- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทย
มี แนวโน้มชะลอตัว ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจดังกล่าวจะช่วงลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้ยังอยู่ในช่วงเป้าหมาย
- สถาบันการเงินมีความต้องการทำธุรกรรมระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ทั้งในช่วงก่อนและหลังการประชุม ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1
วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.84375 -- 4.875 ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และInterbank
ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ
ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับ US Treasury Yield เงินบาทในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์มีทิศทางอ่อนค่าลงตามค่าเงินในภูมิภาค หลังจาก
สถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง ส่งผลให้นักลงทุนมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วง
ปลายสัปดาห์ เนื่องจาก
- สถานการณ์การเมืองในประเทศมีความชัดเจนขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าอาจไม่มีการ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมเดือน ส.ค. นี้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 19 กรกฎาคม ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.0
ต่อปี โดยคณะกรรมการฯ ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 2 มีแนวโน้มชะลอตัว ภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนหลายประการโดยเฉพาะ
ปัจจัยด้านราคาน้ำมัน ในขณะที่เห็นว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจดังกล่าวจะช่วยลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐานจะยังคงอยู่
ในช่วงเป้าหมายที่ร้อยละ 0 - 3.5 ได้ต่อไป ทั้งนี้ ธปท. จะมีการทบทวนประมาณการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2549 ใหม่ในช่วงสิ้นเดือนนี้
โดยจะมีการติดตามปัจจัยด้านราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นใน
ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน
ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องปรับสูงขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์
โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ทยอยนำสภาพคล่องจากการลงทุนที่ครบกำหนดและเงินที่ได้รับจากการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมาลงทุนเป็นจำนวนมาก โดย
เฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 ต่อปี สำหรับในวันพฤหัสบดี สภาพคล่อง
ตัวตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีการนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับภาครัฐ ธนาคารพาณิชย์จึงมีการกู้ยืมระยะสั้นๆ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิด
ตลาดสูงขึ้น ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับเดิมในวันศุกร์ หลังจากธนาคารพาณิชย์ที่ดำรงเงินสดสำรองได้ตามเกณฑ์เฉลี่ยนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุน ขณะ
ที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่ม
ขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 - 5.0 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 39,530 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 19,000
ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 12,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มี
อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วันที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ
3 และ 10 ปี วงเงิน 4,530 ล้านบาท และพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 8 ปี วงเงิน 1,500 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐ
ครบกำหนด 18,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 21,530 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมี
มูลค่า 169,444 ล้านบาท คิดเป็น 33,889 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 18 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 43 ตราสารหนี้ที่
มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ค่อนข้างทรง
ตัว และปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์หลังจากการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักลงทุน
ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 1-6 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 1 เดือน ที่อัตราผลตอบ
แทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้นเท่ากันที่ 16 basis points US
Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์จากตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรม และดัชนีราคาผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด และปรับลดลงใน
ปลายสัปดาห์จากการคำแถลงของประธาน Fed ที่ทำให้นักลงทุนคาดว่า Fed จะยุติการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของ
พันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปปรับตัวลดลง 1-3 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 6 เดือนปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มิ.ย. 49 38.30
เฉลี่ย 10 - 14 ก.ค. 49 37.87
17 ก.ค. 49 38.08
18 ก.ค. 49 38.11
19 ก.ค. 49 38.14
20 ก.ค. 49 37.99
21 ก.ค. 49 37.97
เฉลี่ย 17 - 21 ก.ค. 49 38.06
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.06 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.5 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทใน
ช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์มีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับตามค่าเงินภูมิภาคและเงินเยน หลังจากนักลงทุนส่วนใหญ่มีความกังวลต่อสถานการณ์ความไม่
สงบในตะวันออกกลาง จึงมีความต้องการขายเงินสกุลภูมิภาคเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งมีสภาพคล่องและความปลอดภัยสูงกว่าโดยเปรียบ
เทียบ ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มเติมจากตัวเลข
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขเงินทุนไหลเข้าสุทธิในเดือน พ.ค. ที่เพียงพอจะชดเชยการขาดดุลการค้าในเดือนเดียวกันได้ โดยการ
ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ไม่ส่งผลต่อค่าเงินบาทมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้
แล้ว อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาค ตลอดจนปัจจัยบวกจากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลัก
ทรัพย์ไทย และสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่มีความชัดเจนขึ้นหลังจากมีกำหนดการเลือกตั้งที่แน่นอน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจาก
แถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ และรายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินที่ระบุถึงความไม่แน่นอนของทิศทางอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าอาจไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ส.ค. นี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
มี แนวโน้มชะลอตัว ขณะที่การชะลอตัวของเศรษฐกิจดังกล่าวจะช่วงลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้ยังอยู่ในช่วงเป้าหมาย
- สถาบันการเงินมีความต้องการทำธุรกรรมระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ทั้งในช่วงก่อนและหลังการประชุม ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1
วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.84375 -- 4.875 ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และInterbank
ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ
ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับ US Treasury Yield เงินบาทในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์มีทิศทางอ่อนค่าลงตามค่าเงินในภูมิภาค หลังจาก
สถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง ส่งผลให้นักลงทุนมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วง
ปลายสัปดาห์ เนื่องจาก
- สถานการณ์การเมืองในประเทศมีความชัดเจนขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่าอาจไม่มีการ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมเดือน ส.ค. นี้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 19 กรกฎาคม ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 5.0
ต่อปี โดยคณะกรรมการฯ ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 2 มีแนวโน้มชะลอตัว ภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนหลายประการโดยเฉพาะ
ปัจจัยด้านราคาน้ำมัน ในขณะที่เห็นว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจดังกล่าวจะช่วยลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐานจะยังคงอยู่
ในช่วงเป้าหมายที่ร้อยละ 0 - 3.5 ได้ต่อไป ทั้งนี้ ธปท. จะมีการทบทวนประมาณการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2549 ใหม่ในช่วงสิ้นเดือนนี้
โดยจะมีการติดตามปัจจัยด้านราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นใน
ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.875 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน
ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.96875 และ 5.0 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องปรับสูงขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์
โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ทยอยนำสภาพคล่องจากการลงทุนที่ครบกำหนดและเงินที่ได้รับจากการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมาลงทุนเป็นจำนวนมาก โดย
เฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 ต่อปี สำหรับในวันพฤหัสบดี สภาพคล่อง
ตัวตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีการนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับภาครัฐ ธนาคารพาณิชย์จึงมีการกู้ยืมระยะสั้นๆ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปิด
ตลาดสูงขึ้น ก่อนจะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับเดิมในวันศุกร์ หลังจากธนาคารพาณิชย์ที่ดำรงเงินสดสำรองได้ตามเกณฑ์เฉลี่ยนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุน ขณะ
ที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่ม
ขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 - 5.0 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 39,530 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 19,000
ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 20 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 12,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มี
อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วันที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ
3 และ 10 ปี วงเงิน 4,530 ล้านบาท และพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 8 ปี วงเงิน 1,500 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐ
ครบกำหนด 18,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 21,530 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมี
มูลค่า 169,444 ล้านบาท คิดเป็น 33,889 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 18 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 43 ตราสารหนี้ที่
มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ค่อนข้างทรง
ตัว และปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์หลังจากการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของนักลงทุน
ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง 1-6 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 1 เดือน ที่อัตราผลตอบ
แทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้นเท่ากันที่ 16 basis points US
Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์จากตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรม และดัชนีราคาผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด และปรับลดลงใน
ปลายสัปดาห์จากการคำแถลงของประธาน Fed ที่ทำให้นักลงทุนคาดว่า Fed จะยุติการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของ
พันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปปรับตัวลดลง 1-3 basis points ส่วนพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 6 เดือนปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน มิ.ย. 49 38.30
เฉลี่ย 10 - 14 ก.ค. 49 37.87
17 ก.ค. 49 38.08
18 ก.ค. 49 38.11
19 ก.ค. 49 38.14
20 ก.ค. 49 37.99
21 ก.ค. 49 37.97
เฉลี่ย 17 - 21 ก.ค. 49 38.06
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.06 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.5 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทใน
ช่วงต้นสัปดาห์ถึงกลางสัปดาห์มีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับตามค่าเงินภูมิภาคและเงินเยน หลังจากนักลงทุนส่วนใหญ่มีความกังวลต่อสถานการณ์ความไม่
สงบในตะวันออกกลาง จึงมีความต้องการขายเงินสกุลภูมิภาคเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งมีสภาพคล่องและความปลอดภัยสูงกว่าโดยเปรียบ
เทียบ ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มเติมจากตัวเลข
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขเงินทุนไหลเข้าสุทธิในเดือน พ.ค. ที่เพียงพอจะชดเชยการขาดดุลการค้าในเดือนเดียวกันได้ โดยการ
ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ไม่ส่งผลต่อค่าเงินบาทมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้
แล้ว อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ตามค่าเงินในภูมิภาค ตลอดจนปัจจัยบวกจากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลัก
ทรัพย์ไทย และสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่มีความชัดเจนขึ้นหลังจากมีกำหนดการเลือกตั้งที่แน่นอน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจาก
แถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ และรายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินที่ระบุถึงความไม่แน่นอนของทิศทางอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าอาจไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ส.ค. นี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-