จากการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2548 ว่า ธรรมาภิบาลรัฐบาลไทยเสื่อม สอบตก `คุมโกง' ธนาคารโลกให้แค่ `49%' นั้น เป็นการสื่อความหมายที่ไม่ครบถ้วนและอาจสร้างความเข้าใจผิดต่อการพัฒนาธรรมาภิบาลของประเทศไทย ซึ่งควรพิจารณาถึงประเด็นภาพรวมดังนี้
1. รายงาน Good Governance Matters IV ของธนาคารโลก มีเกณฑ์ประเมินธรรมาภิบาล 6 ด้าน ซึ่งในปี 2547 ประเทศไทยมีตำแหน่งเปรียบเทียบ (percentile rank จาก 0-100) ดีกว่าตำแหน่งเฉลี่ยของกลุ่มประเทศในภูมิภาค 4 ด้าน และกลุ่มประเทศที่มีรายได้เดียวกันในทุกด้าน ดังนี้
---------------------------------------------------------------------------------
ไทย จีน เฉลี่ยภูมิภาค เฉลี่ยกลุ่มรายได้เดียวกัน
---------------------------------------------------------------------------------
1. การเคารพในสิทธิมนุษยชนและพลเรือน 52.4 7.3 50.0 39.9
2. เสถียรภาพการเมืองและความปลอดภัย 41.7 46.6 55.3 36.5
3. ประสิทธิภาพรัฐบาล 65.4 60.1 46.0 40.2
4. คุณภาพนโยบายและกฎระเบียบ 51.2 35.0 50.6 38.5
5. การบังคับใช้กฎหมาย 51.7 40.6 53.3 37.4
6. การควบคุมการฉ้อราษฎร์บังหลวง 49.3 39.9 45.3 38.6
---------------------------------------------------------------------------------
2. การจัดตำแหน่งเปรียบเทียบ ในรายงานให้ตีความว่า กลุ่ม 75-100 เป็นกลุ่ม First Best ส่วน 50-74 เป็นกลุ่ม Second Best (ตำแหน่งที่ 75 หมายถึง มีประเทศอื่นเพียง 25% ที่ทำได้ดีกว่าโดยเปรียบเทียบ)
3. การคำนวณตำแหน่งเปรียบเทียบมีความเบี่ยงเบนทางสถิติ (standard deviation) ซึ่งถ้ารวมด้วยแล้วยังแปลความได้ว่าประเทศไทยยังอยู่ในกลุ่ม Second Best ทุกด้าน
4. คะแนนธรรมาภิบาลโดยรวมของประเทศไทย คือ 52 หรือเมื่อรวมความเบี่ยงเบนทางสถิติแล้วอยู่ระหว่าง 47-62
5. ด้านการควบคุมการฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งประเทศไทยได้ตำแหน่งเปรียบเทียบที่ 49.5 ถ้าดูแนวโน้มจะเห็นว่าเป็นแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้น
--------------------------------------------------------------------------------
2539 2541 2543 2545 2547
--------------------------------------------------------------------------------
42.0 54.6 47.8 47.4 49.3
--------------------------------------------------------------------------------
6. รายงานได้ให้ข้อควรระวังในการตีความข้อมูลว่า เนื่องจากเป็นการสำรวจความเห็นโดยทั่วไปเท่านั้นผู้ตอบคำถามอาจมีทัศนคติที่โอนเอียงไปในการให้คะแนนประเทศพัฒนาที่มีรายได้สูงมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาเนื่องจากเป็นภาพพจน์ที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าจะมีธรรมาภิบาลดีกว่า (Halo Effect)
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1. รายงาน Good Governance Matters IV ของธนาคารโลก มีเกณฑ์ประเมินธรรมาภิบาล 6 ด้าน ซึ่งในปี 2547 ประเทศไทยมีตำแหน่งเปรียบเทียบ (percentile rank จาก 0-100) ดีกว่าตำแหน่งเฉลี่ยของกลุ่มประเทศในภูมิภาค 4 ด้าน และกลุ่มประเทศที่มีรายได้เดียวกันในทุกด้าน ดังนี้
---------------------------------------------------------------------------------
ไทย จีน เฉลี่ยภูมิภาค เฉลี่ยกลุ่มรายได้เดียวกัน
---------------------------------------------------------------------------------
1. การเคารพในสิทธิมนุษยชนและพลเรือน 52.4 7.3 50.0 39.9
2. เสถียรภาพการเมืองและความปลอดภัย 41.7 46.6 55.3 36.5
3. ประสิทธิภาพรัฐบาล 65.4 60.1 46.0 40.2
4. คุณภาพนโยบายและกฎระเบียบ 51.2 35.0 50.6 38.5
5. การบังคับใช้กฎหมาย 51.7 40.6 53.3 37.4
6. การควบคุมการฉ้อราษฎร์บังหลวง 49.3 39.9 45.3 38.6
---------------------------------------------------------------------------------
2. การจัดตำแหน่งเปรียบเทียบ ในรายงานให้ตีความว่า กลุ่ม 75-100 เป็นกลุ่ม First Best ส่วน 50-74 เป็นกลุ่ม Second Best (ตำแหน่งที่ 75 หมายถึง มีประเทศอื่นเพียง 25% ที่ทำได้ดีกว่าโดยเปรียบเทียบ)
3. การคำนวณตำแหน่งเปรียบเทียบมีความเบี่ยงเบนทางสถิติ (standard deviation) ซึ่งถ้ารวมด้วยแล้วยังแปลความได้ว่าประเทศไทยยังอยู่ในกลุ่ม Second Best ทุกด้าน
4. คะแนนธรรมาภิบาลโดยรวมของประเทศไทย คือ 52 หรือเมื่อรวมความเบี่ยงเบนทางสถิติแล้วอยู่ระหว่าง 47-62
5. ด้านการควบคุมการฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งประเทศไทยได้ตำแหน่งเปรียบเทียบที่ 49.5 ถ้าดูแนวโน้มจะเห็นว่าเป็นแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้น
--------------------------------------------------------------------------------
2539 2541 2543 2545 2547
--------------------------------------------------------------------------------
42.0 54.6 47.8 47.4 49.3
--------------------------------------------------------------------------------
6. รายงานได้ให้ข้อควรระวังในการตีความข้อมูลว่า เนื่องจากเป็นการสำรวจความเห็นโดยทั่วไปเท่านั้นผู้ตอบคำถามอาจมีทัศนคติที่โอนเอียงไปในการให้คะแนนประเทศพัฒนาที่มีรายได้สูงมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาเนื่องจากเป็นภาพพจน์ที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าจะมีธรรมาภิบาลดีกว่า (Halo Effect)
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-