/ การผลิตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกขยายตัวมากในครึ่งหลังของปี
/ ทั้งปี 2548 คาดว่าการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.4 และอัตราการใช้กำลัง การผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 70
/ ในปี 2549 การผลิตสินค้า อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกยังเป็น กิจกรรมขยายตัวได้ดี
* ในไตรมาสแรกปี 2548 สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวเพียงร้อยละ 3.2 เนื่องจากภาวะการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมอาหารซบเซา แต่ในไตรมาสที่สองวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกฟื้นตัว และประเทศไทยสามารถส่งออกได้มากขึ้นจึงมีการผลิตเพิ่ม เช่นเดียวกับการผลิตอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ปรับตัวดีขึ้นตามภาวะการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้การผลิตสาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่สองขยายตัวร้อยละ 4.8 ในไตรมาสที่สามาการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อาหาร เฟอร์นิเจอร์ปิโตรเคมีและอื่นๆ สูงขึ้นมากทำให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.2 โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูงส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหาร และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เป็นต้น
* อัตราการใช้กำลังการผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายนอยู่ในระดับร้อยละ 70. 4 และในกลุ่มการผลิตเพื่อการส่งออกที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงกว่าร้อยละ 90 ได้แก่ แผงวงจรรวม หัวอ่านข้อมูล รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และปิโตรเคมีขั้นกลาง เป็นต้น
* ทั้งปี 2548 คาดว่าสาขาอุตสาหกรรมจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.4 โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวมากประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และปิโตรเลียม
* สำหรับปี 2549 คาดว่าสาขาอุตสาหกรรมจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 6.1 ตามภาวะการส่งออกของอุตสาหกรรมหลายประเภทที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ได้แก่ การส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ไปยังตลาดออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร หมวดอาหาร และคาดว่ายังเป็นแนวโน้มขาขึ้นของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
/ ทั้งปี 2548 คาดว่าการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.4 และอัตราการใช้กำลัง การผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 70
/ ในปี 2549 การผลิตสินค้า อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกยังเป็น กิจกรรมขยายตัวได้ดี
* ในไตรมาสแรกปี 2548 สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวเพียงร้อยละ 3.2 เนื่องจากภาวะการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมอาหารซบเซา แต่ในไตรมาสที่สองวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกฟื้นตัว และประเทศไทยสามารถส่งออกได้มากขึ้นจึงมีการผลิตเพิ่ม เช่นเดียวกับการผลิตอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ปรับตัวดีขึ้นตามภาวะการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้การผลิตสาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่สองขยายตัวร้อยละ 4.8 ในไตรมาสที่สามาการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อาหาร เฟอร์นิเจอร์ปิโตรเคมีและอื่นๆ สูงขึ้นมากทำให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.2 โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูงส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหาร และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เป็นต้น
* อัตราการใช้กำลังการผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายนอยู่ในระดับร้อยละ 70. 4 และในกลุ่มการผลิตเพื่อการส่งออกที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงกว่าร้อยละ 90 ได้แก่ แผงวงจรรวม หัวอ่านข้อมูล รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และปิโตรเคมีขั้นกลาง เป็นต้น
* ทั้งปี 2548 คาดว่าสาขาอุตสาหกรรมจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.4 โดยอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวมากประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และปิโตรเลียม
* สำหรับปี 2549 คาดว่าสาขาอุตสาหกรรมจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2548 ในอัตราร้อยละ 6.1 ตามภาวะการส่งออกของอุตสาหกรรมหลายประเภทที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ได้แก่ การส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ไปยังตลาดออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร หมวดอาหาร และคาดว่ายังเป็นแนวโน้มขาขึ้นของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-