3. การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ WEF (World Economic Forum)
3.1 การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ WEF ประจำปี 2549
1) ภาพรวม: WEF ได้จัดทำรายงาน Global Competitiveness Report ปี 2549 - 2550 โดยมีประเทศเข้าร่วมการจัดอันดับรวม 125 ประเทศ ทั้งนี้ การจัดทำรายงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจากผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจถึงผลที่เกิดจากการค้าระหว่างประเทศ และผลประโยชน์จากการจัดสรรทรัพยากรระว่างประเทศ (resource allocation) ทั้งในรูปแบบของนโยบาย และสถาบันต่างๆ ของประเทศนั้นๆ ได้มากยิ่งขึ้น
2) เกณฑ์การจัดอันดับ: ในการจัดทำดัชนีมีเกณฑ์การวัด 3 ด้านหลัก ดังนี้
(1) กลุ่มดัชนีขั้นพื้นฐาน (the basic requirements) ประกอบด้วยกลุ่มดัชนีย่อย ซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ได้แก่ 1) สถาบัน (Institutions) 2) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructures) 3) เศรษฐกิจมหภาค (Macro economy) และ 4) สุขภาพและการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Health and primary education)
(2) กลุ่มดัชนีการเพิ่มประสิทธิภาพ (the efficiency enhance) ประกอบด้วยกลุ่มดัชนีย่อย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพของประเทศนั้นๆ ได้แก่ 1) การอบรมและการศึกษาขั้นสูง (Higher education and training) 2) ประสิทธิภาพของตลาด (Market efficiency) และ 3) ความพร้อมด้านเทคโนโลยี (Technological readiness)
(3) กลุ่มดัชนีนวัตกรรม และปัจจัยที่มีความซับซ้อน (the innovation and Sophistication factors) ประกอบด้วยกลุ่มดัชนีย่อย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านนวัตกรรมของประเทศนั้นๆ ได้แก่ 1) ความซับซ้อนทางธุรกิจ (Business Sophistication) และ 2) นวัตกรรม (Innovation)
Composition of the three sub-indexes.
Basic requirements
๏ Institutions > Factor-driven Economies
๏ Infrastructures > Factor-driven Economies
๏ Macro economy > Factor-driven Economies
๏ Health and primary education > Factor-driven Economies
Efficiency enhance
๏ Higher education and training > Efficiency -driven Economies
๏ Market efficiency > Efficiency -driven Economies
๏ Technological readiness > Efficiency -driven Economies
Innovation and Sophistication factors
๏ Business Sophistication > Innovation - driven Economies
๏ Innovation > Innovation - driven Economies
3) ผล 3 อันดับแรก: ในปี 2549 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศฟินแลนด์ และสวีเดน ตามลำดับ ส่วนสหรัฐอเมริกา ตกจากอันดับที่ 1 ในปี 2548 มาเป็นอันดับที่ 6
3.2 การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในปี 2549 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 35 ซึ่งต่ำกว่าปี 2548 ที่ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 33 โดยในปี 2549 ดัชนีที่ใช้วัดขีดความสามารถในการแข่งขัน (Growth Competitiveness Index: GCI)(ง) ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 3 ด้าน คือ
1) ดัชนีขั้นพื้นฐาน (the basic requirements) เพื่อพิจารณาขีดความสามารถในการแข่งขันที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Factor-driven) ของแต่ละประเทศ โดยประเทศไทยในกลุ่มดัชนีนี้จะอยู่อันดับที่ 38 และเมื่อพิจารณาดัชนีย่อยปัจจัยด้านสถาบัน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจมหภาค และ ด้านสุขภาพ และ การศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยนั้น อยู่ที่อันดับ 40 38 28 และ 84 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาคของไทยอยู่ในอันดับที่สูงกว่าสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ เยอรมนี เนื่องจากในการคำนวณดัชนีเศรษฐกิจมหภาคของ WEF จะวิเคราะห์ตัวแปรทั้งในประเทศและต่างประเทศควบคู่กันไป ซึ่งทั้ง 3 ประเทศนั้น ระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะขึ้นกับภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ หรือมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก จึงทำให้ผลการคำนวณดัชนีอยู่ในอันดับท้ายๆ
2) ดัชนีการเพิ่มประสิทธิภาพ (the efficiency enhance) เพื่อพิจารณาขีดความสามารถในการแข่งขันที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency - driven) ในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ทั้งในด้านการฝึกอบรมและการให้การศึกษาขั้นสูง การเพิ่มประสิทธิภาพของทั้งตลาดสินค้า ตลาดแรงงาน และตลาดการเงินรวมทั้ง ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน โดยประเทศไทยในกลุ่มดัชนีนี้จะอยู่ที่อันดับ 43 และเมื่อพิจารณาดัชนีย่อยปรากฏว่า ด้านการฝึกอบรมและการศึกษาขั้นสูง ด้านประสิทธิภาพตลาด รวมทั้ง ความพร้อมด้านเทคโนโลยี ของไทยนั้น จะอยู่ที่อันดับ 42, 31 และ 48 ตามลำดับ
3) ดัชนีด้านนวัตกรรมและปัจจัยที่มีความซับซ้อน (the innovation and Sophistication factors) เพื่อพิจารณาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านนวัตกรรม (Innovation-driven) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ โดยจะให้ความสำคัญกับความซับซ้อนทางธุรกิจหรือประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่อุปทานของกระบวนการผลิต รวมทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่
เกิดขึ้นในประเทศนั้นๆ ด้วย โดยประเทศไทยในกลุ่มดัชนีนี้จะอยู่ที่อันดับ 36 และเมื่อพิจารณาดัชนีย่อยปรากฏว่า ด้านความซับซ้อนทางธุรกิจ และ ด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ของไทยนั้น จะอยู่ที่อันดับ 40 และ 33 ตามลำดับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ง) เกณฑ์การจัดอันดับที่ WEF ใช้ในปี 2549 มีความแตกต่างจากปี 2548 จึงทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบดัชนีย่อยระหว่างสองปีดังกล่าวได้ โดยในปี 2548 ดัชนีที่ใช้วัดขีดความสามารถในการแข่งขัน (Growth Competitiveness Index: GCI) ประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 ด้าน คือ ด้านเทคโนโลยี (Technology Index: TI), ด้านสถาบันภาครัฐ (Public Institution Index: PII) และด้านเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Environment Index: MEI)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ยังมีต่อ).../3.3 การจัดอันดับ..
3.1 การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ WEF ประจำปี 2549
1) ภาพรวม: WEF ได้จัดทำรายงาน Global Competitiveness Report ปี 2549 - 2550 โดยมีประเทศเข้าร่วมการจัดอันดับรวม 125 ประเทศ ทั้งนี้ การจัดทำรายงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจากผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจถึงผลที่เกิดจากการค้าระหว่างประเทศ และผลประโยชน์จากการจัดสรรทรัพยากรระว่างประเทศ (resource allocation) ทั้งในรูปแบบของนโยบาย และสถาบันต่างๆ ของประเทศนั้นๆ ได้มากยิ่งขึ้น
2) เกณฑ์การจัดอันดับ: ในการจัดทำดัชนีมีเกณฑ์การวัด 3 ด้านหลัก ดังนี้
(1) กลุ่มดัชนีขั้นพื้นฐาน (the basic requirements) ประกอบด้วยกลุ่มดัชนีย่อย ซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ได้แก่ 1) สถาบัน (Institutions) 2) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructures) 3) เศรษฐกิจมหภาค (Macro economy) และ 4) สุขภาพและการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Health and primary education)
(2) กลุ่มดัชนีการเพิ่มประสิทธิภาพ (the efficiency enhance) ประกอบด้วยกลุ่มดัชนีย่อย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพของประเทศนั้นๆ ได้แก่ 1) การอบรมและการศึกษาขั้นสูง (Higher education and training) 2) ประสิทธิภาพของตลาด (Market efficiency) และ 3) ความพร้อมด้านเทคโนโลยี (Technological readiness)
(3) กลุ่มดัชนีนวัตกรรม และปัจจัยที่มีความซับซ้อน (the innovation and Sophistication factors) ประกอบด้วยกลุ่มดัชนีย่อย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านนวัตกรรมของประเทศนั้นๆ ได้แก่ 1) ความซับซ้อนทางธุรกิจ (Business Sophistication) และ 2) นวัตกรรม (Innovation)
Composition of the three sub-indexes.
Basic requirements
๏ Institutions > Factor-driven Economies
๏ Infrastructures > Factor-driven Economies
๏ Macro economy > Factor-driven Economies
๏ Health and primary education > Factor-driven Economies
Efficiency enhance
๏ Higher education and training > Efficiency -driven Economies
๏ Market efficiency > Efficiency -driven Economies
๏ Technological readiness > Efficiency -driven Economies
Innovation and Sophistication factors
๏ Business Sophistication > Innovation - driven Economies
๏ Innovation > Innovation - driven Economies
3) ผล 3 อันดับแรก: ในปี 2549 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศฟินแลนด์ และสวีเดน ตามลำดับ ส่วนสหรัฐอเมริกา ตกจากอันดับที่ 1 ในปี 2548 มาเป็นอันดับที่ 6
3.2 การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในปี 2549 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 35 ซึ่งต่ำกว่าปี 2548 ที่ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 33 โดยในปี 2549 ดัชนีที่ใช้วัดขีดความสามารถในการแข่งขัน (Growth Competitiveness Index: GCI)(ง) ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อย 3 ด้าน คือ
1) ดัชนีขั้นพื้นฐาน (the basic requirements) เพื่อพิจารณาขีดความสามารถในการแข่งขันที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Factor-driven) ของแต่ละประเทศ โดยประเทศไทยในกลุ่มดัชนีนี้จะอยู่อันดับที่ 38 และเมื่อพิจารณาดัชนีย่อยปัจจัยด้านสถาบัน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจมหภาค และ ด้านสุขภาพ และ การศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยนั้น อยู่ที่อันดับ 40 38 28 และ 84 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจมหภาคของไทยอยู่ในอันดับที่สูงกว่าสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ เยอรมนี เนื่องจากในการคำนวณดัชนีเศรษฐกิจมหภาคของ WEF จะวิเคราะห์ตัวแปรทั้งในประเทศและต่างประเทศควบคู่กันไป ซึ่งทั้ง 3 ประเทศนั้น ระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะขึ้นกับภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ หรือมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก จึงทำให้ผลการคำนวณดัชนีอยู่ในอันดับท้ายๆ
2) ดัชนีการเพิ่มประสิทธิภาพ (the efficiency enhance) เพื่อพิจารณาขีดความสามารถในการแข่งขันที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency - driven) ในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ทั้งในด้านการฝึกอบรมและการให้การศึกษาขั้นสูง การเพิ่มประสิทธิภาพของทั้งตลาดสินค้า ตลาดแรงงาน และตลาดการเงินรวมทั้ง ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน โดยประเทศไทยในกลุ่มดัชนีนี้จะอยู่ที่อันดับ 43 และเมื่อพิจารณาดัชนีย่อยปรากฏว่า ด้านการฝึกอบรมและการศึกษาขั้นสูง ด้านประสิทธิภาพตลาด รวมทั้ง ความพร้อมด้านเทคโนโลยี ของไทยนั้น จะอยู่ที่อันดับ 42, 31 และ 48 ตามลำดับ
3) ดัชนีด้านนวัตกรรมและปัจจัยที่มีความซับซ้อน (the innovation and Sophistication factors) เพื่อพิจารณาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านนวัตกรรม (Innovation-driven) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ โดยจะให้ความสำคัญกับความซับซ้อนทางธุรกิจหรือประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่อุปทานของกระบวนการผลิต รวมทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่
เกิดขึ้นในประเทศนั้นๆ ด้วย โดยประเทศไทยในกลุ่มดัชนีนี้จะอยู่ที่อันดับ 36 และเมื่อพิจารณาดัชนีย่อยปรากฏว่า ด้านความซับซ้อนทางธุรกิจ และ ด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ของไทยนั้น จะอยู่ที่อันดับ 40 และ 33 ตามลำดับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ง) เกณฑ์การจัดอันดับที่ WEF ใช้ในปี 2549 มีความแตกต่างจากปี 2548 จึงทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบดัชนีย่อยระหว่างสองปีดังกล่าวได้ โดยในปี 2548 ดัชนีที่ใช้วัดขีดความสามารถในการแข่งขัน (Growth Competitiveness Index: GCI) ประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 ด้าน คือ ด้านเทคโนโลยี (Technology Index: TI), ด้านสถาบันภาครัฐ (Public Institution Index: PII) และด้านเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Environment Index: MEI)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ยังมีต่อ).../3.3 การจัดอันดับ..