-สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากการสำรองเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดในช่วงวันหยุดยาว แต่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน 7 วัน และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรสหรัฐฯ มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น
-เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากความต้องการขายเงินบาทเพื่อทำกำไร และแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ก่อนการประชุม FOMC ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก แม้ว่า FOMC จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate มาอยู่ที่ร้อยละ 5 ต่อปี เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้อยู่ในระดับสูงสุดแล้ว
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ โดยสถาบันการเงินส่วนใหญ่ทยอยนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้น ก่อนที่ความต้องการลงทุนจะลดลงเล็กน้อยในวันอังคาร เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งขาดดุลเคลียริ่งจากการจ่ายเงินปันผลของบริษัท
แห่งหนึ่ง สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อย โดยธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของ
ลูกค้าในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง จึงมีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.625 4.6875 และ 4.75 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.78125 ต่อปี ในวันจันทร์และวันอังคาร สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วง
เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.5 - 4.8 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.66 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.65 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 33,500 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 10,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี และ 7 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 6,500 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทุกรุ่นปรับตัวลดลง โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลงมาก ตามความต้องการที่มีอยู่สูง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 29,470 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 4,030 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 105,201 ล้านบาท คิดเป็น 26,300 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.6 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 51 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวลดลงในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์จากการปรับลดของอัตราผลตอบแทนในตลาดแรก และถึงแม้ Fed จะประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ยังไม่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ ไทยในสัปดาห์นี้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 0-7 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 8 และ 9 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate และยังคงปรับขึ้นต่อเนื่องหลังจากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นตามที่คาดการณ์ และปรับขึ้นอย่างรุนแรงในวันศุกร์จากการประกาศตัวเลขราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 0-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน เม.ย. 49 37.94
เฉลี่ย 2 - 4 พ.ค. 49 37.60
8 พ.ค. 49 37.51
9 พ.ค. 49 37.62
10 พ.ค. 49 37.58
11 พ.ค. 49 37.74
เฉลี่ย 8 - 10 พ.ค. 49 37.61
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงหลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด สำหรับช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัย
กดดันจากความต้องการขายเงินบาทเพื่อทำกำไรหลังจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับนักลงทุนบางส่วนมีความต้องการซื้อเงิน
ดอลลาร์ สรอ. เพื่อเก็งกำไรก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันพุธที่ 10 พ.ค. ซึ่งตลาดคาดว่า
FOMC จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 นอกจากนี้ ความกังวลของนักลงทุนว่า ธปท. มีการเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป ยังคงเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก แม้ว่า FOMC จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 5 ต่อปี ตามการคาดการณ์ของตลาด โดยเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากแถลงการณ์ภายหลังการประชุม FOMC ที่กล่าวเป็นนัยว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ในขณะนี้อยู่ในระดับสูงสุดแล้ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) โดยรวมของพันธบัตรฯ ไทยปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรสหรัฐฯ มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น
-เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากความต้องการขายเงินบาทเพื่อทำกำไร และแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ก่อนการประชุม FOMC ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก แม้ว่า FOMC จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate มาอยู่ที่ร้อยละ 5 ต่อปี เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้อยู่ในระดับสูงสุดแล้ว
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ โดยสถาบันการเงินส่วนใหญ่ทยอยนำสภาพคล่องเข้ามาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้น ก่อนที่ความต้องการลงทุนจะลดลงเล็กน้อยในวันอังคาร เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งขาดดุลเคลียริ่งจากการจ่ายเงินปันผลของบริษัท
แห่งหนึ่ง สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อย โดยธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของ
ลูกค้าในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง จึงมีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.625 4.6875 และ 4.75 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.78125 ต่อปี ในวันจันทร์และวันอังคาร สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วง
เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 4.5 - 4.8 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.66 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.65 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 33,500 ล้านบาท ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 10,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี และ 7 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 6,500 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนตราสารทุกรุ่นปรับตัวลดลง โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลงมาก ตามความต้องการที่มีอยู่สูง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 29,470 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 4,030 ล้านบาท ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 105,201 ล้านบาท คิดเป็น 26,300 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.6 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 51 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุดได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวลดลงในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์จากการปรับลดของอัตราผลตอบแทนในตลาดแรก และถึงแม้ Fed จะประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ยังไม่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ ไทยในสัปดาห์นี้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 0-7 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 8 และ 9 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate และยังคงปรับขึ้นต่อเนื่องหลังจากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นตามที่คาดการณ์ และปรับขึ้นอย่างรุนแรงในวันศุกร์จากการประกาศตัวเลขราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 0-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน เม.ย. 49 37.94
เฉลี่ย 2 - 4 พ.ค. 49 37.60
8 พ.ค. 49 37.51
9 พ.ค. 49 37.62
10 พ.ค. 49 37.58
11 พ.ค. 49 37.74
เฉลี่ย 8 - 10 พ.ค. 49 37.61
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ปรับแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงหลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด สำหรับช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัย
กดดันจากความต้องการขายเงินบาทเพื่อทำกำไรหลังจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับนักลงทุนบางส่วนมีความต้องการซื้อเงิน
ดอลลาร์ สรอ. เพื่อเก็งกำไรก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันพุธที่ 10 พ.ค. ซึ่งตลาดคาดว่า
FOMC จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 นอกจากนี้ ความกังวลของนักลงทุนว่า ธปท. มีการเข้าแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป ยังคงเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก แม้ว่า FOMC จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 5 ต่อปี ตามการคาดการณ์ของตลาด โดยเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากแถลงการณ์ภายหลังการประชุม FOMC ที่กล่าวเป็นนัยว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ในขณะนี้อยู่ในระดับสูงสุดแล้ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-