เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2548 ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมผู้บริหาร สศช. ได้ร่วมกันแถลงรายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 1/2548 ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สศช. เลขาธิการฯ กล่าวว่า สำนักงานฯ ได้ติดตามความเคลื่อนไหวสถานการณ์ทางสังคมในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา สรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้ภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปี 2548
- คุณภาพคน : พบว่ากำลังแรงงานมีการศึกษาสูงขึ้น โดยแรงงานที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.2 ในไตรมาสเดียวกันปี 2547 เป็นร้อยละ 40.0 นอกจากนี้ กำลังคนด้านการแพทย์ก็มีคุณภาพในระดับสากล เช่น ด้านการผ่าตัดหัวใจ เสริมความงาม แปลงเพศ และทันต
กรรม เป็นต้น ทำให้มีชาวต่างชาติมารับบริการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2545 — 2546 มีถึง 630,000 และ 973,532 รายตามลำดับ สร้างรายได้เข้าประเทศ 43,549 ล้านบาท
ส่วนการจ้างงานมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.25 ส่งผลให้อัตราการว่างงานเป็นร้อยละ 2.29 ลดลงจากร้อยละ 2.37 ในช่วงเดียวกันของปี 2547 สำหรับด้านสุขภาพอนามัยนั้น สถานการณ์โรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องสำคัญในไตรมาสแรกปี 2548 โดยพบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 7,215 ราย และผู้เสียชีวิต 12 ราย
- ความมั่นคงทางสังคม : ปริมาณคดีเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดมีแนวโน้มลดลงทุกฐานความผิด เปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2547 โดยปริมาณคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ลดลงจาก 2,880 คดี เป็น 2,559 คดี คดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ ลดลงจาก 2,246 คดี เป็น 2,171 คดี และคดียาเสพติดให้โทษลดลงจาก 1,561 คดี เป็น 1,478 คดี หรือลดลงร้อยละ 3.33, 5.62 และ 5.31 ตามลำดับ
- พฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน : การใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พบว่า ประชาชนมีความตื่นตัวและสนใจไปใช้สิทธิ์ถึงร้อยละ 72.55 เพิ่มจากร้อยละ 69.94 และ 62.42 ในปี 2544 และ 2539 ตามลำดับ
- สิ่งแวดล้อม : ปริมาณขยะอันตรายจากซากแบตเตอรี่และโทรศัพท์มือถือมีแนวโน้มมากขึ้น โดยปริมาณนำเข้าตั้งแต่ปี 2543 — 2546 ประมาณ 28 ล้านเครื่อง ส่งผลให้มีการนำเข้าแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นจาก 30 ล้านก้อนในปี 2545 เป็น 43 ล้านก้อน ในปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 43.3 ทำให้ปริมาณซากแบตเตอรี่และโทรศัพท์มือถือที่เป็นขยะอันตรายถูกทิ้งเป็นจำนวนมากขึ้น และหากไม่ได้รับการกำจัดที่ถูกต้องจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน
ประเด็นปัญหาของ “กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ : คำตอบอยู่ที่ใคร”
สถานการณ์ของกรุงเทพฯ ที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2546 มีประชากรโดยรวมกว่า 10 ล้านคน โดยประมาณร้อยละ 40 เป็นประชากรแฝงที่เข้ามาอยู่โดยไม่มีการย้ายทะเบียนบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องสำคัญ ๆ และปัญหาที่พึงระวัง ดังนี้
- ความสัมพันธ์ของครอบครัวคนในกรุงเทพฯ มีแนวโน้มอ่อนแอลง อัตราการหย่าร้างของคนกรุงเทพฯ มีแนวโน้มสูงขึ้น จาก 1.18 คู่ต่อประชากร 1,000 คน ในปี 2537 เป็น 2.38 คู่ในปี 2546 ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก เช่น การเสพยาเสพติด การก่อความรุนแรง เป็นต้น ขณะเดียวกันคนกรุงเทพฯ ยังมีจำนวนครัวเรือนมากที่สุดในประเทศ คือ ร้อยละ 13.3 ของครัวเรือนทั่วประเทศ และมีประชากร 1.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด ในขณะที่สัดส่วนพื้นที่สาธารณะต่อประชากรเพียง 2.24 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานสากลคือ 10 ตารางเมตรต่อคน
- กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการศึกษาในทุกระดับ โดยมีสถานศึกษาถึง 1,644 แห่ง สถานกวดวิชากว่า 300 แห่ง นักเรียนประมาณ 150,000 คน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้โอกาสหรือทางเลือกของนักเรียนกรุงเทพฯ มีมาก ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา โดยพบว่า คะแนนของนักเรียนกรุงเทพฯ ทุกระดับการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงกว่าของประเทศ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าหรือเพียงแค่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 50 เท่านั้น
- ปัญหาจราจรก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม การเดินทางบนท้องถนนในชั่วโมงเร่งด่วนบริเวณพื้นที่รอบในมีอัตราความเร็วเพียง 16.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเกิดจากปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจราจรติดขัดคือ มีผู้ปกครองต้องรับส่งบุตรหลานไปโรงเรียนเกือบ 1 ล้านคัน
- ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนกรุงเทพฯ ลดลง คดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพฯ มีสัดส่วนสูงเกือบ 2 เท่าของคดีทั่วประเทศ โดยมีสัดส่วนสูงถึง 385 ต่อประชากรแสนคนในปี 2547 อย่างไรก็ตาม ปัญหายาเสพติดลดลงอย่างมาก คิดเป็นสัดส่วนคดียาเสพติด 155.7 ต่อประชากรแสนคน และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนการเกิดอุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นจาก 37,868 ครั้งในปี 2542 เป็น 54,807 ครั้งในปี 2547 และมีผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี และในปี 2547 เกิดความสูญเสียทรัพย์สินเป็นมูลค่าถึง 484.92 ล้านบาท
- พฤติกรรมความเป็นอยู่และสภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษส่งผลต่อการเจ็บป่วยและสภาพจิตใจ คนกรุงเทพฯ ซื้ออาหารถุงรับประทานถึงร้อยละ 86.4 และรับประทานฟาสต์ฟู้ดร้อยละ 5.04 ซึ่งอาจเสี่ยงกับการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดและไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ วิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพยังส่งผลต่อการเจ็บป่วนจากโรคที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้น โดยในปี 2546 มีผู้ป่วยโรคมะเร็ง 21,441 ราย และเป็นโรคความดัน 160,783 ราย ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ รวมทั้งพบว่าโรคทางเดินหายใจเป็นโรคที่คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 44.6 ต้องเผชิญ ซึ่งมีสาเหตุจากมลภาวะทางอากาศบริเวณริมถนนสายหลัก ตลอดจนมีผู้ป่วยทางสุขภาพจิตเพิ่มสูงขึ้นมาก จาก 587 คนต่อประชากรแสนคนในปี 2544 เพิ่มเป็น 5,485 คนต่อประชากรแสนคนในปี 2546
แม้ว่าปัญหาที่คนกรุงเทพฯ ต้องเผชิญจะหนักหนาสาหัสเพียงใด แต่ปัจจัยที่จะทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่ได้ก็ต้องเริ่มที่คนกรุงเทพฯ ด้วยศักยภาพของคนและความได้เปรียบในเชิงโครงสร้าง จึงเป็นเรื่องท้าทายที่คนกรุงเทพฯ จะต้องร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-ฉอ-
- คุณภาพคน : พบว่ากำลังแรงงานมีการศึกษาสูงขึ้น โดยแรงงานที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.2 ในไตรมาสเดียวกันปี 2547 เป็นร้อยละ 40.0 นอกจากนี้ กำลังคนด้านการแพทย์ก็มีคุณภาพในระดับสากล เช่น ด้านการผ่าตัดหัวใจ เสริมความงาม แปลงเพศ และทันต
กรรม เป็นต้น ทำให้มีชาวต่างชาติมารับบริการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2545 — 2546 มีถึง 630,000 และ 973,532 รายตามลำดับ สร้างรายได้เข้าประเทศ 43,549 ล้านบาท
ส่วนการจ้างงานมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.25 ส่งผลให้อัตราการว่างงานเป็นร้อยละ 2.29 ลดลงจากร้อยละ 2.37 ในช่วงเดียวกันของปี 2547 สำหรับด้านสุขภาพอนามัยนั้น สถานการณ์โรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องสำคัญในไตรมาสแรกปี 2548 โดยพบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 7,215 ราย และผู้เสียชีวิต 12 ราย
- ความมั่นคงทางสังคม : ปริมาณคดีเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดมีแนวโน้มลดลงทุกฐานความผิด เปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2547 โดยปริมาณคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ลดลงจาก 2,880 คดี เป็น 2,559 คดี คดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ ลดลงจาก 2,246 คดี เป็น 2,171 คดี และคดียาเสพติดให้โทษลดลงจาก 1,561 คดี เป็น 1,478 คดี หรือลดลงร้อยละ 3.33, 5.62 และ 5.31 ตามลำดับ
- พฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน : การใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พบว่า ประชาชนมีความตื่นตัวและสนใจไปใช้สิทธิ์ถึงร้อยละ 72.55 เพิ่มจากร้อยละ 69.94 และ 62.42 ในปี 2544 และ 2539 ตามลำดับ
- สิ่งแวดล้อม : ปริมาณขยะอันตรายจากซากแบตเตอรี่และโทรศัพท์มือถือมีแนวโน้มมากขึ้น โดยปริมาณนำเข้าตั้งแต่ปี 2543 — 2546 ประมาณ 28 ล้านเครื่อง ส่งผลให้มีการนำเข้าแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นจาก 30 ล้านก้อนในปี 2545 เป็น 43 ล้านก้อน ในปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 43.3 ทำให้ปริมาณซากแบตเตอรี่และโทรศัพท์มือถือที่เป็นขยะอันตรายถูกทิ้งเป็นจำนวนมากขึ้น และหากไม่ได้รับการกำจัดที่ถูกต้องจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน
ประเด็นปัญหาของ “กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่ : คำตอบอยู่ที่ใคร”
สถานการณ์ของกรุงเทพฯ ที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2546 มีประชากรโดยรวมกว่า 10 ล้านคน โดยประมาณร้อยละ 40 เป็นประชากรแฝงที่เข้ามาอยู่โดยไม่มีการย้ายทะเบียนบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องสำคัญ ๆ และปัญหาที่พึงระวัง ดังนี้
- ความสัมพันธ์ของครอบครัวคนในกรุงเทพฯ มีแนวโน้มอ่อนแอลง อัตราการหย่าร้างของคนกรุงเทพฯ มีแนวโน้มสูงขึ้น จาก 1.18 คู่ต่อประชากร 1,000 คน ในปี 2537 เป็น 2.38 คู่ในปี 2546 ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก เช่น การเสพยาเสพติด การก่อความรุนแรง เป็นต้น ขณะเดียวกันคนกรุงเทพฯ ยังมีจำนวนครัวเรือนมากที่สุดในประเทศ คือ ร้อยละ 13.3 ของครัวเรือนทั่วประเทศ และมีประชากร 1.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด ในขณะที่สัดส่วนพื้นที่สาธารณะต่อประชากรเพียง 2.24 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานสากลคือ 10 ตารางเมตรต่อคน
- กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการศึกษาในทุกระดับ โดยมีสถานศึกษาถึง 1,644 แห่ง สถานกวดวิชากว่า 300 แห่ง นักเรียนประมาณ 150,000 คน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้โอกาสหรือทางเลือกของนักเรียนกรุงเทพฯ มีมาก ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา โดยพบว่า คะแนนของนักเรียนกรุงเทพฯ ทุกระดับการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงกว่าของประเทศ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าหรือเพียงแค่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 50 เท่านั้น
- ปัญหาจราจรก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม การเดินทางบนท้องถนนในชั่วโมงเร่งด่วนบริเวณพื้นที่รอบในมีอัตราความเร็วเพียง 16.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเกิดจากปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจราจรติดขัดคือ มีผู้ปกครองต้องรับส่งบุตรหลานไปโรงเรียนเกือบ 1 ล้านคัน
- ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนกรุงเทพฯ ลดลง คดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพฯ มีสัดส่วนสูงเกือบ 2 เท่าของคดีทั่วประเทศ โดยมีสัดส่วนสูงถึง 385 ต่อประชากรแสนคนในปี 2547 อย่างไรก็ตาม ปัญหายาเสพติดลดลงอย่างมาก คิดเป็นสัดส่วนคดียาเสพติด 155.7 ต่อประชากรแสนคน และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนการเกิดอุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นจาก 37,868 ครั้งในปี 2542 เป็น 54,807 ครั้งในปี 2547 และมีผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี และในปี 2547 เกิดความสูญเสียทรัพย์สินเป็นมูลค่าถึง 484.92 ล้านบาท
- พฤติกรรมความเป็นอยู่และสภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษส่งผลต่อการเจ็บป่วยและสภาพจิตใจ คนกรุงเทพฯ ซื้ออาหารถุงรับประทานถึงร้อยละ 86.4 และรับประทานฟาสต์ฟู้ดร้อยละ 5.04 ซึ่งอาจเสี่ยงกับการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดและไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ วิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพยังส่งผลต่อการเจ็บป่วนจากโรคที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้น โดยในปี 2546 มีผู้ป่วยโรคมะเร็ง 21,441 ราย และเป็นโรคความดัน 160,783 ราย ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ รวมทั้งพบว่าโรคทางเดินหายใจเป็นโรคที่คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 44.6 ต้องเผชิญ ซึ่งมีสาเหตุจากมลภาวะทางอากาศบริเวณริมถนนสายหลัก ตลอดจนมีผู้ป่วยทางสุขภาพจิตเพิ่มสูงขึ้นมาก จาก 587 คนต่อประชากรแสนคนในปี 2544 เพิ่มเป็น 5,485 คนต่อประชากรแสนคนในปี 2546
แม้ว่าปัญหาที่คนกรุงเทพฯ ต้องเผชิญจะหนักหนาสาหัสเพียงใด แต่ปัจจัยที่จะทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่ได้ก็ต้องเริ่มที่คนกรุงเทพฯ ด้วยศักยภาพของคนและความได้เปรียบในเชิงโครงสร้าง จึงเป็นเรื่องท้าทายที่คนกรุงเทพฯ จะต้องร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-ฉอ-