(2) ปัจจัยบวก/โอกาสของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง: การขยายตัวของการส่งออก ท่องเที่ยว ราคาและผลผลิตสินค้า
เกษตรสูงขึ้น และการปรับตัวด้านการใช้จ่ายของประชาชนและการบริหารจัดการด้านพลังงานโดยรัฐบาล
(2.1) ภาคเกษตรฟื้นตัวโดยปริมาณการผลิตขยายตัว ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า
ของสินค้าเกษตร และการดำเนินโครงการพลังงานทางเลือก (Bio fuel) ให้เป็นไปตามเป้าหมายซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าของพืชผลเกษตรทั้ง อ้อย
มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้คาดว่าปริมาณผลผลิตพืชผลสำคัญจะยังเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีเนื่องจากปริมาณน้ำมีเพียงพอ และราคาสินค้า
เกษตรโดยเฉพาะในกลุ่มพืชผลจะยังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยางพารา ข้าว ปาล์มน้ำมันและอ้อย ใน 7 เดือนแรกปี 2549 ราคาพืชผลเกษตรโดยเฉลี่ย
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.1 โดยที่ปริมาณผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ซึ่งทำให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 และมูลค่าเพิ่มของการผลิตภาค
การเกษตรรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ในครึ่งแรกปี 2549 การส่งออกสินค้าเกษตรจะได้รับประโยชน์จากการที่ผลผลิตเกษตรโลกลดลง ซึ่งคาดว่าจะลด
ลงร้อยละ 4-5 จากปัญหาภัยธรรมชาติโดยสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะมีแนวโน้มการส่งออกดี ได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา และข้าวโพด รวมทั้งสินค้า
เกษตรแปรรูป
(2.2) การท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง ในครึ่งแรกของปีมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 6.3 ล้านคน
และเพิ่มเป็น 7.4 ล้านคนใน 7 เดือนแรก เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้ดุลบริการเกินดุลและทำให้ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัด
รวม 7 เดือนเกินดุล และสำหรับในระยะต่อไปคาดว่าสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวจะยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดย
เฉพาะเศรษฐกิจเอเชียและกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ เช่น จีน อินเดีย ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้การพัฒนา
คุณภาพการบริการและการทำการตลาดในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงตามเป้าหมาย 13.8 ล้านคนในปี
2549 นี้
(2.3) การดำเนินนโยบายด้านประหยัดพลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกทำให้ปริมาณการใช้
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงแม้ว่าเศรษฐกิจยังขยายตัว จึงช่วยในการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันและลดแรงกดดันต่อฐานะดุลบัญชีเดิน
สะพัด ซึ่งเห็นผลได้จากปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ลดลง โดยปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมรวมในครึ่งปีแรกลดลงร้อยละ 1.9 เทียบ
กับที่เพิ่มร้อยละ 11.7 และ 3.7 ในครึ่งแรกปี 2547 และครึ่งแรกปี 2548 โดยที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลลดลงร้อยละ 2.8 และ
9.4 เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้มีการปรับพฤติกรรมการใช้ให้มีประสิทธิภาพและประหยัดมากขึ้น แม้ว่าในครึ่งแรกของปี 2549 เศรษฐกิจจะ
ขยายตัวร้อยละ 5.5 สูงกว่าที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 ในครึ่งแรกของปี 2548 และเมื่อพิจารณาปริมาณการใช้น้ำมันต่อ GDP จะพบว่ามีทิศทางลดลง
ตามลำดับ ปริมาณการใช้ที่ลดลงทำให้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบในช่วงครึ่งปีแรกลดลงร้อยละ 2.0 และการเร่งรัดมาตรการใช้พลังงานทดแทนในช่วง
6 เดือนต่อไป ทั้งด้านความพร้อมของภาคเอกชนในการผลิตเอทานอล การใช้ NGV ในรถแท็กซี่และรถขนส่งมวลชน จะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้า
น้ำมันดิบและเพิ่มความสามารถและความชัดเจนในการพึ่งพลังงานทางเลือกมากขึ้น
(2.4) แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อลดลงในครึ่งหลังของปีในเดือนกรกฎาคมอัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 4.4 และ
ลดลงเป็นร้อยละ 3.8 ในเดือนสิงหาคม เทียบกับร้อยละ 5.9 ในครึ่งแรกของปี และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลง ตามลำดับเนื่องจากผลของอัตรา
ดอกเบี้ยได้ทำให้การใช้จ่ายชะลอตัวลงมาก ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นก็ช่วยลดแรงกดดันต้นทุนจากสินค้านำเข้า และฐานราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น
มากในครึ่งหลังของปีที่แล้ว แรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงจะสร้างมั่นใจให้กับผู้บริโภคมากขึ้น และลดแรงกดดันที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก ซึ่งจะ
ทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้นในปี 2550 โดยเฉพาะภายหลังจากการจัดตั้งรัฐบาลและมีการแถลงนโยบายของรัฐบาล และ
การ จัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี ซึ่งจะทำให้มีความชัดเจนทางการเมืองและแนวนโยบายเศรษฐกิจ ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและนัก
ลงทุนกลับคืนมา
2.2 สมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2549: ราคาน้ำมันดิบดูไบบาเรลละ 65- 68 ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าเฉลี่ยบาเรล
ละ 49.30 ดอลลาร์ในปี 2548 การขยายตัวเศรษฐกิจโลกเท่ากับร้อยละ4.7
(1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2549 สูงกว่าร้อยละ 4.4 ในปี 2548 และเป็นการปรับเพิ่มจากสมมติฐานการ
ขยายตัวร้อยละ 4.6 ในเดือนมิถุนายนเล็กน้อย จากการปรับเพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน กลุ่มยูโร และสิงคโปร์ โดยปรับเพิ่มการขยายตัวของ
เศรษฐกิจจีนจากร้อยละ 9.6 ในการประมาณการครั้งก่อน เป็นร้อยละ 10.0 จากการที่เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 10.9 ในครึ่งแรกของปี
และคาดว่ามาตรการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีนจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวไม่มากนัก เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินในประเทศจีนยังคงอยู่
ในระดับสูง และนโยบายการเงินที่เข้มงวดจะมีประสิทธิผลไม่มากนักภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างคงที่ นอกจากนี้ยังได้ปรับเพิ่มการขยายตัว
ของเศรษฐกิจกลุ่มยูโรจากร้อยละ 2.1 เป็นร้อยละ 2.2 จากการที่เศรษฐกิจเยอรมันและฝรั่งเศส ในไตรมาสที่สองขยายตัวได้เร่งขึ้น และปรับเพิ่ม
การขยายตัวของเศรษฐกิจสิงคโปร์จากร้อยละ 6.2 ในการประมาณครั้งก่อน เป็นร้อยละ 7.0 จากการที่เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ
9.4 ในครึ่งแรกของปี ซึ่งการปรับเพิ่มโดยรวมแล้วมากกว่าการปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ลงจากร้อยละ 5.2 ในการประมาณการครั้ง
ก่อนเป็นร้อยละ 4.9 ในการประมาณการครั้งนี้ จากการที่การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้ม ชะลอตัวลง จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและการขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยของธนาคารกลางที่มากเกินไป
(2) ราคาน้ำมัน: ปรับสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยบาเรลละ 65 ดอลลาร์ สรอ. จากสมมุติฐานเดิมบาเรลละ 63
ดอลลาร์ สรอ.
- ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง คาดว่าราคาเฉลี่ยทั้งปี 2549 จะอยู่ในช่วง 65-68 ดอลลาร์ สรอ. โดย
ราคาเฉลี่ยที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ 65 ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าบาเรลละ 49.30 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2548 ร้อยละ 31.85 และเป็นการปรับเพิ่ม
จากสมมุติฐานเดิมที่เฉลี่ยบาเรลละ 63 ดอลลาร์ สรอ. (ของช่วงประมาณการ 62-65 ดอลลาร์ สรอ.) สำหรับความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันตลอดปี
2549 นั้น ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเท่ากับ 61.45 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 34.6 ดอลลาร์
สรอ. และเพิ่มขึ้นเป็นบาเรลละ 69.17 และ 68.89 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม และคาดว่าราคาเฉลี่ยจะอยู่ทรงตัวอยู่สูงที่บา
เรลละ 67-70 ดอลลาร์ในช่วงที่เหลือของปี เนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว
- ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2549 กรมสารนิเทศการพลังงาน กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดว่าราคาน้ำมันดิบอ้าง
อิง West Texas Intermediate (WTI) ในปี 2549 จะอยู่ที่บาเรลละ 70 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งโดยปกติราคาอ้างอิงจะสูงกว่าราคาน้ำมันดิบดู
ไบประมาณบาเรลละ 5-8 ดอลลาร์ สรอ.
- ในปัจจุบันราคาอ้างอิงโดยเฉลี่ยสำหรับน้ำมันดิบ เบรนท์ในตลาดล่วงหน้าของสหรัฐฯ ตลอดปี 2549 เท่ากับบาเรลละ
70 ดอลลาร์ สรอ. และโดยเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะสูงกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบประมาณบาเรลละ 5-8 ดอลลาร์ สรอ.(C)
(3) ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้า คาดว่าในปี 2549 ราคาสินค้าในตลาดโลกยังมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตจากราคา
น้ำมันและวัตถุดิบที่สูงขึ้น และ
*********************************************************************************************************
(C) อ้างอิงจาก Global Weekly Economic Monitor โดย Lehman Brother
*********************************************************************************************************
เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีแม้ว่าจะชะลอตัวในครึ่งหลังของปี ซึ่งทำให้ความต้องการสินค้ายังเพิ่มขึ้น
ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตในประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้นและทำให้กำลังการผลิตส่วนเกินของโลกลดลงกว่าในปี 2548 แต่อย่างไรก็ตาม ราคา
สินค้าโภคภัณฑ์รวมทั้งราคาเหล็กและน้ำมันดิบเริ่มลดลง ประกอบกับมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวในครึ่งหลังของปีนี้ซึ่งจะทำให้ความต้องการ
สินค้าในตลาดโลกชะลอตัวโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งราคาได้ผ่านระดับสูงสุดไปแล้ว ซึ่งจะเห็นว่าราคาส่งออกได้ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่
ครึ่งหลังปีที่แล้วต่อเนื่องตลอดช่วง 7 เดือนแรกในทุกหมวดสินค้า ยกเว้นราคาสินค้าเกษตรส่งออก โดยที่ใน 7 เดือนแรกราคาส่งออกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 4.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 และ 7.7 ในครึ่งแรกและครึ่งหลังของปี 2548 ในการประมาณการครั้งนี้คาดว่าราคาส่งออกสินค้าโดยเฉลี่ย
ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในช่วง 5 เดือนหลังจะเพิ่มมากกว่าในช่วงที่ผ่านมาเล็กน้อย เนื่องจากฐานราคาในปีที่แล้วค่อนข้างต่ำ และคาดว่าทั้งปีราคา
สินค้าส่งออกโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เท่ากับที่ประมาณการในครั้งก่อน สำหรับราคาสินค้านำเข้าก็คงสมมุติฐานเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ
7.6 ตามภาวะราคาในช่วง 7 เดือนแรกซึ่งราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ราคาสินค้านำเข้าชะลอลงจากปีที่แล้วชัดเจนโดยเฉพาะในหมวดสินค้าทุนและ
วัตถุดิบ ยกเว้นราคาน้ำมันดิบนำเข้าที่ยังเพิ่มขึ้นมาก
2.3 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2549: เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.2 -4.7 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 4.5-4.7 และดุลบัญชีเดิน
สะพัดเกินดุลร้อยละ 0.6 ของ GDP
ในครึ่งแรกปี 2549 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5.5 แต่คาดว่าจะชะลอตัวในครึ่งหลังของปี จากข้อจำกัดหลายประการซึ่ง สศช. ได้
ประเมินไว้แล้วในการแถลงข่าวครั้งวันที่ 5 มิถุนายน ประกอบด้วยราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ลดลงจะ
ทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่อง ในขณะที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวในครึ่งหลัง สำหรับการประเมินสถานการณ์ในครั้งนี้
มีข้อจำกัดมากขึ้นในเรื่องการใช้จ่ายการลงทุนภาครัฐที่จะได้ผลกระทบจากการที่ พ.ร.บ. งบประมาณปี 2550 ไม่สามารถเริ่มใช้จ่ายได้ตามกำหนดการ
ปกติ ซึ่งจะมีผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลในสองไตรมาสแรกของปีงบประมาณ และราคาน้ำมันสูงกว่าที่คาดไว้เดิม
ดังนั้น สศช. จึงปรับลดช่วงของการประมาณการที่ได้แถลงไว้เมื่อ 5 มิถุนายน 2549 ที่ร้อยละ 4.2-4.9 (ค่ากลางร้อยละ 4.6) มา
เป็นร้อยละ 4.2-4.7 (ค่ากลางร้อยละ 4.5) คาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อที่ร้อยละ 4.5-4.7 ดุลการค้าจะขาดดุลประมาณ 3.7 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ต่ำกว่าที่คาดไว้เดิมว่าจะขาดดุล 6.1 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากการส่งออกยังขยายตัวได้มากกว่าที่คาดไว้ ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัวมากกว่า
ที่คาดการณ์ เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเกินดุลเล็กน้อยที่ประมาณ 1.3 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.6 ของ GDP และคาดว่าอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.8 - 2.0
ในภาพรวมเป็นการปรับประมาณการลงจากการประมาณการในครั้งก่อนเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและ
บริการสุทธิที่สูงกว่าที่ประมาณการไว้เดิม ช่วยชดเชยการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ โดยที่การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2549 จะมาจากการ
สนับสนุนของการส่งออกสุทธิมากขึ้นกว่าที่คาดไว้เมื่อครั้งที่ผ่านมา ในขณะที่แรงขับเคลื่อนของอุปสงค์ภายในประเทศมีน้อยลง การปรับประมาณการ มีดัง
นี้
- ปรับลดการประมาณการการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน ตามข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจในครึ่งแรกที่แสดงว่าอุปสงค์ภาย
ในประเทศทั้งการใช้จ่ายครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องและมากกว่าที่คาดไว้เดิม อันเนื่องจากราคาน้ำมัน และอัตราเงิน
เฟ้อที่สูงขึ้น และการปรับเพิ่มดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจเอกชนที่ลดลง
- ปรับเพิ่มปริมาณการส่งออกและปรับลดปริมาณการนำเข้าทั้งสินค้าและบริการทำให้ปริมาณการส่งออกสุทธิรวมทั้งสินค้าและ
บริการสูงกว่าในการประมาณการครั้งก่อน ในการประมาณการครั้งนี้ได้ปรับประมาณการปริมาณการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มล่าสุดซึ่งแสดงว่า
ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด โดยใน 7 เดือนแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ภายใต้สถานการณ์ที่คาดว่าปริมาณการค้าโลกจะขยายตัวประมาณ
ร้อยละ 8.5 สูงกว่า ร้อยละ 8.0 ที่คาดไว้เดิม และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกสูงกว่าที่คาดไว้เดิมเล็กน้อย รวมทั้งได้ปรับลดปริมาณการนำเข้า
สินค้าเนื่องจากคาดว่าจะมีการใช้วัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปจากสินค้าคงคลังมากขึ้น และทำให้การสะสมสต็อกลดลง รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอ
ตัวมากกว่าที่คาดไว้เดิมทำให้ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนชะลอตัวลงมาก อย่างไรก็ตามคาดว่าปริมาณการส่งออกจะขยายตัวช้าลงในครึ่งหลังตามทิศ
ทางเศรษฐกิจโลกและภาวะการค้าอิเล็กทรอนิกส์ แต่ปริมาณการนำเข้าจะขยายตัวมากกว่าในครึ่งแรก นอกจากนี้ได้ปรับเพิ่มรายจ่ายด้านบริการสูงขึ้น
ตามสถานการณ์ในครึ่งแรกของปีที่แสดงว่าจำนวนนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น
(1) กรณีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงร้อยละ 4.7
เศรษฐกิจทั้งปี 2549 จะขยายตัวได้ร้อยละ 4.7 ภายใต้เงื่อนไข (1) เร่งรัดการส่งออกทั้งปีให้ขยายตัวร้อยละ 15 จากแนวโน้มการ
ขยายตัวปกติร้อยละ 13-14 โดยต้องเร่งขยายการส่งออกสินค้าเกษตร ในกลุ่มยางพารา กุ้ง ไก่ และอาหารทะเลกระป๋อง รวมทั้งการส่งออกในกลุ่ม
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์และชิ้นส่วน (2) เร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ได้รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50,000
ล้านบาท จากฐานรายรับในปี 2548 (3) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการเบิกจ่ายของกอง
ทุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน และงบเพื่อดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และ (4) การดำเนินมาตรการทาง
การเงินและการคลังที่เหมาะสมกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่มีแรงกดดันจากต้นทุนแรงงานและราคาพลังงานที่สูงขึ้น
(2) กรณีการขยายตัวในกรณีต่ำร้อยละ 4.2
ในกรณีที่การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปและส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุน และราคาน้ำมันสูงขึ้นจากความขัดแย้ง
ระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านที่อาจจะรุนแรงขึ้น การก่อการร้ายของผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ และอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกตะวันตกต่ำมาก ซึ่งจะทำ
ให้จะมีความเป็นไปได้ที่ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในช่วงที่เหลือของปีอยู่ที่ระดับ 70 ดอลลาร์ และราคาเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่า 65 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งจะทำให้
เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าที่คาดซึ่งจะทำให้การส่งออกของไทยให้ต่ำกว่าเป้าหมาย ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าจะสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งจะ
ทำให้มีการขาดดุลมากกว่าในกรณีแนวโน้มปกติ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบดูไบจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับนั้นมีความเป็นไปได้น้อย เนื่อง
จากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวในครึ่งหลังของปีและการปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพในประเทศต่าง ๆ จะช่วยลดแรงกดดันด้าน
ราคาได้ระดับหนึ่ง
(3) ความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจปี 2549 ในกรณีต่าง ๆ
โอกาสที่ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีจะต่ำหรือสูงกว่า 65 ดอลลาร์ต่อบาเรล และโอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ต่ำกว่าหรือสูงกว่าร้อย
ละ 4.7 นั้นมีพอ ๆ กัน ดังนั้นจึงคาดว่าโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2549 จะมีค่าต่ำกว่าหรือสูงกว่าค่ากลางร้อยละ 4.5 จะ
ไม่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการกระจายของความน่าจะเป็นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สมมาตร (Symmetric probability distribution) โดย
ที่ค่าความน่าจะเป็นที่การขยายตัวของเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยทั้งปี 2549 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.2-4.7 เป็นร้อยละ 87.0
(4) การบริหารนโยบายเศรษฐกิจปี 2549
ในปี 2549 การใช้จ่ายครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวชัดเจน และยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งอาจจะ
ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าที่ประเมินไว้ ประกอบกับเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงของการปรับตัวจากภาวะไม่สมดุลระหว่างประเทศ ปี 2549 จึง
ยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและประกอบกับแนวโน้มการชะลอตัวของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่จะกระทบการส่งออก นอกจากนี้ราคา
น้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจจะเป็นข้อจำกัดต่อการปรับตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนอย่างมีเสถียรภาพ ดังนั้นจึงควรเร่งรัดมาตรการต่าง ๆ
เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจในครึ่งหลังชะงักงัน ดังนี้
(1) เร่งรัดหน่วยงานราชการให้เร่งทำแผนเบิกจ่ายงบลงทุนที่ผูกพันตาม ม.23 เพื่อให้มีความพร้อมในการเบิกจ่ายใน
ไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 และไตรมาสแรกของปี 2550
(2) เร่งรัดมาตรการด้านพลังงาน โดยเฉพาะในเรื่องความพร้อมของภาคเอกชนในการผลิตเอทานอล การใช้ NGV ใน
รถแท็กซี่และรถขนส่งมวลชน และเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้ว
(3) จัดทำงบประมาณขาดดุลในปี 2550 โดยให้ลำดับความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา สาธารณสุข
โครงการด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
(4) มาตรการทางสังคมเพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะการดูแลด้านการใช้จ่ายที่สำคัญ เช่น ทุนการศึกษา
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ เป็นต้น
(5) เสริมสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและภาคธุรกิจเอกชน โดยการชี้แจงถึงสถานการณ์ที่แท้จริงด้านเศรษฐกิจ และ
การดำเนินนโยบายที่ยังมีความต่อเนื่องในช่วงของรัฐบาลรักษาการ
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2549
ข้อมูลเบื้องต้น(D) ประมาณการ ปี 2549
2546 2547 2548 6 มี.ค.49 5 มิ.ย.49 4 ก.ย.49
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,929.0 6,503.5 7,104.2 7,777.7 7,750.7 7,831.3
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 93,142 101,305 109,574 119,033 118,619 119,853
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 142.9 161.4 176.3 194.4 201.3 206.1
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,244 2,514 2,846 2,958 3,081 3,154
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 7.0 6.2 4.5 4.5-5.5 4.2-4.9 4.2-4.7
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 12.1 13.8 11.4 8.7 4.7 4.3
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.7 16.3 11.2 9.3 4.9 4.4
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.7 6.8 11.9 6.8 4.0 4.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.8 5.7 5.4 4.5 3.5 3.3
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.4 5.9 4.4 4.2 4.0 3.8
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.3 4.7 12.2 6.2 0.8 0.8
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.0 9.6 4.4 7.8 8.7 8.7
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 94.9 109.2 125.9 124.1 124.5
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 21.6 15.0 15.3 13.6 14.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.5 8.4 4.3 6.8 8.4 8.8
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.5 13.5 9.4 7.0 4.9 3.1
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 93.5 117.8 135.5 130.2 128.2
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 25.7 26.0 15.0 10.5 8.8
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 10.7 12.3 8.9 6.0 2.9 1.2
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.5 -8.6 -9.6 -6.1 -3.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 8.0 6.6 -3.7 -4.0 -1.0 1.3
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 4.1 -2.0 -(2.0-2.5) - 0.5 0.6
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 4.5 3.5-4.5 4.5-4.7 4.5-4.7
GDP Deflator 1.6 3.3 4.6 4.5 4.5 5.0
อัตราการว่างงาน 2.0 2.0 1.7 1.8 1.8-2.0 1.8-2.0
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 4 กันยายน 2549
หมายเหตุ (D) ข้อมูลเบื้องต้นปี 2546 และ 2547 มีการปรับปรุงตามการปรับข้อมูลย้อนหลังของสำนักบัญชีประชาชาติ (ข้อมูลราย
ได้ ประชาชาติ) และธนาคารแห่งประเทศไทย (การนำเข้าและส่งออก)
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เกษตรสูงขึ้น และการปรับตัวด้านการใช้จ่ายของประชาชนและการบริหารจัดการด้านพลังงานโดยรัฐบาล
(2.1) ภาคเกษตรฟื้นตัวโดยปริมาณการผลิตขยายตัว ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า
ของสินค้าเกษตร และการดำเนินโครงการพลังงานทางเลือก (Bio fuel) ให้เป็นไปตามเป้าหมายซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าของพืชผลเกษตรทั้ง อ้อย
มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้คาดว่าปริมาณผลผลิตพืชผลสำคัญจะยังเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีเนื่องจากปริมาณน้ำมีเพียงพอ และราคาสินค้า
เกษตรโดยเฉพาะในกลุ่มพืชผลจะยังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยางพารา ข้าว ปาล์มน้ำมันและอ้อย ใน 7 เดือนแรกปี 2549 ราคาพืชผลเกษตรโดยเฉลี่ย
เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.1 โดยที่ปริมาณผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ซึ่งทำให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 และมูลค่าเพิ่มของการผลิตภาค
การเกษตรรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ในครึ่งแรกปี 2549 การส่งออกสินค้าเกษตรจะได้รับประโยชน์จากการที่ผลผลิตเกษตรโลกลดลง ซึ่งคาดว่าจะลด
ลงร้อยละ 4-5 จากปัญหาภัยธรรมชาติโดยสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะมีแนวโน้มการส่งออกดี ได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา และข้าวโพด รวมทั้งสินค้า
เกษตรแปรรูป
(2.2) การท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง ในครึ่งแรกของปีมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 6.3 ล้านคน
และเพิ่มเป็น 7.4 ล้านคนใน 7 เดือนแรก เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ทำให้ดุลบริการเกินดุลและทำให้ฐานะดุลบัญชีเดินสะพัด
รวม 7 เดือนเกินดุล และสำหรับในระยะต่อไปคาดว่าสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวจะยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดย
เฉพาะเศรษฐกิจเอเชียและกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ เช่น จีน อินเดีย ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้การพัฒนา
คุณภาพการบริการและการทำการตลาดในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงตามเป้าหมาย 13.8 ล้านคนในปี
2549 นี้
(2.3) การดำเนินนโยบายด้านประหยัดพลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกทำให้ปริมาณการใช้
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงแม้ว่าเศรษฐกิจยังขยายตัว จึงช่วยในการประหยัดเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมันและลดแรงกดดันต่อฐานะดุลบัญชีเดิน
สะพัด ซึ่งเห็นผลได้จากปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ลดลง โดยปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมรวมในครึ่งปีแรกลดลงร้อยละ 1.9 เทียบ
กับที่เพิ่มร้อยละ 11.7 และ 3.7 ในครึ่งแรกปี 2547 และครึ่งแรกปี 2548 โดยที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลลดลงร้อยละ 2.8 และ
9.4 เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้มีการปรับพฤติกรรมการใช้ให้มีประสิทธิภาพและประหยัดมากขึ้น แม้ว่าในครึ่งแรกของปี 2549 เศรษฐกิจจะ
ขยายตัวร้อยละ 5.5 สูงกว่าที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 ในครึ่งแรกของปี 2548 และเมื่อพิจารณาปริมาณการใช้น้ำมันต่อ GDP จะพบว่ามีทิศทางลดลง
ตามลำดับ ปริมาณการใช้ที่ลดลงทำให้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบในช่วงครึ่งปีแรกลดลงร้อยละ 2.0 และการเร่งรัดมาตรการใช้พลังงานทดแทนในช่วง
6 เดือนต่อไป ทั้งด้านความพร้อมของภาคเอกชนในการผลิตเอทานอล การใช้ NGV ในรถแท็กซี่และรถขนส่งมวลชน จะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้า
น้ำมันดิบและเพิ่มความสามารถและความชัดเจนในการพึ่งพลังงานทางเลือกมากขึ้น
(2.4) แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อลดลงในครึ่งหลังของปีในเดือนกรกฎาคมอัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 4.4 และ
ลดลงเป็นร้อยละ 3.8 ในเดือนสิงหาคม เทียบกับร้อยละ 5.9 ในครึ่งแรกของปี และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลง ตามลำดับเนื่องจากผลของอัตรา
ดอกเบี้ยได้ทำให้การใช้จ่ายชะลอตัวลงมาก ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นก็ช่วยลดแรงกดดันต้นทุนจากสินค้านำเข้า และฐานราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น
มากในครึ่งหลังของปีที่แล้ว แรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงจะสร้างมั่นใจให้กับผู้บริโภคมากขึ้น และลดแรงกดดันที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก ซึ่งจะ
ทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้นในปี 2550 โดยเฉพาะภายหลังจากการจัดตั้งรัฐบาลและมีการแถลงนโยบายของรัฐบาล และ
การ จัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี ซึ่งจะทำให้มีความชัดเจนทางการเมืองและแนวนโยบายเศรษฐกิจ ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและนัก
ลงทุนกลับคืนมา
2.2 สมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2549: ราคาน้ำมันดิบดูไบบาเรลละ 65- 68 ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าเฉลี่ยบาเรล
ละ 49.30 ดอลลาร์ในปี 2548 การขยายตัวเศรษฐกิจโลกเท่ากับร้อยละ4.7
(1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2549 สูงกว่าร้อยละ 4.4 ในปี 2548 และเป็นการปรับเพิ่มจากสมมติฐานการ
ขยายตัวร้อยละ 4.6 ในเดือนมิถุนายนเล็กน้อย จากการปรับเพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจจีน กลุ่มยูโร และสิงคโปร์ โดยปรับเพิ่มการขยายตัวของ
เศรษฐกิจจีนจากร้อยละ 9.6 ในการประมาณการครั้งก่อน เป็นร้อยละ 10.0 จากการที่เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 10.9 ในครึ่งแรกของปี
และคาดว่ามาตรการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีนจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวไม่มากนัก เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินในประเทศจีนยังคงอยู่
ในระดับสูง และนโยบายการเงินที่เข้มงวดจะมีประสิทธิผลไม่มากนักภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างคงที่ นอกจากนี้ยังได้ปรับเพิ่มการขยายตัว
ของเศรษฐกิจกลุ่มยูโรจากร้อยละ 2.1 เป็นร้อยละ 2.2 จากการที่เศรษฐกิจเยอรมันและฝรั่งเศส ในไตรมาสที่สองขยายตัวได้เร่งขึ้น และปรับเพิ่ม
การขยายตัวของเศรษฐกิจสิงคโปร์จากร้อยละ 6.2 ในการประมาณครั้งก่อน เป็นร้อยละ 7.0 จากการที่เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ
9.4 ในครึ่งแรกของปี ซึ่งการปรับเพิ่มโดยรวมแล้วมากกว่าการปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ลงจากร้อยละ 5.2 ในการประมาณการครั้ง
ก่อนเป็นร้อยละ 4.9 ในการประมาณการครั้งนี้ จากการที่การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้ม ชะลอตัวลง จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและการขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยของธนาคารกลางที่มากเกินไป
(2) ราคาน้ำมัน: ปรับสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยบาเรลละ 65 ดอลลาร์ สรอ. จากสมมุติฐานเดิมบาเรลละ 63
ดอลลาร์ สรอ.
- ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง คาดว่าราคาเฉลี่ยทั้งปี 2549 จะอยู่ในช่วง 65-68 ดอลลาร์ สรอ. โดย
ราคาเฉลี่ยที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ 65 ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าบาเรลละ 49.30 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2548 ร้อยละ 31.85 และเป็นการปรับเพิ่ม
จากสมมุติฐานเดิมที่เฉลี่ยบาเรลละ 63 ดอลลาร์ สรอ. (ของช่วงประมาณการ 62-65 ดอลลาร์ สรอ.) สำหรับความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันตลอดปี
2549 นั้น ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยเท่ากับ 61.45 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 34.6 ดอลลาร์
สรอ. และเพิ่มขึ้นเป็นบาเรลละ 69.17 และ 68.89 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม และคาดว่าราคาเฉลี่ยจะอยู่ทรงตัวอยู่สูงที่บา
เรลละ 67-70 ดอลลาร์ในช่วงที่เหลือของปี เนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว
- ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2549 กรมสารนิเทศการพลังงาน กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดว่าราคาน้ำมันดิบอ้าง
อิง West Texas Intermediate (WTI) ในปี 2549 จะอยู่ที่บาเรลละ 70 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งโดยปกติราคาอ้างอิงจะสูงกว่าราคาน้ำมันดิบดู
ไบประมาณบาเรลละ 5-8 ดอลลาร์ สรอ.
- ในปัจจุบันราคาอ้างอิงโดยเฉลี่ยสำหรับน้ำมันดิบ เบรนท์ในตลาดล่วงหน้าของสหรัฐฯ ตลอดปี 2549 เท่ากับบาเรลละ
70 ดอลลาร์ สรอ. และโดยเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะสูงกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบประมาณบาเรลละ 5-8 ดอลลาร์ สรอ.(C)
(3) ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้า คาดว่าในปี 2549 ราคาสินค้าในตลาดโลกยังมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตจากราคา
น้ำมันและวัตถุดิบที่สูงขึ้น และ
*********************************************************************************************************
(C) อ้างอิงจาก Global Weekly Economic Monitor โดย Lehman Brother
*********************************************************************************************************
เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีแม้ว่าจะชะลอตัวในครึ่งหลังของปี ซึ่งทำให้ความต้องการสินค้ายังเพิ่มขึ้น
ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตในประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้นและทำให้กำลังการผลิตส่วนเกินของโลกลดลงกว่าในปี 2548 แต่อย่างไรก็ตาม ราคา
สินค้าโภคภัณฑ์รวมทั้งราคาเหล็กและน้ำมันดิบเริ่มลดลง ประกอบกับมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวในครึ่งหลังของปีนี้ซึ่งจะทำให้ความต้องการ
สินค้าในตลาดโลกชะลอตัวโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งราคาได้ผ่านระดับสูงสุดไปแล้ว ซึ่งจะเห็นว่าราคาส่งออกได้ชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่
ครึ่งหลังปีที่แล้วต่อเนื่องตลอดช่วง 7 เดือนแรกในทุกหมวดสินค้า ยกเว้นราคาสินค้าเกษตรส่งออก โดยที่ใน 7 เดือนแรกราคาส่งออกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 4.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 และ 7.7 ในครึ่งแรกและครึ่งหลังของปี 2548 ในการประมาณการครั้งนี้คาดว่าราคาส่งออกสินค้าโดยเฉลี่ย
ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในช่วง 5 เดือนหลังจะเพิ่มมากกว่าในช่วงที่ผ่านมาเล็กน้อย เนื่องจากฐานราคาในปีที่แล้วค่อนข้างต่ำ และคาดว่าทั้งปีราคา
สินค้าส่งออกโดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เท่ากับที่ประมาณการในครั้งก่อน สำหรับราคาสินค้านำเข้าก็คงสมมุติฐานเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ
7.6 ตามภาวะราคาในช่วง 7 เดือนแรกซึ่งราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ราคาสินค้านำเข้าชะลอลงจากปีที่แล้วชัดเจนโดยเฉพาะในหมวดสินค้าทุนและ
วัตถุดิบ ยกเว้นราคาน้ำมันดิบนำเข้าที่ยังเพิ่มขึ้นมาก
2.3 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2549: เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.2 -4.7 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 4.5-4.7 และดุลบัญชีเดิน
สะพัดเกินดุลร้อยละ 0.6 ของ GDP
ในครึ่งแรกปี 2549 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5.5 แต่คาดว่าจะชะลอตัวในครึ่งหลังของปี จากข้อจำกัดหลายประการซึ่ง สศช. ได้
ประเมินไว้แล้วในการแถลงข่าวครั้งวันที่ 5 มิถุนายน ประกอบด้วยราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ลดลงจะ
ทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่อง ในขณะที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวในครึ่งหลัง สำหรับการประเมินสถานการณ์ในครั้งนี้
มีข้อจำกัดมากขึ้นในเรื่องการใช้จ่ายการลงทุนภาครัฐที่จะได้ผลกระทบจากการที่ พ.ร.บ. งบประมาณปี 2550 ไม่สามารถเริ่มใช้จ่ายได้ตามกำหนดการ
ปกติ ซึ่งจะมีผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลในสองไตรมาสแรกของปีงบประมาณ และราคาน้ำมันสูงกว่าที่คาดไว้เดิม
ดังนั้น สศช. จึงปรับลดช่วงของการประมาณการที่ได้แถลงไว้เมื่อ 5 มิถุนายน 2549 ที่ร้อยละ 4.2-4.9 (ค่ากลางร้อยละ 4.6) มา
เป็นร้อยละ 4.2-4.7 (ค่ากลางร้อยละ 4.5) คาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อที่ร้อยละ 4.5-4.7 ดุลการค้าจะขาดดุลประมาณ 3.7 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ต่ำกว่าที่คาดไว้เดิมว่าจะขาดดุล 6.1 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากการส่งออกยังขยายตัวได้มากกว่าที่คาดไว้ ในขณะที่การนำเข้าชะลอตัวมากกว่า
ที่คาดการณ์ เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเกินดุลเล็กน้อยที่ประมาณ 1.3 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.6 ของ GDP และคาดว่าอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.8 - 2.0
ในภาพรวมเป็นการปรับประมาณการลงจากการประมาณการในครั้งก่อนเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและ
บริการสุทธิที่สูงกว่าที่ประมาณการไว้เดิม ช่วยชดเชยการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ โดยที่การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2549 จะมาจากการ
สนับสนุนของการส่งออกสุทธิมากขึ้นกว่าที่คาดไว้เมื่อครั้งที่ผ่านมา ในขณะที่แรงขับเคลื่อนของอุปสงค์ภายในประเทศมีน้อยลง การปรับประมาณการ มีดัง
นี้
- ปรับลดการประมาณการการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน ตามข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจในครึ่งแรกที่แสดงว่าอุปสงค์ภาย
ในประเทศทั้งการใช้จ่ายครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องและมากกว่าที่คาดไว้เดิม อันเนื่องจากราคาน้ำมัน และอัตราเงิน
เฟ้อที่สูงขึ้น และการปรับเพิ่มดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน รวมทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจเอกชนที่ลดลง
- ปรับเพิ่มปริมาณการส่งออกและปรับลดปริมาณการนำเข้าทั้งสินค้าและบริการทำให้ปริมาณการส่งออกสุทธิรวมทั้งสินค้าและ
บริการสูงกว่าในการประมาณการครั้งก่อน ในการประมาณการครั้งนี้ได้ปรับประมาณการปริมาณการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มล่าสุดซึ่งแสดงว่า
ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด โดยใน 7 เดือนแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ภายใต้สถานการณ์ที่คาดว่าปริมาณการค้าโลกจะขยายตัวประมาณ
ร้อยละ 8.5 สูงกว่า ร้อยละ 8.0 ที่คาดไว้เดิม และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกสูงกว่าที่คาดไว้เดิมเล็กน้อย รวมทั้งได้ปรับลดปริมาณการนำเข้า
สินค้าเนื่องจากคาดว่าจะมีการใช้วัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปจากสินค้าคงคลังมากขึ้น และทำให้การสะสมสต็อกลดลง รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอ
ตัวมากกว่าที่คาดไว้เดิมทำให้ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนชะลอตัวลงมาก อย่างไรก็ตามคาดว่าปริมาณการส่งออกจะขยายตัวช้าลงในครึ่งหลังตามทิศ
ทางเศรษฐกิจโลกและภาวะการค้าอิเล็กทรอนิกส์ แต่ปริมาณการนำเข้าจะขยายตัวมากกว่าในครึ่งแรก นอกจากนี้ได้ปรับเพิ่มรายจ่ายด้านบริการสูงขึ้น
ตามสถานการณ์ในครึ่งแรกของปีที่แสดงว่าจำนวนนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น
(1) กรณีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงร้อยละ 4.7
เศรษฐกิจทั้งปี 2549 จะขยายตัวได้ร้อยละ 4.7 ภายใต้เงื่อนไข (1) เร่งรัดการส่งออกทั้งปีให้ขยายตัวร้อยละ 15 จากแนวโน้มการ
ขยายตัวปกติร้อยละ 13-14 โดยต้องเร่งขยายการส่งออกสินค้าเกษตร ในกลุ่มยางพารา กุ้ง ไก่ และอาหารทะเลกระป๋อง รวมทั้งการส่งออกในกลุ่ม
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์และชิ้นส่วน (2) เร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ได้รายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50,000
ล้านบาท จากฐานรายรับในปี 2548 (3) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการเบิกจ่ายของกอง
ทุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน และงบเพื่อดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และ (4) การดำเนินมาตรการทาง
การเงินและการคลังที่เหมาะสมกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่มีแรงกดดันจากต้นทุนแรงงานและราคาพลังงานที่สูงขึ้น
(2) กรณีการขยายตัวในกรณีต่ำร้อยละ 4.2
ในกรณีที่การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปและส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุน และราคาน้ำมันสูงขึ้นจากความขัดแย้ง
ระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านที่อาจจะรุนแรงขึ้น การก่อการร้ายของผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ และอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกตะวันตกต่ำมาก ซึ่งจะทำ
ให้จะมีความเป็นไปได้ที่ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในช่วงที่เหลือของปีอยู่ที่ระดับ 70 ดอลลาร์ และราคาเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่า 65 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งจะทำให้
เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าที่คาดซึ่งจะทำให้การส่งออกของไทยให้ต่ำกว่าเป้าหมาย ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าจะสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งจะ
ทำให้มีการขาดดุลมากกว่าในกรณีแนวโน้มปกติ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบดูไบจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับนั้นมีความเป็นไปได้น้อย เนื่อง
จากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวในครึ่งหลังของปีและการปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพในประเทศต่าง ๆ จะช่วยลดแรงกดดันด้าน
ราคาได้ระดับหนึ่ง
(3) ความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจปี 2549 ในกรณีต่าง ๆ
โอกาสที่ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีจะต่ำหรือสูงกว่า 65 ดอลลาร์ต่อบาเรล และโอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ต่ำกว่าหรือสูงกว่าร้อย
ละ 4.7 นั้นมีพอ ๆ กัน ดังนั้นจึงคาดว่าโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2549 จะมีค่าต่ำกว่าหรือสูงกว่าค่ากลางร้อยละ 4.5 จะ
ไม่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการกระจายของความน่าจะเป็นของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สมมาตร (Symmetric probability distribution) โดย
ที่ค่าความน่าจะเป็นที่การขยายตัวของเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยทั้งปี 2549 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.2-4.7 เป็นร้อยละ 87.0
(4) การบริหารนโยบายเศรษฐกิจปี 2549
ในปี 2549 การใช้จ่ายครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวชัดเจน และยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งอาจจะ
ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าที่ประเมินไว้ ประกอบกับเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงของการปรับตัวจากภาวะไม่สมดุลระหว่างประเทศ ปี 2549 จึง
ยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและประกอบกับแนวโน้มการชะลอตัวของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่จะกระทบการส่งออก นอกจากนี้ราคา
น้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจจะเป็นข้อจำกัดต่อการปรับตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนอย่างมีเสถียรภาพ ดังนั้นจึงควรเร่งรัดมาตรการต่าง ๆ
เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจในครึ่งหลังชะงักงัน ดังนี้
(1) เร่งรัดหน่วยงานราชการให้เร่งทำแผนเบิกจ่ายงบลงทุนที่ผูกพันตาม ม.23 เพื่อให้มีความพร้อมในการเบิกจ่ายใน
ไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 และไตรมาสแรกของปี 2550
(2) เร่งรัดมาตรการด้านพลังงาน โดยเฉพาะในเรื่องความพร้อมของภาคเอกชนในการผลิตเอทานอล การใช้ NGV ใน
รถแท็กซี่และรถขนส่งมวลชน และเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้ว
(3) จัดทำงบประมาณขาดดุลในปี 2550 โดยให้ลำดับความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา สาธารณสุข
โครงการด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
(4) มาตรการทางสังคมเพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะการดูแลด้านการใช้จ่ายที่สำคัญ เช่น ทุนการศึกษา
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ เป็นต้น
(5) เสริมสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและภาคธุรกิจเอกชน โดยการชี้แจงถึงสถานการณ์ที่แท้จริงด้านเศรษฐกิจ และ
การดำเนินนโยบายที่ยังมีความต่อเนื่องในช่วงของรัฐบาลรักษาการ
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2549
ข้อมูลเบื้องต้น(D) ประมาณการ ปี 2549
2546 2547 2548 6 มี.ค.49 5 มิ.ย.49 4 ก.ย.49
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,929.0 6,503.5 7,104.2 7,777.7 7,750.7 7,831.3
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 93,142 101,305 109,574 119,033 118,619 119,853
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 142.9 161.4 176.3 194.4 201.3 206.1
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,244 2,514 2,846 2,958 3,081 3,154
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 7.0 6.2 4.5 4.5-5.5 4.2-4.9 4.2-4.7
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 12.1 13.8 11.4 8.7 4.7 4.3
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.7 16.3 11.2 9.3 4.9 4.4
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.7 6.8 11.9 6.8 4.0 4.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.8 5.7 5.4 4.5 3.5 3.3
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 6.4 5.9 4.4 4.2 4.0 3.8
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.3 4.7 12.2 6.2 0.8 0.8
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.0 9.6 4.4 7.8 8.7 8.7
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 94.9 109.2 125.9 124.1 124.5
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 21.6 15.0 15.3 13.6 14.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.5 8.4 4.3 6.8 8.4 8.8
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.5 13.5 9.4 7.0 4.9 3.1
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 93.5 117.8 135.5 130.2 128.2
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 25.7 26.0 15.0 10.5 8.8
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 10.7 12.3 8.9 6.0 2.9 1.2
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.5 -8.6 -9.6 -6.1 -3.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 8.0 6.6 -3.7 -4.0 -1.0 1.3
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 4.1 -2.0 -(2.0-2.5) - 0.5 0.6
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 4.5 3.5-4.5 4.5-4.7 4.5-4.7
GDP Deflator 1.6 3.3 4.6 4.5 4.5 5.0
อัตราการว่างงาน 2.0 2.0 1.7 1.8 1.8-2.0 1.8-2.0
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 4 กันยายน 2549
หมายเหตุ (D) ข้อมูลเบื้องต้นปี 2546 และ 2547 มีการปรับปรุงตามการปรับข้อมูลย้อนหลังของสำนักบัญชีประชาชาติ (ข้อมูลราย
ได้ ประชาชาติ) และธนาคารแห่งประเทศไทย (การนำเข้าและส่งออก)
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-