93
เฉลี่ย 10 - 12 เม.ย. 49 37.99
17 เม.ย. 49 37.89
18 เม.ย. 49 37.90
20 เม.ย. 49 37.72
21 เม.ย. 49 37.78
เฉลี่ย 17 - 21 เม.ย. 49 37.80
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.5 โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามทิศทางค่าเงินเยน ประกอบกับนักลงทุนต่างชาติมีความต้องการซื้อเงินบาทเป็นจำนวนมากเพื่อเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันอังคาร เนื่องจากความกังวลของนักลงทุนว่า ธปท. เข้า
แทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนใน
สินทรัพย์สหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนก่อนหน้าและเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สำหรับในวันพุธซึ่งแม้ว่าตลาดอัตรา
แลกเปลี่ยนในประเทศจะหยุดทำการเนื่องจากเป็นวันเลือกตั้ง ส.ว. แต่เงินบาทในตลาดต่างประเทศยังปรับแข็งค่าขึ้น และค่าเงินบาทในประเทศปรับ
แข็งค่าต่อเนื่องทำสถิติรอบใหม่ในช่วง 6 ปีอีกครั้งที่ระดับ 37.72 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพฤหัสบดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแรงเทขายเงิน
ดอลลาร์ สรอ. เพื่อเก็งกำไร ตลอดจนเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เงินบาท
อ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้นำเข้าไทย ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ.
ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่ออกมาดี ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed มีแนวโน้มจะปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกในระยะต่อไป หลังจากที่ช่วงก่อนหน้านี้ นักลงทุนบางส่วนคาดว่า Fed อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรฯ ระยะยาวปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับพันธบัตรฯ สหรัฐฯ
-เงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่และปรับแข็งค่าที่สุดทำสถิติรอบใหม่ในรอบ 6 ปี ที่ระดับ 37.72 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพฤหัสบดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นจำนวนมาก และแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อเก็งกำไร
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงต้นสัปดาห์เนื่องจากปริมาณเงินที่ไหลออกไปในช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ยังไม่ไหลกลับคืนสู่ระบบสถาบันการเงิน ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอน
เงินสดของลูกค้า หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.71875 ต่อปี ใน
วันจันทร์ ก่อนที่จะปรับลดลงมาอยู่ในระดับเดิมที่ร้อยละ 4.6875 ต่อปี ในวันอังคาร ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 4.625 และ 4.75 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ลดการลงทุนลงและมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อ
ดำรงเงินสดสำรองให้ได้ตามเกณฑ์เฉลี่ยสำหรับการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน เคลื่อนไหวระหว่างวัน
สูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังปิดตลาดในอัตราเดิม ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงต้นสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย
Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.61 - 4.75 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดในอัตราเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.63 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 47,500 ล้านบาท เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 27 และ 90 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ อายุ 181 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาทพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 24,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปี 6 เดือน และ 15 ปี วงเงินรวม 6,500 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทุกรุ่นปรับตัวสูงขึ้น และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 29,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 18,500 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 101,152 ล้านบาท คิดเป็น 25,288 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 16.2 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 48 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของ
พันธบัตรฯ ระยะสั้นยังคงปรับตัวสูงขึ้น ส่วนพันธบัตรฯ ระยะยาวปรับตัวลดลง โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรทุกช่วงอายุปรับเพิ่มสูงขึ้นมากใน
วันเปิดทำการวันแรกหลังจากวันหยุดต่อเนื่อง เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนกังวลว่าจะเกิดแรงกดดันต่อภาวะ
เงินเฟ้อ หลังจากนั้นอัตราผลตอบแทนเริ่มปรับตัวลดลง แต่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นยังคงปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแข่งขันกันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่มีระยะเวลาต่ำกว่า 1 ปีของ ธพ. ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 1 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-9 basis points ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลง 4-11 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 34 และ 49 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับพันธบัตรฯไทย โดยพันธบัตรระยะสั้นมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรฯ ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนปรับลดลง
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มี.ค. 49 38.93
เฉลี่ย 10 - 12 เม.ย. 49 37.99
17 เม.ย. 49 37.89
18 เม.ย. 49 37.90
20 เม.ย. 49 37.72
21 เม.ย. 49 37.78
เฉลี่ย 17 - 21 เม.ย. 49 37.80
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.5 โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามทิศทางค่าเงินเยน ประกอบกับนักลงทุนต่างชาติมีความต้องการซื้อเงินบาทเป็นจำนวนมากเพื่อเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันอังคาร เนื่องจากความกังวลของนักลงทุนว่า ธปท. เข้า
แทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขเงินทุนไหลเข้าเพื่อลงทุนใน
สินทรัพย์สหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนก่อนหน้าและเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สำหรับในวันพุธซึ่งแม้ว่าตลาดอัตรา
แลกเปลี่ยนในประเทศจะหยุดทำการเนื่องจากเป็นวันเลือกตั้ง ส.ว. แต่เงินบาทในตลาดต่างประเทศยังปรับแข็งค่าขึ้น และค่าเงินบาทในประเทศปรับ
แข็งค่าต่อเนื่องทำสถิติรอบใหม่ในช่วง 6 ปีอีกครั้งที่ระดับ 37.72 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพฤหัสบดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแรงเทขายเงิน
ดอลลาร์ สรอ. เพื่อเก็งกำไร ตลอดจนเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เงินบาท
อ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้นำเข้าไทย ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ.
ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่ออกมาดี ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า Fed มีแนวโน้มจะปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกในระยะต่อไป หลังจากที่ช่วงก่อนหน้านี้ นักลงทุนบางส่วนคาดว่า Fed อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-