แท็ก
ยุโรป
องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า OSCE นั้น เกิดขึ้นหลังการลงนามในสนธิสัญญา Helsinki Final Act เมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1975 OSCE มีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นเวทีการเจรจาและกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงด้วยการประสานความแตกแต่งของยุโรปตะวันตกและตะวันออกให้เชื่อมต่อกันทั้งความแตกต่างด้านแนวความคิด การเมือง และเศรษฐกิจ จนกระทั่ง 30 ปีผ่านมา OSCE ได้ดำเนินบทบาทใหม่จากเดิมสู่การเป็นองค์กรด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคขนาดใหญ่ของโลกที่ดำเนินงานครอบคลุมมิติความมั่นคง 3 ด้าน ได้แก่ มิติความมั่นคงของมนุษย์ มิติความมั่นคงทางการเมืองและการทหาร และมิติความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ
ประเทศภาคีในกรอบการทำงานของ OSCE นั้นจะประกอบด้วยกลุ่มประเทศที่มีความสัมพันธ์ในรูปแบบที่ต่างกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มรัฐที่มีส่วนร่วม (Participating States) จำนวน 56 ประเทศจากยุโรป เอเชียกลาง และอเมริกาเหนือ และกลุ่มประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือ (Partners for Cooperation) 11 ประเทศ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย โดย OSCE ได้ระบุว่ากลุ่มรัฐที่มีส่วนร่วม (Participating States) ทั้ง 56 ประเทศ มีสถานภาพที่เท่าเทียมกันและมีสิทธิออกเสียงในประเด็นต่างๆ ซึ่งข้อสรุปการตัดสินใจจะอยู่บนพื้นฐานของฉันทามติในเชิงการเมืองโดยไม่ผูกมัดในเชิงกฎหมาย
ประเด็นหลักของ OSCE ที่นำไปสู่โครงการความร่วมมือต่างๆ ในปัจจุบัน ประกอบด้วย การต่อต้านการค้าผิดกฎหมายด้านต่างๆ (Anti-Trafficking) การควบคุมอาวุธสงคราม (Arms Control) การบริหารจัดการเขตชายแดน (Border Management) การต่อต้านการก่อการร้าย (Combating Terrorism) การป้องกันความขัดแย้ง (Conflict Prevention) และส่งเสริมกระบวนการฟื้นฟูพื้นที่ต่างๆ หลังเกิดวิกฤติ การสร้างความเป็นประชาธิปไตย (Democratization) การส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ (Economic Activities) ที่เน้นการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมการศึกษา (Education) ที่เน้นแผนงานด้านการศึกษาที่เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อป้องกันความขัดแย้งและการฟื้นฟูประเทศหลังสภาวะความขัดแย้ง การส่งเสริมการเลือกตั้ง (Elections) การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Activities) การส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย (Gender Equality) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (Human Rights) การติดตามประเด็นเสรีภาพของสื่อ (Media Freedom) การปฏิรูปทางการทหารเพื่อความมั่นคง (Military Reform) การส่งเสริมสิทธิชนกลุ่มน้อย (Minority Rights) การกำหนดนโยบาย (Policing) เพื่อป้องกันความขัดแย้งและฟื้นฟูสภาพหลังความขัดแย้ง การส่งเสริมหลักกฎหมาย (Rule of Law) ด้านสิทธิมนุษยชน และการยอมรับในความแตกต่างและการไม่เลือกปฏิบัติ (Tolerance and Non-discrimination)
ทั้งนี้ OSCE จะใช้วิธีการระดมความคิดเห็นจากประเทศภาคีลักษณะเดียวกับองค์กรต่างๆ ทั่วโลก นั่นคือ การจัดการประชุมเพื่อเป็นเวทีระดมความคิดเห็นและความร่วมมือด้านความมั่นคงของมนุษย์อย่างต่อเนื่องในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา OSCE ได้จัดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงครั้งสำคัญในประเทศไทย ได้แก่ การประชุม OSCE-Thailand Conference ระหว่างวันที่ 20-21 มิถุนายน 2545 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดเน้นเรื่องมิติความมั่นคงของมนุษย์ ในประเด็นภัยคุกคามจากยาเสพติดและการค้ามนุษย์ มุมมองด้านผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งความคิดเห็นเรื่องความร่วมมือระหว่าง OSCE และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
ล่าสุด กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับ OSCE ในการจัดประชุม 2006 OSCE Thailand Conference on Challenges to Global Security: From Poverty to Pandemic ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2549 ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ วัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายจากภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นในรูปแบบต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การประชุมดังกล่าว ประกอบด้วยระเบียบวาระพิเศษ และระเบียบวาระสามัญ
สาระสำคัญจากระเบียบวาระพิเศษ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เน้นว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อบทบาทการให้ความร่วมมือกับ OSCE ด้านความมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นหน่วยงานจัดประชุมด้านความมั่นคงของมนุษย์ในช่วงเวลาที่ทุกประเทศต้องใส่ใจต่อปัญหาภัยคุกคามความมั่นคงของมนุษย์อย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ ภัยคุกคามดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีผลกระทบที่ซับซ้อนมากขึ้นต่อมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติให้มากขึ้นเพื่อเป็นการระดมทรัพยากรและสร้างเครือข่ายความร่วมมือสำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าวต่อไป
นอกจากนี้ H.E. Mr. Marc Perrin de Brichambaut เลขาธิการ OSCE ได้นำเสนอประเด็นเพื่อเป็นแนวทางการหารือในที่ประชุม 4 ประการ อันได้แก่ 1) การนำเสนอวิธีการที่ OSCE จะสามารถพัฒนาความร่วมมือกับหุ้นส่วนความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียเพื่อต่อต้านภัยคุกคามที่เกิดจากความยากจนและโรคระบาด 2) การนำเสนอแนวทางการดำเนินการเพิ่มเติมของ OSCE ที่สนับสนุนอัฟกานิสถานและมองโกเลียให้บรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์ที่เป็นไปตามมาตรฐานของ OSCE 3) การสร้างเครือข่ายการตอบโต้ภาวะวิกฤต (crisis response network) เพื่อเป็นกลไกประสานความร่วมมือที่ทันท่วงทีต่อภัยคุกคามเฉพาะด้านดังเช่นปัญหาที่เกิดความยากจนและโรคระบาด และ 4) การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะในการประชุม OSCE ที่ประเทศเกาหลีเมื่อปี ค.ศ. 2005 อย่างจริงจังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหารือเพื่อความร่วมมือระหว่าง OSCE กับ ARF อย่างเป็นรูปธรรม
สาระสำคัญระเบียบวาระสามัญ วาระที่ 1 สภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความมั่นคงของโลกกับบทบาทของ OSCE และภูมิภาคเอเชีย
ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมแบบโลกาภิวัตน์ทำให้ภัยคุกคามอันเกิดจากความยากจนและโรคระบาดแพร่ขยายสู่พื้นที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว OSCE ต้องขยายบทบาทและขอบเขตการดำเนินงานให้ครอบคลุมมากขึ้นโดยให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือกับภูมิภาคเอเชีย ภูมิภาคทรานส์แอ็ตแลนติกและแปซิฟิคในอันดับต้นๆ ทั้งนี้ การสร้างความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้ OSCE และประเทศภาคีได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ความสามารถของแต่ละฝ่าย สำหรับความร่วมมือด้านความมั่นคงของมนุษย์ระหว่าง OSCE กับ ภูมิภาคเอเชียในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น มีประเด็นที่ควรพิจารณาสำหรับการแก้ปัญหาจากภัยคุกคามข้างต้น คือ การทำให้ความแตกต่างของมิติที่หลากหลายภายใต้ประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ในภูมิภาคเอเชียอยู่ในจุดสมดุลไม่เอนเอียงหรือละเลยมิติใดมิติหนึ่ง รวมทั้งทำให้การดำเนินงานของ OSCE ที่เกี่ยวข้องในแต่ละมิติอยู่ในขอบเขตที่สมดุล ข้อเสนอแนะประการหนึ่งสำหรับ OSCE คือ การปรับแนวทางการทำงานของ OSCE ให้ทันสมัยมากขึ้นและตอบสนองต่อลักษณะเฉพาะของประเทศผู้รับความช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนการสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนซึ่งมีการเคลื่อนย้ายของคนจำนวนมากและเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเด็นการจัดตั้งองค์การความมั่นคงระดับภูมิภาคในเอเชียลักษณะเดียวกับ OSCE นั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
สาระสำคัญระเบียบวารสามัญ วาระที่ 2 การตอบโต้ภัยคุกคามเพื่อความมั่นคงระดับภูมิภาค
ผู้แทนจากประเทศต่างๆ มีความเห็นในประเด็นเดียวกัน คือ การตอบโต้ภัยคุกคามจากโรคระบาด โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนกนั้น จำเป็นต้องใช้แนวทางการดำเนินงานเชิงบูรณาการและมีวิธีการหลากหลายที่ตอบสนองเงื่อนไขและลักษณะเฉพาะที่ต่างกันของแต่ละประเทศ และที่สำคัญคือ ต้องดำเนินการแก้ปัญหาในทันทีด้วยความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ OSCE ยังได้ริเริ่มนำเสนอประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ด้านอื่นๆ คือ ประเด็นบทบาทสตรีในการแก้ปัญหาโรคระบาดที่ร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคเอดส์ และโรคไข้หวัดนก โดยสตรีควรได้รับโอกาสในการทำงานด้านสาธารณสุขให้มากขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้ OSCE จัดเวทีระดมสมองเพื่อเป็นกลไกการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ปัญหาและการเลือกแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับเงื่อนไขและลักษณะของปัญหาในแต่ละประเทศ โดยกำหนดประเด็นการหารือที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหา ซึ่งในที่ประชุมได้มีกำหนดการเบื้องต้น คือ ช่วงปลายปี ค.ศ. 2007
สาระสำคัญระเบียบวาระสามัญ วาระที่ 3 ความท้าทายและโอกาสในการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงของมนุษย์ทั่วโลก
หลังสงครามเย็น สภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงของโลกได้เปลี่ยนแปลงไป จนกระทั่งเกิดสภาพแวดล้อมแบบโลกาภิวัตน์ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่นำมาซึ่งปัญหาความรุนแรงด้านความมั่นคงของมนุษย์ที่แพร่ขยายไปทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกประเทศต้องทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับคำจำกัดความและขอบเขตของคำว่า ความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ เพื่อสร้างข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหา และข้อกำหนดดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ สำหรับภูมิภาคเอเชีย ที่ประชุมมีความเห็นว่า ภูมิภาคดังกล่าว ยังต้องเผชิญปัญหาความมั่นคงของมนุษย์อยู่ ทั้งนี้ OSCE ควรสนับสนุนเวทีการเจรจา Track II dialogues ที่นำไปสู่การกำหนดวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับแก้ปัญหาของภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ ในส่วนของ OSCE เองควรให้ความสำคัญต่อประเด็นความมั่นคงตั้งแต่ระดับนโยบาย โดยกำหนดแนวทางและเครื่องมือการแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการเพื่อสนับสนุนการทำงานของภูมิภาคเอเชีย รวมทั้ง ควรส่งเสริมให้มีกลไกการประสานความคิดและความร่วมมือระหว่างผู้กำหนดนโยบายกับกลุ่มนักวิชาการเพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ต่อไป
บทบาทหน่วยงานไทยในการประชุม OSCE ครั้งล่าสุด
นอกจากกระทรวงการต่างประเทศของไทย จะให้การสนับสนุนด้านจัดการประชุม OSCE ในประเทศไทย และร่วมให้ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังมีหน่วยงานไทยอย่างน้อย 2 หน่วยงานที่ร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ต่อการสานต่อความร่วมมือระหว่างไทยและ OSCE
* กระทรวงมหาดไทย ในระเบียบวาระที่ 2 การตอบโต้ภัยคุกคามเพื่อความมั่นคงระดับภูมิภาค กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ โดยเน้นแนวทางการพัฒนาที่ยึดชุมชนเป็นหลักเพื่อลดความยากจนโดยการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของชุมชนซึ่งเป็นการสร้าง social safety net ที่ตอบโต้ต่อภัยคุกคามด้านความยากจนรวมทั้งปัญหาด้านสาธารณสุขและนำไปสู่ความมั่นคงของคนในชุมชนต่อไป นอกจากนี้ ยังเน้นมาตรการป้องกันระยะยาวโดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากขึ้น การเรียนรู้และการตระหนักถึงปัญหา รวมทั้งการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่องภายในชุมชน
* สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในระเบียบวาระที่ 3 ความท้าทายและโอกาสในการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงของมนุษย์ทั่วโลก สศช. ได้นำเสนอแนวคิดเรื่องความร่วมมือกับ OSCE และกลุ่มประเทศภาคีต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปรากฏในเอกสารคำกล่าว (keynote address) ของ สศช. โดยสาระสำคัญของคำกล่าวได้ระบุถึงการดำเนินการที่นำไปสู่ความมั่นคงของมนุษย์ในประเทศไทย อันได้แก่ การดำเนินนโยบายการพัฒนาแบบคู่ขนาน (The Dual-Track Development Model) และการดำเนินงานตามแผนงาน Thailand Modernization Programme ที่เน้นการพัฒนาแบบระดมความร่วมมือจากประเทศต่างๆ ที่เรียกว่า Partnership for Development ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายข้อที่ 8 ของ MDGs โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ อาทิ กรอบความร่วมมือ ACMECS ทั้งนี้ ในความเห็นของ สศช. ความท้าทายในการสร้างความร่วมมือเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ระดับภูมิภาคและระดับโลกนั้น ก็คือ การมีความเชื่อในประเด็นที่ว่า การร่วมกันสร้างความมั่นคงของมนุษย์ทั่วโลกจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันของนานาประเทศ รวมทั้งต้องสร้างความไว้วางใจระหว่างกันเพื่อเป็นพื้นฐานสู่ความร่วมมือที่แท้จริงต่อไป
บทส่งท้าย
แม้ประเทศไทยจะมีฐานะเป็นประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือ (Partners for Cooperation) ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการของ OSCE ไม่ได้ระบุว่ากลุ่มประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือ (Partners for Cooperation) ทั้ง 11 ประเทศนั้น มีสิทธิออกเสียงในประเด็นต่างๆ แต่ประการใด แต่ประเทศไทยย่อมเห็นความสำคัญในการให้ความร่วมมือกับองค์กรดังกล่าว เนื่องจาก "ความมั่นคงของมนุษย์" เป็นสิ่งที่ทุกประเทศในโลกต้องทำให้เกิดขึ้นจริงโดยไม่รอช้าเพื่อเสถียรภาพของประเทศ ซึ่งทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และทุกภาคส่วนย่อมมีส่วนในการให้ความร่วมมือตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานเพื่อร่วมกันทำให้ "ความมั่นคงของมนุษย์" เกิดขึ้นและคงอยู่ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ประเทศภาคีในกรอบการทำงานของ OSCE นั้นจะประกอบด้วยกลุ่มประเทศที่มีความสัมพันธ์ในรูปแบบที่ต่างกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มรัฐที่มีส่วนร่วม (Participating States) จำนวน 56 ประเทศจากยุโรป เอเชียกลาง และอเมริกาเหนือ และกลุ่มประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือ (Partners for Cooperation) 11 ประเทศ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย โดย OSCE ได้ระบุว่ากลุ่มรัฐที่มีส่วนร่วม (Participating States) ทั้ง 56 ประเทศ มีสถานภาพที่เท่าเทียมกันและมีสิทธิออกเสียงในประเด็นต่างๆ ซึ่งข้อสรุปการตัดสินใจจะอยู่บนพื้นฐานของฉันทามติในเชิงการเมืองโดยไม่ผูกมัดในเชิงกฎหมาย
ประเด็นหลักของ OSCE ที่นำไปสู่โครงการความร่วมมือต่างๆ ในปัจจุบัน ประกอบด้วย การต่อต้านการค้าผิดกฎหมายด้านต่างๆ (Anti-Trafficking) การควบคุมอาวุธสงคราม (Arms Control) การบริหารจัดการเขตชายแดน (Border Management) การต่อต้านการก่อการร้าย (Combating Terrorism) การป้องกันความขัดแย้ง (Conflict Prevention) และส่งเสริมกระบวนการฟื้นฟูพื้นที่ต่างๆ หลังเกิดวิกฤติ การสร้างความเป็นประชาธิปไตย (Democratization) การส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ (Economic Activities) ที่เน้นการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมการศึกษา (Education) ที่เน้นแผนงานด้านการศึกษาที่เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อป้องกันความขัดแย้งและการฟื้นฟูประเทศหลังสภาวะความขัดแย้ง การส่งเสริมการเลือกตั้ง (Elections) การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Activities) การส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างหญิงชาย (Gender Equality) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (Human Rights) การติดตามประเด็นเสรีภาพของสื่อ (Media Freedom) การปฏิรูปทางการทหารเพื่อความมั่นคง (Military Reform) การส่งเสริมสิทธิชนกลุ่มน้อย (Minority Rights) การกำหนดนโยบาย (Policing) เพื่อป้องกันความขัดแย้งและฟื้นฟูสภาพหลังความขัดแย้ง การส่งเสริมหลักกฎหมาย (Rule of Law) ด้านสิทธิมนุษยชน และการยอมรับในความแตกต่างและการไม่เลือกปฏิบัติ (Tolerance and Non-discrimination)
ทั้งนี้ OSCE จะใช้วิธีการระดมความคิดเห็นจากประเทศภาคีลักษณะเดียวกับองค์กรต่างๆ ทั่วโลก นั่นคือ การจัดการประชุมเพื่อเป็นเวทีระดมความคิดเห็นและความร่วมมือด้านความมั่นคงของมนุษย์อย่างต่อเนื่องในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา OSCE ได้จัดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงครั้งสำคัญในประเทศไทย ได้แก่ การประชุม OSCE-Thailand Conference ระหว่างวันที่ 20-21 มิถุนายน 2545 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดเน้นเรื่องมิติความมั่นคงของมนุษย์ ในประเด็นภัยคุกคามจากยาเสพติดและการค้ามนุษย์ มุมมองด้านผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งความคิดเห็นเรื่องความร่วมมือระหว่าง OSCE และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
ล่าสุด กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับ OSCE ในการจัดประชุม 2006 OSCE Thailand Conference on Challenges to Global Security: From Poverty to Pandemic ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2549 ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ วัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายจากภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นในรูปแบบต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การประชุมดังกล่าว ประกอบด้วยระเบียบวาระพิเศษ และระเบียบวาระสามัญ
สาระสำคัญจากระเบียบวาระพิเศษ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เน้นว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อบทบาทการให้ความร่วมมือกับ OSCE ด้านความมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นหน่วยงานจัดประชุมด้านความมั่นคงของมนุษย์ในช่วงเวลาที่ทุกประเทศต้องใส่ใจต่อปัญหาภัยคุกคามความมั่นคงของมนุษย์อย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ ภัยคุกคามดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีผลกระทบที่ซับซ้อนมากขึ้นต่อมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติให้มากขึ้นเพื่อเป็นการระดมทรัพยากรและสร้างเครือข่ายความร่วมมือสำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าวต่อไป
นอกจากนี้ H.E. Mr. Marc Perrin de Brichambaut เลขาธิการ OSCE ได้นำเสนอประเด็นเพื่อเป็นแนวทางการหารือในที่ประชุม 4 ประการ อันได้แก่ 1) การนำเสนอวิธีการที่ OSCE จะสามารถพัฒนาความร่วมมือกับหุ้นส่วนความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียเพื่อต่อต้านภัยคุกคามที่เกิดจากความยากจนและโรคระบาด 2) การนำเสนอแนวทางการดำเนินการเพิ่มเติมของ OSCE ที่สนับสนุนอัฟกานิสถานและมองโกเลียให้บรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์ที่เป็นไปตามมาตรฐานของ OSCE 3) การสร้างเครือข่ายการตอบโต้ภาวะวิกฤต (crisis response network) เพื่อเป็นกลไกประสานความร่วมมือที่ทันท่วงทีต่อภัยคุกคามเฉพาะด้านดังเช่นปัญหาที่เกิดความยากจนและโรคระบาด และ 4) การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะในการประชุม OSCE ที่ประเทศเกาหลีเมื่อปี ค.ศ. 2005 อย่างจริงจังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหารือเพื่อความร่วมมือระหว่าง OSCE กับ ARF อย่างเป็นรูปธรรม
สาระสำคัญระเบียบวาระสามัญ วาระที่ 1 สภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความมั่นคงของโลกกับบทบาทของ OSCE และภูมิภาคเอเชีย
ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมแบบโลกาภิวัตน์ทำให้ภัยคุกคามอันเกิดจากความยากจนและโรคระบาดแพร่ขยายสู่พื้นที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว OSCE ต้องขยายบทบาทและขอบเขตการดำเนินงานให้ครอบคลุมมากขึ้นโดยให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือกับภูมิภาคเอเชีย ภูมิภาคทรานส์แอ็ตแลนติกและแปซิฟิคในอันดับต้นๆ ทั้งนี้ การสร้างความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้ OSCE และประเทศภาคีได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ความสามารถของแต่ละฝ่าย สำหรับความร่วมมือด้านความมั่นคงของมนุษย์ระหว่าง OSCE กับ ภูมิภาคเอเชียในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น มีประเด็นที่ควรพิจารณาสำหรับการแก้ปัญหาจากภัยคุกคามข้างต้น คือ การทำให้ความแตกต่างของมิติที่หลากหลายภายใต้ประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ในภูมิภาคเอเชียอยู่ในจุดสมดุลไม่เอนเอียงหรือละเลยมิติใดมิติหนึ่ง รวมทั้งทำให้การดำเนินงานของ OSCE ที่เกี่ยวข้องในแต่ละมิติอยู่ในขอบเขตที่สมดุล ข้อเสนอแนะประการหนึ่งสำหรับ OSCE คือ การปรับแนวทางการทำงานของ OSCE ให้ทันสมัยมากขึ้นและตอบสนองต่อลักษณะเฉพาะของประเทศผู้รับความช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนการสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนซึ่งมีการเคลื่อนย้ายของคนจำนวนมากและเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนประเด็นการจัดตั้งองค์การความมั่นคงระดับภูมิภาคในเอเชียลักษณะเดียวกับ OSCE นั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
สาระสำคัญระเบียบวารสามัญ วาระที่ 2 การตอบโต้ภัยคุกคามเพื่อความมั่นคงระดับภูมิภาค
ผู้แทนจากประเทศต่างๆ มีความเห็นในประเด็นเดียวกัน คือ การตอบโต้ภัยคุกคามจากโรคระบาด โดยเฉพาะโรคไข้หวัดนกนั้น จำเป็นต้องใช้แนวทางการดำเนินงานเชิงบูรณาการและมีวิธีการหลากหลายที่ตอบสนองเงื่อนไขและลักษณะเฉพาะที่ต่างกันของแต่ละประเทศ และที่สำคัญคือ ต้องดำเนินการแก้ปัญหาในทันทีด้วยความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ OSCE ยังได้ริเริ่มนำเสนอประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ด้านอื่นๆ คือ ประเด็นบทบาทสตรีในการแก้ปัญหาโรคระบาดที่ร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคเอดส์ และโรคไข้หวัดนก โดยสตรีควรได้รับโอกาสในการทำงานด้านสาธารณสุขให้มากขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้ OSCE จัดเวทีระดมสมองเพื่อเป็นกลไกการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ปัญหาและการเลือกแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับเงื่อนไขและลักษณะของปัญหาในแต่ละประเทศ โดยกำหนดประเด็นการหารือที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหา ซึ่งในที่ประชุมได้มีกำหนดการเบื้องต้น คือ ช่วงปลายปี ค.ศ. 2007
สาระสำคัญระเบียบวาระสามัญ วาระที่ 3 ความท้าทายและโอกาสในการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงของมนุษย์ทั่วโลก
หลังสงครามเย็น สภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงของโลกได้เปลี่ยนแปลงไป จนกระทั่งเกิดสภาพแวดล้อมแบบโลกาภิวัตน์ ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่นำมาซึ่งปัญหาความรุนแรงด้านความมั่นคงของมนุษย์ที่แพร่ขยายไปทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกประเทศต้องทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับคำจำกัดความและขอบเขตของคำว่า ความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งนี้ เพื่อสร้างข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหา และข้อกำหนดดังกล่าวต้องได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ สำหรับภูมิภาคเอเชีย ที่ประชุมมีความเห็นว่า ภูมิภาคดังกล่าว ยังต้องเผชิญปัญหาความมั่นคงของมนุษย์อยู่ ทั้งนี้ OSCE ควรสนับสนุนเวทีการเจรจา Track II dialogues ที่นำไปสู่การกำหนดวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับแก้ปัญหาของภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ ในส่วนของ OSCE เองควรให้ความสำคัญต่อประเด็นความมั่นคงตั้งแต่ระดับนโยบาย โดยกำหนดแนวทางและเครื่องมือการแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการเพื่อสนับสนุนการทำงานของภูมิภาคเอเชีย รวมทั้ง ควรส่งเสริมให้มีกลไกการประสานความคิดและความร่วมมือระหว่างผู้กำหนดนโยบายกับกลุ่มนักวิชาการเพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ต่อไป
บทบาทหน่วยงานไทยในการประชุม OSCE ครั้งล่าสุด
นอกจากกระทรวงการต่างประเทศของไทย จะให้การสนับสนุนด้านจัดการประชุม OSCE ในประเทศไทย และร่วมให้ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังมีหน่วยงานไทยอย่างน้อย 2 หน่วยงานที่ร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ต่อการสานต่อความร่วมมือระหว่างไทยและ OSCE
* กระทรวงมหาดไทย ในระเบียบวาระที่ 2 การตอบโต้ภัยคุกคามเพื่อความมั่นคงระดับภูมิภาค กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ โดยเน้นแนวทางการพัฒนาที่ยึดชุมชนเป็นหลักเพื่อลดความยากจนโดยการเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของชุมชนซึ่งเป็นการสร้าง social safety net ที่ตอบโต้ต่อภัยคุกคามด้านความยากจนรวมทั้งปัญหาด้านสาธารณสุขและนำไปสู่ความมั่นคงของคนในชุมชนต่อไป นอกจากนี้ ยังเน้นมาตรการป้องกันระยะยาวโดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากขึ้น การเรียนรู้และการตระหนักถึงปัญหา รวมทั้งการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่องภายในชุมชน
* สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในระเบียบวาระที่ 3 ความท้าทายและโอกาสในการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงของมนุษย์ทั่วโลก สศช. ได้นำเสนอแนวคิดเรื่องความร่วมมือกับ OSCE และกลุ่มประเทศภาคีต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปรากฏในเอกสารคำกล่าว (keynote address) ของ สศช. โดยสาระสำคัญของคำกล่าวได้ระบุถึงการดำเนินการที่นำไปสู่ความมั่นคงของมนุษย์ในประเทศไทย อันได้แก่ การดำเนินนโยบายการพัฒนาแบบคู่ขนาน (The Dual-Track Development Model) และการดำเนินงานตามแผนงาน Thailand Modernization Programme ที่เน้นการพัฒนาแบบระดมความร่วมมือจากประเทศต่างๆ ที่เรียกว่า Partnership for Development ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายข้อที่ 8 ของ MDGs โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ อาทิ กรอบความร่วมมือ ACMECS ทั้งนี้ ในความเห็นของ สศช. ความท้าทายในการสร้างความร่วมมือเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ระดับภูมิภาคและระดับโลกนั้น ก็คือ การมีความเชื่อในประเด็นที่ว่า การร่วมกันสร้างความมั่นคงของมนุษย์ทั่วโลกจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันของนานาประเทศ รวมทั้งต้องสร้างความไว้วางใจระหว่างกันเพื่อเป็นพื้นฐานสู่ความร่วมมือที่แท้จริงต่อไป
บทส่งท้าย
แม้ประเทศไทยจะมีฐานะเป็นประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือ (Partners for Cooperation) ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการของ OSCE ไม่ได้ระบุว่ากลุ่มประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือ (Partners for Cooperation) ทั้ง 11 ประเทศนั้น มีสิทธิออกเสียงในประเด็นต่างๆ แต่ประการใด แต่ประเทศไทยย่อมเห็นความสำคัญในการให้ความร่วมมือกับองค์กรดังกล่าว เนื่องจาก "ความมั่นคงของมนุษย์" เป็นสิ่งที่ทุกประเทศในโลกต้องทำให้เกิดขึ้นจริงโดยไม่รอช้าเพื่อเสถียรภาพของประเทศ ซึ่งทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และทุกภาคส่วนย่อมมีส่วนในการให้ความร่วมมือตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานเพื่อร่วมกันทำให้ "ความมั่นคงของมนุษย์" เกิดขึ้นและคงอยู่ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-