ระยะเวลาที่ใช้ในการจดทะเบียนทรัพย์สินในประเทศไทยทำได้ดี แต่การบังคับให้ดำเนินไปตามกฎหมายยังไม่ดีนัก ในปี ค.ศ.2004 ระยะเวลาที่ใช้ในการจดทะเบียนทรัพย์สินในประเทศไทยเพียง 2 วัน ในการจัดอันดับประเทศไทยอยู่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ยกเว้นประเทศนอร์เวย์ ส่วนคะแนนในการบังคับให้ดำเนินไปตามกฎหมายของประเทศไทยน้อยกว่า โดยประเทศไทยใช้เวลาในการแก้ไขปัญหากรณีพิพาท 390 ขณะที่ประเทศเกาหลี จีน และมาเลเซียใช้เวลา 75 วัน 241 วัน และ 300 วัน ตามลำดับ ผู้ประกอบการกล่าวว่าการแก้ไขปัญหากรณีพิพาทของศาลในประเทศไทยใช้เวลาเฉลี่ย 420 วัน แต่อาจจะนานถึง 1,680 วัน การบังคับให้ดำเนินไปตามกฎหมายเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องทำการวิจัยต่อไป เพราะว่ามีความสำคัญต่อความเข้าใจและสาเหตุของระยะเวลาที่ใช้ในการบังคับให้ดำเนินไปตามกฎหมายของประเทศไทย จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 52 ของกรณีพิพาทที่กิจการในประเทศไทยประสบในปี ค.ศ. 2002-2004 เกี่ยวกับการล่าช้าในการชำระเงินหรือไม่สามารถชำระเงินได้ การส่งคืนสินค้าหรือการยกเลิกการส่งสินค้า ร้อยละ 22 ของกรณีพิพาทที่กิจการในประเทศไทยถูกแก้ไขโดยการตัดสินของศาล ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศมาเลเซีย (ร้อยละ 20) แต่สูงกว่าประเทศจีน (ร้อยละ 5.4) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 1) และฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 2.2) แสดงว่าระบบกฎหมายของประเทศไทยมีความสามารถในการบังคับให้ดำเนินไปตามกฎหมายในเรื่องของสิทธิทางทรัพย์สิน และเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขข้อพิพาททางธุรกิจของกิจการ การพัฒนาและประโยชน์ที่สำคัญของการวิจัยดังกล่าวจะเชื่อมโยงไปสู่ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหากรณีพิพาทของศาล
กฎระเบียบของรัฐเป็นประเด็นที่ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปฏิรูปกระบวนการทำงานของหน่วยงานรัฐและการลดกระบวนการทางด้านเอกสาร ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นของประเทศต่อการลดค่าใช้จ่ายของกิจการในเรื่องของระยะเวลาในการรับบริการจากรัฐ การจัดการด้านศุลกากรสินค้านำเข้า การขอสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การขอใบรับรองสิทธิและใบอนุญาตดำเนินการ และการจ้างแรงงานในท้องถิ่น
การสร้างความมั่นใจในเรื่องความสามารถในการพยากรณ์ของระยะเวลาในการได้รับหนังสือรับรองเพื่อลดค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการเข้ารับบริการเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดต้นทุนของกิจการ ความไม่แน่นอนของระยะเวลาในการเข้ารับบริการของรัฐทำให้กิจการวางแผนการดำเนินการได้ยาก การลดระยะเวลาเฉลี่ยของระยะเวลาในการเข้ารับบริการเป็นสิ่งสำคัญ แต่ยังไม่เพียงพอหากความสามารถในการพยากรณ์ยังไม่แน่นอน
รัฐบาลได้ดำเนินการปฏิรูประบบราชการตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจในปี ค.ศ.1997 โดยมุ่งหวังให้บริการภาครัฐมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อตอบสนองจุดประสงค์ดังกล่าว หน่วยงานรัฐได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ปัจจุบันเอกสารของหน่วยงานรัฐสามารถหาดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เน็ต เช่น แบบฟอร์มการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งสามารถหาได้จากเว็บไซด์ของกระทรวงการคลัง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังพยายามดำเนินการลดระยะเวลาการให้บริการประชาชนให้มากที่สุด โดยการตั้ง One-Stop Service Center ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
4) กรณีตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบต่างๆ
4.1) ประเทศฮังการี เป็นประเทศหนึ่งซึ่งเคยมีระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง แต่ในปี 1988 ระบบเศรษฐกิจได้เกิดการถดดอยลงอย่างรวดเร็ว ประเทศฮังการีจึงได้ปรับโครงสร้างกฎระเบียบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้
4.1.1) กลยุทธ์และเครื่องมือในการเริ่มปฏิบัติ
(1) ระยะตั้งต้น (ปี 1988 -- 1990) ได้เปิดเสรีระบบตลาด และแปรรูปหน่วยงานของภาครัฐ
(2) ระยะปฏิบัติ (ปี 1990 - 1994) ที่ต่อเนื่อง จากระยะตั้งต้น ได้มีการจัดตั้งองค์กร และระบบกรรมสิทธิ์
(3) ระยะที่ 2 (ปี 1994 -- 1998) แปรรูปหน่วยงาน ของภาครัฐ เพื่อดึงดูด Foreign Direct Investment
4.1.2) ผลที่ได้รับ
(1) ประสิทธิภาพของกฎระเบียบที่ได้จากการยกเลิกและแก้ไขกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ
(2) ในปี 1997 การค้า ได้ปรับขยายเพิ่มขึ้น โดยมีในส่วนของ EU 70% และกับกลุ่มประเทศ OECD 80%
(3) Foreign Direct Investment เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสามารถดึงดูดการลงทุนจากทั้ง East and Central Europe
4.1.3) ปัจจัยความสำเร็จ
(1) การปรับโครงสร้างกฏระเบียบต่างๆ มี Deregulation Commissioners เป็นผู้ดำเนินการและให้การสนับสนุนในระดับสูงสุดของคณะรัฐบาล
(2) การจัดตั้งและมอบหมายให้หน่วยงานของภาครัฐเป็นผู้ขับเคลื่อนคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของระยะที่ 2 มากกว่าในระยะตั้งต้น
4.2) ประเทศเม็กซิโก ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจเนื่องมาจากราคาน้ำมัน รวมทั้ง การผิดชำระหนี้ในปี 1982 เป็นอีกแรงกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูประบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทั้งในด้านลดการนำเข้า และหาช่องทางภายใต้ NAFTA ในปี 1989
4.2.1) กลยุทธ์และเครื่องมือในการเริ่มปฏิบัติ
(1) กำหนดเป้าหมายในการยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของระบบเศรษฐกิจด้านการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนตามข้อตกลง NAFTA
(2) โปรแกรมสำหรับการแปรรูปหน่วยงานภาครัฐในระยะยาว
(3) รัฐบาลเม็กซิโกได้เริ่มการปรับโครงสร้างทางด้านกฎระเบียบตั้งแต่ ปี 1995
4.2.2) ผลที่ได้รับ
(1) การปฏิรูปส่งผลให้ประเทศเม็กซิโกฟื้นตัวภายหลังจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก
(2) สัดส่วนการส่งออกใน GDP เพิ่มจาก 12 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1983 เป็น 150 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2000
(3) Foreign Direct Investment เป็น 4.3 % ของ GDP (ระหว่างปี 1989 -1999)
4.2.3) ปัจจัยความสำเร็จ
การปฏิรูประบบเศรษฐกิจดำเนินการโดย Economic Deregulation Unit: UDE ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นนอกระบบราชการ และรายงานผลต่อประธานาธิบดี ผ่านทาง Trade Ministry โดยในปี 2000 UDE ได้กลายเป็นหน่วยงานอิสระ
4.3) ประเทศออสเตรเลีย ได้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจในปี 1960 และในปี 1970 รัฐบาลได้รีบเร่งในการกำหนดนโยบายทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคเพื่อยกระดับ GDP และผลิตภาพ โดยการปรับโครงสร้างได้เริ่มดำเนินการในปี 1980
4.3.1) กลยุทธ์และเครื่องมือในการเริ่มปฏิบัติ
National Competition Policy (NCP) ได้เริ่มดำเนินการปรับโครงสร้างมาตั้งแต่ปี 1994 มีเป้าหมายโดยรวมเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการแข่งขันให้กับระบบเศรษฐกิจในประเทศ โดยการเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบและการผูกขาดของรัฐบาลกลางและรัฐบาลของแต่ละรัฐ
4.3.2) ผลที่ได้รับ
การดำเนินการโดยรวมของ NCP สามารถยกระดับการเติบโตของ GDP ได้ และในระยะ 10 ปีต่อมา การปฎิรูปได้ดำเนินการอย่างจริงจังโดยรัฐบาลของแต่ละรัฐ
4.3.3) ปัจจัยความสำเร็จ
(1) แผนงานการปฏิรูปที่กำหนดได้ชัดเจน และครอบคลุมเป้าหมายการดำเนินงาน
(2) ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากหน่วยงานแต่ละฝ่าย
(3) มีเป้าหมายที่ชัดเจน และท้าทาย
(4) ผลการดำเนินการสร้างให้เกิดพันธมิตร
(5) มีระบบตรวจสอบและประเมินผลในแต่ละ ขั้นตอนของการดำเนินการ
4.4) ประเทศเกาหลี ได้เริ่มต้นความพยายามที่จะปฏิรูปในปี 1980 โดยภาครัฐได้มีเป้าหมายที่จะค่อยๆ ปรับโครงสร้างของไปทีละขั้นตอนมาตั้งแต่ปี 1960 ถึงปี 1970 และประเด็นหลักในการดำเนินการเกี่ยวข้องกับวิกฤตทางการเงิน
4.4.1) กลยุทธ์และเครื่องมือในการเริ่มปฏิบัติ
(1) ภาครัฐได้เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบจำนวนกว่าครึ่งของกฎระเบียบทั้งหมด
(2) ได้มีการจัดตั้ง Presidential Commission, Regulatory Reform Commission และองค์กรอื่นๆ เพื่อเป็นกลไกในการประชาสัมพันธ์และติดตามการปฎิรูป
4.4.2) ผลที่ได้รับ
(1) เพิ่ม GDP ได้ 8.6% ในระยะเวลา 10 ปี
(2) ลดระดับราคาผู้บริโภคได้ 7.2%
(3) ระหว่างปี 1992 ถึงปี 2001 อุปสรรคการลงทุนจากต่างประเทศได้มีสัดส่วนลดจาก 45% เป็น 35%
(4) ในรายงานระดับโลกด้านขีดความสามารถในการแข่งขันปี 2002 ประเทศเกาหลีได้เป็นอันดับที่ 26 จากทั้งหมด 75 ประเทศ ซึ่งจากปี 1997 ประเทศเกาหลีเป็นอันดับที่ 48 จากทั้งหมด 53 ประเทศ
4.4.3) ปัจจัยความสำเร็จ
(1) ภาครัฐและเอกชนยอมรับว่ากฎข้อบังคับของระบบตลาดไม่ใช่อุปสรรค แต่เป็นเครื่องมือเพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ
(2) ใช้วิกฤตทางการเงินเป็นโอกาสเพื่อขอการสนับสนุนกระบวนการปฏิรูป
(3) หน่วยงานดำเนินการปฏิรูปมีความเข้มแข็ง
(4) กระบวนการปฏิรูปมีรูปแบบการดำเนินการที่ดี และมีความเหมาะสม
5) บทเรียนจากกรณีตัวอย่างแต่ละประเทศ
5.1) ควรใช้สถานการณ์จากภายนอกให้เป็นประโยชน์ในการหาแนวร่วมเพื่อดำเนินการปฏิรูป
5.2) วางแผนงานตามแนวทางของประเทศที่ประสบความสำเร็จ เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันในการปฏิรูป
5.3) ควรปรึกษากับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้น อย่างโปร่งใสตรงไปตรงมา และการดำเนินการปฏิรูปไม่ควรจำกัดอยู่แค่ส่วนของนโยบายทางการเมือง
5.4) จัดตั้งหน่วยงานสนับสนุนด้านการปฏิรูปอย่างเหมาะสม
5.5) สร้างแรงจูงใจในการดำเนินการ โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องใช้เวลาในการทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์
5.6) ควรคำนึงถึงแนวทางปฏิบัติและติดตามตรวจสอบผลการดำเนินการตั้งแต่ระยะแรกของการปฏิรูป
2.3 ข้อสังเกต
2.3.1 ประเทศในเอเชียตะวันออกทุกประเทศ ต่างให้ความสำคัญกับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ดีขึ้นด้วยการปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน เนื่องจากเห็นว่า FDI เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีของประเทศ
2.3.2 ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญประการหนึ่งของการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศคือ การสร้างความเข้าใจและความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความขัดแย้งภายในประเทศ
2.3.3 ในการลดอุปสรรคด้านกฎระเบียบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศนั้น ควรจัดสมดุลระหว่างกระบวนการและทิศทางของผลที่คาดว่าจะได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรคำนึงถึง Domestic Economy Impact ด้วย
2.3.4 การปฎิรูประบบเศรษฐกิจตามแบบอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จ (Benchmark) จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีทั้งในระดับวางแผนและระดับปฏิบัติ นอกจากนี้ ในการกำหนดนโยบายต้องคำนึงถึงความสามารถในการดำเนินการของผู้รับผิดชอบ และมีการติดตามผลที่ได้รับอย่างสม่ำเสมอ
2.3.5 ประเทศฟิลิปปินส์ใช้กลยุทธ์จัดตั้ง Philippine Infrastructure Corporation (PIC) โดยมีเป้าหมายให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนในโครงการพัฒนา Infrastructure และดำเนินการในรูปแบบเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดของงบประมาณ ซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาล
2.3.6 ตัวอย่างหนึ่งในการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น และการลดเวลาการให้บริการแก่ภาคเอกชนคือ การนำ Single Window มาใช้ในการอนุมัติ เช่น สิงคโปร์ สามารถลดเวลาการอนุมัติจาก 7 วัน เหลือ 2 นาที และลดการใช้เอกสารจาก 3,000 แผ่น เหลือ 1 แผ่น
2.3.7 การสร้างบรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยควรคำนึงถึงความเท่าเทียมกันระหว่างกิจการขนาดใหญ่ และกิจการขนาดเล็กในการเข้าถึงปัจจัยสนับสนุนในด้านต่างๆ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
กฎระเบียบของรัฐเป็นประเด็นที่ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปฏิรูปกระบวนการทำงานของหน่วยงานรัฐและการลดกระบวนการทางด้านเอกสาร ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นของประเทศต่อการลดค่าใช้จ่ายของกิจการในเรื่องของระยะเวลาในการรับบริการจากรัฐ การจัดการด้านศุลกากรสินค้านำเข้า การขอสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การขอใบรับรองสิทธิและใบอนุญาตดำเนินการ และการจ้างแรงงานในท้องถิ่น
การสร้างความมั่นใจในเรื่องความสามารถในการพยากรณ์ของระยะเวลาในการได้รับหนังสือรับรองเพื่อลดค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการเข้ารับบริการเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดต้นทุนของกิจการ ความไม่แน่นอนของระยะเวลาในการเข้ารับบริการของรัฐทำให้กิจการวางแผนการดำเนินการได้ยาก การลดระยะเวลาเฉลี่ยของระยะเวลาในการเข้ารับบริการเป็นสิ่งสำคัญ แต่ยังไม่เพียงพอหากความสามารถในการพยากรณ์ยังไม่แน่นอน
รัฐบาลได้ดำเนินการปฏิรูประบบราชการตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจในปี ค.ศ.1997 โดยมุ่งหวังให้บริการภาครัฐมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อตอบสนองจุดประสงค์ดังกล่าว หน่วยงานรัฐได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ปัจจุบันเอกสารของหน่วยงานรัฐสามารถหาดาวน์โหลดได้จากอินเตอร์เน็ต เช่น แบบฟอร์มการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งสามารถหาได้จากเว็บไซด์ของกระทรวงการคลัง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังพยายามดำเนินการลดระยะเวลาการให้บริการประชาชนให้มากที่สุด โดยการตั้ง One-Stop Service Center ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
4) กรณีตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบต่างๆ
4.1) ประเทศฮังการี เป็นประเทศหนึ่งซึ่งเคยมีระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง แต่ในปี 1988 ระบบเศรษฐกิจได้เกิดการถดดอยลงอย่างรวดเร็ว ประเทศฮังการีจึงได้ปรับโครงสร้างกฎระเบียบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้
4.1.1) กลยุทธ์และเครื่องมือในการเริ่มปฏิบัติ
(1) ระยะตั้งต้น (ปี 1988 -- 1990) ได้เปิดเสรีระบบตลาด และแปรรูปหน่วยงานของภาครัฐ
(2) ระยะปฏิบัติ (ปี 1990 - 1994) ที่ต่อเนื่อง จากระยะตั้งต้น ได้มีการจัดตั้งองค์กร และระบบกรรมสิทธิ์
(3) ระยะที่ 2 (ปี 1994 -- 1998) แปรรูปหน่วยงาน ของภาครัฐ เพื่อดึงดูด Foreign Direct Investment
4.1.2) ผลที่ได้รับ
(1) ประสิทธิภาพของกฎระเบียบที่ได้จากการยกเลิกและแก้ไขกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ
(2) ในปี 1997 การค้า ได้ปรับขยายเพิ่มขึ้น โดยมีในส่วนของ EU 70% และกับกลุ่มประเทศ OECD 80%
(3) Foreign Direct Investment เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสามารถดึงดูดการลงทุนจากทั้ง East and Central Europe
4.1.3) ปัจจัยความสำเร็จ
(1) การปรับโครงสร้างกฏระเบียบต่างๆ มี Deregulation Commissioners เป็นผู้ดำเนินการและให้การสนับสนุนในระดับสูงสุดของคณะรัฐบาล
(2) การจัดตั้งและมอบหมายให้หน่วยงานของภาครัฐเป็นผู้ขับเคลื่อนคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของระยะที่ 2 มากกว่าในระยะตั้งต้น
4.2) ประเทศเม็กซิโก ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจเนื่องมาจากราคาน้ำมัน รวมทั้ง การผิดชำระหนี้ในปี 1982 เป็นอีกแรงกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูประบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทั้งในด้านลดการนำเข้า และหาช่องทางภายใต้ NAFTA ในปี 1989
4.2.1) กลยุทธ์และเครื่องมือในการเริ่มปฏิบัติ
(1) กำหนดเป้าหมายในการยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของระบบเศรษฐกิจด้านการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนตามข้อตกลง NAFTA
(2) โปรแกรมสำหรับการแปรรูปหน่วยงานภาครัฐในระยะยาว
(3) รัฐบาลเม็กซิโกได้เริ่มการปรับโครงสร้างทางด้านกฎระเบียบตั้งแต่ ปี 1995
4.2.2) ผลที่ได้รับ
(1) การปฏิรูปส่งผลให้ประเทศเม็กซิโกฟื้นตัวภายหลังจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก
(2) สัดส่วนการส่งออกใน GDP เพิ่มจาก 12 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1983 เป็น 150 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2000
(3) Foreign Direct Investment เป็น 4.3 % ของ GDP (ระหว่างปี 1989 -1999)
4.2.3) ปัจจัยความสำเร็จ
การปฏิรูประบบเศรษฐกิจดำเนินการโดย Economic Deregulation Unit: UDE ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นนอกระบบราชการ และรายงานผลต่อประธานาธิบดี ผ่านทาง Trade Ministry โดยในปี 2000 UDE ได้กลายเป็นหน่วยงานอิสระ
4.3) ประเทศออสเตรเลีย ได้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจในปี 1960 และในปี 1970 รัฐบาลได้รีบเร่งในการกำหนดนโยบายทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคเพื่อยกระดับ GDP และผลิตภาพ โดยการปรับโครงสร้างได้เริ่มดำเนินการในปี 1980
4.3.1) กลยุทธ์และเครื่องมือในการเริ่มปฏิบัติ
National Competition Policy (NCP) ได้เริ่มดำเนินการปรับโครงสร้างมาตั้งแต่ปี 1994 มีเป้าหมายโดยรวมเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการแข่งขันให้กับระบบเศรษฐกิจในประเทศ โดยการเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบและการผูกขาดของรัฐบาลกลางและรัฐบาลของแต่ละรัฐ
4.3.2) ผลที่ได้รับ
การดำเนินการโดยรวมของ NCP สามารถยกระดับการเติบโตของ GDP ได้ และในระยะ 10 ปีต่อมา การปฎิรูปได้ดำเนินการอย่างจริงจังโดยรัฐบาลของแต่ละรัฐ
4.3.3) ปัจจัยความสำเร็จ
(1) แผนงานการปฏิรูปที่กำหนดได้ชัดเจน และครอบคลุมเป้าหมายการดำเนินงาน
(2) ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากหน่วยงานแต่ละฝ่าย
(3) มีเป้าหมายที่ชัดเจน และท้าทาย
(4) ผลการดำเนินการสร้างให้เกิดพันธมิตร
(5) มีระบบตรวจสอบและประเมินผลในแต่ละ ขั้นตอนของการดำเนินการ
4.4) ประเทศเกาหลี ได้เริ่มต้นความพยายามที่จะปฏิรูปในปี 1980 โดยภาครัฐได้มีเป้าหมายที่จะค่อยๆ ปรับโครงสร้างของไปทีละขั้นตอนมาตั้งแต่ปี 1960 ถึงปี 1970 และประเด็นหลักในการดำเนินการเกี่ยวข้องกับวิกฤตทางการเงิน
4.4.1) กลยุทธ์และเครื่องมือในการเริ่มปฏิบัติ
(1) ภาครัฐได้เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบจำนวนกว่าครึ่งของกฎระเบียบทั้งหมด
(2) ได้มีการจัดตั้ง Presidential Commission, Regulatory Reform Commission และองค์กรอื่นๆ เพื่อเป็นกลไกในการประชาสัมพันธ์และติดตามการปฎิรูป
4.4.2) ผลที่ได้รับ
(1) เพิ่ม GDP ได้ 8.6% ในระยะเวลา 10 ปี
(2) ลดระดับราคาผู้บริโภคได้ 7.2%
(3) ระหว่างปี 1992 ถึงปี 2001 อุปสรรคการลงทุนจากต่างประเทศได้มีสัดส่วนลดจาก 45% เป็น 35%
(4) ในรายงานระดับโลกด้านขีดความสามารถในการแข่งขันปี 2002 ประเทศเกาหลีได้เป็นอันดับที่ 26 จากทั้งหมด 75 ประเทศ ซึ่งจากปี 1997 ประเทศเกาหลีเป็นอันดับที่ 48 จากทั้งหมด 53 ประเทศ
4.4.3) ปัจจัยความสำเร็จ
(1) ภาครัฐและเอกชนยอมรับว่ากฎข้อบังคับของระบบตลาดไม่ใช่อุปสรรค แต่เป็นเครื่องมือเพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ
(2) ใช้วิกฤตทางการเงินเป็นโอกาสเพื่อขอการสนับสนุนกระบวนการปฏิรูป
(3) หน่วยงานดำเนินการปฏิรูปมีความเข้มแข็ง
(4) กระบวนการปฏิรูปมีรูปแบบการดำเนินการที่ดี และมีความเหมาะสม
5) บทเรียนจากกรณีตัวอย่างแต่ละประเทศ
5.1) ควรใช้สถานการณ์จากภายนอกให้เป็นประโยชน์ในการหาแนวร่วมเพื่อดำเนินการปฏิรูป
5.2) วางแผนงานตามแนวทางของประเทศที่ประสบความสำเร็จ เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันในการปฏิรูป
5.3) ควรปรึกษากับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้น อย่างโปร่งใสตรงไปตรงมา และการดำเนินการปฏิรูปไม่ควรจำกัดอยู่แค่ส่วนของนโยบายทางการเมือง
5.4) จัดตั้งหน่วยงานสนับสนุนด้านการปฏิรูปอย่างเหมาะสม
5.5) สร้างแรงจูงใจในการดำเนินการ โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องใช้เวลาในการทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์
5.6) ควรคำนึงถึงแนวทางปฏิบัติและติดตามตรวจสอบผลการดำเนินการตั้งแต่ระยะแรกของการปฏิรูป
2.3 ข้อสังเกต
2.3.1 ประเทศในเอเชียตะวันออกทุกประเทศ ต่างให้ความสำคัญกับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ดีขึ้นด้วยการปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน เนื่องจากเห็นว่า FDI เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีของประเทศ
2.3.2 ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญประการหนึ่งของการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศคือ การสร้างความเข้าใจและความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความขัดแย้งภายในประเทศ
2.3.3 ในการลดอุปสรรคด้านกฎระเบียบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศนั้น ควรจัดสมดุลระหว่างกระบวนการและทิศทางของผลที่คาดว่าจะได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรคำนึงถึง Domestic Economy Impact ด้วย
2.3.4 การปฎิรูประบบเศรษฐกิจตามแบบอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จ (Benchmark) จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีทั้งในระดับวางแผนและระดับปฏิบัติ นอกจากนี้ ในการกำหนดนโยบายต้องคำนึงถึงความสามารถในการดำเนินการของผู้รับผิดชอบ และมีการติดตามผลที่ได้รับอย่างสม่ำเสมอ
2.3.5 ประเทศฟิลิปปินส์ใช้กลยุทธ์จัดตั้ง Philippine Infrastructure Corporation (PIC) โดยมีเป้าหมายให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนในโครงการพัฒนา Infrastructure และดำเนินการในรูปแบบเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดของงบประมาณ ซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาล
2.3.6 ตัวอย่างหนึ่งในการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น และการลดเวลาการให้บริการแก่ภาคเอกชนคือ การนำ Single Window มาใช้ในการอนุมัติ เช่น สิงคโปร์ สามารถลดเวลาการอนุมัติจาก 7 วัน เหลือ 2 นาที และลดการใช้เอกสารจาก 3,000 แผ่น เหลือ 1 แผ่น
2.3.7 การสร้างบรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยควรคำนึงถึงความเท่าเทียมกันระหว่างกิจการขนาดใหญ่ และกิจการขนาดเล็กในการเข้าถึงปัจจัยสนับสนุนในด้านต่างๆ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-