-คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.25 ต่อปี
เพื่อ ควบคุมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเป็นบวก
-การทำธุรกรรมในตลาด R/P 14 วัน ค่อนข้างเบาบางก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธ และหลังจากนั้นอัตรา
ดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ทั้งของไทยและสหรัฐฯ
ปรับตัวเพิ่มขึ้น
-เงินบาทยังคงปรับแข็งค่าขึ้นโดยเฉพาะในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ จากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเตรียมเข้าซื้อหุ้น บมจ. ชิน
คอร์ปอเรชั่น และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น หลังจากตัวเลข
เศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ครั้งแรกของปี ในวันที่ 18 มกราคม 2549 มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อย
ละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่มีแนวโน้มเร่งตัวเกินระดับเป้าหมายภายในปี 2550 แม้ว่าอัตรา
เงินเฟ้อทั่วไปจะชะลอตัวลงเล็กน้อยในช่วงปลายปี 2548 ตลอดจนเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเป็นบวก ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังมีแนว
โน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากแนวโน้มการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่อยู่ในเกณฑ์ดี
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการดำรงเงินสดสำรอง
ในระดับสูงเพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 18 ม.ค.
ความต้องการกู้ยืมจึงเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.1875 ต่อปี แต่
อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 3.9375 และ 4 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในช่วงต้นสัปดาห์ มีการทำธุรกรรม
ระยะ 14 วัน เบาบางมาก แต่หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในวันพุธ ความต้องการลงทุนในระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.15625 และ 4.25 ต่อปี สำหรับอัตรา
ดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ตามลำดับ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องตึงตัวขึ้น
เล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ขาดดุลเคลียริ่งลดการลงทุนระยะสั้นลง แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังคงปิดตลาดในอัตราเดิม สำหรับอัตรา
ดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.65 - 4.17 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.93
ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.14 - 4.15 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน
พันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 35,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋ว เงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
21,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 12,000 ล้านบาท โดย ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลัง
อายุ 182 วันที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ อายุ 5 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท
และพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 5 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท สัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 44,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้
เป็นพันธบัตรชดเชยความเสียหายกองทุนฟื้นฟูจำนวน 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีการ roll over ในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. รวม 24,000 ล้าน
บาท ในสัปดาห์นี้จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดลดลง 9,000 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 92,525 ล้านบาท หรือ 18,505 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ
5 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 70 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน
โดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีการปรับตัวขึ้นลงในกรอบแคบๆ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์
หลังจากที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ก่อนจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และปรับลดลงต่ำสุดในวันพุธหลังจาก ธปท.ประกาศปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นอีกในช่วงปลายสัปดาห์ ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุไม่เกิน 1 ปีอัตราผลตอบแทนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอด
สัปดาห์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราลตอบแทนโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-12 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของ
พันธบัตรรัฐบาลลดลง 34 basis points ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับ US Treasury Yield ส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบ
แทนเพิ่มขึ้น 2-5 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ธ.ค. 48 41.03
เฉลี่ย 9 - 13 ม.ค. 49 39.64
16 ม.ค. 49 39.50
17 ม.ค. 49 39.70
18 ม.ค. 49 39.64
19 ม.ค. 49 39.35
20 ม.ค. 49 39.32
เฉลี่ย 16 - 20 ม.ค. 49 39.50
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.4 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาท
ในช่วงต้นสัปดาห์มีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อยตามค่าเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยน ประกอบกับนักลงทุนมีความต้องการขายเงินบาทเพื่อทำกำไรระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายน 2548 ที่ระดับ 39.32
บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. อีก
ร้อยละ 0.25 ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐฯ มาอยู่ในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี ตลอดจนเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อ
เตรียมเข้าซื้อหุ้น บมจ. ชิน คอร์ปอเรชั่นเป็นจำนวนมาก โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนต่างชาติมีการซื้อสุทธิประมาณ 6.6 พันล้านบาท มีแนวโน้มลดลงเมื่อ
เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทถูกกดดันด้วยความกังวลว่า ธปท. อาจเข้าแทรกแซงเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกินไป แม้ว่า
ผู้ว่า ธปท. จะยืนยันว่ายังไม่ได้แทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนี้เนื่องจากความเคลื่อนไหวของเงินบาทยังเป็นไปตามกลไลตลาด ในขณะเดียว
กัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของของสหรัฐฯ ออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขอัตราการ
ใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุนการปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในระยะต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เพื่อ ควบคุมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเป็นบวก
-การทำธุรกรรมในตลาด R/P 14 วัน ค่อนข้างเบาบางก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธ และหลังจากนั้นอัตรา
ดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ทั้งของไทยและสหรัฐฯ
ปรับตัวเพิ่มขึ้น
-เงินบาทยังคงปรับแข็งค่าขึ้นโดยเฉพาะในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ จากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเตรียมเข้าซื้อหุ้น บมจ. ชิน
คอร์ปอเรชั่น และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น หลังจากตัวเลข
เศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ครั้งแรกของปี ในวันที่ 18 มกราคม 2549 มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อย
ละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่มีแนวโน้มเร่งตัวเกินระดับเป้าหมายภายในปี 2550 แม้ว่าอัตรา
เงินเฟ้อทั่วไปจะชะลอตัวลงเล็กน้อยในช่วงปลายปี 2548 ตลอดจนเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเป็นบวก ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังมีแนว
โน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากแนวโน้มการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่อยู่ในเกณฑ์ดี
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความต้องการดำรงเงินสดสำรอง
ในระดับสูงเพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 18 ม.ค.
ความต้องการกู้ยืมจึงเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.1875 ต่อปี แต่
อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 3.9375 และ 4 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในช่วงต้นสัปดาห์ มีการทำธุรกรรม
ระยะ 14 วัน เบาบางมาก แต่หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในวันพุธ ความต้องการลงทุนในระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.15625 และ 4.25 ต่อปี สำหรับอัตรา
ดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ตามลำดับ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องตึงตัวขึ้น
เล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ขาดดุลเคลียริ่งลดการลงทุนระยะสั้นลง แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังคงปิดตลาดในอัตราเดิม สำหรับอัตรา
ดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.65 - 4.17 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.93
ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 4.14 - 4.15 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน
พันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 35,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋ว เงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม
21,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงิน 12,000 ล้านบาท โดย ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลัง
อายุ 182 วันที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ อายุ 5 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท
และพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 5 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท สัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 44,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้
เป็นพันธบัตรชดเชยความเสียหายกองทุนฟื้นฟูจำนวน 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีการ roll over ในช่วงเดือน ม.ค.-มี.ค. รวม 24,000 ล้าน
บาท ในสัปดาห์นี้จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดลดลง 9,000 ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 92,525 ล้านบาท หรือ 18,505 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ
5 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 70 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน
โดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีการปรับตัวขึ้นลงในกรอบแคบๆ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับตัวลดลงในช่วงต้นสัปดาห์
หลังจากที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ก่อนจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และปรับลดลงต่ำสุดในวันพุธหลังจาก ธปท.ประกาศปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นอีกในช่วงปลายสัปดาห์ ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุไม่เกิน 1 ปีอัตราผลตอบแทนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอด
สัปดาห์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราลตอบแทนโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-12 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของ
พันธบัตรรัฐบาลลดลง 34 basis points ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับ US Treasury Yield ส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบ
แทนเพิ่มขึ้น 2-5 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ธ.ค. 48 41.03
เฉลี่ย 9 - 13 ม.ค. 49 39.64
16 ม.ค. 49 39.50
17 ม.ค. 49 39.70
18 ม.ค. 49 39.64
19 ม.ค. 49 39.35
20 ม.ค. 49 39.32
เฉลี่ย 16 - 20 ม.ค. 49 39.50
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.4 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาท
ในช่วงต้นสัปดาห์มีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อยตามค่าเงินสกุลภูมิภาคและเงินเยน ประกอบกับนักลงทุนมีความต้องการขายเงินบาทเพื่อทำกำไรระยะสั้น
อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่ช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ และปรับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายน 2548 ที่ระดับ 39.32
บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. อีก
ร้อยละ 0.25 ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยของไทยและสหรัฐฯ มาอยู่ในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี ตลอดจนเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อ
เตรียมเข้าซื้อหุ้น บมจ. ชิน คอร์ปอเรชั่นเป็นจำนวนมาก โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนต่างชาติมีการซื้อสุทธิประมาณ 6.6 พันล้านบาท มีแนวโน้มลดลงเมื่อ
เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทถูกกดดันด้วยความกังวลว่า ธปท. อาจเข้าแทรกแซงเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกินไป แม้ว่า
ผู้ว่า ธปท. จะยืนยันว่ายังไม่ได้แทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนี้เนื่องจากความเคลื่อนไหวของเงินบาทยังเป็นไปตามกลไลตลาด ในขณะเดียว
กัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของของสหรัฐฯ ออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขอัตราการ
ใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุนการปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในระยะต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-