(ต่อ7)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 27, 2009 14:34 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2.2 แนวโน้มราคาน้ำมันปี 2552

  • คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบโดยเฉลี่ยในปี 2552 จะอยู่ที่ 50 - 60 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ต่ำกว่าราคาเฉลี่ย 93.65
ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในปี 2551 ทั้งนี้ราคาเฉลี่ยในช่วง 4 เดือนแรกของปีเท่ากับ 45.49 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล โดยราคาได้เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 44.27 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในไตรมาสแรกเป็น 49.71ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ในเดือนเมษายน และเฉลี่ยเท่ากับ 56.68 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในช่วงวันที่ 1— 21 พฤษภาคม โดยมีราคาสูงสุดเท่ากับ 59.32 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2552

สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี คาดว่าราคาน้ำ มันดิบจะมีแนวโน้มสูงกว่าในช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากเริ่มมีสัญญาณว่าเศรษฐกิจในบางประเทศจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดของวัฏจักรเศรษฐกิจได้ในช่วงไตรมาสสองนี้ เช่น จีน และสหรัฐอเมริการวมทั้งประเทศเศรษฐกิจสำคัญในเอเชีย ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น จากรายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552 อยู่ที่ระดับ 368.5 ล้านบาร์เรล ปรับ ลดลง 2.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ว่าจะปรับลดเพียง 2 แสนบาร์เรล ซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลง ส่วนปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังของสหรัฐฯ ปรับลดลง 4.3 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 204 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ว่าจะปรับลดเพียง 1.2 ล้านบาร์เรล เนื่องจากใกล้เข้าสู่วันหยุดของสหรัฐฯ ในช่วงวันที่ 23 - 25 พ.ค. ซึ่งเป็นการเริ่มฤดูกาลท่องเที่ยวซึ่งจะมีการเดินทางมากในสหรัฐฯ นอกจากนี้กลุ่มโอเปกมีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว ส่งผลให้กลุ่มโอเปกอาจจะตัดสินใจไม่ปรับลดการผลิตในการประชุมในวันที่ 28 พ.ค. นี้ เนื่องจากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้นอยู่ ณ ระดับที่เหมาะสมที่ 70 - 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลได้ในบางช่วงตามเป้าหมายของโอเปก

  • สถาบันต่าง ๆ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ WTI เฉลี่ยในปี 2552 จะยังอยู่ในระดับต่ำ โดยที่ราคาเฉลี่ยในครึ่งหลังของปีจะสูงกว่าในครึ่งแรก แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะยังเปราะบางทำให้แรงกดดันราคาน้ำมันไม่สูงมาก โดยภาพรวมหลายสถาบันคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ในช่วงระหว่าง 40 ถึง 60 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล
  • โดยเฉลี่ยราคาน้ำมันดิบในปี 2552 จะยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาในปี 2551 มาก แม้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่า

จะชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปีจะมีอิทธิพลกดดันให้ราคาน้ำมันในครึ่งหลังของปีสูงกว่าในครึ่งแรกของปีอย่างชัดเจนก็ตาม ทั้งนี้มีปัจจัยที่ทำให้คาดว่าราคาน้ำมันดิบในปี 2552 จะต่ำกว่าในปี 2551 มาก ดังนี้

ประมาณการราคาน้ำมันปี 2552

EIA (ณ พ.ค.52)                       WTI = 51.70 US$/Barrel
UBS Securities LLC   (ณ มี.ค.52)      WTI = 47 US$/Barrel
Barclays Capital(ณ มี.ค.52)           WTI, BRENT = 60 US$/Barrel
Merrill Lynch(ณ มี.ค.52)              Brent = 52 US$/Barrel ในปี 2552 and

62 US$/Barrel ในปี 2553

Citigroup Inc.(ณ มี.ค.52)             WTI = 48 US$/Barrel
  • ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันในปี 2552 ลดลงมากจากผลของภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย จากรายงานภาวะตลาด
น้ำมัน ประจำเดือนพฤษภาคมของ EIA คาดการณ์ว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำมันโดยรวมของโลกในปี 2552 จะอยู่ที่ 83.67 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลง 1.77 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของปี 2551 ที่อยู่ที่ระดับ 85.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ทั้งนี้คาดว่าในปี 2552 ความต้องการใช้ของกลุ่มประเทศOECD จะเท่ากับ 45.35 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับปริมาณการใช้ 47.33 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2551 ซึ่งเป็นผลจากความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงของประเทศญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียวถึง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดว่าความต้องการใช้ของประเทศนอกกลุ่ม OECD จะเพิ่มขึ้นจาก 38.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็น 38.32 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 0.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นของประเทศจีน อินเดียและตะวันออกกลาง

  • การบังคับใช้ Stop Excessive Energy Speculation Act of 2008 ของสหรัฐอเมริกา จะช่วยลดปริมาณการเก็งกำไรราคา

น้ำมัน นอกจากนี้การดำเนินงานของ The U.S. Commodity Futures Trading Commission (CFTC) จะช่วยปิดช่องโหว่ของกฎระเบียบการซื้อขายในตลาดล่วงหน้าเพื่อป้องกันการเก็งกำไรได้ในระดับหนึ่ง

  • ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มปรับตัวแข็งค่าขึ้นมีแนวโน้มว่าค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในปี 2552 จะแข็งค่าขึ้นกว่าในปี 2551 ซึ่งเป็นผลจากการที่นักลงทุนเริ่มเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากภูมิภาคอื่น เช่น ยุโรป และเอเชีย กลับไปยังสหรัฐอเมริกาในภาวะที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกอบกับปัญหาในภาคการเงินเริ่มคลี่คลายดีขึ้นจึงคาดว่าความต้องการเงินดอลลาร์ สรอ. จะเพิ่มขึ้น ซึ่งความต้องการถือเงินดอลลาร์ นั้นส่วนหนึ่งจะทำให้ความต้องการซื้อlong position ของน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ ลดลงได้

ประมาณการปริมาณการใช้น้ำมันของโลก

   (million barrelsper day)          Year                              2009_f
 Consumption               2007     2008   2009_f      1st      2nd      3rd      4th
 OECD                     49.13    47.33    45.35    46.19    44.25    44.92    46.05
   U.S. (50 States)       20.68    19.42    18.85    18.94    18.64    18.79    19.02
   U.S. Territories        0.32     0.27     0.25     0.23     0.25     0.25     0.25
   Canada                  2.36     2.32     2.21     2.25     2.13     2.23     2.23
   Europe                 15.30    15.20    14.65    14.70    14.28    14.72    14.90
   Japan                   5.01     4.74     4.20     4.74     3.84     3.90     4.32
   Other OECD              5.46     5.39     5.20     5.33     5.10     5.03     5.32
 Non-OECD                 36.67    38.11    38.32    36.89    38.43    38.97    38.97
   Former Soviet Union     4.28     4.34     4.19     4.12     4.17     4.20     4.27
   Europe                  0.79     0.80     0.80     0.77     0.77     0.83     0.81
   China                   7.58     7.95     8.05     7.53     8.09     8.27     8.32
   Other Asia              8.78     9.20     9.16     9.14     9.21     8.95     9.32
   Other Non-OECD         15.24    15.82    16.13    15.33    16.19    16.73    16.24
 Total World Consumption  85.80    85.44    83.67    83.07    82.68    83.89    85.02
ที่มา : Energy Information Administration (EIA)


(ยังมีต่อ).../2.3 แนวโน้มเศรษฐ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ