- เศรษฐกิจญี่ปุ่น หดตัวรุนแรงที่สุดในกลุ่มประเทศ G7 โดยในไตรมาสแรกเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นหดตัวถึงร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ซึ่งเป็นการหดตัวที่รุนแรงมากขึ้นเมื่อเทียบกับการหดตัวร้อยละ 4.3 ในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน นอกจากนี้อัตราการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาสนั้นหดตัวร้อยละ 4.0 ยังเป็นการหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ 3.8 และนับเป็นก่อนหดตัวต่อเนื่องกัน 4 ไตรมาสเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2545 การหดตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีสาเหตุสำคัญมาจากการหดตัวของอุปสงค์ในตลาดโลก
และค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นซึ่งส่งผลให้การส่งออกหดตัวถึงร้อยละ 26.0 เมื่อเปรียบกับไตรมาสแรกของปี 2551 การหดตัวของภาคการส่งออกได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคการผลิตโดยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ย 3 เดือนแรกของปีหดตัวถึงร้อยละ 33.9 และในเดือนมีนาคม บริษัทเอกชนที่ล้มละลายมีจำ นวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 ภาวะการผลิตและการลงทุนภาคธุรกิจเอกชนที่หดตัวรุนแรงทำให้การว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง โดยอัตราการว่างงานเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปีเป็นร้อยละ 4.8 เมื่อประกอบกับความเชื่อมั่นของประชาชนที่ลดลงจึงทำ
ให้อุปสงค์ภายในประเทศยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีดัชนีการค้าปลีกหดตัวมากเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 5.7 ในเดือนกุมภาพันธ์
- เศรษฐกิจจีนขยายตัวต่ำสุดในรอบ 10 ปี ในไตรมาสแรกปี 2552 นี้เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) ซึ่งชะลอตัวต่อเนื่องจากร้อยละ 6.8 ในไตรมาสที่ 4 ในปีที่ผ่านมา และเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 10 ปี การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนเป็นผลมาจากการหดตัวของภาคการส่งออกซึ่งหดตัวร้อยละ 19.7 โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดสำคัญนั้นหดตัวร้อยละ 22.1 14.8 และ 16.1 ตามลำดับในขณะที่การนำเข้าในไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 30.7 อย่างไรก็ตามอุปสงค์ภายในประเทศซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 4 ล้านล้านหยวน (586 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) รวมทั้งการขยายสินเชื่อของธนาคารที่อยู่ในความดูแลของภาครัฐซึ่งส่งผลดีต่อภาคธุรกิจ โดยในไตรมาสแรกปริมาณสินเชื่ออยู่ที่ 34,955ล้านหยวน ขยายตัวถึงร้อยละ 27.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาตรการดังกล่าวช่วยบรรเทาผลกระทบจากการหดตัวในภาคการส่งออกและมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้ภาคเศรษฐกิจในประเทศขยายตัว โดยที่การลงทุนมีการขยายตัวร้อยละ 28.8 สูงสุดนับจากไตรมาส 2 ปี 2549 ในขณะที่ดัชนีค้าปลีกเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 ในขณะที่ดัชนี PMI เริ่มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องและเข้าสู่ระดับสูงกว่า 50 ในเดือนมีนาคม
- เศรษฐกิจอินเดีย ในไตรมาสแรกของปี 2552 คาดว่าเศรษฐกิจอินเดียจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 4.9 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 และเป็นการขยายตัวต่ำ สุดนับจากปี 2540 ทั้งนี้เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดลงของความต้องการในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ทั้งนี้การส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมหดตัวถึงร้อยละ 21.7 และ 33.0 ตามลำดับ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวรัฐบาลอินเดียได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ.นอกจากนี้ธนาคารกลางอินเดียยังได้ดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อน โดย Repo rate ลดลงจากร้อยละ 9.0 เหลือร้อยละ 4.75 และ Reverse Repo rate ลดลงจากร้อยละ 6.0 เหลือร้อยละ 3.25 รวมทั้งได้มีการปรับลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายของธนาคารลงจากร้อยละ 9.0 เหลือร้อยละ 5.0 อีกด้วยเพื่อสนับสนุนการขยายสินเชื่อและปริมาณเงินในระบบ
- เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่: ภาคการผลิตหดตัวรุนแรง เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่หดตัวอย่างมาก
เนื่องจากการหดตัวของภาคการส่งออก โดยในไตรมาสแรกเศรษฐกิจประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์หดตัวร้อยละ 4.3 10.2
7.8 และ 11.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการหดตัวที่รุนแรงมากขึ้น เมื่อเทียบกับการหดตัวร้อยละ 3.4 8.4 2.6 และ 4.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่
ผ่านมา ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่โดยภาพรวม ลดลงร้อยละ 21.2 (QoQ) และร้อยละ 27.5 (YoY)ซึ่งเป็นการลดลงที่รุนแรงมากขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 16.6 (QoQ) และร้อยละ11.61 (YoY) ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยที่ในไตรมาสแรกนี้มูลค่าการส่งออกของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป และจีน หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 26.9 24.8 30.0 และ 31.3 ตามลำดับ การหดตัวที่รุนแรงมากขึ้นของภาคการส่งออกทำให้การใช้กำลังการผลิตลดลงมากและนับได้ว่าภาคการผลิตเข้าสู่ภาวะวิกฤติซึ่งจะเห็นได้จากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศเกาหลีใต้และไต้หวันที่หดตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมกราคมโดยหดตัวร้อยละ 25.47 และ 43.31 ตามลำดับ เช่นเดียวกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคมของสิงคโปร์ซึ่งหดตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 33.8 นอกจากนี้แรงกดดันจากการหดตัวในภาคอุตสาหกรรมได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและอุปสงค์ในประเทศอย่างชัดเจน โดยที่ในเดือนมีนาคมอัตราการ
ว่างงานของประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ และฮ่องกง ปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 3.7 5.8 3.2 และร้อยละ 5.2 เทียบกับร้อยละ 3.3 8.3
2.5 และร้อยละ 4.6 ในเดือนมกราคมตามลำดับ ในขณะที่ดัชนีการค้าปลีกของไต้หวันและสิงคโปร์ เดือนมีนาคมหดตัวร้อยละ 4.5 และ 7.7
ปรับตัวลดลงจากการหดตัวร้อยละ 1.0 และการขยายตัวร้อยละ 7.4 ในเดือนมกราคมตามลำดับ นอกจากนั้นเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้
ยังได้รับผลกระทบจากการที่สินเชื่อหดตัว
- เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน ได้ผลกระทบรุนแรงจากการหดตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศหดตัวเช่นเดียวกับกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสแรกขยายตัวเพียงร้อยละ 3.1 (YoY) เทียบกับร้อยละ 5.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 7.5 ในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 4.4 เทียบกับร้อยละ 5.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 6.7 ในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาในขณะที่เศรษฐกิจมาเลเซียคาดว่าจะหดร้อยละ 4.0 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 7.1 ในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเศรษฐกิจฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับภาวะหดตัวทางเศรษฐกิจเป็นครั้งแรกนับจากปี 2541 การชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและการหดตัวทางเศรษฐกิจมีสาเหตุสำคัญมาจากการหดตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เป็นฐานสำคัญสำหรับการส่งออก ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมันโดยรวมของประเทศในกลุ่มอาเซียนน (มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม)
หดตัวถึงร้อยละ 24.9 ในไตรมาสแรกนี้ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศก็ได้ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามรัฐบาลของประเทศต่างๆ ก็ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งมาตรการด้านการคลังผ่านการใช้จ่ายภาครัฐ และมาตรการด้านการเงินเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
2.1 แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2552
เครื่องชี้เศรษฐกิจในหลายประเทศที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจสำคัญของโลกชี้ว่าเศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นและเริ่มมีสัญญาณของการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น และทำให้มีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าเศรษฐกิจจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดได้ภายในไตรมาสสองหรือสามและจะฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี และเฉลี่ยโดยรวมภาวะเศรษฐกิจโลกในครึ่งหลังจะปรับตัวดีขึ้นกว่าในครึ่งแรกของปี
ในช่วงปลายไตรมาสแรกและต้นไตรมาสสอง เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในประเทศสำคัญ ๆ หลายรายการแสดงถึงสัญญาณของการปรับตัวเข้าสู่ภาวะที่มีเสถียรภาพมากขึ้น (Stabilization process) และเครื่องชี้บางรายการนั้นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและจีนซึ่งเริ่มส่งสัญญาณของการหดตัวในอัตราที่ช้าลงโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาก การอัดฉีดสภาพคล่อง และการเพิ่มการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเทศยูโรและญี่ปุ่นนั้นยังไม่มีสัญญาณของการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นที่ชัดเจนนัก สถานการณ์แประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ มีดังนี้
- สหรัฐอเมริกา เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในไตรมาสแรกยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและดัชนีด้านการผลิตเริ่มปรับตัวดีขึ้นและส่งสัญญาณว่าจะผ่านพ้นจุดต่ำสุด โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มจากระดับต่ำสุดที่ 25.3 ในเดือนกุมภาพันธ์เป็น 39.2 ในเดือนเมษายน ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นนั้นเป็นดัชนีชี้นำการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนให้การดำเนินมาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้นมีประสิทธิผลมากขึ้นอย่างไรก็ตามการปรับตัวเข้าสู่ภาวะที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพนั้นนับว่ายังมีความเปราะบางและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะต้องใช้เวลา โดยที่จะยังมีความผันผวนในช่วงสั้น ๆ ได้ง่าย เช่น ตัวเลขการค้าปลีกในเดือนเมษายนยังลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.4 ในขณะที่ดัชนี ISM ภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มจากระดับ 36.3 ในเดือนมีนาคมเป็น 40.1 ในเดือนเมษายน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจจะยังคงหดตัวต่อไป เช่นเดียวกับดัชนี ISM ภาคบริการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 40.8 เป็น 43.8 ในช่วงเวลาเดียวกัน ตัวเลขการขาย
ในขณะที่การว่างงานยังคงเพิ่มขึ้นแต่อัตราการเพิ่มเริ่มชะลอลงในเดือนเมษายน นอกจากนั้น ผลของมาตรการปล่อยสินเชื่อทางตรงเพื่อเพิ่มปริมาณเงินของสหรัฐฯ (Quantitative easing)ยังทำให้สถานการณ์ในตลาดเงินและตลาดทุนปรับตัวดีขึ้นโดยลำดับ โดยธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งเริ่มที่จะระดมทุนโดยผ่านตลาดพันธบัตรได้มากขึ้น อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองแบบคงที่ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัว เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 25 ซึ่งเป็นผลมาจากกำไรในภาคการเงินที่ปรับตัวดีขึ้น ในขณะเดียวกันการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทำให้ความเสี่ยงของเศรษฐกิจสหรัฐที่จะเข้าสู่ภาวะเงินฝืดนั้นลดลง
- จีน ดัชนี PMI ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และปรับตัวขึ้นสูงกว่าระดับ 50 เป็นครั้งแรกในเดือนเมษายนซึ่งเป็นระดับที่
แสดงถึงสัญญาณการขยายตัวของเศรษฐกิจ ดัชนี PMI ปรับตัวดีขึ้นในทุกองค์ประกอบย่อย ทั้งในด้านผลผลิต คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ ปริมาณการซื้อสินค้า และการจ้างงานที่ปรับตัวเข้าสู่ระดับที่แสดงถึงการขยายตัวเป็นครั้งแรกนับจากเดือนกรกฎาคมในปีที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นยังปรับตัวลดลงแต่ในอัตราที่ช้าลงเฉลี่ยร้อยละ 0.49 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 เทียบกับการลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2.2 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาการลงทุนในโรงงานและอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 ในช่วง 3 เดือนแรกซึ่งแสดงถึงการเร่งตัวขึ้นของการลงทุนในช่วงเดือนเมษายน การปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นดังกล่าวมีปัจจัยสนับสนุนมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังและการขยายสินเชื่อของธนาคารที่อยู่ในความควบคุมดูแลของภาครัฐ
- กลุ่มประเทศยูโรโซน ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน จากระดับ 64.4 ในเดือนมีนาคม เป็นระดับ 67.2 ในเดือนเมษายน ดัช นี PMI ภาคอุตสาหกรรมและบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงที่สุดนับจากเดือน ธันวาคม 2544 จากระดับ 33.9 และ 40.9 ในเดือนมีนาคมเป็น 36.8 และ 43.8 ในเดือนเมษายน ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ ในเดือนเมษายน
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Refinance ลงอีกร้อยละ 0.25 และมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ภายใต้แนวโน้มดังกล่าวคาดว่าเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนจะเริ่มหดตัวช้าลงในช่วงที่เหลือของปี
- ญี่ปุ่น ดัชนี PMI เดือน เมษายน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 41.4 เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และเป็น
ระดับสูงสุดนับจากเดือนตุลาคม ปีก่อน ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม ขยายตัวร้อยละ 1.8 หลังจากหดตัวต่อเนื่องกันมา 5 เดือน มูลค่าการส่งออกปรับตัวดีขึ้นในเดือนมีนาคมแต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 35 สินค้าคงคลังหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยหดตัวร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้การออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 เพิ่มเติมมูลค่า 15.4 ล้านล้านเยน (153 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวกลับมาได้
- กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ การส่งออกสินค้าไปสหรัฐอเมริกาและจีน เดือนมีนาคมเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวร้อยละ 26.7 และ 16.3 ตามลำดับ
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในช่วงที่เหลือของปี 2552
คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2552 จะหดตัวประมาณร้อยละ 1.5 — 2.0 โดยที่เศรษฐกิจของประเทศหลักหดตัวรุนแรงในครึ่งแรกของปี ก่อนที่จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในครึ่งหลังของปีอันเป็นผลจากการดำเนินมาตรการการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ สัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของเครื่องชี้เศรษฐกิจในหลายประเทศได้มีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญจะปรับตัวผ่านช่วงต่ำสุดในช่วงไตรมาสสองหรือในไตรมาสสามเป็นอย่างช้าและเศรษฐกิจโลกจะเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นและมีการขยายตัวหลังจากนั้น แต่อย่างไรก็ตามยังมี ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้การฟื้นตัวอย่างชัดเจนในครึ่งหลังของปีของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมต้องล่าช้าออกไป ได้แก่ อัตราการว่างงานระดับสูงและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การลดระดับหนี้สินของภาคครัวเรือนและเอกชน (De-leveraging) การลดลงของความมั่งคั่ง และการหดตัวของการลงทุนภาคเอกชน ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจสำคัญนั้นคาดว่าสหรัฐอเมริกาและจีนคาดว่าจะเป็นประเทศในกลุ่มแรกที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ ในขณะที่การฟื้นตัวของญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักรจะมีความล่าช้า และในระดับภาพรวมของเศรษฐกิจโลกนั้นสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เริ่มปรากฏและพลวัตรต่อเนื่องของสัญญาณการฟื้นตัวดังกล่าวในช่วงที่เหลือของปียังคงมีความเปราะบางและขึ้นอยู่กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังในเศรษฐกิจหลัก ๆ เป็นสำคัญ ในขณะที่ในหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐฯ นั้นก็ยังต้องระมัดระวังปัญหาหนี้เสียในภาคการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยรวมทั้งการแก้ปัญหาสภาพคล่องภาคการเงินด้วยวิธีที่ผ่อนปรนมากเกินไป (adverse feedback loop) ดังนั้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยพร้อมเพียงและยั่งยืน (Synchronized and selfreinforcing recovery) จะมีความล่าช้าจนกว่าสถานการณ์ในตลาดที่อยู่อาศัย ความเชื่อมั่น การจ้างงาน ต้นทุนสินเชื่อ และผลการประกอบการภาคธุรกิจ จะปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและอัตราการออมปรับตัวเข้าสู่เสถียรภาพมากขึ้น แนวโน้มเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสำคัญ ๆ ในปี 2552 สรุปได้ดังนี้
%YOY 2551 2552 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 โลก 4.8 3.8 2.3 -0.2 -4.0f สหรัฐอเมริกา 2.5 2.1 0.8 -0.8 -2.6 กลุ่มยูโรโซน 2.1 1.4 0.6 -1.5 -4.6 อังกฤษ 2.3 1.6 0.0 -1.0 -4.1 ญี่ปุ่น 1.3 0.6 -0.1 -4.6 -9.7 จีน 10.6 10.1 9.0 6.8 6.1 อินเดีย 8.8 7.9 7.6 4.9 3.7f เกาหลีใต้ 5.5 4.3 3.1 -3.4 -4.3 ไต้หวัน 6.25 4.56 -1.0 -8.4 -10.2 ฮ่องกง 7.3 4.2 1.7 -2.5 -7.8 สิงคโปร์ 6.7 2.5 0.0 -4.2 -10.1 มาเลเซีย 7.1 6.3 4.7 0.1 -4.0f ฟิลิปปินส์ 4.7 4.4 5.0 4.5 -1.0f เวียดนาม 7.5 5.6 6.5 5.6 3.1
ที่มา:รวบรวมจากหลายแหล่ง และการประมาณการของ สศช.
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ
% YoY 2549 2550 2551 2552f 2553f โลก 5.3 5.2 2.8 (-2.0) - (-1.5) 3.0 สหรัฐอเมริกา 2.8 2.0 1.2 (-3.0) - (-2.5) 1.6 กลุ่มยูโรโซน 3.0 3.0 0.7 -4.2 0.2 อังกฤษ 2.8 3.1 0.7 -4.3 0.2 ญี่ปุ่น 2.1 2.4 -0.7 (-6.0) - (-5.0) 0.6 จีน 11.6 13.0 9.1 6.5 8.0 อินเดีย 9.7 9.3 7.3 4.8 6.5 เกาหลีใต้ 5.1 5.1 2.2 -3.5 3.6 ไต้หวัน 4.8 5.7 0.1 -7.7 3.1 ฮ่องกง 7.0 6.4 2.6 -5.0 3.0 สิงคโปร์ 8.4 7.7 1.1 -8.5 3.5 มาเลเซีย 5.8 6.3 4.6 -3.5 4.3 ฟิลิปปินส์ 5.4 7.2 4.6 0.0 4.2 เวียดนาม 7.9 8.2 6.3 3.5 5.6 อินโดนีเซีย 5.5 6.3 6.1 3.0 5.0
ที่มา CEIC และรวบรวมจากหลายที่
- เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมสำคัญคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.7 และ 0.8 ในปี 2550 และปี 2551 โดยในกรณีฐานคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะหดตัวต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ชะลอลงตามลำดับในไตรมาสที่ 2 (ร้อยละ -1.7)
และไตรมาสที่ 3 (ร้อยละ - 1.3) ก่อนที่จะขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสที่ 4 อย่างไรก็ตามภายใต้สัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้นของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ รวมทั้งสินค้าคงคลังที่ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วในขณะที่มีการขยายตัวของการบริโภคและการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี (ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีการเบิกจ่ายเพียงร้อยละ 8 ของงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งสิ้น 787 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) มีโอกาสที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐจะเริ่มเข้าสู่ภาวะทรงตัวมากขึ้นในไตรมาสที่ 3 ก่อนที่จะฟื้นตัวมากกว่ากรณีฐานในไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (i) มาตรการภาษีที่ดำเนินการอย่างทันต่อเวลาและมีประสิทธิผลซึ่งทำให้อำนาจซื้อที่แท้จริงเพิ่มขึ้นแม้ว่ารายได้ครัวเรือนจะลดลงในภาวการณ์ว่างงานเพิ่มขึ้น (ii) การขยายตัวของการใช้จ่ายภาครัฐ และ (ii) การลดลงของสินค้าคงคลังและการฟื้นตัวของการบริโภคช่วยลดแรงกดดันต่อภาคการผลิตและทำให้ภาคการผลิตกลับมาเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาสสุดท้ายจะยังคงมีความเปราะบางและขึ้นอยู่กับความทันต่อเวลาและขีดความสามารถของมาตรการแก้ไขปัญหาในภาคการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นหลัก ภายใต้แนวโน้มดังกล่าวคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐทั้งปีหดตัวประมาณร้อยละ 2.5 - 3.0
- กลุ่มประเทศยูโรโซน การหดตัวทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ยาวนานกว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากการหดตัวของภาคการส่งออก และ
สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นมากโดยยังไม่มีสัญญาณการปรับตัวลดลงที่ชัดเจนรวมทั้งการว่างงานที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและสูงถึงร้อยละ 8.9 ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตามปัญหาในภาคที่อยู่อาศัยในกลุ่มประเทศยูโรโซนมีความรุนแรงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรและภาคธุรกิจส่วนใหญ่ระดมทุนในตลาดการเงินมากกว่าตลาดตราสารหนี้ ดังนั้นภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว มาตรการแก้ไขปัญหาในภาคการเงินที่จะดำเนินการเพิ่มเติม และแนวโน้มเศรษฐกิจของตลาดส่งออกที่เริ่มมีสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น รวมทั้งการอ่อนตัวของค่าเงิน คาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวในอัตราที่ช้าลงในไตรมาสที่ 2 และ 3 ก่อนที่จะเริ่มขยายตัวเข้าสู่แดนบวกในไตรมาสที่ 4 ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจทั้งปีหดตัวร้อยละ 4.2
- สำหรับเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรทั้งปี 2552 คาดว่าจะหดตัวมากว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยูโรโซนเล็กน้อยโดยหดตัวประมาณร้อยละ 4.3 เนื่องจากปัญหาการว่างงานอยู่ในระดับสูงและยังคงมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ในขณะที่มีปัญหาภาระหนี้สินจำ นวนมากในภาคครัวเรือนและธุรกิจอย่างไรก็ตามการดำเนินมาตรการขยายสินเชื่อทางตรงในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ปัญหาการหดตัวของสินเชื่อเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นในขณะที่การอ่อนตัวของค่าเงินปอนด์จะช่วยสนับสนุนการส่งออกให้ปรับตัวดีขึ้น ดังนั้นจึงคาดว่าเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงปลายปี 2552
- เศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้นไม่ได้ประสบปัญหาในภาคการเงิน แต่อย่างไรก็ตามการส่งออกสุทธิได้หดตัวลงมากและส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจหดตัวรุนแรง (ประมาณ 5 ใน 6 ในการหดตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสแรกนั้นมาจากการลดลงของการส่งออกสุทธิ)และจากข้อเท็จจริงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเป็นผู้ส่งออกสินค้าสำคัญและเป็นผู้ส่งออกสินค้าราคาสูงแล้ว คาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นอย่างชัดเจนจะต้องขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างเป็นวงกว้างและชัดเจน ดังนั้นคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2552 จะหดตัวถึงร้อยละ 5.0-6.0
- ภูมิภาคเอเชียมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรง โดยเป็นผลมาจากการเศรษฐกิจประเทศจีนและอินเดียชะลอตัวมาก และเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในภาวะหดตัว ทั้งนี้คาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนและอินเดียจะชะลอจากร้อยละ 9.0 และร้อยละ 7.3 ในปีที่ผ่านมาเป็นร้อยละ 6.5 และร้อยละ 4.8 ใน
ในขณะที่เศรษฐกิจประเทศเกาหลีใต้นั้นนอกจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยที่ทำให้การส่งออกหดตัวแล้วยังได้รับผลกระทบจากภาวะสินเชื่อตึงตัว ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนและธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง โดยคาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะหดตัวร้อยละ 3.5 ในปี 2552 นี้ สำหรับเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0 อันเป็นผลมาจากการหดตัวของเศรษฐกิจไทยและมาเลเซียในขณะที่เศรษฐกิจ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีแนวโนเมขยายตัวร้อยละ 3.0 และร้อยละ 0 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาก
- กลุ่มละตินอเมริกาคาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวประมาณร้อยละ 1.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.2 ในปี 2551 เนื่องจากการ
ลงทุนทางตรงลดลง และสินเชื่อในตลาดการเงินลดลงมากรวมทั้งการลดลงของอุปสงค์ในอเมริกาเหนือซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญ โดยเศรษฐกิจประเทศบราซิล เม็กซิโก อาร์เจนตินา ชิลีบราซิล และโคลัมเบียจะอยู่ในภาวะหดตัว เช่นเดียวกับเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาใต้ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญจากการขยายตัวร้อยละ5.2 และร้อยละ 5.9 มาเป็นเพียงร้อยละ 2.0 และร้อยละ 2.5 ในปีนี้ ทั้งนี้โดยมีสาเหตุมาจากการลดลงของอุปสงค์และราคาของสินค้าขั้นปฐมในตลาดโลก นอกจากนั้น กลุ่มประเทศ CIS และยุโรปตะวันออกหลายประเทศคาดว่าจะประสบปัญหาการหดตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเนื่องจากปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงิน โดยเฉพาะรัสเซีย ฮังการีและประเทศอื่น ๆ ในแถบบอลติก