(ต่อ8)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 27, 2009 15:17 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2.3 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2552

2.3.1 ข้อสมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2552

  • เศรษฐกิจโลกในปี 2552 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ(-2) — (-1.5) จากการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในปี 2551 และเป็นการปรับลด
จากสมมุติฐานเดิมที่คาดว่าจะหดตัวในช่วงระหว่างร้อยละ (-0.5) — (0.5) เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศสำ คัญ ๆ เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป และ
กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่หดตัวรุนแรงกว่าที่ได้ประมาณการไว้เดิมรวมทั้งการปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ จีน อินเดีย อาเซียน
(5) และประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ทุกประเทศ การปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกดังกล่าวสะท้อนถึงผลกระทบของปัญหาวิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีต่อ
การค้าระหว่างประเทศ การผลิตภาคอุตสาหกรรม การว่างงาน และการเคลื่อนย้ายเงินทุนและสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกที่รุนแรงกว่าที่ได้คาด
การณ์ไว้
  • ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยจะเท่ากับ 50 - 60 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ปรับเพิ่มขึ้นจากสมมุติฐานเดิมบาร์เรลละ 45-55 ดอลลาร์
สรอ. และสูงกว่าราคาเฉลี่ย 44.47 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรลในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2552 การปรับสมมติฐานราคาน้ำมันสูงขึ้นในารประมาณการครั้ง
นี้เป็นการปรับตามแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันอันเนื่องมาจากการที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะทำให้ปริมาณความต้องการใช้
น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นจากต้นปี รวมทั้งอุปสงค์ที่เกิดจากการเก็งกำไรท่ามกลางแนวโน้มสัญญาณเศรษฐกิจโลกในทิศทางที่ดีขึ้น
  • ราคาสินค้าส่งออกในรูปของเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะลดลงร้อยละ 4.0 และราคาสินค้านำเข้าลดลงร้อยละ 8.0 ซึ่งราคานำเข้า

ที่ลดลงเร็วกว่าการลดลงของราคาส่งออกจะทำให้อัตราการค้า (Term of trade) ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้เป็นไปตามภาวะราคาน้ำมันนำเข้าที่

ลดลงเร็วกว่าราคาสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกของไทย

2.3.2 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2552: เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวระหว่างร้อยละ (-3.5) - (-2.5) และอัตราเงินเฟ้อเท่ากับ ร้อยละ(-0.5) - (0) และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงร้อยละ 3.7 ของ GDP

(1) การแถลงข่าววันที่ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ประมาณการ เศรษฐกิจปี 2552 หดตัวลงในช่วงร้อยละ(-1 )—(0) อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ (-0.5) - (0.5) และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.9 ของ GDP

(2) ในการแถลงข่าวครั้งวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ สศช. ได้ปรับลดการประมาณการเศรษฐกิจปี 2552 ลงเป็นร้อยละ (-3.5) — (- 2.5) ด้วยเหตุผล ดังนี้

(2.1) ปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มที่จะหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมร้อยละ 6.5 ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มหดตัว รุนแรงมากกว่าที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้ในการประมาณการเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552

(2.2) การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม เนื่องจากมีผลกระทบสืบเนื่องจากการหดตัวของภาค การส่งออกที่รุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับมีปัญหาการเมืองภายในประเทศที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก และความเชื่อมั่นของประชาชนและภาค ธุรกิจเอกชนยังต่ำดังจะเห็นว่าการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนมีการหดตัวที่ชัดเจนในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตามในการประมาณการครั้งนี้ ยังคาด ว่าการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีเช่นที่คาดไว้เดิม แต่การหดตัวมากในครึ่งแรกของปีมีผลทำให้ต้องปรับลดการ ประมาณการทั้งปีลง

(2.3) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้น้อยกว่าเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปีที่ใช้ประกอบการประมาณการใน ครั้งก่อน โดยคาดว่าทั้งปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 13.6 ล้านคน ทั้งนี้ในไตรมาสแรกมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 3.67 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกัน ร้อยละ 15.2 และสถานการณ์การท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 2 ยังได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ และอาจส่งผลกระทบสืบเนื่องไปในช่วงครึ่งหลังของปี ในขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจและการว่างงานของประเทศที่เป็นตลาดนักท่องเที่ยวที่สำ คัญของไทยจะ ยังเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยอยู่ รวมทั้งมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ปี 2009 ที่สร้างความวิตกกังวลให้กับนักท่องเที่ยวมากขึ้น

2.3.3 องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2552

(1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในปี 2551 โดยที่การใช้จ่ายครัวเรือนมี แนวโน้มชะลอตัวลงมากจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 0.4 และเป็นการปรับลดลงจากการคาดการณ์การขยายตัวร้อยละ 2.2 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา การปรับลดประมาณการการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนมีสาเหตุมาจากผลกระทบของการหดตัวของภาคการส่ง ออกและการผลิตต่อฐานรายได้และการใช้จ่ายของประชาชนซึ่งคาดว่ายังคงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามคาดว่าผลกระทบจะเริ่มลดความรุนแรงลงตามลำดับ ตามแนวโน้มการปรับตัวที่ดีขึ้นของภาคการผลิตและการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี รวมทั้งผลของการดำเนินมาตรการของภาครัฐซึ่งคาดว่าจะสามารถ ช่วยให้การใช้จ่ายภาคเอกชนเริ่มขยายตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี ทั้งนี้คาดว่าการใช้จ่ายของภาครัฐ (ราคาปีฐาน) จะขยายตัวร้อยละ 11.3 ซึ่งเป็น การปรับเพิ่มจากร้อยละ 8.3 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมาตามแนวโน้มการเบิกจ่ายที่ดำเนินการได้สูงในไตรมาสแรกของปีปฏิทิน 2552 และคาดว่า จะสามารถเร่งรัดการใช้จ่ายรัฐบาลได้ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี โดยเฉพาะการเบิกจ่ายตามมาตรการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 1 ซึ่งคาดว่า จะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่สองและสาม รวมทั้งการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2553 ซึ่งรวมถึงการดำ เนินการ ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ให้เริ่มมีเบิกจ่ายได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี

(2) การลงทุนรวมลดลงร้อยละ 6.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.1 ในปี 2551 และเป็นการปรับลดจากการหดตัวร้อยละ 0.4 ใน การประมาณการเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 โดยเป็นการปรับลดการลงทุนภาคเอกชนจากการหดตัวร้อยละ 3.0 ในการประมาณการครั้งที่ แล้ว เป็นการหดตัวร้อยละ 9.7 ซึ่งสะท้อนการหดตัวที่รุนแรงของการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสแรก และแนวโน้มการลงทุนในช่วงที่เหลือของปีซึ่งคาด ว่าจะยังอยู่ในภาวะหดตัวเนื่องจากระดับกำลังการผลิตส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูงแนวโน้มการฟื้นตัวของอุปสงค์ในตลาดโลกยังมีความ เปราะบางและการฟื้นตัวมีความเสี่ยงที่จะใช้ระยะเวลายาว ความเชื่อมั่นของธุรกิจและนักลงทุนที่ยังอยู่ในภาวะอ่อนตัว รวมทั้งการลดลงของการเคลื่อน ย้ายเงินลงทุนโดยตรงในตลาดโลก ในขณะที่การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 5.0 ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 8.0 ในการประมาณ การครั้งที่ผ่านมาเนื่องจากการลดลงของการลงทุนภาครัฐในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตามยังคงเป็นการปรับตัวที่ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับการหดตัวร้อยละ 4.8 ในปี 2551

(3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. หดตัวร้อยละ 15.0 ปรับลดการประมาณการลงจากการหดตัวร้อยละ 13.1 ในการ ประมาณการเดิม เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 16.8 ในปี 2551 โดยเป็นการปรับลดปริมาณการส่งออกจากการหดตัวร้อยละ 6.5 เป็นการหดตัวร้อย ละ 1.1 ในการประมาณการครั้งนี้ ซึ่งเป็นการปรับตามตามสถานการณ์ล่าสุดใน 4 เดือนแรกของปีและเป็นการปรับตามการปรับลดสมมุติฐานแนวโน้ม เศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะหดตัวระหว่างร้อยละ 1.5 ถึงร้อยละ 2.0 เทียบกับสมมติฐานการขยายตัวระหว่างร้อยละ (-0.5) — (0.5) ในการ ประมาณการครั้งที่ผ่านมานอกจากนี้ยังได้ปรับสมมติฐานด้านราคาส่งออกจากเดิมที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 6.6 เป็นการลดลงร้อยละ 4.0 ตามสัญญาณ การฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก

(4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าลดลงตามการหดตัวของการผลิตการส่งออก การลงทุน และการชะลอตัวของการใช้จ่ายรวมทั้งการลดลงของ ราคาสินค้านำเข้า โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้ามีมูลค่าลดลงร้อยละ 19.6 ซึ่งเป็นการปรับลดจากการหดตัวร้อยละ 14.0 ในการประมาณการครั้ง ที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากการผลิต การส่งออก การลงทุนมีแนวโน้มที่จะหดตัวรุนแรงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมนอกจากนั้นยังได้ปรับสมมติฐานด้านราคานำ เข้าจากที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 7.0 เป็นการลดลงร้อยละ 8.0 ในการประมาณการครั้งนี้

(5) ดุลการค้าเกินดุล 8.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเมื่อรวมกับดุลบริการที่คาดว่าจะเกินดุล จะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ประมาณ 9.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.หรือร้อยละ 3.7 ของ GDP ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์เดิมที่ว่าจะเกินดุลประมาณร้อยละ 0.9 ของ GDP

(6) อัตราเงินเฟ้ออยู่ระหว่างร้อยละ (-0.5) — (0.5) เท่ากับที่ได้คาดการณ์ไว้เดิม ทั้งนี้เนื่องจากจะยังมีผลของ“5 มาตรการ 6 เดือน” จนถึงเดือนกรกฎาคม 2552 นี้ นอกจากนี้แม้ว่าราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่เหลือของปี แต่ภาวะตลาดแรงงานและและอุป สงค์ในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะอ่อนตัวจะช่วยชะลอการปรับเพิ่มราคาสินค้าและบริการในช่วงที่เหลือของปี

(7) คาดว่าการว่างงานอยู่ระหว่างร้อยละ 2.0-2.5 ปรับลดลงจากการประมาณการครั้งที่แล้ว เนื่องจากมีสัญญาณว่าการปลดคนงานนั้น ได้ผ่านพ้นช่วงต่ำสุดไปแล้วในไตรมาสแรก โดยผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสแรกอยู่ที่ 7.8 แสนคน ทั้งนี้ล่าสุดในเดือนเมษายนและช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้เริ่มกลับมาจ้างคนงานเพิ่ม

2.3.4 แนวโน้มการผลิตในปี 2552 โดยภาพรวมมีแนวโน้มหดตัวจากปี 2551 สถานการณ์การผลิตรายสาขามีแนวโน้มดังนี้

(1) สาขาเกษตรกรรม

ในปี 2552 คาดว่าผลผลิตสินค้าเกษตรจะมีแนวโน้มชะลอลงจากปี 2551 ปัจจัยที่ส่งผลทำให้ภาคเกษตรกรรมชะลอตัว คือการที่ภาวะ เศรษฐกิจโลกหดตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้อุปสงค์ของสินค้าเกษตรในตลาดโลกชะลอลง ในขณะเดียวกันราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นมากในปีที่แล้วทำให้ ประเทศผู้นำเข้าส่วนใหญ่ได้เพิ่มปริมาณผลผลิตเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ ประกอบกับการแข่งขันในตลาดโลกมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นทำ ให้ประเทศผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองด้านราคามากกว่าประเทศผู้ขายซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง การที่ผล ผลิตและราคาสินค้าเกษตรชะลอตัวจะส่งผลทำรายได้เกษตรกรในปี 2552 ชะลอตัวลงกว่าในปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามในปี 2552 มีปัจจัยบวกต่อภาค เกษตรคือการดำเนินมาตรการของภาครัฐอย่างต่อเนื่องที่จะช่วยสนับสนุนการผลิตภาคเกษตร เช่น มาตรการจำนำสินค้าเกษตร และการส่งเสริมพัฒนา สินค้าเกษตรแปรรูปที่มีคุณภาพและปรับเปลี่ยนรูปแบบให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ แนวโน้มการผลิตสาขา เกษตรกรรมที่สำคัญ ได้แก่

  • ข้าว คาดว่าผลผลิตข้าวนาปี และนาปรัง ในปี 2552 จะลดลงจากปี 2551 ทั้งพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตรวม เป็นผลมาจากเกษตรกร
บางส่วนได้ปรับเปลี่ยนที่นาไปปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน ประกอบกับมีการลดเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปรังรอบ 2 ในภาคเหนือและภาคกลางส่วนในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือลดเนื้อที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ที่ปริมาณน้ำตามธรรมชาติไม่เอื้ออำนวยรวมทั้งภาครัฐมีนโยบายไม่สนับสนุนให้ปลูกข้าวนาปรัง
รอบ 2 สำหรับระดับราคาข้าวในปี 2552 คาดว่ามีแนวโน้มลดลงจากปี 2551 ซึ่งในปี 2551 นั้นระดับราคาสูงขึ้นมากเนื่องจากประเทศผู้ส่งออกสำคัญ
เช่น อินเดีย และเวียตนามต้องลดการส่งออกในภาวะที่ปริมาณการผลิตลดลงและป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติการณ์ด้านอาหาร ในขณะที่จีนมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
มาก อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ส่งผลทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกในปี 2552 นี้จะไม่ลดลงมากเนื่องจากผลผลิตของจีนและเวียดนามลดลง จากการที่จีน
ประสบปัญหาฝนแล้งและเวียดนามเกิดปัญหาแมลงศัตรูพืช ส่งผลทำให้จีนมีความต้องการนำเข้าเพิ่มขึ้น ส่วนเวียดนามอาจจะส่งออกข้าวลดลงจากที่คาด
การณ์ไว้ ประกอบกับรัฐบาลยังมีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกเพื่อพยุงราคาข้าวอย่างต่อเนื่อง
  • ยางพารา ในปี 2552 คาดว่าปริมาณผลผลิตรวมทั้งประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งจากการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกและผล
ผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากในระยะที่ผ่านมาภาครัฐได้มีมาตรการเร่งรัดตัดโค่นต้นยางแก่เพื่อปลูกทดแทนด้วยยางพันธ์ดีส่วนสถานการณ์ทางด้านการตลาด
และราคา ในปี 2552 คาดว่าอุปสงค์ของตลาดโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น จะลดลงซึ่งเป็นความต้องการที่ลดลงใน
ภาวะที่เครดิตตึงตัวและการจับจ่ายใช้สอยและการลงทุนลดลง ส่วนอุปสงค์ภายในประเทศคาดว่าจะลดลงจากปีที่ผ่านมาเนื่องจากอุตสาหกรรมผ ลิตภัณฑ์
ยางและอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศหดตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว ในขณะที่ระดับราคายางพาราโดยเฉลี่ยจะต่ำกว่าปี 2551 ตามแนวโน้มการลด
ลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ประกอบกับเป็นการปรับฐานราคาลงมาสู่ภาวะปกติ จากที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าแนวโน้มปกติใน ปี 2551 โดยคาดว่าระดับราคา
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ที่เกษตรกรขายได้ประมาณ50-60 บาทต่อกิโลกรัม
  • มันสำปะหลัง คาดว่าในปี 2552 พื้นที่เก็บเกี่ยวและปริมาณผลผลิตรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากราคาที่ปรับตัวสูงในช่วงที่ผ่านมา
ทำ ให้มีแรงจูงใจในการขยายพื้นที่เพาะปลูก ส่วนการส่งออกคาดว่าในปี 2552 จะมีปริมาณการส่งออกประมาณ5.2-5.4 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่าน
มา การที่ราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีแนวโน้มที่ลดลง ประกอบกับจีนซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของไทยทั้งมันเส้นและแป้งมัน ได้ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่ม
ตลาดโดยการเก็บภาษีร้อยละ 35 กับแป้งมันฝรั่งจากสหภาพยุโรปเป็นเวลา 5 ปี ส่งผลทำ ให้แป้งมันไทยสามารถแข่งขันได้ ส่วนอุปสงค์ภายในประเทศ
คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้นและอุปสงค์ในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล
  • สาขาปศุสัตว์ ภาวการณ์ผลิตสาขาปศุสัตว์ปี 2552 มีแนวโน้มทรงตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของความต้องการในตลาดโลก
จึงส่งให้ความต้องการสินค้าอาหารชะลอลง และจะทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ของไทยชะลอตัวด้วยอย่างไรก็ตามผู้ผลิตสินค้าปศุสัตว์แปรรูปเพื่อการ
ส่งออกจะต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานการผลิตและการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ภาครัฐควรดำ เนิน
มาตรการลดต้นทุนการผลิต โดยการจัดหาแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ การจัดหาวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ราคาถูก รวมทั้งการหาตลาดส่งออกใหม่ๆ โดย
เฉพาะประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในกลุ่มตะวันออกกลางที่มีกำลังซื้อสูงต่อไป
  • สาขาประมง คาดว่าผลผลิตสัตว์น้ำจืดมีทิศทางลดลง เป็นผลกระทบจากการทำเขตการค้าเสรีไทย - จีน และเขตการค้าเสรีอาเซียน
ทำให้ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจืดที่มีต้นทุนการผลิตต่ำทะลักเข้าไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงส่วนใหญ่ ส่วนผลิตภัณฑ์กุ้ง คาดว่าใน
ปี 2552 ปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา เนื่องจากกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ลดลงรวมทั้งการใช้มาตรการกีดกันทาง
การค้าต่างๆ ประกอบกับการแข่งขันในตลาดโลกมีแนวโน้มรุนแรงทั้งในตลาดเดิม คือ สหรัฐ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เนื่องจากขนาดตลาดเล็กลง ส่วน
การขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ก็มีแนวโน้มการแข่งขันสูงส่งผลทำให้ผู้ประกอบการลดปริมาณการผลิตกุ้งลงเพื่อป้องกันภาวะกุ้งล้นตลาด และพยุงราคากุ้งในประเทศไม่ให้ตกต่ำมาก

(2) ภาคอุตสาหกรรม ในปี 2552 คาดว่าจะหดตัวจากปี 2551 ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของปีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงตามภาวการณ์หด ตัวของการส่งออกและใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศรวมทั้งเป็นการปรับลดจากฐานการผลิตที่สูงมากในช่วงเดียวกันของปีก่อน (high base effect) แต่คาดว่าสถานการณ์การผลิตจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ตามภาวการณ์ใช้จ่ายของภาครัฐ และการดำ เนินมาตรการของรัฐบาล ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การที่ประเทศต่าง ๆ ได้ใช้มาตรการทางการคลังในการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั่ว โลก คาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลทำให้การส่งออกไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 คาดว่าในครึ่งหลังของปี 2552 ภาค การผลิตที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากเริ่มมีคำ สั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น โดย เฉพาะโรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์บางแห่งเริ่มมีการรับสมัครแรงงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องนุ่งห่ม ส่วนอุตสาหกรรมอาหาร โดย เฉพาะไก่แช่แข็งและไก่แปรรูป ที่ได้รับประโยชน์จากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) และอุตสาหกรรมอาหา รกระป๋องที่อุปสงค์จากต่าง ประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมเหล็กโดยรวมมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มลดลง ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ของ เหล็กเพื่อการผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่องและสำหรับงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบกับยังมีสต็อกเหล็กจากที่นำเข้าเพิ่มขึ้นมากในปีที่ แล้วอย่างไรก็ตามโดยรวมของภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 มีสัญญาณการผลิตที่ดีขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเริ่มปรับตัว ดีขึ้นทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามาในไตรมาสที่ 3 และ 4 รวมทั้งปริมาณสินค้าคงคลังในหลายอุตสาหกรรมอยู่ในระดับต่ำทำให้เริ่มมีการผลิตเพื่อบริหารระดับ สินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

(3) สาขาการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าในปี 2552 จะหดตัวจากปี 2551 ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากภาวการณ์หดตัวของ เศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบทั้งในด้านกำลังซื้อ ความเชื่อมั่น และการระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน นอกจากนี้อุปทานของบ้านใหม่คงเหลือในปี 2551 ที่ยังมีอยู่ในตลาด ยังเป็นภาระของผู้ประกอบการที่จำเป็นจะต้องหาวิธีระบายต่อไป การผลิตใน สาขานี้เริ่มมีสัญญาณบวกบ้าง โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านต้นทุนการผลิตจากราคาวัสดุก่อสร้างที่ลดลง การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อของเอกชน การขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล (Mega project) แต่ปัญหาที่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคยังต้องเผชิญ คือการเข็มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบการระดับกลางและระดับย่อย รวมทั้งกำลังซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค ส่วนระดับราคาในปี 2552 คาดว่ามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากต้นทุนที่ถูกลงทั้งราคาวัสดุก่อสร้างและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการขายในช่วงที่ความต้องการที่อยู่อาศัยชะลอตัวลง มาก จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย(Housing Development Sentiment Index: HDSI) ของศูนย์ข้อมูล อสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Information Center) พบว่าดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 50.4 ปรับตัวดีขึ้นจาก 40.2 ในไตรมาสที่ 4/2551 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยมีความเชื่อว่าสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองในครึ่งปีหลัง จะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อภาคการผลิตในสาขานี้ด้วย

(4) สาขาบริการท่องเที่ยว คาดว่าการท่องเที่ยวในปี 2552 ยังซบเซาต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการหดตัวของเศรษฐกิจ โลก รวมถึงความไม่แน่นอนของการเมืองภายในประเทศที่นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งมีความกังวลเรื่องความไม่สงบ ทำ ให้คาดการณ์ว่าในปี 2552 จะมี นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเมืองไทยประมาณ 13.6 ล้านคน หรือลดลงร้อยละ 4.8 จากปีที่ผ่านมา และต่ำกว่าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทยได้ตั้งเป้าหมายว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2552 จำนวน 14.0 ล้านคน แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในช่วง 4 เดือนชี้ว่าภาวะการ ท่องเที่ยวฟื้นตัวเร็วกว่าที่มีความกังวลกันในช่วงของการปิดสนามบินในปลายปีที่แล้ว สำหรับการผลักดันให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติบรรลุเป้าหมายได้ นั้นนั้นมีเงื่อนไขหลายประการ ได้แก่ ความร่วมมืออย่างเข้มแข็งจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาล เพื่อนำไป ส่งเสริมมาตรการด้านการตลาด เร่งแก้ไขภาพลักษณ์และสร้างแรงจูงใจในกลุ่มลูกค้าทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ เช่น การลดค่าใช้จ่ายอำนวย ความสะดวกด้านการบินในช่วงไตรมาสแรก ยกเว้นค่าธรรมเนียมตรวจลงตรา การกำหนดนโยบายให้หน่วยราชการจัดประชุมสัมมนานอกพื้นที่เป็นการ สนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่อง โดยการลดภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบการในภาค อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปี 2552 นอกจากนั้นการมีแผนกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ อย่างกรณีส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยว อย่างรู้คุณค่า ภายใต้สโลแกนเที่ยวไทย ช่วยชาติ เพื่อทดแทนการหดตัวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ รวมทั้งการสร้างความเชื่อมั่นด้านความ ปลอดภัยให้แก่ชาวต่างชาติ และการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองให้เข็มแข็งขึ้น เมื่อผนวกกับเสน่ห์ของแหล่งท่องเที่ยวในเมืองไทยที่ยังสามารถดึงดูด นักท่องเที่ยวต่างชาติให้เลือกที่จะตัดสินใจเดินทางเข้ามาในเมืองไทยแล้วปัจจัยบวกเหล่านี้อาจจะส่งผลทำ ให้สถานการณ์การท่องเที่ยวไทยปรับตัวดีขึ้น ในครึ่งหลังของปี

ดัชนีความคาดหวังใน 6 เดือนข้างหน้าของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย
                                             2551               2552
                                  Q1      Q2      Q3      Q4      Q1
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์        72.6    60.7    63.1    42.8   57.7
บริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์   64.0    51.0    53.8    37.6   43.1
ดัชนีความคาดหวัง                    68.3    55.9    58.4    40.2   50.4

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

2.3.5 การประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงและกรณีต่ำ

(1) กรณีสูง เศรษฐกิจไทยหดตัวน้อยกว่าร้อยละ 2.5 ภายใต้เงื่อนไข (i) สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ที่ปรากฏ ในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 เป็นไปอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่การการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศสำคัญ ๆ ในลักษณะที่เป็นวงกว้างมาก และชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกโดยภาพรวมในปี 2552 ไม่หดตัวรุนแรงเกินกว่าร้อยละ 1.5 และส่งผลให้การส่งออก ของและภาคการผลิตของไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 (ii) การดำเนินการตามมาตรการภายโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2552 ระยะที่ 1 เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งในด้านการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มเติม การรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจาก การหดตัวของภาคการผลิตที่มีต่อฐานรายได้ของประชาชนและสามารถป้องกันมิให้การใช้จ่ายภาคเอกชนเข้าสู่ภาวะหดตัว รวมทั้งการดำเนินการตาม มาตรการด้านภาษีเพื่อลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการและภาคธุรกิจ (iii) การเบิกจ่ายภาครัฐเฉลี่ยรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 94 ของวงเงินงบประมาณ รัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ (iv) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีไม่เกินบาร์เรลละ 60 ดอลลาร์ สรอ.

(2) กรณีต่ำ เศรษฐกิจหดตัวมากกว่าร้อยละ 3.5 ในกรณีที่ (i) เศรษฐกิจโลกหดตัวมากกว่าร้อยละ 1.5 โดยสัญญาณการฟื้นตัวทาง เศรษฐกิจที่ปรากฏในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 ไม่มีความต่อเนื่องและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศหลัก ๆ เป็นไปอย่างล่าช้าออกไปซึ่งจะทำให้การ ส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยหดตัวมากกว่าที่คาดไว้ (ii) การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าร้อยละ 94 (iii) การ ดำเนินการตามมาตรการภายโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2552 ระยะที่1 ไม่สามารถประคับประคองให้การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัว (iv) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีสูงกว้า 60 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล

3. แนวทางการบริหารจัดการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2552

ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกที่ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ ในครึ่งหลังของปีนี้และมีความเปราะบาง โดย ที่ภาพรวมทั้งปีนั้นเศรษฐกิจโลกหดตัวและเป็นการหดตัวที่รุนแรงมากกว่าที่คาดไว้ในช่วงต้นปีที่การค้าโลกลดลงอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบต่อการส่ง ออกของหลายประเทศ รวมทั้งส่งผลต่อประเทศไทยมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วและรุนแรงมากขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องเร่งรัดและ ดูแลให้การดำเนินมาตรการรัฐบาลเพื่อบรรเทาผลกระทบและการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนี้

(1) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2552 และงบประมาณเพิ่มเติมกลางปีจำนวน 116,700 ล้านบาท รวมทั้งการเร่งดำเนินการจัด สรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2553 และมีการเตรียมความพร้อมของโครงการที่จะทำให้สามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้ทันทีในไตรมาสแรก ของปีงบประมาณ (ตุลาคมถึงธันวาคม 2552) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการดำเนินการโครงการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐทั้งที่อยู่ภายใต้กรอบงบประมาณ กรอบงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ และโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะที่ 2 ให้มีความคืบหน้าอย่างจริงจัง

(2) เร่งรัดการดำเนินงานตามมาตรการดูแลแรงงานผู้ถูกเลิกจ้างงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลทั้งในเรื่องการดูแลให้มี สวัสดิการรองรับที่เหมาะสมและได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะและมีทักษะที่เพิ่มโอกาสในการหางานใหม่

(3) ดูแลและปรับปรุงกลไกการช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งด้านการแทรกแซงราคาและการพัฒนาภาคเกษตรอย่างครบวงจรให้สามารถ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้

(4) ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย และสนับสนุนให้ภาคธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินอย่างเพียงพอ รวมทั้งการดูแลเรื่องการประกัน สินเชื่อและการสนับสนุนสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ

(ยังมีต่อ).../ประมาณการเศรษฐกิจ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ