- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบ ก่อนจะตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วงกลาง
ถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นกว่าช่วงต้นสัปดาห์เล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทย
และสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น
- เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ในกรอบที่อ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยนักลงทุนส่วนใหญ่รอผลการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่และนโยบาย
เศรษฐกิจของรัฐบาล ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจาก ECB ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25
มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี พร้อมทั้งส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวในระดับสูง เนื่องจากมีรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ที่
ดำรงเงินสดสำรองสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยในช่วงก่อนหน้ามีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ย
ระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 และ 4.96875 - 5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วง
กลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีการโอนเงินปริมาณสูงในระบบธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น
เพื่อดำรงเงินสดสำรองให้ได้ตามเกณฑ์สำหรับการปิดสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์ โดยการกู้ยืมส่วนใหญ่หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน
ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ4.96875 - 4.90625 และ 4.96875 - 5.0 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตรา
ดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ
4.8 -4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 37,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 13,000
ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 และ 13 วัน วงเงินรวม 24,000 ล้านบาท โดย ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงิน
คลังอายุ 28 และ 91 วัน มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 26,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียน
ในตลาดเพิ่มขึ้น 11,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 181,552 ล้านบาท หรือคิดเป็น 36,310 ล้านบาทต่อวันลดลงจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 21ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ มีการ
เคลื่อนไหวขึ้นลงในช่วงแคบๆ ตามความต้องการลงทุนและแรงขายพันธบัตรฯ เพื่อทำกำไร ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ เกือบทุก
ช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งอัตราผลตอบแทนปรับลดลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค. หลังจากที่ ธปท. ประกาศคงอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือน ส.ค.2547 ได้สิ้นสุดลงแล้ว ประกอบกับในต้นเดือน ส.ค. FED
ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ เช่นกัน จึงเป็นการย้ำความมั่นใจของนักลงทุนว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศคงจะไม่ปรับสูงขึ้นใน
ระยะ 1-2 ปีข้างหน้านี้
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลง โดยในต้น-กลางสัปดาห์มีการประกาศตัวเลขดัชนีภาคการผลิตและภาคการบริการ
ประจำเดือนกันยายนที่ออกมาต่ำกว่าที่คาด จึงทำให้ yield ปรับตัวลดลง ต่อมาในช่วงปลายสัปดาห์ yield ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานลดลง ถึงแม้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่
ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 49 37.38
เฉลี่ย 25 - 29 ก.ย. 49 37.45
2 ต.ค. 49 37.55
3 ต.ค. 49 37.54
4 ต.ค. 49 37.53
5 ต.ค. 49 37.54
6 ต.ค. 49 37.56
เฉลี่ย 2 - 6 ต.ค. 49 37.54
เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 37.53 - 37.56 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากนักทุนส่วนใหญ่รอดูปัจจัยภายใน
ประเทศ โดยเฉพาะการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่และนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทในระยะต่อไป โดยเงินบาทมีค่า
เฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.54 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ปรับอ่อนค่าลง
จากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์
สรอ. ในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย แต่เงินบาทและ
เงินสกุลภูมิภาคไม่แข็งค่ามากนัก เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับข่าวการทดลองโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงิน
บาทกลับมาอ่อนค่าลงตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนอีกครั้ง แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกจากข่าวเงินทุนไหลจากต่างประเทศเพื่อชำระคืนเงินกู้ของกองทุนเท
มาเส็ก ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากเงินยูโรแข็งค่าขึ้นหลังจากธนาคารกลางยุโรปตัดสิน
ใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี พร้อมทั้งส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในช่วงสิ้นปีนี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ถึงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นกว่าช่วงต้นสัปดาห์เล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทย
และสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น
- เงินบาทเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ในกรอบที่อ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยนักลงทุนส่วนใหญ่รอผลการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่และนโยบาย
เศรษฐกิจของรัฐบาล ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ หลังจาก ECB ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25
มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี พร้อมทั้งส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวในระดับสูง เนื่องจากมีรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ที่
ดำรงเงินสดสำรองสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยในช่วงก่อนหน้ามีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ย
ระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.84375 และ 4.96875 - 5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ในช่วง
กลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีการโอนเงินปริมาณสูงในระบบธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น
เพื่อดำรงเงินสดสำรองให้ได้ตามเกณฑ์สำหรับการปิดสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์ โดยการกู้ยืมส่วนใหญ่หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน
ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ4.96875 - 4.90625 และ 4.96875 - 5.0 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตรา
ดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ
4.8 -4.98 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดที่ร้อยละ 4.95 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 37,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 13,000
ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 และ 13 วัน วงเงินรวม 24,000 ล้านบาท โดย ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นตั๋วเงิน
คลังอายุ 28 และ 91 วัน มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 26,000 ล้านบาท จึงมีปริมาณพันธบัตรหมุนเวียน
ในตลาดเพิ่มขึ้น 11,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 181,552 ล้านบาท หรือคิดเป็น 36,310 ล้านบาทต่อวันลดลงจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 21ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ มีการ
เคลื่อนไหวขึ้นลงในช่วงแคบๆ ตามความต้องการลงทุนและแรงขายพันธบัตรฯ เพื่อทำกำไร ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ เกือบทุก
ช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งอัตราผลตอบแทนปรับลดลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค. หลังจากที่ ธปท. ประกาศคงอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือน ส.ค.2547 ได้สิ้นสุดลงแล้ว ประกอบกับในต้นเดือน ส.ค. FED
ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ เช่นกัน จึงเป็นการย้ำความมั่นใจของนักลงทุนว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศคงจะไม่ปรับสูงขึ้นใน
ระยะ 1-2 ปีข้างหน้านี้
สำหรับ US Treasury Yield มีการปรับตัวขึ้นลง โดยในต้น-กลางสัปดาห์มีการประกาศตัวเลขดัชนีภาคการผลิตและภาคการบริการ
ประจำเดือนกันยายนที่ออกมาต่ำกว่าที่คาด จึงทำให้ yield ปรับตัวลดลง ต่อมาในช่วงปลายสัปดาห์ yield ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานลดลง ถึงแม้ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่
ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-9 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 49 37.38
เฉลี่ย 25 - 29 ก.ย. 49 37.45
2 ต.ค. 49 37.55
3 ต.ค. 49 37.54
4 ต.ค. 49 37.53
5 ต.ค. 49 37.54
6 ต.ค. 49 37.56
เฉลี่ย 2 - 6 ต.ค. 49 37.54
เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 37.53 - 37.56 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากนักทุนส่วนใหญ่รอดูปัจจัยภายใน
ประเทศ โดยเฉพาะการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่และนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทในระยะต่อไป โดยเงินบาทมีค่า
เฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 37.54 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ปรับอ่อนค่าลง
จากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์
สรอ. ในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย แต่เงินบาทและ
เงินสกุลภูมิภาคไม่แข็งค่ามากนัก เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับข่าวการทดลองโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงิน
บาทกลับมาอ่อนค่าลงตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนอีกครั้ง แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกจากข่าวเงินทุนไหลจากต่างประเทศเพื่อชำระคืนเงินกู้ของกองทุนเท
มาเส็ก ในขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากเงินยูโรแข็งค่าขึ้นหลังจากธนาคารกลางยุโรปตัดสิน
ใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี พร้อมทั้งส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในช่วงสิ้นปีนี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-