นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถิติบัญชีประชาชาติของ
สศช. ผ่านเกณฑ์การประเมินตามกรอบของการประเมินคุณภาพข้อมูลของ IMF แล้วทั้ง 22 ตัวชี้วัด โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน 14 ตัวชี้วัด และผ่าน
เกณฑ์การประเมินเป็นส่วนใหญ่ 8 ตัวชี้วัด
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า จากการที่ สศช.ได้เข้าร่วมโครงการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล (Report on the
Observance of Standards and Codes: ROSCs) ด้านการเผยแพร่ข้อมูล (Data Dissemination) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Data ROSCs
ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF โดย สศช. รับผิดชอบจัดทำและเผยแพร่สถิติบัญชีประชาชาติ ซึ่งเป็นข้อมูลชุดหนึ่งจาก 6 ชุดข้อมูลตาม
โครงการดังกล่าว
ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 3-7 ตุลาคม 2548 คณะผู้เชี่ยวชาญจาก IMF ได้มาทำการประเมินตามกรอบของ DQAF และจากผลการ
ประเมินดังกล่าว สถิติบัญชีประชาชาติของ สศช. ได้รับการประเมินในระดับดีมากหรือผ่านเกณฑ์การประเมินหรือ Observed 14 ตัวชี้วัด จากทั้ง
หมด 22 ตัวชี้วัด และอีก 8 ตัวชี้วัดเป็นระดับดีหรือผ่านเกณฑ์เป็นส่วนใหญ่ หรือ Largely Observed โดยไม่มีหัวข้อหลักใดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ เป็นส่วน
ใหญ่ และที่ไม่ผ่านเกณฑ์เลย รายละเอียดตามตาราง ดังนี้
กรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลบัญชีประชาชาติ
เกณฑ์การประเมิน ผ่าน ผ่านเกณฑ์ ไม่ผ่าน ไม่ผ่าน ตัวชี้วัด
หัวข้อหลัก เกณฑ์ เป็นส่วน เกณฑ์เป็น เกณฑ์ ทั้งหมด
ใหญ่ ส่วนใหญ่
(1) คุณสมบัติพื้นฐาน 3 1 - - 4
(2) หลักประกันความสมบูรณ์ 3 - - - 3
(3) เทคนิคการประมวลผล 1 3 - - 4
(4) ความถูกต้องแม่นยำ 4 1 - - 5
(5) การให้บริการข้อมูล 2 1 - - 3
(6) การเข้าถึงข้อมูล 1 2 - - 3
ทั้งหมด 14 8 - - 22
โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งเม็กซิโก ที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกันที่ได้เข้ารับการประเมิน Data
ROSCs พบว่า การจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลสถิติบัญชีประชาชาติของประเทศไทยมีการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่า ตามตารางเปรียบ
เทียบ
เปรียบเทียบผลการประเมินในภูมิภาคเอเชียและเม็กซิโก
เกณฑ์การประเมิน ไทย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย เม็กซิโก
ผ่านเกณฑ์ (Observed: O) 14 15 10 14 12 16
ผ่านเกณฑ์เป็นส่วนใหญ่ (Largely 8 5 11 6 7 5
Observed: LO)
ไม่ผ่านเกณฑ์เป็นส่วนใหญ่ (Largely - 2 1 2 3 1
not Observed: LNO)
ไม่ผ่านเกณฑ์ (Not Observed: NO) - - - - - -
ตัวชี้วัดทั้งสิ้น 22 22 22 22 22 22
ส่วนหัวข้อที่ได้รับการประเมินระดับ Largely Observed นั้น สศช. ได้มีแผนงานในการดำเนินการพัฒนาในระยะต่อไป โดยได้จัดทำ
รายงาน (Country Response) แจ้ง IMF แล้ว ซึ่งประกอบด้วย 3 ประเด็นสำคัญ คือ
* การเปลี่ยนปีฐานรายได้ประชาชาติ ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดทำรายได้ประชาชาติราคา ที่แท้จริง (real term) จากปัจจุบันที่ใช้วิธีปี
ฐานคงที่ปี ค.ศ. 1988 เป็นวิธี Chain Volume Measure ภายในปีงบประมาณ 2549
* การพัฒนาระบบบัญชีประชาชาติของประเทศไทย ไปสู่ระบบสากลล่าสุด หรือ ระบบ ค.ศ. 1993 (1993 System of National
Accounts: 1993 SNA) ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการไปบางส่วนแล้ว และมีแผนการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2550
* การจัดทำและเผยแพร่คู่มือการประมวลผลสถิติบัญชีประชาชาติ เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลและประชาชนโดยทั่วไป สามารถเข้าใจถึงวิธีการจัดทำ
บัญชีประชาชาติและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การเข้าร่วมโครงการ Data ROSCs ของประเทศไทย ขณะนี้ ประธานคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่ง
ชาติ (นายกรัฐมนตรี) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมินโครงการดังกล่าวแล้ว และคณะทำงานฯ จะได้แจ้งต่อ IMF ให้เผยแพร่รายงาน
การประเมินของประเทศไทยผ่านทางเอกสารและเว็บไซต์ของ IMF ต่อไป
นอกจากนี้ รองเลขาธิการฯ ยังได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการนี้ว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมประเทศสมาชิกให้สามารถ
จัดทำข้อมูลด้านเศรษฐกิจมหภาคตามมาตรฐานสากล ที่มีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพ และมีความโปร่งใส สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับ
การวางแผน กำหนดนโยบาย การตัดสินใจ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการเตือนภัยทางเศรษฐกิจ สำหรับผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ
ปัจจุบัน โครงการ ROSCs ด้านการเผยแพร่ข้อมูล ประกอบด้วยสมาชิก 71 ประเทศที่ได้ผ่านการประเมินตามกรอบมาตรฐานที่ IMF
กำหนด เรียกว่า กรอบการประเมินคุณภาพข้อมูล (Data Quality Assessment Framework: DQAF) ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลักคือ (1)
คุณสมบัติพื้นฐานของคุณภาพข้อมูล (2) หลักประกันความสมบูรณ์ของข้อมูล (3) เทคนิคการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล (4) ความถูกต้องแม่นยำและน่า
เชื่อถือ (5) การให้บริการข้อมูล และ (6) การเข้าถึงข้อมูล โดยเกณฑ์การประเมินมี 4 ระดับ คือ ผ่านเกณฑ์การประเมิน (Observed: O),
ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นส่วนใหญ่ (Largely Observed: LO), ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นส่วนใหญ่ (Largely not Observed: LNO)
และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (Not Observed: NO)
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สศช. ผ่านเกณฑ์การประเมินตามกรอบของการประเมินคุณภาพข้อมูลของ IMF แล้วทั้ง 22 ตัวชี้วัด โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน 14 ตัวชี้วัด และผ่าน
เกณฑ์การประเมินเป็นส่วนใหญ่ 8 ตัวชี้วัด
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า จากการที่ สศช.ได้เข้าร่วมโครงการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล (Report on the
Observance of Standards and Codes: ROSCs) ด้านการเผยแพร่ข้อมูล (Data Dissemination) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Data ROSCs
ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF โดย สศช. รับผิดชอบจัดทำและเผยแพร่สถิติบัญชีประชาชาติ ซึ่งเป็นข้อมูลชุดหนึ่งจาก 6 ชุดข้อมูลตาม
โครงการดังกล่าว
ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 3-7 ตุลาคม 2548 คณะผู้เชี่ยวชาญจาก IMF ได้มาทำการประเมินตามกรอบของ DQAF และจากผลการ
ประเมินดังกล่าว สถิติบัญชีประชาชาติของ สศช. ได้รับการประเมินในระดับดีมากหรือผ่านเกณฑ์การประเมินหรือ Observed 14 ตัวชี้วัด จากทั้ง
หมด 22 ตัวชี้วัด และอีก 8 ตัวชี้วัดเป็นระดับดีหรือผ่านเกณฑ์เป็นส่วนใหญ่ หรือ Largely Observed โดยไม่มีหัวข้อหลักใดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ เป็นส่วน
ใหญ่ และที่ไม่ผ่านเกณฑ์เลย รายละเอียดตามตาราง ดังนี้
กรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลบัญชีประชาชาติ
เกณฑ์การประเมิน ผ่าน ผ่านเกณฑ์ ไม่ผ่าน ไม่ผ่าน ตัวชี้วัด
หัวข้อหลัก เกณฑ์ เป็นส่วน เกณฑ์เป็น เกณฑ์ ทั้งหมด
ใหญ่ ส่วนใหญ่
(1) คุณสมบัติพื้นฐาน 3 1 - - 4
(2) หลักประกันความสมบูรณ์ 3 - - - 3
(3) เทคนิคการประมวลผล 1 3 - - 4
(4) ความถูกต้องแม่นยำ 4 1 - - 5
(5) การให้บริการข้อมูล 2 1 - - 3
(6) การเข้าถึงข้อมูล 1 2 - - 3
ทั้งหมด 14 8 - - 22
โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งเม็กซิโก ที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกันที่ได้เข้ารับการประเมิน Data
ROSCs พบว่า การจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลสถิติบัญชีประชาชาติของประเทศไทยมีการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่า ตามตารางเปรียบ
เทียบ
เปรียบเทียบผลการประเมินในภูมิภาคเอเชียและเม็กซิโก
เกณฑ์การประเมิน ไทย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย เม็กซิโก
ผ่านเกณฑ์ (Observed: O) 14 15 10 14 12 16
ผ่านเกณฑ์เป็นส่วนใหญ่ (Largely 8 5 11 6 7 5
Observed: LO)
ไม่ผ่านเกณฑ์เป็นส่วนใหญ่ (Largely - 2 1 2 3 1
not Observed: LNO)
ไม่ผ่านเกณฑ์ (Not Observed: NO) - - - - - -
ตัวชี้วัดทั้งสิ้น 22 22 22 22 22 22
ส่วนหัวข้อที่ได้รับการประเมินระดับ Largely Observed นั้น สศช. ได้มีแผนงานในการดำเนินการพัฒนาในระยะต่อไป โดยได้จัดทำ
รายงาน (Country Response) แจ้ง IMF แล้ว ซึ่งประกอบด้วย 3 ประเด็นสำคัญ คือ
* การเปลี่ยนปีฐานรายได้ประชาชาติ ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดทำรายได้ประชาชาติราคา ที่แท้จริง (real term) จากปัจจุบันที่ใช้วิธีปี
ฐานคงที่ปี ค.ศ. 1988 เป็นวิธี Chain Volume Measure ภายในปีงบประมาณ 2549
* การพัฒนาระบบบัญชีประชาชาติของประเทศไทย ไปสู่ระบบสากลล่าสุด หรือ ระบบ ค.ศ. 1993 (1993 System of National
Accounts: 1993 SNA) ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการไปบางส่วนแล้ว และมีแผนการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2550
* การจัดทำและเผยแพร่คู่มือการประมวลผลสถิติบัญชีประชาชาติ เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลและประชาชนโดยทั่วไป สามารถเข้าใจถึงวิธีการจัดทำ
บัญชีประชาชาติและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การเข้าร่วมโครงการ Data ROSCs ของประเทศไทย ขณะนี้ ประธานคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่ง
ชาติ (นายกรัฐมนตรี) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมินโครงการดังกล่าวแล้ว และคณะทำงานฯ จะได้แจ้งต่อ IMF ให้เผยแพร่รายงาน
การประเมินของประเทศไทยผ่านทางเอกสารและเว็บไซต์ของ IMF ต่อไป
นอกจากนี้ รองเลขาธิการฯ ยังได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการนี้ว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมประเทศสมาชิกให้สามารถ
จัดทำข้อมูลด้านเศรษฐกิจมหภาคตามมาตรฐานสากล ที่มีความน่าเชื่อถือ มีคุณภาพ และมีความโปร่งใส สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับ
การวางแผน กำหนดนโยบาย การตัดสินใจ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการเตือนภัยทางเศรษฐกิจ สำหรับผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ
ปัจจุบัน โครงการ ROSCs ด้านการเผยแพร่ข้อมูล ประกอบด้วยสมาชิก 71 ประเทศที่ได้ผ่านการประเมินตามกรอบมาตรฐานที่ IMF
กำหนด เรียกว่า กรอบการประเมินคุณภาพข้อมูล (Data Quality Assessment Framework: DQAF) ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลักคือ (1)
คุณสมบัติพื้นฐานของคุณภาพข้อมูล (2) หลักประกันความสมบูรณ์ของข้อมูล (3) เทคนิคการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล (4) ความถูกต้องแม่นยำและน่า
เชื่อถือ (5) การให้บริการข้อมูล และ (6) การเข้าถึงข้อมูล โดยเกณฑ์การประเมินมี 4 ระดับ คือ ผ่านเกณฑ์การประเมิน (Observed: O),
ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นส่วนใหญ่ (Largely Observed: LO), ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นส่วนใหญ่ (Largely not Observed: LNO)
และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (Not Observed: NO)
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-