แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่กำลังจะประกาศใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 นี้ จะมีทิศทางเป็นอย่างไร ยังเป็นคำถามซึ่งหลายคนรอคำตอบอยู่ ดังนั้นจดหมายข่าวยุทธศาสตร์แผน 10 ฉบับนี้ จะขอนำเสนอแนวคิดของนายพนัส สิมะเสถียร ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป ดังนี้
ผู้ที่อยู่รอด จะต้องเป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุด
กระแสโลกาภิวัตน์ที่รุนแรงในปัจจุบัน ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกนี้ ให้ทั้งโอกาสและข้อจำกัดกับระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยเฉพาะในด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ดังคำกล่าวที่ว่าผู้ที่อยู่รอดได จะต้องเป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุด (Suvival of the Fittest)ดังนั้น สังคมไทยจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจในเรื่องการเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน และรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
เลือกแข่งขันในสิ่งที่เก่ง
การแข่งขันทางเศรษฐกิจ จะต้องเน้นในสิ่งที่เราเก่ง ไม่ไปแข่งในเรื่องที่ด้อยกว่าผู้อื่นโดยผลิตในสิ่งที่เรามีโอกาสที่จะสร้างคุณค่าและมูลค่า(Value Creation)ให้กับสินค้าได้สินค้าส่งออกบางชนิด ใช้วัตถุดิบที่ต้องนำเข้า(Import Content)ถึงร้อยละ 70-80 หากมุ่งแต่ที่จะเพิ่มตัวเลขการส่งออกเพียงด้านเดียวโดยไม่พิจารณาการสร้างคุณค่าให้กับสินค้า ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็จะตกไปอยู่กับประเทศอื่น
"สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินการผลิตสินค้า คือ ปัจจัยการผลิตอยู่ในประเทศของเราหรือต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งหากต้องนำเข้ามาก การสร้างคุณค่าและมูลค่าก็จะน้อย ดังนั้น จึงต้องพิจารณาว่า มีคนที่มีทักษะในด้านนี้หรือไม่ มีเทคโนโลยีเพียงพอสำหรับการผลิตหรือไม่ ซึ่งควรเน้นการผลิตในสิ่งที่คิดว่าเก่งที่สุดหากพัฒนาการผลิตทั่วไปทุกด้าน จะไม่มีปัจจัยพอ
สำหรับปัจจัยต้นทุนที่เป็นตัวเงิน จะต้องมาจากการออมในประเทศ เราจะต้องมีการออมมากเพียงพอ ทุนที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ทุนทางปัญญา โดยต้องมีการพัฒนาขึ้น มีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรปีละกว่า 10,000 ล้านบาท หรือสองในสามของมูลค่าการส่งออกสินค้าข้าวตลอดทั้งปี และมีแนวโน้มสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในทางกลับกัน หากประเทศไทยสามารถเพิ่มทุนทางปัญญาได้มาก ก็จะทำให้ประเทศมีรายจากค่าลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรเป็นจำนวนมหาศาล และยังเป็นช่องทางทำรายได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การเลือกที่จะเน้นการผลิตสินค้าหรือบริการตัวใดนั้น จะต้องคำนึงถึงความสมดุลด้วย โดยไม่เน้นไปที่ตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไปจนกระทั่งหากสินค้าหรือบริการนั้นล้มเหลวจะส่งผลเสียร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจ
การพัฒนาต้องสมดุลระหว่างวัตถุกับจิตใจ
แม้ว่าประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่ก็ไม่ควรละเลยการพัฒนาทางด้านจิตใจให้สมดุลกันด้วย การพัฒนาทางด้านจิตใจนี้ มีอยู่ในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรเก็บไว้ไม่ได้นาน จึงมักจะนำไปแจกจ่ายกันเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อสังคมพัฒนามากขึ้น สังคมไทยจึงเปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นสังคมแรงงานซึ่งทำรายได้สูงกว่าแรงงานในด้านการเกษตรกรรมแต่อาจทำให้สิ่งดี ๆ บางอย่างที่เคยมีมาในอดีตต้องสูญหายไป
"ผมกังวลว่า คนไทยจะยึดติดกับการพัฒนาทางด้านวัตถุมากกว่าการพัฒนาทางด้านคุณธรรมทางจิตใจ และละเลยวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ดีงามของไทย เช่น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอื้ออาทร ต่อกันในสังคม ซึ่งสังคมที่ดี จะต้องมีความสมดุลในทั้งสองเรื่อง มีความพอดีกัน อยู่อย่างพอประมาณ และนึกถึงสังคม คนรอบข้างด้วย"
ความสมดุลจำเป็นต้องมีการวางแผน
การพัฒนาประเทศ นอกเหนือจากจะต้องมีความสมดุลระหว่างด้านวัตถุกับด้านจิตใจแล้วยังจะต้องมีความสมดุลของการพัฒนาในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ความสมดุลดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่จะต้องสร้างขึ้นด้วยการวางแผน
โดยมีหน่วยงานวางแผนของส่วนกลางที่มีความเข้มแข็งมาทำหน้าที่นี้ และจะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาลด้วย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปปฏิบัติ เนื่องจากหากให้หน่วยงานต่างคนต่างวางแผนของตนเองแผนอาจไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
"ผมไม่ห่วงการจัดทำแผนเท่ากับการนำแผนไปปฏิบัติและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแผน ตลอดจน การปรับปรุงแผนและปรับปรุงการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามแผน ซึ่งมีความสำคัญมากแผนที่จัดทำแล้วปฏิบัติไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากผู้ปฏิบัติ หรือเกิดจากการวางแผนหรือการตั้งเป้าหมายที่ไม่สมเหตุสมผล หรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป จึงต้องมีการปรับปรุงกันต่อไป"
แผนจะต้องเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม
ทั้งนี้ไม่ว่าจะวางแผนได้ดีเพียงใด แต่หากแผนดังกล่าวไม่ได้รับการปฏิบัติ แผนนั้นก็นับว่าประสบกับความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคีการพัฒนาในกระบวนการวางแผนนับเป็นกลไกสำคัญมากในการทำให้เกิดการยอมรับและมีการนำแผนไปปฏิบัติต่อไปในอนาคตอย่างไรก็ตาม หน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการวางแผนควรเป็นผู้วางกรอบของแผนขึ้นก่อนเพื่อให้แผนเป็นไปในทิษทางเดียวกัน
"กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นการทำงานร่วมกันของคนหลากหลายฝ่าย ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้งเนื่องจากผลประโยชน์ไม่สอดคล้องกันได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากผลประโยชน์ของคนแต่ละกลุ่มอาจไม่เหมือนกัน แต่หากทุกคนยึดผลประโยชน์ของชาติซึ่งเป็นผลประโยชน์สูงสุดและมีอยู่หนึ่งเดียวเป็นหลัก ย่อมจะไม่มีการขัดแย้งกันอย่างแน่นอน"
ความรู้เท่าทัน:ภูมิคุ้มกันของสังคม
เมื่อประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ ทั้งยังมีการพัฒนาที่สมดุลแล้ว สิ่งสำคัญอีกบางประการหนึ่งสำหรับการพัฒนาประเทศก็คือการสร้าง"ภูมิคุ้มกัน"ซึ่งเกิดจาก"ความรู้เท่าทัน"กล่าวคือ ความรอบรู้ที่จะใช้จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองชุมชน และสังคมส่วนรวม
การสร้างจิตสำนึกในการเรียนรู้ให้แก่คนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สังคมนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำต่อเนื่องกันมาตลอด โดยเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก จนกระทั่งจบการศึกษา และออกมาทำงาน แม้กระทั่งเกษียณอายุแล้ว ก็ยังจะต้องสร้างจิตสำนึกในการเรียนรู้ต่อไป เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
บทส่งท้าย
การพัฒนาเพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการมีส่วนร่วมซึ่งทำให้เกิดการยอมรับ และภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งซึ่งมาจากความรู้เท่าทันของคนที่มีต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิตสิ่งเหล่านี้ ย่อมจะทำให้ก้าวย่างของการพัฒนาในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 เป็นก้าวย่างที่มั่นคง และสามารถนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแน่นอน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วส/พห-
ผู้ที่อยู่รอด จะต้องเป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุด
กระแสโลกาภิวัตน์ที่รุนแรงในปัจจุบัน ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกนี้ ให้ทั้งโอกาสและข้อจำกัดกับระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยเฉพาะในด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ดังคำกล่าวที่ว่าผู้ที่อยู่รอดได จะต้องเป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุด (Suvival of the Fittest)ดังนั้น สังคมไทยจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจในเรื่องการเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน และรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
เลือกแข่งขันในสิ่งที่เก่ง
การแข่งขันทางเศรษฐกิจ จะต้องเน้นในสิ่งที่เราเก่ง ไม่ไปแข่งในเรื่องที่ด้อยกว่าผู้อื่นโดยผลิตในสิ่งที่เรามีโอกาสที่จะสร้างคุณค่าและมูลค่า(Value Creation)ให้กับสินค้าได้สินค้าส่งออกบางชนิด ใช้วัตถุดิบที่ต้องนำเข้า(Import Content)ถึงร้อยละ 70-80 หากมุ่งแต่ที่จะเพิ่มตัวเลขการส่งออกเพียงด้านเดียวโดยไม่พิจารณาการสร้างคุณค่าให้กับสินค้า ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็จะตกไปอยู่กับประเทศอื่น
"สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินการผลิตสินค้า คือ ปัจจัยการผลิตอยู่ในประเทศของเราหรือต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งหากต้องนำเข้ามาก การสร้างคุณค่าและมูลค่าก็จะน้อย ดังนั้น จึงต้องพิจารณาว่า มีคนที่มีทักษะในด้านนี้หรือไม่ มีเทคโนโลยีเพียงพอสำหรับการผลิตหรือไม่ ซึ่งควรเน้นการผลิตในสิ่งที่คิดว่าเก่งที่สุดหากพัฒนาการผลิตทั่วไปทุกด้าน จะไม่มีปัจจัยพอ
สำหรับปัจจัยต้นทุนที่เป็นตัวเงิน จะต้องมาจากการออมในประเทศ เราจะต้องมีการออมมากเพียงพอ ทุนที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ทุนทางปัญญา โดยต้องมีการพัฒนาขึ้น มีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรปีละกว่า 10,000 ล้านบาท หรือสองในสามของมูลค่าการส่งออกสินค้าข้าวตลอดทั้งปี และมีแนวโน้มสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในทางกลับกัน หากประเทศไทยสามารถเพิ่มทุนทางปัญญาได้มาก ก็จะทำให้ประเทศมีรายจากค่าลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรเป็นจำนวนมหาศาล และยังเป็นช่องทางทำรายได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การเลือกที่จะเน้นการผลิตสินค้าหรือบริการตัวใดนั้น จะต้องคำนึงถึงความสมดุลด้วย โดยไม่เน้นไปที่ตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไปจนกระทั่งหากสินค้าหรือบริการนั้นล้มเหลวจะส่งผลเสียร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจ
การพัฒนาต้องสมดุลระหว่างวัตถุกับจิตใจ
แม้ว่าประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่ก็ไม่ควรละเลยการพัฒนาทางด้านจิตใจให้สมดุลกันด้วย การพัฒนาทางด้านจิตใจนี้ มีอยู่ในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรเก็บไว้ไม่ได้นาน จึงมักจะนำไปแจกจ่ายกันเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อสังคมพัฒนามากขึ้น สังคมไทยจึงเปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นสังคมแรงงานซึ่งทำรายได้สูงกว่าแรงงานในด้านการเกษตรกรรมแต่อาจทำให้สิ่งดี ๆ บางอย่างที่เคยมีมาในอดีตต้องสูญหายไป
"ผมกังวลว่า คนไทยจะยึดติดกับการพัฒนาทางด้านวัตถุมากกว่าการพัฒนาทางด้านคุณธรรมทางจิตใจ และละเลยวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ดีงามของไทย เช่น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอื้ออาทร ต่อกันในสังคม ซึ่งสังคมที่ดี จะต้องมีความสมดุลในทั้งสองเรื่อง มีความพอดีกัน อยู่อย่างพอประมาณ และนึกถึงสังคม คนรอบข้างด้วย"
ความสมดุลจำเป็นต้องมีการวางแผน
การพัฒนาประเทศ นอกเหนือจากจะต้องมีความสมดุลระหว่างด้านวัตถุกับด้านจิตใจแล้วยังจะต้องมีความสมดุลของการพัฒนาในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ความสมดุลดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่จะต้องสร้างขึ้นด้วยการวางแผน
โดยมีหน่วยงานวางแผนของส่วนกลางที่มีความเข้มแข็งมาทำหน้าที่นี้ และจะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาลด้วย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปปฏิบัติ เนื่องจากหากให้หน่วยงานต่างคนต่างวางแผนของตนเองแผนอาจไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
"ผมไม่ห่วงการจัดทำแผนเท่ากับการนำแผนไปปฏิบัติและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแผน ตลอดจน การปรับปรุงแผนและปรับปรุงการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามแผน ซึ่งมีความสำคัญมากแผนที่จัดทำแล้วปฏิบัติไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากผู้ปฏิบัติ หรือเกิดจากการวางแผนหรือการตั้งเป้าหมายที่ไม่สมเหตุสมผล หรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป จึงต้องมีการปรับปรุงกันต่อไป"
แผนจะต้องเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม
ทั้งนี้ไม่ว่าจะวางแผนได้ดีเพียงใด แต่หากแผนดังกล่าวไม่ได้รับการปฏิบัติ แผนนั้นก็นับว่าประสบกับความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคีการพัฒนาในกระบวนการวางแผนนับเป็นกลไกสำคัญมากในการทำให้เกิดการยอมรับและมีการนำแผนไปปฏิบัติต่อไปในอนาคตอย่างไรก็ตาม หน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการวางแผนควรเป็นผู้วางกรอบของแผนขึ้นก่อนเพื่อให้แผนเป็นไปในทิษทางเดียวกัน
"กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นการทำงานร่วมกันของคนหลากหลายฝ่าย ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้งเนื่องจากผลประโยชน์ไม่สอดคล้องกันได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากผลประโยชน์ของคนแต่ละกลุ่มอาจไม่เหมือนกัน แต่หากทุกคนยึดผลประโยชน์ของชาติซึ่งเป็นผลประโยชน์สูงสุดและมีอยู่หนึ่งเดียวเป็นหลัก ย่อมจะไม่มีการขัดแย้งกันอย่างแน่นอน"
ความรู้เท่าทัน:ภูมิคุ้มกันของสังคม
เมื่อประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ ทั้งยังมีการพัฒนาที่สมดุลแล้ว สิ่งสำคัญอีกบางประการหนึ่งสำหรับการพัฒนาประเทศก็คือการสร้าง"ภูมิคุ้มกัน"ซึ่งเกิดจาก"ความรู้เท่าทัน"กล่าวคือ ความรอบรู้ที่จะใช้จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองชุมชน และสังคมส่วนรวม
การสร้างจิตสำนึกในการเรียนรู้ให้แก่คนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สังคมนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำต่อเนื่องกันมาตลอด โดยเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก จนกระทั่งจบการศึกษา และออกมาทำงาน แม้กระทั่งเกษียณอายุแล้ว ก็ยังจะต้องสร้างจิตสำนึกในการเรียนรู้ต่อไป เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
บทส่งท้าย
การพัฒนาเพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการมีส่วนร่วมซึ่งทำให้เกิดการยอมรับ และภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งซึ่งมาจากความรู้เท่าทันของคนที่มีต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิตสิ่งเหล่านี้ ย่อมจะทำให้ก้าวย่างของการพัฒนาในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 เป็นก้าวย่างที่มั่นคง และสามารถนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแน่นอน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วส/พห-