แท็ก
เครดิต
มาตรฐานการดำเนินงาน โดยทั่วไป นโยบายการบริหารงานของ องจ. ที่เป็นทางการแบบประชาชนเป็นเจ้าของ เช่น สหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จะถูกกำหนดโดยมติของสมาชิกหรือผู้แทนของสมาชิก ซึ่งอาจแตกต่างกันไปบ้างตามลักษณะเฉพาะของสมาชิกในแต่ละพื้นที่ มาตรฐานการดำเนินงานจึงควรพิจารณาถึงความพึงพอใจของสมาชิกเป็นหลัก ข้อเสนอแนะสำหรับตัวชี้วัดมาตรฐานการดำเนินงาน ได้แก่ การนำตัวชี้วัดมาตรฐานการดำเนินงานของ องจ. ที่เป็นทางการแบบรัฐบาลเป็นเจ้าของ ไปปรับให้เหมาะสมกับการดำเนินงานของแต่ละ สหกรณ์ เช่น การจัดทำตัวชี้วัดการดำเนินงานเพื่อสังคม และตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งจะช่วยแสดงถึงความโปร่งใสในการดำเนินงานของ องจ.
มาตรฐานคุณภาพ สหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอาจจะเพิ่มคุณภาพของ
สินทรัพย์ได้โดยการลดดอกเบี้ยเงินฝากให้อยู่ราคาตลาดเพื่อลดภาระและความเสี่ยงในการหารายได้สำหรับค่าใช้จ่ายที่เป็นดอกเบี้ย ในขณะเดียวกัน สหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรจะเพิ่มบทบาทด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับการสหกรณ์และพัฒนาบุคลากรเพื่อความยั่งยืนของสหกรณ์
แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของสหกรณ์การเกษตร
- แก้ไขกฏหมายให้สหกรณ์การเกษตรสามารถให้บริการสมาชิกนอกภาคการเกษตรได้ในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
- หามาตรการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
- แก้ไขกฏหมายให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสามารถให้บริการวิสาหกิจชุมชนได้หากมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
- ให้ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทยเพิ่มบทบาทในการเป็นแหล่งกู้ยืม (ไม่มีดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำ)ในกรณีที่สหกรณ์หรือกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนประสบปัญหา (lender of last resort)
ข้อสรุป รูปแบบของ องจ. ที่เป็นทางการแบบประชาชนเป็นเจ้าของ มีลักษณะเฉพาะคือเป็น องจ.ที่มีหน่วยงานของรัฐหลายแห่งทำหน้าที่ส่งเสริม ตรวจสอบ และกำหนดระเบียบปฏิบัติ ซึ่งจากการวิจัยพบว่าการปฏิบัติงานของหน่วยงานเหล่านี้ยังขาดความชัดเจนด้านการพัฒนา ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ควรเพิ่มบทบาทด้านการพัฒนา เช่น
การพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ และระบบบัญชีที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ และที่สำคัญคือ ควรมีการผลักดันให้สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในด้านการพัฒนาศักยภาพของฝ่ายจัดการและกรรมการดำเนินงานของสหกรณ์ รวมไปถึงการให้ความรู้ทางวิชาการกับสมาชิกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแก่สหกรณ์
3) องจ. ที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มสัจจะ กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน และธนาคารหมู่บ้าน รูปแบบของ องจ. ดังกล่าวมีข้อดี ได้แก่ การจัดตั้งมาจากการรวมกลุ่มโดยความสมัครใจของคนในชุมชนหรือหมู่บ้านเดียวกัน องจ. ช่วยส่งเสริมการออมของสมาชิกในชุมชน เป็นแหล่งสินเชื่อขนาดย่อมของสมาชิก และช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชนมีคุณธรรม องจ. ที่ไม่เป็นทางการมีข้อจำกัดบางประการ เช่น การขาดเครือข่ายที่จะเชื่อมโยงกลุ่มที่มีเงินทุนน้อยและกลุ่มที่มีเงินทุนมาก บางกลุ่มขาดแคลนผู้ที่จะสืบทอดการเป็นผู้นำและนักบัญชีของกลุ่ม
มาตรฐานทางการเงิน ปัจจุบัน องจ. ที่ไม่เป็นทางการ ยังไม่มีมาตรฐานทางการเงินที่ใช้อ้างอิงได้ แต่ละ องจ. จะมีวิธีจัดการหารายได้มาให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายซึ่งแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละพื้นที่ ดังนั้น มาตรฐานจึงสร้างจากความพึงพอใจของสมาชิก ข้อเสนอแนะสำหรับ องจ. ที่ไม่เป็นทางการ คือ การพิจารณาความแปรปรวนของเงินฝาก (ซึ่งอาจรวมถึงการชำระคืนเงินกู้) ของสมาชิก ทั้งนี้เพื่อเป็นการตรวจสอบความมั่นคงของแหล่งเงินทุน
มาตรฐานการดำเนินงาน โดยทั่วไป นโยบายการบริหารงานของ องจ. ที่ไม่เป็นทางการจะขึ้นอยู่กับมติของสมาชิก อย่างไรก็ตาม องจ. ที่ไม่เป็นทางการควรจะมีตัวชี้วัดการดำเนินงานเพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของกลุ่ม ข้อเสนอแนะของตัวชี้วัดที่ องจ. สามารถนำไปเป็นมาตรฐาน ได้แก่ อัตราส่วนหนี้ค้างชำระต่อสินเชื่อคงเหลือ ความถี่ของการตรวจสอบการดำเนินงาน คู่มือการอนุมัติสินเชื่อ เป็นต้น
แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของ องจ. ที่ไม่เป็นทางการ
- ให้รัฐบาลหรือหน่วยงานอิสระสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรกลางในลักษณะเชื่อมโยงเครือข่ายที่เชื่อถือได้ เพื่อระดมเงินฝากส่วนเกินจากบางกลุ่ม ไปสนับสนุนกลุ่มที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียน
- ให้รัฐบาลหรือหน่วยงานอิสระสนับสนุนค่าใช้จ่ายวิทยากรที่จะช่วยฝึกอบรมด้านบัญชี
โดยอาจจะเชิญกลุ่มที่ประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน
ข้อสรุป รูปแบบของ องจ. ที่ไม่เป็นทางการ มีลักษณะเฉพาะคือเกิดจากรวมตัวของคนในหมู่บ้านหรือชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่นั้น จุดประสงค์และกฏเกณฑ์ของการดำเนินงานจะเป็นไปตามความต้องการของสมาชิก ความสำเร็จส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการลดความเสี่ยงโดยการใช้ข้อมูลในท้องถิ่นและความเชื่อมั่นในตัวผู้นำกลุ่ม หน่วยงานของรัฐและ/หรือหน่วยงานอิสระจึงควรมีบทบาทด้านการส่งเสริมด้านวิชาการเพื่อให้กลุ่มมีความมั่นคง และช่วยเหลือด้านการตรวจสอบเพื่อให้การดำเนินงานมีความโปร่งใส
ข้อเสนอแนะโดยทั่วไปในด้านการกำกับดูแล องจ. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักในการรักษาความมั่นคง คุณภาพของสินทรัพย์ ความพึงพอใจของผู้ที่ใช้บริการ และความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควรจะเป็นไปตามมาตรการที่จะกำหนดให้ องจ. ดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ มาตรการประเมินความอยู่รอดของ องจ. และความพึงพอใจของผู้ที่มาใช้บริการ รวมถึงการจัดทำตัวชี้วัดการดำเนินงานของ องจ. ที่ชี้ให้เห็นถึงการสนับสนุนแผนการพัฒนาของประเ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
มาตรฐานคุณภาพ สหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอาจจะเพิ่มคุณภาพของ
สินทรัพย์ได้โดยการลดดอกเบี้ยเงินฝากให้อยู่ราคาตลาดเพื่อลดภาระและความเสี่ยงในการหารายได้สำหรับค่าใช้จ่ายที่เป็นดอกเบี้ย ในขณะเดียวกัน สหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรจะเพิ่มบทบาทด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับการสหกรณ์และพัฒนาบุคลากรเพื่อความยั่งยืนของสหกรณ์
แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของสหกรณ์การเกษตร
- แก้ไขกฏหมายให้สหกรณ์การเกษตรสามารถให้บริการสมาชิกนอกภาคการเกษตรได้ในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
- หามาตรการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
- แก้ไขกฏหมายให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสามารถให้บริการวิสาหกิจชุมชนได้หากมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
- ให้ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทยเพิ่มบทบาทในการเป็นแหล่งกู้ยืม (ไม่มีดอกเบี้ยหรือดอกเบี้ยต่ำ)ในกรณีที่สหกรณ์หรือกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนประสบปัญหา (lender of last resort)
ข้อสรุป รูปแบบของ องจ. ที่เป็นทางการแบบประชาชนเป็นเจ้าของ มีลักษณะเฉพาะคือเป็น องจ.ที่มีหน่วยงานของรัฐหลายแห่งทำหน้าที่ส่งเสริม ตรวจสอบ และกำหนดระเบียบปฏิบัติ ซึ่งจากการวิจัยพบว่าการปฏิบัติงานของหน่วยงานเหล่านี้ยังขาดความชัดเจนด้านการพัฒนา ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ควรเพิ่มบทบาทด้านการพัฒนา เช่น
การพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ และระบบบัญชีที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ และที่สำคัญคือ ควรมีการผลักดันให้สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในด้านการพัฒนาศักยภาพของฝ่ายจัดการและกรรมการดำเนินงานของสหกรณ์ รวมไปถึงการให้ความรู้ทางวิชาการกับสมาชิกเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแก่สหกรณ์
3) องจ. ที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มสัจจะ กลุ่มเครดิตยูเนี่ยน และธนาคารหมู่บ้าน รูปแบบของ องจ. ดังกล่าวมีข้อดี ได้แก่ การจัดตั้งมาจากการรวมกลุ่มโดยความสมัครใจของคนในชุมชนหรือหมู่บ้านเดียวกัน องจ. ช่วยส่งเสริมการออมของสมาชิกในชุมชน เป็นแหล่งสินเชื่อขนาดย่อมของสมาชิก และช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชนมีคุณธรรม องจ. ที่ไม่เป็นทางการมีข้อจำกัดบางประการ เช่น การขาดเครือข่ายที่จะเชื่อมโยงกลุ่มที่มีเงินทุนน้อยและกลุ่มที่มีเงินทุนมาก บางกลุ่มขาดแคลนผู้ที่จะสืบทอดการเป็นผู้นำและนักบัญชีของกลุ่ม
มาตรฐานทางการเงิน ปัจจุบัน องจ. ที่ไม่เป็นทางการ ยังไม่มีมาตรฐานทางการเงินที่ใช้อ้างอิงได้ แต่ละ องจ. จะมีวิธีจัดการหารายได้มาให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายซึ่งแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละพื้นที่ ดังนั้น มาตรฐานจึงสร้างจากความพึงพอใจของสมาชิก ข้อเสนอแนะสำหรับ องจ. ที่ไม่เป็นทางการ คือ การพิจารณาความแปรปรวนของเงินฝาก (ซึ่งอาจรวมถึงการชำระคืนเงินกู้) ของสมาชิก ทั้งนี้เพื่อเป็นการตรวจสอบความมั่นคงของแหล่งเงินทุน
มาตรฐานการดำเนินงาน โดยทั่วไป นโยบายการบริหารงานของ องจ. ที่ไม่เป็นทางการจะขึ้นอยู่กับมติของสมาชิก อย่างไรก็ตาม องจ. ที่ไม่เป็นทางการควรจะมีตัวชี้วัดการดำเนินงานเพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของกลุ่ม ข้อเสนอแนะของตัวชี้วัดที่ องจ. สามารถนำไปเป็นมาตรฐาน ได้แก่ อัตราส่วนหนี้ค้างชำระต่อสินเชื่อคงเหลือ ความถี่ของการตรวจสอบการดำเนินงาน คู่มือการอนุมัติสินเชื่อ เป็นต้น
แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของ องจ. ที่ไม่เป็นทางการ
- ให้รัฐบาลหรือหน่วยงานอิสระสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรกลางในลักษณะเชื่อมโยงเครือข่ายที่เชื่อถือได้ เพื่อระดมเงินฝากส่วนเกินจากบางกลุ่ม ไปสนับสนุนกลุ่มที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียน
- ให้รัฐบาลหรือหน่วยงานอิสระสนับสนุนค่าใช้จ่ายวิทยากรที่จะช่วยฝึกอบรมด้านบัญชี
โดยอาจจะเชิญกลุ่มที่ประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน
ข้อสรุป รูปแบบของ องจ. ที่ไม่เป็นทางการ มีลักษณะเฉพาะคือเกิดจากรวมตัวของคนในหมู่บ้านหรือชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่นั้น จุดประสงค์และกฏเกณฑ์ของการดำเนินงานจะเป็นไปตามความต้องการของสมาชิก ความสำเร็จส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการลดความเสี่ยงโดยการใช้ข้อมูลในท้องถิ่นและความเชื่อมั่นในตัวผู้นำกลุ่ม หน่วยงานของรัฐและ/หรือหน่วยงานอิสระจึงควรมีบทบาทด้านการส่งเสริมด้านวิชาการเพื่อให้กลุ่มมีความมั่นคง และช่วยเหลือด้านการตรวจสอบเพื่อให้การดำเนินงานมีความโปร่งใส
ข้อเสนอแนะโดยทั่วไปในด้านการกำกับดูแล องจ. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักในการรักษาความมั่นคง คุณภาพของสินทรัพย์ ความพึงพอใจของผู้ที่ใช้บริการ และความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควรจะเป็นไปตามมาตรการที่จะกำหนดให้ องจ. ดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ มาตรการประเมินความอยู่รอดของ องจ. และความพึงพอใจของผู้ที่มาใช้บริการ รวมถึงการจัดทำตัวชี้วัดการดำเนินงานของ องจ. ที่ชี้ให้เห็นถึงการสนับสนุนแผนการพัฒนาของประเ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-