เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ นางจุฑามาศ บาระมีชัย รักษาการรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง "การพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย" ภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) มีเป้าประสงค์หลักเพื่อมุ่งสู่ "สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน" ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงจำเป็นต้องพัฒนา "ดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย" ขึ้น โดยในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาได้มีกระบวนการระดมความคิดเห็นและความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กร และภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมวางกรอบแนวคิดการพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย และนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาในคราวประชุมครั้งที่ 11/2549 วันที่ 6 พฤศจิกายน ศกนี้ เพื่อที่ประชุมได้พิจารณาให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมและให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการในขั้นการจัดทำรายละเอียดดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขฯ ในแต่ละองค์ประกอบที่มาจากความเห็นพ้องต้องกันของทุกภาคส่วนทุกระดับ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศต่อไป
ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการพัฒนาดัชนีฯ
การจัดทำ "ดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน" เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขในสังคมไทย โดยวัตถุประสงค์การจัดทำเพื่อพัฒนากรอบแนวคิดและจัดทำดัชนีชี้วัดบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและค่านิยมของคนไทยให้เกิดคุณค่าใหม่ในการนำไปปฏิบัติให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีความสุข และใช้บ่งชี้สถานะของประเทศและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ติดตามประเมินผลการพัฒนา รวมทั้งสามารถนำไปใช้ปรับทิศทางการพัฒนาประเทศ และกำหนดนโยบายสาธารณะให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ตลอดจนเพื่อวางแนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่จำเป็นต่อการจัดทำดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข ให้สามารถใช้วิเคราะห์ วางแผนและรายงานผลได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
ความอยู่เย็นเป็นสุขคืออะไร
การพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย พัฒนามาจากแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) การปฏิบัติตาม "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" 2) การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่ยึด "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" และ 3) "วิสัยทัศน์ประเทศไทย" ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งได้จากการระดมความคิดของประชาชนในทุกภาคส่วน คือ มุ่งพัฒนาประเทศไทยสู่ "สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) โดยมีหลักการในการพัฒนาว่า แนวคิด "ความสุข" หรือ "ความอยู่เย็นเป็นสุข" เป็นค่านิยมร่วมของการดำรงชีวิตและการพัฒนาสังคมไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งควรกำหนดจากปัจจัยร่วมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับร่วมกัน โดยการพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข เป็นการสะท้อนเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา (Ends) และต้องพิจารณาเชื่อมโยงให้สะท้อนถึงวิธีการ (Means) ต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายความอยู่เย็นเป็นสุขด้วย โดยแบ่งดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับสังคมไทย 2) ระดับชุมชน และ 3) ระดับครอบครัว/บุคคล
จากแนวคิดพื้นฐานและหลักการดังกล่าว ทำให้สามารถกำหนดความหมายของ "ความอยู่เย็นเป็นสุข" ได้ว่า หมายถึง "ความพอใจในการดำเนินวิถีชีวิตของคนทั้งจิต กาย ปัญญา ที่เชื่อมโยงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นองค์รวมและสัมพันธ์กันได้ถูกต้องและดีงาม มีดุลยภาพ นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่เป็นธรรม"
ตามความหมายของความอยู่เย็นเป็นสุขดังกล่าวข้างต้น สามารถอธิบายได้เป็น 5 องค์ประกอบที่ครอบคลุมทุกมิติของวิถีการดำรงชีวิตของคนไทย และบูรณาการเชื่อมโยงกันจนเกิดภาวะแห่งความสุข ซึ่งเริ่มจาก 1) การที่คนไทยมีสุขภาวะที่ดี อันเป็นภาวะที่จิตใจ อารมณ์ ร่างกาย และสติปัญญามีสมดุล เข้าถึงหลักศาสนา มีคุณธรรมนำความรอบรู้ มีจิตสำนึกต่อประโยชน์ส่วนรวม สามารถคิดและทำอย่างถูกต้องและมีเหตุผล นำมาซึ่ง 2) ความสามารถในการประกอบสัมมาชีพ มีรายได้และหลักประกันความมั่นคงในชีวิต 3) ครอบครัวอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความอบอุ่นและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน 4) อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และ 5) มีสิทธิเสรีภาพ เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข
ในการที่จะบรรลุความอยู่เย็นเป็นสุขของคนในสังคมได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำองค์ประกอบแวดล้อมรอบตัวคนซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขเข้ามาพิจารณาด้วย และจะต้องขับเคลื่อนปัจจัยเหล่านี้ด้วยการเสริมสร้างสำนึกในคุณธรรมและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวประอบด้วย
1) ดุลยภาพการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยที่จะสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในสังคม คือ การสงวนรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติและความสมดุลของระบบนิเวศ ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและนำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม รวมทั้งสงวนไว้สำหรับคนรุ่นอนาคต บนพื้นฐานความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งดำรงคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน
2) เศรษฐกิจที่มีคุณภาพและเป็นธรรม การขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่บนพื้นฐานศักยภาพและประสิทธิภาพการผลิตของประเทศอย่างแท้จริง โดยใช้ฐานความรู้และนวัตกรรมในการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดการมีงานทำในทุกภูมิภาคอย่างทั่วถึง เศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็ง มีการแข่งขันดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส เป็นธรรมและมีสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและเน้นการพึ่งพาตนเองโดยรอบคอบระมัดระวังเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการกระจายผลประโยชน์ของการพัฒนาแก่ทุกภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม และการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น
3) สังคมเข้มแข็งและสันติสุข คนและชุมชนเข้าถึงหลักศาสนธรรม มีวัฒนธรรมและระบบคุณค่าทางสังคมที่ดีงามเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ยอมรับความแตกต่างและความหลากหลายของวัฒนธรรม เคารพศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน รู้รักสามัคคี เอื้ออาทรและเกื้อกูลกัน สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยเหตุผลและสันติวิธี นำไปสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็งที่มีการจัดการปัญหาโดยการพึ่งพาตนเองและมีการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความสงบสันติสุขของสังคม
4) การบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล เอื้อให้ภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ภายใต้โครงสร้าง กลไก และกระบวนการบริหารจัดการที่ดี ที่วางกฎเกณฑ์ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมกันบริหารจัดการประเทศ ด้วยหลักนิติธรรม คุณธรรม คุ้มค่า โปร่งใสและมีสำนึกรับผิดชอบ ยึดมั่นในวัฒนธรรมประชาธิปไตย และกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและภาคประชาชน
แนวทางดำเนินการในระยะต่อไป
การพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนากรอบแนวคิดของความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภายในระยะเวลา 3 เดือนต่อจากนี้ สศช. จะเร่งดำเนินการจัดทำดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข และใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างแนวคิดเรื่องความอยู่เย็นเป็นสุขให้เป็นกระแสหลักในสังคม สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและเครือข่ายในการจัดทำดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข รวมทั้งขยายไปสู่ระดับพื้นที่จังหวัด ท้องถิ่น และชุมชน
การดำเนินการจะเริ่มจากการปรับปรุงกรอบแนวคิด องค์ประกอบ และประเด็นการพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมในสังคมไทย เพื่อนำไปสู่การจัดทำรายละเอียดดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขเบื้องต้น ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้องจากนั้นจึงจัดทำรายงานสถานะความอยู่เย็นเป็นสุขของสังคมไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและรายงานต่อสาธารณะ รวมทั้งนำเสนอในการประชุมประจำปี 2550 ของ สศช นอกจากนี้ ยังจะสนับสนุนสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ เชื่อมโยงกับเครือข่ายขับเคลื่อนดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข อาทิ ศูนย์คุณธรรม สปรส. สกว. สพน. สำนักวิจัยเอแบค โพลล์ และประสานความร่วมมือเชื่อมโยงองค์ความรู้ในการพัฒนาและใช้ประโยชน์ดัชนีชี้วัดสู่การจัดทำดัชนีในระดับชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัด ตลอดจนพื้นที่ชนบท - เมือง พร้อมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขขึ้น เพื่อให้มีดัชนีชี้วัดที่ครอบคลุม ครบถ้วน สามารถชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) มีเป้าประสงค์หลักเพื่อมุ่งสู่ "สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน" ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงจำเป็นต้องพัฒนา "ดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย" ขึ้น โดยในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาได้มีกระบวนการระดมความคิดเห็นและความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กร และภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมวางกรอบแนวคิดการพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย และนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาในคราวประชุมครั้งที่ 11/2549 วันที่ 6 พฤศจิกายน ศกนี้ เพื่อที่ประชุมได้พิจารณาให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมและให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการในขั้นการจัดทำรายละเอียดดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขฯ ในแต่ละองค์ประกอบที่มาจากความเห็นพ้องต้องกันของทุกภาคส่วนทุกระดับ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศต่อไป
ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการพัฒนาดัชนีฯ
การจัดทำ "ดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน" เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนความอยู่เย็นเป็นสุขในสังคมไทย โดยวัตถุประสงค์การจัดทำเพื่อพัฒนากรอบแนวคิดและจัดทำดัชนีชี้วัดบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและค่านิยมของคนไทยให้เกิดคุณค่าใหม่ในการนำไปปฏิบัติให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีความสุข และใช้บ่งชี้สถานะของประเทศและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ติดตามประเมินผลการพัฒนา รวมทั้งสามารถนำไปใช้ปรับทิศทางการพัฒนาประเทศ และกำหนดนโยบายสาธารณะให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ตลอดจนเพื่อวางแนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่จำเป็นต่อการจัดทำดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข ให้สามารถใช้วิเคราะห์ วางแผนและรายงานผลได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
ความอยู่เย็นเป็นสุขคืออะไร
การพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย พัฒนามาจากแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) การปฏิบัติตาม "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" 2) การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่ยึด "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" และ 3) "วิสัยทัศน์ประเทศไทย" ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ซึ่งได้จากการระดมความคิดของประชาชนในทุกภาคส่วน คือ มุ่งพัฒนาประเทศไทยสู่ "สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) โดยมีหลักการในการพัฒนาว่า แนวคิด "ความสุข" หรือ "ความอยู่เย็นเป็นสุข" เป็นค่านิยมร่วมของการดำรงชีวิตและการพัฒนาสังคมไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งควรกำหนดจากปัจจัยร่วมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับร่วมกัน โดยการพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข เป็นการสะท้อนเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา (Ends) และต้องพิจารณาเชื่อมโยงให้สะท้อนถึงวิธีการ (Means) ต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายความอยู่เย็นเป็นสุขด้วย โดยแบ่งดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ระดับสังคมไทย 2) ระดับชุมชน และ 3) ระดับครอบครัว/บุคคล
จากแนวคิดพื้นฐานและหลักการดังกล่าว ทำให้สามารถกำหนดความหมายของ "ความอยู่เย็นเป็นสุข" ได้ว่า หมายถึง "ความพอใจในการดำเนินวิถีชีวิตของคนทั้งจิต กาย ปัญญา ที่เชื่อมโยงสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นองค์รวมและสัมพันธ์กันได้ถูกต้องและดีงาม มีดุลยภาพ นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่เป็นธรรม"
ตามความหมายของความอยู่เย็นเป็นสุขดังกล่าวข้างต้น สามารถอธิบายได้เป็น 5 องค์ประกอบที่ครอบคลุมทุกมิติของวิถีการดำรงชีวิตของคนไทย และบูรณาการเชื่อมโยงกันจนเกิดภาวะแห่งความสุข ซึ่งเริ่มจาก 1) การที่คนไทยมีสุขภาวะที่ดี อันเป็นภาวะที่จิตใจ อารมณ์ ร่างกาย และสติปัญญามีสมดุล เข้าถึงหลักศาสนา มีคุณธรรมนำความรอบรู้ มีจิตสำนึกต่อประโยชน์ส่วนรวม สามารถคิดและทำอย่างถูกต้องและมีเหตุผล นำมาซึ่ง 2) ความสามารถในการประกอบสัมมาชีพ มีรายได้และหลักประกันความมั่นคงในชีวิต 3) ครอบครัวอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความอบอุ่นและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน 4) อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และ 5) มีสิทธิเสรีภาพ เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข
ในการที่จะบรรลุความอยู่เย็นเป็นสุขของคนในสังคมได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำองค์ประกอบแวดล้อมรอบตัวคนซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขเข้ามาพิจารณาด้วย และจะต้องขับเคลื่อนปัจจัยเหล่านี้ด้วยการเสริมสร้างสำนึกในคุณธรรมและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวประอบด้วย
1) ดุลยภาพการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยที่จะสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในสังคม คือ การสงวนรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติและความสมดุลของระบบนิเวศ ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและนำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม รวมทั้งสงวนไว้สำหรับคนรุ่นอนาคต บนพื้นฐานความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งดำรงคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน
2) เศรษฐกิจที่มีคุณภาพและเป็นธรรม การขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่บนพื้นฐานศักยภาพและประสิทธิภาพการผลิตของประเทศอย่างแท้จริง โดยใช้ฐานความรู้และนวัตกรรมในการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดการมีงานทำในทุกภูมิภาคอย่างทั่วถึง เศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็ง มีการแข่งขันดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส เป็นธรรมและมีสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและเน้นการพึ่งพาตนเองโดยรอบคอบระมัดระวังเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการกระจายผลประโยชน์ของการพัฒนาแก่ทุกภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม และการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น
3) สังคมเข้มแข็งและสันติสุข คนและชุมชนเข้าถึงหลักศาสนธรรม มีวัฒนธรรมและระบบคุณค่าทางสังคมที่ดีงามเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ยอมรับความแตกต่างและความหลากหลายของวัฒนธรรม เคารพศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน รู้รักสามัคคี เอื้ออาทรและเกื้อกูลกัน สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยเหตุผลและสันติวิธี นำไปสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็งที่มีการจัดการปัญหาโดยการพึ่งพาตนเองและมีการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความสงบสันติสุขของสังคม
4) การบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล เอื้อให้ภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ภายใต้โครงสร้าง กลไก และกระบวนการบริหารจัดการที่ดี ที่วางกฎเกณฑ์ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมกันบริหารจัดการประเทศ ด้วยหลักนิติธรรม คุณธรรม คุ้มค่า โปร่งใสและมีสำนึกรับผิดชอบ ยึดมั่นในวัฒนธรรมประชาธิปไตย และกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและภาคประชาชน
แนวทางดำเนินการในระยะต่อไป
การพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนากรอบแนวคิดของความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภายในระยะเวลา 3 เดือนต่อจากนี้ สศช. จะเร่งดำเนินการจัดทำดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข และใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างแนวคิดเรื่องความอยู่เย็นเป็นสุขให้เป็นกระแสหลักในสังคม สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและเครือข่ายในการจัดทำดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข รวมทั้งขยายไปสู่ระดับพื้นที่จังหวัด ท้องถิ่น และชุมชน
การดำเนินการจะเริ่มจากการปรับปรุงกรอบแนวคิด องค์ประกอบ และประเด็นการพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมในสังคมไทย เพื่อนำไปสู่การจัดทำรายละเอียดดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขเบื้องต้น ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้องจากนั้นจึงจัดทำรายงานสถานะความอยู่เย็นเป็นสุขของสังคมไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและรายงานต่อสาธารณะ รวมทั้งนำเสนอในการประชุมประจำปี 2550 ของ สศช นอกจากนี้ ยังจะสนับสนุนสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ เชื่อมโยงกับเครือข่ายขับเคลื่อนดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข อาทิ ศูนย์คุณธรรม สปรส. สกว. สพน. สำนักวิจัยเอแบค โพลล์ และประสานความร่วมมือเชื่อมโยงองค์ความรู้ในการพัฒนาและใช้ประโยชน์ดัชนีชี้วัดสู่การจัดทำดัชนีในระดับชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัด ตลอดจนพื้นที่ชนบท - เมือง พร้อมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขขึ้น เพื่อให้มีดัชนีชี้วัดที่ครอบคลุม ครบถ้วน สามารถชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-