การจัดประชุมประจำปี 2549 ของ สศช.
สศช. เตรียมจัดการประชุมประจำปี 2549 ขึ้นในเดือนมิถุนายน 2549 เพื่อรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งรายงานการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของแผนฯ ฉบับที่ 9 และเพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ( พ.ศ.2550 - 2559 )
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธการคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการประชุมแห่งชาติ 2549 ของ สศช. เปิดเผยว่า สศช. มีภารกิจในการจัดการประชุมประจำปี เพื่อรายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมทั้งข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะต่อไปต่สาธารณชนเป็นประจำทุกปี
โดยในปี 2549 นี้ ศศช.ได้กำหนดหัวข้อการประชุมประจำปี 2549 เรื่อง "แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10: เรื่องสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน" และกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี การจัดการประชุมประจำปีในครั้งนี้ มีวัตภุประสงค์เพื่อรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยใช้ดัชนีวัดความอยู่ดีมีสุข ดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งรายงานการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
ตลอดจนให้ทุกภาคส่วนสังคมได้มีส่วนร่วมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนา ฉบับที่ 10 ( พ.ศ. 2550 - 2559 ) ซึ่ง สศช. จะได้นำความคิดเห็นไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 เพื่อให้ได้แผนยุทธศาสตร์ที่มีความชัดเจน และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับรูปแบบและวิธีการประชุมในครั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีการระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะกันอย่างเต็มที่ในช่วงเวลา 1 วัน โดยในภาคเช้าจะเป็นการแสดงปาฐกถาพิเศษ ของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เรื่อง "ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ...สู่สังคมที่มีความยั่งยืน" และการจัดฉายวิดีทัศน์ เรื่อง "แผน 10: สังคมที่มีความสุขยั่งยืน"
รวมทั้งนำเสนอและอภิปราย เรื่อง"ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10" โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับผลการพัฒนาประเทศ และเป็นการจุดประกายความคิดเกี่ยวกับแนวคิด และทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป
ส่วนในภาคบ่ายเป็นการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายเกี่ยวกับ "ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10" โดยแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1: การเสริมสร้างทุนทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
กลุ่มที่ 2: การเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
กลุ่มที่ 3: การเสริมสร้างทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม จะเป็นตัวแทนของทุกภาคส่วนในสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี นักการเมือง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ องค์กรพัฒนาเอกชน นักธุรกิจ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,000 คน
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่าการประชุมในครั้งนี้คาดว่าทุกภาคส่วนในสังคมที่ได้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับทราบสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่วัดด้วยตัวชี้วัดที่ชัดเจนและมีส่วนร่วมแสดงความดคิดเห็นที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
รวมทั้ง สศช.จะได้รับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการพัฒนาประเทศที่เป็นประโยชน์ ต่อการนำไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ให้มีความชัดเจน สามารถนำไปผลักดันไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนในสังคมไทย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วส/พห-
สศช. เตรียมจัดการประชุมประจำปี 2549 ขึ้นในเดือนมิถุนายน 2549 เพื่อรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งรายงานการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของแผนฯ ฉบับที่ 9 และเพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ( พ.ศ.2550 - 2559 )
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธการคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการประชุมแห่งชาติ 2549 ของ สศช. เปิดเผยว่า สศช. มีภารกิจในการจัดการประชุมประจำปี เพื่อรายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมทั้งข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะต่อไปต่สาธารณชนเป็นประจำทุกปี
โดยในปี 2549 นี้ ศศช.ได้กำหนดหัวข้อการประชุมประจำปี 2549 เรื่อง "แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10: เรื่องสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน" และกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี การจัดการประชุมประจำปีในครั้งนี้ มีวัตภุประสงค์เพื่อรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยใช้ดัชนีวัดความอยู่ดีมีสุข ดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งรายงานการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
ตลอดจนให้ทุกภาคส่วนสังคมได้มีส่วนร่วมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนา ฉบับที่ 10 ( พ.ศ. 2550 - 2559 ) ซึ่ง สศช. จะได้นำความคิดเห็นไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 เพื่อให้ได้แผนยุทธศาสตร์ที่มีความชัดเจน และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับรูปแบบและวิธีการประชุมในครั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีการระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะกันอย่างเต็มที่ในช่วงเวลา 1 วัน โดยในภาคเช้าจะเป็นการแสดงปาฐกถาพิเศษ ของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เรื่อง "ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ...สู่สังคมที่มีความยั่งยืน" และการจัดฉายวิดีทัศน์ เรื่อง "แผน 10: สังคมที่มีความสุขยั่งยืน"
รวมทั้งนำเสนอและอภิปราย เรื่อง"ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10" โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับผลการพัฒนาประเทศ และเป็นการจุดประกายความคิดเกี่ยวกับแนวคิด และทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป
ส่วนในภาคบ่ายเป็นการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายเกี่ยวกับ "ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10" โดยแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1: การเสริมสร้างทุนทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
กลุ่มที่ 2: การเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
กลุ่มที่ 3: การเสริมสร้างทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม จะเป็นตัวแทนของทุกภาคส่วนในสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี นักการเมือง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ องค์กรพัฒนาเอกชน นักธุรกิจ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,000 คน
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่าการประชุมในครั้งนี้คาดว่าทุกภาคส่วนในสังคมที่ได้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับทราบสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่วัดด้วยตัวชี้วัดที่ชัดเจนและมีส่วนร่วมแสดงความดคิดเห็นที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
รวมทั้ง สศช.จะได้รับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และแนวทางการพัฒนาประเทศที่เป็นประโยชน์ ต่อการนำไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ให้มีความชัดเจน สามารถนำไปผลักดันไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนในสังคมไทย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วส/พห-