-อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน เคลื่อนไหวระหว่าง 4.09375 -- 4.125 และ 4.1875 -- 4.21875 ต่อปี ตามลำดับ ตาม
ความต้องการกู้ยืม/ลงทุนของธนาคารพาณิชย์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน และอัตรา Interbank ปิดตลาดแทบไม่เปลี่ยนแปลง
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ของไทยปรับ
ตัวลดลง ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น
-เงินบาทยังคงปรับแข็งค่าขึ้นโดยเฉพาะในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 11 เดือนในวันพฤหัสบดี จากเงินทุนไหล
เข้าจากต่างประเทศเพื่อเตรียมเข้าซื้อหุ้นและลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงกลางถึง
ปลายสัปดาห์ จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในสัปดาห์หน้า
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงเตรียมจ่ายเงินเดือนของภาครัฐ โดยธนาคาร
พาณิชย์มีความต้องการลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลง
จากร้อยละ 4.15625 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.09375 -4.125 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลาง
สัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนและสิ้นเดือน หนาแน่น
ในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.125 และ 4.21875 ต่อปี ตามลำดับ
สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินที่สำรองไว้มาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืน
ระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.09375 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดคงที่
ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.875 - 4.16 ขณะที่อัตรากลาง
(Mode) ปิดตลาดระหว่างร้อยละ 4.14 - 4.15 ต่อปี ใกล้เคียงกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 51,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
21,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี และ 10 ปี 6 เดือน วง
เงินรวม 6,000 ล้านบาท โดยตั๋วเงินคลังและพันธบัตร ธปท.มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลงนอกจากนี้ยังมีการ
ประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 4 และ 6 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท และสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 40,800 ล้าน
บาท ในสัปดาห์นี้จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 10,200 ล้านบาท
ภาวะการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองยังอยู่ในระดับสูง มูลค่าการซื้อขายรวมเท่ากับ 101,260 ล้านบาท หรือ 20,252 ล้านบาทต่อ
วัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.4 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 74 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมา
ได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีการปรับตัวลดลง โดยเฉพาะหลังการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรกที่
ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-12 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean
price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 15 และ 18 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นทุกช่วงอายุ 10-26 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ธ.ค. 48 41.03
เฉลี่ย 16 - 20 ม.ค. 49 39.50
23 ม.ค. 49 39.06
24 ม.ค. 49 39.18
25 ม.ค. 49 39.28
26 ม.ค. 49 38.89
27 ม.ค. 49 38.96
เฉลี่ย 23 - 27 ม.ค. 49 39.07
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเป็น
จำนวนมาก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเนื่องจากความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศอิหร่านกับประเทศตะวันตกใน
เรื่องโครงการนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากการประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการซื้อ
ขายหุ้นของ บมจ. ชิน คอร์ปอเรชั่น นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากความต้องการซื้อคืนเงินดอลลาร์ สรอ. จากตลาดทั้งในประเทศและต่าง
ประเทศ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นอีกครั้งและปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 11 เดือนที่ระดับ 38.89 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวัน
พฤหัสบดี จากปัจจัยสนับสนุนสำคัญได้แก่เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งสัปดาห์นี้นักลงทุนต่างชาติมีการซื้อสุทธิกว่า
8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงกลางถึงปลาย
สัปดาห์ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.07 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากร้อยละ 1.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ความต้องการกู้ยืม/ลงทุนของธนาคารพาณิชย์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน และอัตรา Interbank ปิดตลาดแทบไม่เปลี่ยนแปลง
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ของไทยปรับ
ตัวลดลง ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น
-เงินบาทยังคงปรับแข็งค่าขึ้นโดยเฉพาะในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 11 เดือนในวันพฤหัสบดี จากเงินทุนไหล
เข้าจากต่างประเทศเพื่อเตรียมเข้าซื้อหุ้นและลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงกลางถึง
ปลายสัปดาห์ จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในสัปดาห์หน้า
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงเตรียมจ่ายเงินเดือนของภาครัฐ โดยธนาคาร
พาณิชย์มีความต้องการลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลง
จากร้อยละ 4.15625 ต่อปี ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 4.09375 -4.125 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลาง
สัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนและสิ้นเดือน หนาแน่น
ในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.125 และ 4.21875 ต่อปี ตามลำดับ
สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินที่สำรองไว้มาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืน
ระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.09375 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดคงที่
ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.875 - 4.16 ขณะที่อัตรากลาง
(Mode) ปิดตลาดระหว่างร้อยละ 4.14 - 4.15 ต่อปี ใกล้เคียงกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้า
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 51,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
21,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 22,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี และ 10 ปี 6 เดือน วง
เงินรวม 6,000 ล้านบาท โดยตั๋วเงินคลังและพันธบัตร ธปท.มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่วนพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลงนอกจากนี้ยังมีการ
ประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 4 และ 6 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท และสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 40,800 ล้าน
บาท ในสัปดาห์นี้จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 10,200 ล้านบาท
ภาวะการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองยังอยู่ในระดับสูง มูลค่าการซื้อขายรวมเท่ากับ 101,260 ล้านบาท หรือ 20,252 ล้านบาทต่อ
วัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.4 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 74 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมา
ได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีการปรับตัวลดลง โดยเฉพาะหลังการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรกที่
ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-12 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean
price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 15 และ 18 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นทุกช่วงอายุ 10-26 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ธ.ค. 48 41.03
เฉลี่ย 16 - 20 ม.ค. 49 39.50
23 ม.ค. 49 39.06
24 ม.ค. 49 39.18
25 ม.ค. 49 39.28
26 ม.ค. 49 38.89
27 ม.ค. 49 38.96
เฉลี่ย 23 - 27 ม.ค. 49 39.07
เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเป็น
จำนวนมาก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเนื่องจากความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศอิหร่านกับประเทศตะวันตกใน
เรื่องโครงการนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากการประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการซื้อ
ขายหุ้นของ บมจ. ชิน คอร์ปอเรชั่น นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากความต้องการซื้อคืนเงินดอลลาร์ สรอ. จากตลาดทั้งในประเทศและต่าง
ประเทศ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นอีกครั้งและปรับแข็งค่าที่สุดในรอบ 11 เดือนที่ระดับ 38.89 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวัน
พฤหัสบดี จากปัจจัยสนับสนุนสำคัญได้แก่เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งสัปดาห์นี้นักลงทุนต่างชาติมีการซื้อสุทธิกว่า
8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงกลางถึงปลาย
สัปดาห์ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดี ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.07 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากร้อยละ 1.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-