(ต่อ2)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 26, 2009 14:13 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 2552 ในด้านต่าง ๆ เป็นดังนี้

  • การใช้จ่ายครัวเรือน: หดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี3 และลดลงเป็นฐานกว้าง การใช้จ่ายครัวเรือนในไตรมาสแรกลดลงร้อยละ 2.6 เนื่องจากมีปัจจัยลบหลายด้านทั้งรายได้แรงงานในภาคการผลิตที่ลดลงจากการเลิกจ้าง การลดจำนวนวันและชั่วโมงการทำงาน และการยกเว้นเงินโบนัส ในขณะที่รายได้เกษตรกรชะลอตัวลงมากจากที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 31.5 ในปีที่แล้ว เป็นร้อยละ 0.9 ในไตรมาสแรกปีนี้ ประกอบกับ
บรรยากาศเศรษฐกิจที่ซบเซา ผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับการมีงานทำและรายได้ในอนาคต ทำให้ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นและเลื่อนการใช้
จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป นอกจากนั้นการลดลงของการใช้จ่ายครัวเรือนส่วนหนึ่งยังเป็นการลดลงจากฐานการซื้อรถยนต์ที่สูงในปีที่แล้วซึ่งเป็นช่วง
ที่ได้รับประโยชน์ด้านภาษีสรรพสามิต

แม้ว่าในไตรมาสแรกราคาสินค้าได้ปรับตัวลดลงมาก และมีผลจากการขยายมาตรการ “5 มาตรการ 6 เดือนฯ” ของรัฐบาลออกไปเป็นเวลา 6 เดือนเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน แต่กำลังซื้อของประชาชนไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก โดยเฉพาะกำลังซื้อของกลุ่มแรงงานและ เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ลดลงและชะลอตัวลงมากตามลำดับ ประกอบกับราคาสินค้าหมวดอาหารที่ยังเพิ่มขึ้นมาก4 ทั้งนี้ยกเว้นกลุ่มผู้มีรายได้ประจำซึ่งรายได้ไม่ถูกกระทบมากนักทำให้กำลังซื้อที่แท้จริงยังเพิ่มขึ้น

การใช้จ่ายลดลงมากในกลุ่มสินค้าคงทน กึ่งคงทน และไม่คงทนหมวดที่มิใช่อาหาร โดยการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 18.1 จากการซื้อสินค้าประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน การใช้จ่ายซื้อสินค้ากึ่งคงทนลดลงร้อยละ 8.1 และสินค้าไม่คงทนหมวดที่มิใช่ อาหารลดลงร้อยละ 4.4 สำหรับการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าหมวดอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการมีวันหยุดต่อเนื่องหลาย วันในช่วงเทศกาลปีใหม่ และหมวดบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5

การใช้จ่ายภาคครัวเรือน

                                  ----------------- 2551 -------------------       2552         สัดส่วน
   (%YoY)           ทั้งปี           Q1           Q2           Q3           Q4          Q1           (%)
การใช้จ่ายภาคเอกชน   2.5           2.7           2.5         2.7           2.1        -2.6         100.0
สินค้าคงทน           9.5          10.0          11.4         9.4           7.3       -18.1           9.5
สินค้ากึ่งคงทน         1.7           3.7           3.3         3.3          -3.1        -8.1          12.6
สินค้าไม่คงทน         0.9           2.5           1.0        -0.3           0.3        -1.4          52.7
  - อาหาร          1.4           2.6           0.8        -0.1           2.4         2.5          23.7
  - มิใช่อาหาร       0.6           2.4           1.2        -0.4          -1.1        -4.4          29.0
บริการ              3.0          -0.7           1.0         5.1           6.2         5.5          25.1
  • การลงทุนภาคเอกชน: หดตัวต่อเนื่องและรุนแรงกว่าไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสแรกของปี หดตัวร้อยละ
17.7 รุนแรงกว่าที่หดตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2551 โดยที่การลงทุนในการก่อสร้าง และเครื่องมือเครื่องจักรลดลงร้อยละ 8.2 และ 20.3 ตามลำดับ

การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรลดลงมาก เนื่องจากเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้ผู้ประกอบการลดปริมาณการผลิตและลดการลงทุนในภาวะที่ยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอีกมาก และหันมาใช้วิธีระบายสินค้าในสต็อกแทน ดังจะเห็นได้จากในไตรมาสแรกของปีมีการใช้กำลังการผลิตเพียงร้อยละ 57.8 ของกำลังการผลิตรวม นอกจากนี้การลงทุนใหม่ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในปีที่แล้วลดลงทั้งจำนวนโครงการ และ วงเงินร้อยละ 6.6 และ 32.9 ตามลำดับ ทำให้ความต้องการเครื่องมือเครื่องจักรลดลง

สำหรับการลงทุนด้านการก่อสร้างก็ลดลงเช่นกัน ตามความต้องการที่อยู่อาศัยลดลง เนื่องจากผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตทำให้มีการเลื่อนการตัดสินใจซื้อหรือสร้างบ้านออกไปแม้จะมีเงื่อนไขที่จูงใจด้านภาษีการโอนและอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ในขณะที่ด้านอุปทานพบว่ายังมีสต็อกที่อยู่อาศัยในตลาดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะประเภทคอนโดมิเนียมที่มีการซื้อเพื่อเก็งกำไรได้ถูกนำออกมาขายต่อเป็นที่อยู่อาศัยมือสองค่อนข้างมาก ประกอบกับผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็กทำให้มีการเลิกกิจการโดยในไตรมาสแรกทั่วประเทศมีธุรกิจรับเหมาก่อสร้างปิดกิจการไป 410 ราย และธุรกิจพัฒนาสังหาริมทรัพย์ปิดกิจการ 116 ราย

การลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 10.4 ในขณะที่การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ และการลงทุนก่อสร้างโรงงาน อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 9.8 และ 3.4 ตามลำดับ ตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลง

  • การส่งออก: มูลค่าการส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องจากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ในไตรมาสแรกของปี 2552 มูลค่าการ

ส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 19.9 โดยที่ปริมาณลดลงถึงร้อยละ 19.5 ตามความต้องการที่ลดลง และราคาลดลงร้อยละ 0.5

เนื่องจากราคาส่งออกสินค้าเกษตรที่ลดลงในภาวะที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก และราคาสินค้าอุตสาหกรรมอ่อนตัวลงมากเนื่องจากการขอต่อรองราคาจากประเทศคู่ค้า ประกอบกับประเทศคู่ค้าชะลอการจ่ายเงิน และชะลอรับมอบสินค้าคำสั่งซื้อเก่าที่ผลิตในช่วงต้นทุนสูง ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา เมื่อคิดในรูปเงินบาทไตรมาสแรกมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 12.6 และราคาในรูปเงินบาทยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง

การส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญ (%YoY)

2550 ---------------2551-------------- 2552

                    ทั้งปี    ทั้งปี      Q1      Q2      Q3     Q4      Q1
ข้าว       มูลค่า      34.2  121.8   108.1   155.8   134.2   -18.0   -13.7
          ราคา       9.4    5.5    13.6    91.0    88.4    59.6    28.6
          ปริมาณ     22.7  110.2    82.7    35.1    23.4   -48.6   -32.8
ยางพารา   มูลค่า       4.5   51.1    33.6    30.5    47.1   -21.3   -45.5
          ราคา       7.8   40.4    33.8    26.9    43.8    -3.1   -42.5
          ปริมาณ     -3.0    7.7     0.0     2.9     2.4   -20.9    -5.7
มันสำปะหลัง มูลค่า      23.1   -2.2    13.5    20.0    23.3   -35.2   -45.6
          ราคา      18.6   61.1    58.9    61.9    39.3    13.1   -15.1

ปริมาณ 3.8 -39.3 -29.3 -25.5 -11.8 -40.6 -34.1

ข้าวโพด    มูลค่า      48.6  110.3   229.6    -6.6   201.4    27.4   -48.7
          ราคา      -7.0   64.3    15.0   186.1    27.2    -1.9   -14.1
          ปริมาณ     22.7   79.1   181.1   -43.5   136.6    22.1   -40.0

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

  • สินค้าเกษตร: ลดลงทั้งปริมาณและราคาการส่งออก ในไตรมาสแรกปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 21.2 และราคาลดลงร้อยละ 13.1 มีผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 31.4 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานการส่งออกทั้งราคาและปริมาณสินค้าเกษตรที่สูงในไตรมาสแรกของปี 2551 เมื่อมีความกังวลเรื่องสต็อกสินค้าเกษตรโลกลดลงและมีความต้องการใช้พืชเกษตรเพื่อผลิตพลังงานเพิ่มขึ้นมาก ทั้งนี้สินค้าเกษตรส่งออกสำคัญที่มีปริมาณลดลงได้แก่ ข้าว (-32.8%) เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกอื่น ๆ เริ่มกลับมาส่งออกข้าวได้อีกครั้ง ทำให้ประเทศคู่ค้ามีทางเลือกในการนำเข้าข้าวจากประเทศที่มีราคาส่งออกต่ำกว่าประเทศไทย อาทิ เวียดนาม อินเดีย พม่า กัมพูชา มันสำปะหลัง (ปริมาณลดลง 34.1%) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมกระดาษโลก อันเนื่องมาจากแป้งมันเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตกระดาษ โดยคำสั่งซื้อส่วนใหญ่จะเป็นการส่งมอบในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อลดภาระสต็อกของลูกค้า ในขณะที่ประเทศจีนได้ลดกำลังการผลิตเอทานอลลง อันเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนนโยบายที่ลดการอุดหนุนการผลิตแอลกอฮอล์ลง ทำ ให้กระทบต่อการส่งออกมันเส้นของไทยยางพารา ปริมาณการส่งออกหดตัวเพียงเล็กน้อย(-5.7) อันเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ อย่างไรก็ตามความต้องการยางธรรมชาติจะยังไม่ฟื้นตัวได้เร็วนัก เนื่องจากผู้ผลิตและผู้ใช้ยังมีความเชื่อมั่นในสภาวการณ์ของเศรษฐกิจโลกต่ำ
  • สินค้าอุตสาหกรรม: ปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลง มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 19.3 โดยที่ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 19.6 แต่ราคายังเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62 ของมูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม และร้อยละ 55 ของมูลค่าส่งออกรวม) ลดลงร้อยละ 30.9 เช่นเดียวกับสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้
ทรัพยากรในประเทศที่ลดลงร้อยละ 6.5 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.4 ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปซึ่งได้มีการนำเข้าเพื่อเก็งกำไรในช่วงที่ผ่านมา และคาดว่าจะทำให้มูลค่าส่งออกในหมวดนี้เพิ่มขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น
  • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า: ลดลงมากและต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว แต่เริ่มมีสัญญาณของการ
ปรับตัวดีขึ้นในตลาดต่างประเทศซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกของไทยในระยะต่อไป มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสแรกลดลงร้อยละ 32.4 และ 30.4 ตามลำดับ รายการสินค้าสำ คัญที่มูลค่าการส่งออกลดลงประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-31.1%) แผงวงจรไฟฟ้า (-38.9%) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ(-30.3%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (-39.9%) ตู้เย็น
ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (-18.5%)

อย่างไรก็ตามเริ่มมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของการค้าเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ โดยสัดส่วน Book to bills เริ่มปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 0.61 ในเดือนมีนาคมจากจุดต่ำสุดที่ 0.47 ในเดือนมกราคมที่ผ่านมาประกอบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และมาเลเซีย มีการหดตัวในอัตราที่น้อยกว่าในช่วงที่ผ่านมา แสดงว่าการหดตัวของภาวะการค้าอิเล็กทรอนิกส์กำลังจะผ่านพ้นจุดต่ำสุด ซึ่งเป็นตัวชี้นำว่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวังและทำให้การฟื้นตัวยังช้าอยู่ คือ เศรษฐกิจโลกที่ยังมีความผันผวนและการฟื้นตัวจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง โดยเฉพาะจีน และสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของไทย

  • สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ: มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากจากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูป มูลค่าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 106.3 ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก โดยมูลค่าส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 351.6 ตามราคาทองคำในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปมากขึ้นเพื่อทำกำไรในระยะสั้นและเป็นการลดการสะสมสต็อกทองคำจากปีที่แล้ว ทั้งนี้หากไม่รวมทองคำยังที่ยังไม่ขึ้นรูปจะทำให้การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับมีมูลค่าลดลงร้อยละ 20.9
  • ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ: มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 35 จากคำสั่งซื้อจากประเทศผู้นำเข้าหลักที่ลดลง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและหดตัว และได้ส่งผล
ต่อเนื่องทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ลดการผลิต และใช้สินค้าในสต็อก
  • สินค้าอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล): มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 5.1 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ประกอบกับการใช้ระเบียบปฏิบัติที่เข้มงวดในการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าสำคัญที่ส่งออก
ลดลงได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง แช่แข็ง และแปรรูป (-8.2%) ผักและ ผลไม้สด/แช่แข็ง/กระป๋องและแปรรูป (-12.4%) แต่การมูลค่า
ส่งออกไก่แช่แข็งและแปรรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9
  • ตลาดส่งออก: มูลค่าการส่งออกลดลงรุนแรงในตลาดหลัก โดยการส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐฯญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27) และ

อาเซียน ลดลงร้อยละ 27.0 26.1 30.8 และ 31.6 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ มีมูลค่าลดลงเช่นกัน อาทิ จีน (-27.6%)

ฮ่องกง (-14.2%) ไต้หวัน (-42.5%) เป็นต้น ส่วนตลาดที่ยังมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย และตะวันออกกลางที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 15.5 และ 6.7 ตามลำดับ

ตลาดส่งออกที่สำคัญ

    (%YoY)      2550  ------------- 2551 --------------      2552
                ทั้งปี   ทั้งปี     Q1     Q2     Q3     Q4     Q1     สัดส่วน
สหรัฐอเมริกา     -1.3   5.6    8.2    9.7    15.7   -10.2   -27.0  10.6
ญี่ปุ่น             9.7  11.8    7.7   21.0    25.0    -4.7   -26.1  10.4
EU (15)        15.5   9.1   16.1   13.0    15.7    -7.5   -32.7  11.0
อาเซียน (9)     20.2  23.6   32.8   48.4    39.4   -15.9   -31.6  18.6
ฮ่องกง          19.7  17.1   49.9   37.6    12.5   -16.7   -14.2   6.6
ไต้หวัน          -1.5 -18.5  -26.0  -12.3    -3.3   -29.9   -42.5   1.2
เกาหลีใต้        11.1  23.7   17.2   15.4    63.6     1.1   -24.6   1.8
ตะวันออกกลาง    29.9  27.8   26.4   33.2    48.1     5.4     6.7   6.4
อินเดีย          47.1  27.8   24.5   32.4    25.5    28.7   -17.0   1.8
จีน             26.4   9.2   34.7   22.1    14.7   -24.2   -27.6   8.9
  • การนำเข้า: ปริมาณและราคานำเข้าหดตัวมากตามภาวะการส่งออกและการใช้จ่ายและการลงทุนภายในประเทศที่ลดลง ในไตรมาสแรกมูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 38.3 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี6 โดยที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าลดลงร้อยละ 35.0 ตามการส่งออกที่หดตัวลง ความต้องการและกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่ลดลง สำหรับราคาสินค้านำเข้าหดตัวร้อยละ 5.0 ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลงเป็นหลัก เมื่อคิดในรูปเงินบาท มูลค่านำเข้าหดตัวร้อยละ 32.6 ขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6
  • สินค้าทุน: ปริมาณและราคานำเข้าลดลง มูลค่านำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 23.2 ตามภาวะความต้องการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่ลดลงมาก เนื่องจากมีกำลังการผลิตส่วนเกินเพิ่มขึ้นในระบบจากการที่ผู้ประกอบการลดปริมาณการผลิตสินค้าของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ลงมากสินค้าที่มีการนำเข้าลดลงมาก ได้แก่ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์สินค้าทุนอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนลดลงตัวร้อยละ
21.9 และราคาลดลงร้อยละ 1.7
  • สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป: มูลค่าและปริมาณการนำเข้าลดลงตามภาวะการผลิตที่ลดลง มูลค่าการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 44.4 ต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว เป็นการลดลงตามการผลิตสินค้าที่ลดลงเนื่องจากการส่งออกและความ
ต้องการภายในประเทศลดลงมาก สินค้าในหมวดที่มีการนำเข้าลดลงได้แก่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ทั้งนี้การนำเข้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์มีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 52.0 ตามภาวการณ์ก่อสร้างที่ลดลง และอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบในการผลิตลดการผลิตลง รวมทั้งมีการนำเข้าเหล็กและสะสมสินค้าคงคลังในระดับสูงในปีที่แล้วในภาวะที่มีการคาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้นมากในช่วงที่น้ำมันดิบมีราคาเพิ่มขึ้นมาก สำหรับมูลค่าการนำเข้าทองคำลดลงร้อยละ 58.9 ซึ่งเป็นผลจากราคาทองคำในตลาดโลกที่สูงขึ้นและมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากแล้วในปีที่แล้ว ปริมาณการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 45.2 ขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1
  • สินค้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น: ปริมาณและราคาลดลง มูลค่าการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นลดลงร้อยละ 50.2 โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 29.1 ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงและราคานำเข้าลดลงร้อยละ 29.8 ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังปรับลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 56.4 โดยปริมาณนำเข้าลดลงร้อยละ 8.7 และราคาลดลงร้อยละ 52.2 สำหรับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมีมูลค่าลดลงร้อยละ 26.3
  • สินค้าอุปโภคบริโภค: ปริมาณและราคานำเข้าลดลงมูลค่านำเข้าลดลงร้อยละ 16.0 เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวัง
การใช้จ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เครื่องประดับอัญมณี เสื้อผ้ารองเท้า และผ ลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ นาฬิกาและส่วนประกอบ นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่อ่อนลงก็ลดแรงจูงใจในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้าด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 15.1 และราคาลดลงร้อยละ 1.1 อย่างไรก็ตามเป็นการลดลงจากฐาน
การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากในปีที่แล้ว
  • อัตราการค้า (Term of Trade) ดีขึ้นต่อเนื่อง ราคาส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ลดลงเพียงร้อยละ 0.5

ในขณะที่ราคานำเข้าเฉลี่ยลดลงร้อยละ 5.0 ทำให้อัตราการค้าในไตรมาสแรกของปีดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ4.7 ต่อเนื่องจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว ซึ่งนับว่าเป็นผลดีต่อรายได้

(ยังมีต่อ).../-ดุลการค้า:..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ