ประชาชนเห็นด้วยแผนฯ 10 ต้องพัฒนาทุนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2549 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) เรื่อง “แนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศใน ระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” ณ โรงแรมอู่ทองอินน์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุม และบรรยายพิเศษเรื่อง “แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 กับนโยบายรัฐบาล” โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ภาคส่วนต่างๆ ประมาณ 200 คน
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะภาคส่วนหนึ่งของสังคม และฐานะของรัฐบาลที่ได้รับเลือกจากประชาชนให้เข้ามาบริหารงาน และมีนโยบายหรือยุทธศาสตร์ที่จะเสนอ ในการหารือกันตามกระบวนการจัดทำแผนฯ 10 ของ สศช. ซึ่งจะไม่เข้ามากำหนดหรือชี้นำแผน ทั้งนี้ ในการจัดทำแผนฯ ที่ผ่านมา สศช. สามารถดึงให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี จึงขอให้แผนฯ 10 ใช้แนวทางดังกล่าวต่อไป
การสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศนั้น จะต้องผสมผสานเศรษฐกิจในระดับโลกาภิวัตน์ เข้ากับระดับท้องถิ่น ตามแนวคิด Dual Track ของรัฐบาล การจะแข่งขันกับภายนอกได้นั้น ภายในของเราต้องเข้มแข็งก่อน โดยมีความแข็งแกร่งและพึ่งตนเองได้ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และระดับประเทศ ด้วยการมีภูมิคุ้มกันตนเอง มีความรู้อย่างเท่าทัน พัฒนาตนเองไปในทางที่ถูกต้อง มีจริยธรรม จรรยาบรรณ และมีศีลธรรมอันดี
ดังนั้น รัฐบาลและ สศช. จะต้องน้อมรับกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุด เป็นสิ่งที่ทำให้ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติแข็งแรง มาเป็นปรัชญานำทาง
การพัฒนาที่ผ่านมา ได้นำทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นต้นทุนของการพัฒนามาก แต่จะหยุดพัฒนาไม่ได้ จึงต้องมีการบริหารทรัพยากรให้มีการสร้างขึ้นมาทดแทนหรือนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งต้องเสริมสร้างทุนเหล่านี้ให้เข้มแข็งมากขึ้น สำหรับทุนทางสังคมมีความจำเป็นมาก ต้องสร้างความเข้มแข็งโดยทำให้เด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจ มีจริยธรรมอันดี อยู่ในโลกที่เห็นอกเห็นใจและเกื้อหนุนกัน ซึ่งแผนฯ 10 จำเป็นต้องเสริมสร้างทุนทั้ง 3 ดังกล่าวให้เข้มแข็งขึ้น
นายสุรนันทน์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การสร้างทุนทางการเมือง ที่มีเครื่องมือที่สำคัญคือ แผนพัฒนาการเมือง ซึ่งจะต้องเปิดให้คนเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่การจัดวางกลไกลจนถึงการปฏิบัติ เพื่อให้สามารถพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ทุกคนต้องการได้ในที่สุด
สำหรับผลการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เสนอแนะ แนวทางการเสริมสร้างทุนทางเศรษฐกิจว่า ด้านทุนกายภาพนั้น จะต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างเกษตร และอุตสาหกรรม การพัฒนาโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารการเงินการคลังเพื่อการจัดสรรทุนให้ทั่วถึง ส่วนทุนการเงิน จะต้องดำเนินการส่งเสริมการออมของประเทศทั้งในระดับประเทศ ชุมชน และครัวเรือน การพัฒนาตลาดเงิน ตลาดทุน เพื่อเป็นแหล่งระดมทุน และมีระบบการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ และกำหนดนโยบายการเงินแลอัตราแลกเปลี่ยนที่โปร่งใส
สำหรับทุนสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible capital) ต้องดำเนินการโดยผลักดันการวิจัยและพัฒนา และการขับเคลื่อนวัฒนธรรม จัดตั้งและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T) รวมทั้งการวิจัยพื้นฐานและการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ไปสู่ภูมิภาค ส่งเสริมการต่อยอดภูมิปัญญา และความเป็นไทย ผลักดันให้มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย และการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สร้างสรรค์ การพัฒนาระบบบริหารด้าน S&T ให้มีเอกภาพทั้งระดับปฏิบัติและนโยบาย ส่วนทุนแรงงาน จะต้องดำเนินการในเรื่องการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันของประเทศ การอนุรักษ์สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามและพัฒนาภูมิปัญญา การเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพ
ในส่วนของทุนแรงงานและทรัพยากรมนุษย์ จะต้องดำเนินการ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม อนุรักษ์ สืบทอดประเพณี วัตนธรรมที่ดีงาม และพัฒนาภูมิปัญญา เสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพ เสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม การเตรียมความพร้อมแก่สังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ
สำหรับทุนทางสังคม ผู้เข้าร่วมสัมมนาให้ข้อเสนอแนะว่า แผนฯ 10 ต้องบูรณาการทุนทั้งสามเข้าด้วยกัน โดยให้ทุนทางสังคมเป็นหลักในการพัฒนา/สนับสนุนทุนเศรษฐกิจ และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ให้ความสำคัญกับการ “รู้เรา” (รู้ครอบครัว รู้ชุมชน) ควบคู่กับการ “รู้เขา” (รู้ชุมชนอื่น ประเทศเพื่อนบ้าน คู่ค้า โลกาภิวัตน์) ที่ต้องทำเพิ่มเติมและควรชี้ให้เห็นแนวทางการนำแผนไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคีการพัฒนา และจัดทำตัวชี้วัด (KPI) ในการประเมินผลแผน และคู่มือในการแปลงแผน และควรเพิ่มเติมการวิเคราะห์เรื่อง “ทุนทางสังคมตามโครงสร้างของสังคมแบบใหม่” คือการเป็นสังคมอุตสาหกรรมเข้มข้น เนื่องจากสังคมมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมอุตสาหกรรม การค้าและความเป็นเมืองมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมชนบท ห่วงโซ่ค่าจ้าง และแรงงานภาคเกษตรที่เปลี่ยนมาเป็นการรับจ้างมากขึ้น
ในส่วนของทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการสร้างองค์ความรู้และภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะนำไปสู่การมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการปรับโครงสร้างการผลิตและพฤติกรรมการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อฐานทรัพยากรความหลาหลายทางชีวภาพ
สำหรับการควบคุมมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากรและคุณภาพชีวิต เพื่อให้เกิดการลดการใช้ทรัพยากร รวมทั้งใช้อย่างคุ้มค่า ลดมลพิษ และไม่กระทบต่อคุณภาพชีวิต จึงควรดำเนินการควบคุมอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษสูง การจัดการขยะอย่างยั่งยืนเชิงยุทธศาสตร์ กำหนดตัวชี้วัดผลกระทบต่อสุขภาพ และกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและควบคุมมลพิษโดยทั่วไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2549 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) เรื่อง “แนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศใน ระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10” ณ โรงแรมอู่ทองอินน์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุม และบรรยายพิเศษเรื่อง “แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 กับนโยบายรัฐบาล” โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ภาคส่วนต่างๆ ประมาณ 200 คน
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะภาคส่วนหนึ่งของสังคม และฐานะของรัฐบาลที่ได้รับเลือกจากประชาชนให้เข้ามาบริหารงาน และมีนโยบายหรือยุทธศาสตร์ที่จะเสนอ ในการหารือกันตามกระบวนการจัดทำแผนฯ 10 ของ สศช. ซึ่งจะไม่เข้ามากำหนดหรือชี้นำแผน ทั้งนี้ ในการจัดทำแผนฯ ที่ผ่านมา สศช. สามารถดึงให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี จึงขอให้แผนฯ 10 ใช้แนวทางดังกล่าวต่อไป
การสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศนั้น จะต้องผสมผสานเศรษฐกิจในระดับโลกาภิวัตน์ เข้ากับระดับท้องถิ่น ตามแนวคิด Dual Track ของรัฐบาล การจะแข่งขันกับภายนอกได้นั้น ภายในของเราต้องเข้มแข็งก่อน โดยมีความแข็งแกร่งและพึ่งตนเองได้ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และระดับประเทศ ด้วยการมีภูมิคุ้มกันตนเอง มีความรู้อย่างเท่าทัน พัฒนาตนเองไปในทางที่ถูกต้อง มีจริยธรรม จรรยาบรรณ และมีศีลธรรมอันดี
ดังนั้น รัฐบาลและ สศช. จะต้องน้อมรับกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุด เป็นสิ่งที่ทำให้ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติแข็งแรง มาเป็นปรัชญานำทาง
การพัฒนาที่ผ่านมา ได้นำทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นต้นทุนของการพัฒนามาก แต่จะหยุดพัฒนาไม่ได้ จึงต้องมีการบริหารทรัพยากรให้มีการสร้างขึ้นมาทดแทนหรือนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งต้องเสริมสร้างทุนเหล่านี้ให้เข้มแข็งมากขึ้น สำหรับทุนทางสังคมมีความจำเป็นมาก ต้องสร้างความเข้มแข็งโดยทำให้เด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจ มีจริยธรรมอันดี อยู่ในโลกที่เห็นอกเห็นใจและเกื้อหนุนกัน ซึ่งแผนฯ 10 จำเป็นต้องเสริมสร้างทุนทั้ง 3 ดังกล่าวให้เข้มแข็งขึ้น
นายสุรนันทน์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การสร้างทุนทางการเมือง ที่มีเครื่องมือที่สำคัญคือ แผนพัฒนาการเมือง ซึ่งจะต้องเปิดให้คนเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่การจัดวางกลไกลจนถึงการปฏิบัติ เพื่อให้สามารถพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ทุกคนต้องการได้ในที่สุด
สำหรับผลการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เสนอแนะ แนวทางการเสริมสร้างทุนทางเศรษฐกิจว่า ด้านทุนกายภาพนั้น จะต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างเกษตร และอุตสาหกรรม การพัฒนาโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารการเงินการคลังเพื่อการจัดสรรทุนให้ทั่วถึง ส่วนทุนการเงิน จะต้องดำเนินการส่งเสริมการออมของประเทศทั้งในระดับประเทศ ชุมชน และครัวเรือน การพัฒนาตลาดเงิน ตลาดทุน เพื่อเป็นแหล่งระดมทุน และมีระบบการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ และกำหนดนโยบายการเงินแลอัตราแลกเปลี่ยนที่โปร่งใส
สำหรับทุนสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible capital) ต้องดำเนินการโดยผลักดันการวิจัยและพัฒนา และการขับเคลื่อนวัฒนธรรม จัดตั้งและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T) รวมทั้งการวิจัยพื้นฐานและการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ไปสู่ภูมิภาค ส่งเสริมการต่อยอดภูมิปัญญา และความเป็นไทย ผลักดันให้มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย และการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สร้างสรรค์ การพัฒนาระบบบริหารด้าน S&T ให้มีเอกภาพทั้งระดับปฏิบัติและนโยบาย ส่วนทุนแรงงาน จะต้องดำเนินการในเรื่องการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันของประเทศ การอนุรักษ์สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามและพัฒนาภูมิปัญญา การเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพ
ในส่วนของทุนแรงงานและทรัพยากรมนุษย์ จะต้องดำเนินการ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาความรู้คู่คุณธรรมและจริยธรรม อนุรักษ์ สืบทอดประเพณี วัตนธรรมที่ดีงาม และพัฒนาภูมิปัญญา เสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพ เสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม การเตรียมความพร้อมแก่สังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ
สำหรับทุนทางสังคม ผู้เข้าร่วมสัมมนาให้ข้อเสนอแนะว่า แผนฯ 10 ต้องบูรณาการทุนทั้งสามเข้าด้วยกัน โดยให้ทุนทางสังคมเป็นหลักในการพัฒนา/สนับสนุนทุนเศรษฐกิจ และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ให้ความสำคัญกับการ “รู้เรา” (รู้ครอบครัว รู้ชุมชน) ควบคู่กับการ “รู้เขา” (รู้ชุมชนอื่น ประเทศเพื่อนบ้าน คู่ค้า โลกาภิวัตน์) ที่ต้องทำเพิ่มเติมและควรชี้ให้เห็นแนวทางการนำแผนไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคีการพัฒนา และจัดทำตัวชี้วัด (KPI) ในการประเมินผลแผน และคู่มือในการแปลงแผน และควรเพิ่มเติมการวิเคราะห์เรื่อง “ทุนทางสังคมตามโครงสร้างของสังคมแบบใหม่” คือการเป็นสังคมอุตสาหกรรมเข้มข้น เนื่องจากสังคมมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมอุตสาหกรรม การค้าและความเป็นเมืองมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมชนบท ห่วงโซ่ค่าจ้าง และแรงงานภาคเกษตรที่เปลี่ยนมาเป็นการรับจ้างมากขึ้น
ในส่วนของทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการสร้างองค์ความรู้และภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะนำไปสู่การมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการปรับโครงสร้างการผลิตและพฤติกรรมการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อฐานทรัพยากรความหลาหลายทางชีวภาพ
สำหรับการควบคุมมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อฐานทรัพยากรและคุณภาพชีวิต เพื่อให้เกิดการลดการใช้ทรัพยากร รวมทั้งใช้อย่างคุ้มค่า ลดมลพิษ และไม่กระทบต่อคุณภาพชีวิต จึงควรดำเนินการควบคุมอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษสูง การจัดการขยะอย่างยั่งยืนเชิงยุทธศาสตร์ กำหนดตัวชี้วัดผลกระทบต่อสุขภาพ และกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและควบคุมมลพิษโดยทั่วไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-