- อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.59375 - 4.65625 ต่อปี โดยปิดตลาดในช่วงปลายสัปดาห์เพิ่มขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 และ 14 วัน ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับพันธบัตรสหรัฐฯ
- เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค และความกังวลของตลาดว่า ธปท. มีการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน แต่การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยอัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. ที่เร่งตัวสูงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการแรกของสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ที่มีการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงในสัปดาห์ก่อนหน้าได้นำสภาพคล่องส่วนเกินกลับมาลงทุน โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย
ระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.625 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 4.59375 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องเริ่มตึงตัวขึ้น
ในวันพุธและวันพฤหัสบดี เนื่องจากมีสภาพคล่องส่วนหนึ่งติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการโอนเงินปริมาณสูงของสถาบันการเงินแห่งหนึ่งและการ
จ่ายเงินปันผลของบริษัทแห่งหนึ่ง โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อ
คืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน จึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.625 - 4.65625 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.6875 และ 4.75 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.25 - 4.75 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดระหว่างร้อยละ 4.66 - 4.67 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
เนื่องจากในสัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 3 วัน จึงมีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐเพียงประเภทเดียว ได้แก่ พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท สำหรับตั๋วเงินคลังได้มีการประมูลไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ธปท. ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 27,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 5,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 83,538 ล้านบาท คิดเป็น 27,846 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 30.1 โดยเป็น
ธุรกรรม Outright ร้อยละ 52 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง ในสัปดาห์นี้อัตราผลตอบแทน
(yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ เนื่องจากมีวันทำการเพียง 3 วัน ทำให้ตลาดไม่มีการเคลื่อนไหวมากนัก ประกอบกับนักลงทุน
ต้องการรอผลการประชุม Fed ในสัปดาห์หน้า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-4 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 6 เดือน ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 11 และ 7 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงในระหว่างสัปดาห์ โดยปรับตัวขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนที่จะปรับลดลงในวันศุกร์หลังจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรทุกช่วงอายุมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน เม.ย. 49 37.94
เฉลี่ย 24 - 28 เม.ย. 49 37.57
2 พ.ค. 49 37.56
3 พ.ค. 49 37.50
4 พ.ค. 49 37.76
เฉลี่ย 2 - 4 พ.ค. 49 37.60
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.60 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากสัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 3 วัน โดยปัจจัยกดดันค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค ความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของบริษัทต่างๆ ตลอดจนความกังวลของตลาดว่า ธปท. มีการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน แม้ว่าผู้ว่าการ ธปท. จะปฏิเสธว่าไม่ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทแต่อย่างใด เนื่องจากความเคลื่อนไหวของเงินบาทในขณะนี้ยังค่อนข้างมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม เงินบาทไม่อ่อนค่าลงมากนัก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนเมษายนเร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6 และ 2.9 ตามลำดับ ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป และทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันพุธ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงค่อนข้างมากในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าและต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับพันธบัตรสหรัฐฯ
- เงินบาทปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค และความกังวลของตลาดว่า ธปท. มีการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน แต่การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยอัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. ที่เร่งตัวสูงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในวันอังคารซึ่งเป็นวันทำการแรกของสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ที่มีการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูงในสัปดาห์ก่อนหน้าได้นำสภาพคล่องส่วนเกินกลับมาลงทุน โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย
ระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 4.625 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 4.59375 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องเริ่มตึงตัวขึ้น
ในวันพุธและวันพฤหัสบดี เนื่องจากมีสภาพคล่องส่วนหนึ่งติดอยู่ในระบบเคลียริ่งจากการโอนเงินปริมาณสูงของสถาบันการเงินแห่งหนึ่งและการ
จ่ายเงินปันผลของบริษัทแห่งหนึ่ง โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อ
คืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน จึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.625 - 4.65625 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.6875 และ 4.75 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.25 - 4.75 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดระหว่างร้อยละ 4.66 - 4.67 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
เนื่องจากในสัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 3 วัน จึงมีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐเพียงประเภทเดียว ได้แก่ พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท สำหรับตั๋วเงินคลังได้มีการประมูลไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ธปท. ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 27,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดลดลง 5,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 83,538 ล้านบาท คิดเป็น 27,846 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 30.1 โดยเป็น
ธุรกรรม Outright ร้อยละ 52 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง ในสัปดาห์นี้อัตราผลตอบแทน
(yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ เนื่องจากมีวันทำการเพียง 3 วัน ทำให้ตลาดไม่มีการเคลื่อนไหวมากนัก ประกอบกับนักลงทุน
ต้องการรอผลการประชุม Fed ในสัปดาห์หน้า ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-4 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 6 เดือน ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 11 และ 7 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลงในระหว่างสัปดาห์ โดยปรับตัวขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนที่จะปรับลดลงในวันศุกร์หลังจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรทุกช่วงอายุมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน เม.ย. 49 37.94
เฉลี่ย 24 - 28 เม.ย. 49 37.57
2 พ.ค. 49 37.56
3 พ.ค. 49 37.50
4 พ.ค. 49 37.76
เฉลี่ย 2 - 4 พ.ค. 49 37.60
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.60 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากสัปดาห์นี้มีวันทำการเพียง 3 วัน โดยปัจจัยกดดันค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค ความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของบริษัทต่างๆ ตลอดจนความกังวลของตลาดว่า ธปท. มีการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน แม้ว่าผู้ว่าการ ธปท. จะปฏิเสธว่าไม่ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทแต่อย่างใด เนื่องจากความเคลื่อนไหวของเงินบาทในขณะนี้ยังค่อนข้างมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม เงินบาทไม่อ่อนค่าลงมากนัก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนเมษายนเร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6 และ 2.9 ตามลำดับ ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป และทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันพุธ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงค่อนข้างมากในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าและต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-