- ดุลการค้า: เกินดุลสูงถึง 7,800 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับ 275,434 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นผล
มาจากการนำเข้าที่ลดลงอย่างมากและเร็วกว่าการส่งออกอย่างไรก็ตามเป็นการเกินดุลในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา
ด้านการผลิต
- สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.5 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา เป็นผลมาจากผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง และข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.0 และ 14.3 ตามลำดับ เป็นผลมาจากเกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อนำไปเข้า
สำหรับราคาสินค้าเกษตรตลาดโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรในประเทศเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.1 ชะลอลงมากจากที่ ขยายตัวร้อยละ 14.2 ในไตรมาสที่ 4/51 เป็นผลมาจากอุปสงค์ของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง โดยเฉพาะราคาปาล์มน้ำมัน และราคายางพารา ลดลงร้อยละ 37.0 และ 45.0 ตามลำดับการที่ทั้งผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรชะลอตัวส่งผลให้รายได้เกษตรกรในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.9 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 ในปีที่ผ่านมา
- สาขาอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 14.9 เป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง อันเป็นผลมาจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ความ
สำหรับการใช้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 57.8 เทียบกับร้อยละ 73.5 ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนว่ามีกำลังการผลิตส่วนเกินในระบบเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายการลงทุนในระยะต่อไป กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญที่อัตรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (45.6%) เครื่องใช้ไฟฟ้า (42.9%)ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (43.6%) และเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (35.6%) เป็นต้น
- สาขาก่อสร้าง หดตัวร้อยละ 7.9 เป็นการหดตัว 4 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจหดตัวที่ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุน และการเลื่อนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค รวมทั้งมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของภาคสถาบันการเงินซึ่งส่งผลกระทบทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค จะเห็นได้จากเครื่องชี้หลักๆ ทางด้านการก่อสร้าง ได้แก่ พื้นที่อนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยอาคารเพื่อการพาณิชย์ และอาคารโรงงานลดลงร้อยละ 20.0, 41.9 และ 23.0 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาในรายภาคพบว่าพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างทั้งในเขต กทม.
และภูมิภาคอื่นๆ ลดลงร้อยละ 17.6 และ 20.6 ตามลำดับ สำหรับการลงทุนเพื่อการก่อสร้างภาครัฐในไตรมาสนี้หดตัวร้อยละ 9.4 ปรับตัวดีขึ้นจากหดตัวร้อยละ 26.2 ในไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลได้เร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามปัจจัย
บวกด้านการก่อสร้าง คือ ราคาวัสดุก่อสร้างที่ลดลงร้อยละ9.1 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 11 ไตรมาส ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ลดลงร้อยละ 28.1 และ 0.1 ตามลำดับ
- ภาคอสังหาริมทรัพย์ หดตัวร้อยละ 0.4 เนื่องจากผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง และการขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน
ทั่วไป ทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีเงินทุนต่ำเข้าถึงแหล่งเงินทุนยากขึ้น รวมทั้งผู้บริโภคบางส่วนได้เลื่อนการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ออกไป อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาพบว่ายังมีการเปิดโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์มีการปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เปิดตัวในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ส่วนใหญ่จะเน้นการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุด ร้อยละ 36.5 ของจำนวนหน่วยที่เปิดขายทั้งหมด รองลงมาคือ ทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว และอื่นๆ
ร้อยละ 28.0 22.7 และร้อยละ 12.8 ของจำนวนหน่วยที่เปิดขายทั้งหมด ตามลำดับ สะท้อนถึงความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดและทาวน์เฮาส์ที่ราคาไม่สูงและใกล้แนวเส้นทางรถไฟฟ้ายังเพิ่มขึ้น
- สาขาโรงแรมและภัตตาคาร หดตัวร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นผลจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่
-สาขาการเงิน ขยายตัวร้อยละ 4.2 ชะลอจากไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว เป็นผลจากการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินที่ไม่รวม R/P หรือเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรขยายตัวร้อยละ 8.0 ชะลอตัวจากที่ขยายตัวร้อยละ 10.2 ในไตรมาส 4 ที่ผ่านมา โดยการให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนและภาคธุรกิจขยายตัวร้อยละ 5.9 และ 5.4 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.3 และ 11.2 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสถาบันการเงินเข้มงวดในการให้สินเชื่อ หากพิจารณาถึงสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อการให้สินเชื่อทั้งหมดที่สถาบันการเงินปล่อยให้กู้ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 3.1เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจหดตัวทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง ส่งผลทำให้รายได้ของสถาบันการเงินในไตรมาสนี้ลดลงด้วย
- ประสิทธิภาพการใช้น้ำมัน: โดยรวมยังอยู่ในทิศทางที่ดี
- สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP ในไตรมาสแรกของปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ0.9579 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 0.8980 ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วและร้อยละ 0.9189 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP ที่สูงขึ้นเป็นไปตามฤดูกาลและคาดว่าอีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับลดลงมากตามราคาน้ำมันดิบโลกทำให้ความต้องการใช้น้ำมัน โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจมากนัก ในขณะที่กิจกรรมการผลิตที่ก่อให้เกิดการมูลค่าเพิ่มหรือผลิตภัณฑ์
- การใช้น้ำมันสำเร็จรูปภายในประเทศ: ปริมาณการใช้พลังงานทางเลือกยังเพิ่มในอัตราสูงต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปี 2552 มีปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์ประมาณ 12.5 ล้านลิตรต่อวัน (คิดเป็นร้อยละ 59 ของปริมาณการใช้เบนซินทั้งหมด (เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.1 เมื่อเทียบกับการใช้วันละ 7.50 ล้านลิตรในไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว ขณะที่ปริมาณการใช้ไบโอดีเซล (บี 5) อยู่ที่ 20.4 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 240.2 นอกจากนี้ปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 184.2 ในขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 95 น้ำมันเบนซิน
- ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันไปใช้แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล ซึ่งมีราคาถูกกว่า ประกอบกับการดำเนินนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคนที่ส่งเสริมให้มีการใช้แก๊สโซฮอล์ด้วยการการลดภาษีสรรพาสามิตที่จัดเก็บจากแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 ลง 3.30 บาทต่อลิตร รวมถึงลดภาษีสรรพาสามิตที่จัดเก็บจากน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำ มันดีเซลหมุนเร็ว บี 5 ลง 2.30 และ 2.10 บาท ตามลำดับ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 — 31 มกราคม 2552 ส่งผลให้ผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ภายหลังจากสิ้นสุดมาตรการดังกล่าว ปริมาณการใช้พลังงานทางเลือกยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
สะท้อนถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคน้ำมันที่ตอบสนองนโยบายของประเทศในการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทรถยนต์ต่าง ๆ ได้ผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ออกมาจำหน่ายเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกและช่วยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานอย่างจริงจังและเป็นวงกว้างมากขึ้น
การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(%YoY) 2550 ---------------- 2551----------------- 2552 ทั้งปี ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 น้ำมันเบนซิน 1.69 -2.95 -1.92 -5.22 -7.27 2.67 7.34 ออกเทน (91+95) -6.10 -33.11 -26.42 -32.01 -40.14 -34.60 -28.44 แก๊สโซฮอล์ 37.79 92.41 111.95 94.07 91.27 81.51 65.08 น้ำมันดีเซล 2.13 -5.74 -0.37 -3.99 -14.40 -4.78 -1.29 หมุนเร็ว+หมุนช้า -1.22 -23.28 -10.23 -20.44 -33.92 -30.06 -31.48 หมุนเร็ว บี5 1360.62 502.41 787.29 645.00 498.98 384.62 240.20 ก๊าซแอลพีจี 14.30 16.57 17.59 20.82 27.13 1.79 0.71 NGV 11738. 22976. 192.38 220.18 268.89 224.16 184.24 (ยังมีต่อ).../เสถียรภาพเศรษฐกิจ:..