(ต่อ4)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 26, 2009 15:41 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เสถียรภาพเศรษฐกิจ: เงินเฟ้อลดลง แต่การว่างงานเพิ่มขึ้น สำหรับในด้านต่างประเทศนั้นดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงและสำรองเงินตราระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น

  (%YoY)          2550        -----------------2551-----------------        2552
                   ทั้งปี        ทั้งปี      Q1       Q2       Q3       Q4          Q1
น้ำมันเบนซิน         1.69      -2.95    -1.92    -5.22    -7.27     2.67        7.34
ออกเทน (91+95)   -6.10     -33.11   -26.42   -32.01   -40.14   -34.60      -28.44
แก๊สโซฮอล์         37.79      92.41   111.95    94.07    91.27    81.51       65.08
น้ำมันดีเซล          2.13      -5.74    -0.37    -3.99   -14.40    -4.78       -1.29
หมุนเร็ว+หมุนช้า     -1.22     -23.28   -10.23   -20.44   -33.92   -30.06      -31.48
หมุนเร็ว บี5      1360.62     502.41   787.29   645.00   498.98   384.62      240.20
ก๊าซแอลพีจี         14.30      16.57    17.59    20.82    27.13     1.79        0.71
NGV              11738.     22976.  192.38   220.18   268.89   224.16      184.24
  • เสถียรภาพในประเทศ
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไป7 ในไตรมาสแรกราคาสินค้าโดยเฉลี่ยลดลงร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ใน
ไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว และเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ในปีที่แล้วซึ่งเป็นผลจากการขยายมาตรการ “5 มาตรการ 6 เดือน” ของรัฐบาล และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงต่อเนื่อง ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศลดลงตาม

ทั้งนี้ ดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 โดยเฉพาะราคาสินค้าประเภทข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง, เนื้อสัตว์, ไข่และผลิตภัณฑ์นมยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในหมวดอาหารซึ่งเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับประชาชน ดัชนีราคาสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 6.9 เป็นผลจากราคาในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารที่ลดลงร้อยละ 13.0 โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงถึงร้อยละ 26.5 และราคาในหมวดเคหสถานที่ลดลงร้อยละ 5.8 จากราคาค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าที่ลดลงถึงร้อยละ 27.7

นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงกดดันด้านราคาผู้ผลิตลดลงเช่นกัน โดยในไตรมาสแรกดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 3.5 เป็นผลมาจาก ราคาผลิตภัณฑ์เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมที่ลดลงร้อยละ 18.4 และ 5.5 ตามลำดับ แต่ราคาสินค้าเกษตรยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลผลิตด้านการเกษตรโดยเฉพาะราคาข้าวเปลือก และผลไม้เป็นสำคัญ

  • การจ้างงานเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 มีจำ นวน 36.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยมีการจ้างงานในภาคเกษตร 12.90 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และผู้มีงานทำนอกภาคเกษตร 23.60 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 สาขาการผลิตที่
ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวและส่งผลให้มีการเลิกจ้างแรงงาน คือ สาขาอุตสาหกรรม จ้างงานลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่อง 4 ไตรมาส ตามการหดตัวของภาคการผลิตที่หดตัวมากในไตรมาสแรกนี้ โดยเฉพาะการจ้างงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ สิ่งทอ โลหะขั้นมูลฐาน และเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับจำนวนผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสนี้มีจำนวน 7.79 แสนคนหรือเพิ่มขึ้น 1.74 แสนคนจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7 โดยที่อัตราการว่างงานในไตรมาสนี้อยู่ในระดับร้อยละ 2.1
การที่แรงงานในภาคอุตสาหกรรมถูกเลิกจ้างส่วนหนึ่งจะมีการเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคบริการ โดยเฉพาะโรงแรมภัตตาคาร การขนส่ง การค้าและสาขาก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 5.5 4.4 และ 3.4 ตามลำดับ ถึงแม้ว่าผู้มีงานทำโดยรวมในไตรมาสนี้ยังเพิ่มขึ้น แต่กำลังแรงงานได้ถูกลดชั่วโมงทำงานลง สังเกตได้จากจำนวนแรงงานที่ทำงานล่วงเวลา (มากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ลดลงร้อยละ 1.7 ขณะที่กลุ่มแรงงานที่มีชั่วโมงทำงาน 30 — 49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3

การที่ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมหดตัวลงมากและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการปิดกิจการและเลิกจ้าง ทำให้จำนวนผู้ประกันตนกรณีว่างงานในไตรมาสนี้มีจำนวน 245.0 พันคน เพิ่มจาก 82.0 พันคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 198.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุของการเลิกจ้างหลักๆ เช่น ประสบภาวะขาดทุน คำสั่งซื้อลดลง หมดฤดูกาลการผลิต ลดขนาดองค์กร และหมดสัญญาจ้างสำหรับกิจการการผลิตที่มีการเลิกจ้างใน 5 อันดับแรกประกอบด้วย อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอ การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตผลิตภัณฑ์จากแร่โลหะ และอโลหะ การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ และการผลิตเครื่องแต่งกาย เป็นต้น

ณ สิ้นไตรมาสแรก สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม 385,460 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และมีผู้ประกันตน 8.64 ล้านคน ลดลงร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา การที่เกิดวิกฤตการเงินโลกและบรรยากาศทางการเมืองในประเทศทำให้ไม่เอื้อ ต่อการลงทุน ส่งผลให้โอกาสในการหางานทำยากขึ้นโดยจำนวนผู้สมัครงานใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.8 ในขณะที่ตำแหน่งงานว่างลดลงร้อยละ 32.5 ทำให้สัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนผู้สมัครงานใหม่ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2552 อยู่ในระดับ 0.36 เท่า ลดลงจากระดับ0.71 และ 0.55 เท่า ณ สิ้นเดือนกันยายน และธันวาคม 2551 ตามลำดับ การที่สัดส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนผู้สมัครงานใหม่มีแนวโน้มลดลง แสดงให้เห็นถึงสัญญาณและแนวโน้มการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

  • เสถียรภาพด้านต่างประเทศ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด: เกินดุล จากดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่เกินดุล 1,312 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากรายจ่ายด้านการท่องเที่ยวและค่าโดยสารเดินทางของคนไทยไปต่างประเทศลดลงมาก ในขณะที่มีรายรับจากการท่องเที่ยวและค่าโดยสารคนต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยยังเพิ่มขึ้นปกติตามฤดูกาลท่องเที่ยว ทำให้ดุลบริการสุทธิเกินดุลสูง ซึ่งเมื่อรวมกับดุลการค้าที่เกินดุลสูง ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสแรกของปีเกินดุลเท่ากับ 9,112 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับ 32,580 ล้านบาท
  • เสถียรภาพด้านเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่ดีโดยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2552 เท่ากับ 116.83 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และมี Net Forward Position อีก 3.58 พันล้านดอลลาร์) สูงกว่า 111.01 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 (และ Net Forward Position อีก 6.96 พันล้านดอลลาร์) คิดเป็นประมาณ 4.9 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ที่มีมูลค่า 20.06 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเท่ากับการนำเข้า 12.6 เดือน ของเดือนมีนาคม 2552 ที่มีมูลค่า 9.26 พันล้านดอลลาร์ สรอ.

ฐานะการคลัง : ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2552 (ม.ค. — มี.ค. 52)ฐานะการคลังขาดดุลเงินสดต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ต่ำในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศหดตัว ในช่วงไตรมาสสองนี้รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 284,362 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 6.5 และเป็นการจัดเก็บรายได้ที่ต่ำกว่าเป้าหมายถึง 44,440 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.5 โดยเป็นผลการจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคที่หดตัวค่อนข้างมากโดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 20.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามภาวะการนำเข้าและการบริโภคในประเทศที่ลดลง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากมาตรการภาษีและการปรับเพิ่มเงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 100,000 บาท เป็น 150,000 บาท ภาษีสรรพสามิตน้ำมันลดลงร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนของการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลและก๊าซโซฮอล์ เนื่องมาจากมาตรการ “ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน”

ในด้านการใช้จ่ายมีการเบิกจ่ายงบประมาณ 567,441 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน ร้อยละ 41.1 จำแนกเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน 523,041 ล้านบาท และงบเหลี่อมปี 44,399 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 283,079 ล้านบาท เทียบกับขาดดุลงบประมาณ 98,029 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน และเมื่อรวมเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 97,466 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับเงินชดใช้เงินคงคลัง และรัฐบาลได้ออกพันธบัตรและตั๋วเงินคลังเพิ่มเติมอีกจำนวน 175,530 ล้านบาท เป็นผลให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุลจำนวน 10,083 ล้านบาท

ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ (2552 ต.ค.51 — มี.ค. 52) มีการเบิกจ่ายรวม 885,713 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 54.4 ของวงเงินงบประมาณ 1,957,700 ล้านบาท (รวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 จำนวน 116,700 ล้านบาท) ทั้งนี้ เป็นการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯ ประมาณ 36,729 ล้านบาทโครงการสำคัญๆ ที่มีการเบิกจ่าย ได้แก่ โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพ ประชาชนและบุคลากรภาครัฐ 16,231 ล้านบาท โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี 14,005 ล้านบาท และโครงการ “5 มาตรการ 6 เดือนฯ” เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน 6,392 ล้านบาท เป็นต้น สำหรับการเบิกจ่ายงบลงทุน ในช่วง 6 เดือน แรกของปีงบประมาณ 2552 เบิกจ่ายได้ 128,178 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.2 ของงบลงทุนรวม 441,447 ล้านบาท เทียบกับร้อยละ 39.5 ของช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 มีจำนวน 3,598,395 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 39.9 ของ GDP เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบ ณ สิ้นเดือนธันวาคมที่มียอดหนี้สาธารณะคงค้างร้อยละ 38.1 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงประมาณร้อยละ 63.6 ของหนี้สาธารณะทั้งหมด ปริมาณหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้น 127,050.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.7 จากยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเป็นเงินกู้ภายในประเทศ

ภาวะการเงิน: อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ณ สิ้นไตรมาสแรกลดลงก่อนที่จะเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน เงินฝากและสินเชื่อยังเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอลงมากในขณะที่สภาพคล่องส่วนเกินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เงินบาทอ่อนค่าลง ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์และปริมาณการซื้อขายยังลดลงแต่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส ส่วนมูลค่าซื้อขายในตลาดตราสารหนี้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย

  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย คณะกรรมการนโยบายการเงินปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 2 ครั้ง ในไตรมาสแรกปี 2552 รวมร้อยละ 1.25 จากร้อยละ 2.75 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจหดตัวและยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง จากที่การ
ส่งออกยังลดลงต่อเนื่องในขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อได้ลดลงอย่างรวดเร็ว สำหรับตลาดการเงินในต่างประเทศนั้น กลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมภายหลังจากที่ได้มีการปรับลดลงไปมากแล้วในช่วงปลายปี 2551 ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ และญี่ปุ่นอยู่ในระดับใกล้ร้อยละ 0 แต่หลายประเทศยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ธนาคารกลางสหภาพยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 1.0 มาอยู่ที่ร้อยละ1.5 ต่อปี ธนาคารกลางอังกฤษปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 ครั้งในไตรมาสแรก โดยในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี เช่นเดียวกับธนาคารกลางอินโดนีเซียที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ร้อยละ 7.75 ต่อปี ส่วนธนาคารกลางเกาหลีใต้และฟิลิปปินส์ปรับลด 2 ครั้ง ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 2.0 และ 4.75
ต่อปี ตามลำดับ และล่าสุดในเดือนเมษายน หลายประเทศยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม มีเพียงประเทศไทยและสหภาพยุโรปที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 โดยอัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นเดือนเมษายน อยู่ในระดับที่เท่ากัน คือ ร้อยละ 1.25 ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงตามทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลงเล็กน้อย ณ สิ้นไตรมาสแรก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 12 เดือนเฉลี่ยของ 5 ธนาคารใหญ่ ลดลงจากร้อยละ 1.62 และ 1.88 ต่อปีตามลำดับมาอยู่ที่ร้อยละ 0.75 และ 0.88 ต่อปี ตามลำดับ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั้นดีแบบมีระยะเวลา (MLR) ลดลงจากร้อยละ 6.88 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 6.25 ต่อปี ทั้งนี้ที่ผ่านมาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เมื่อประกอบกับรายได้ประชาชนที่ชะลอตัวลงมากและผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้และตั๋วแลกเงินที่จูงใจมากกว่า ส่งผลให้ปริมาณเงินฝากเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงได้ลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นสำ คัญ โดยที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนที่แท้จริงอยู่ที่ร้อยละ1.08 ต่อปีลดลงจากร้อยละ 1.48 ต่อปี ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงยังค่อนข้างทรงตัวที่ร้อยละ 6.45 ต่อปี เมื่อเทียบกับร้อยละ 6.48 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสสี่ 2551 แม้ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย MLR ลงประมาณร้อยละ 0.6 แต่อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงร้อยละ 0.2 ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงปรับลดลงเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามล่าสุดในเดือนเมษายนอัตราเงินเฟ้อได้ลดลงร้อยละ 0.9 ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสำหรับเงินฝากและเงินกู้กลับมาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดของประสิทธิผลของการดำเนินนโยบายการเงินได้โดยเฉพาะในภาวะที่สถาบันการเงินความระมัดระวังในการขยายสินเชื่อ
  • ตัวคูณทวีทางการเงิน (Money multiplier) และอัตราการหมุนเวียนของเงิน (Velocity of money) ลดลงชัดเจนซึ่งสะท้อน
ว่าประสิทธิผลของการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายยังมีข้อจำกัดในภาวะที่เศรษฐกิจซบเซา และประชาชนมีความเชื่อมั่นต่ำ ประกอบกับสถาบันการเงินเงินก็เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
  • เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2552 เงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ในไตรมาสสี่ปี 2551 ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงของปริมาณเงินฝากทุกประเภทและทุกขนาดบัญชี โดยเฉพาะเงินฝากประจำที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.7 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 12.7 ณ สิ้นไตรมาสสี่ปี 2551 โดยที่ผู้ฝากเงินมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝากเงินและการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าจากการออมในรูปของตั๋วแลกเงิน (B/E) ซึ่งจะเห็นว่าการฝากในรูปของตั๋วแลกเงิน (B/E) ได้เร่งตัวขึ้นมาก จากที่มีการขยายตัวร้อยละ 17.6 ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วมาเป็นการขยายตัวถึงร้อยละ 44.2 ในไตรมาสแรกของปีนี้ซึ่งในอีกด้านหนึ่งการถือสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงมากกว่าในจำนวนที่มากขึ้นสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้ออมต่อความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ไทยด้วย
  • สินเชื่อภาคธุรกิจชะลอตัวลงในขณะที่สินเชื่อผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สินเชื่อรวมของสถาบันรับฝากเงินทั้งหมด ณ สิ้นไตรมาส
แรกปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 10.2 ณ สิ้นไตรมาสสี่ปี 2551 ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับการที่สถาบันการเงินมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงสะท้อนให้เห็นถึงความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันรับฝากเงินที่เข้มงวดมากขึ้นจากความเสี่ยงในการผิดนัดชำระที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการสินเชื่อที่ชะลอลงมากในภาวะที่การใช้จ่ายและการลงทุนหดตัว โดยรวมสินเชื่อภาคธุรกิจในทุกสาขายังขยายตัวร้อยละ 5.37 แต่เป็นอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงมากจากร้อยละ 11.2 ในขณะที่สินเชื่อผู้บริโภคนั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและการเบิกเงินสดล่วงหน้าลดลง จากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและระดับรายได้ในอนาคต ยอดคงค้างบัตรเครดิตขยายตัวร้อยละ 3.7 ซึ่งชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 5.5 ในไตรมาสก่อนหน้า
  • สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์และสภาพคล่องส่วนเกินของระบบธนาคารพาณิชย์9 เพิ่มสูงขึ้น สัดส่วนสินเชื่อ (ไม่รวมเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร) ต่อเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน) ลดลงจากร้อยละ 87.3 เป็นร้อยละ 83.4 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สินเชื่อชะลอตัวลงมากกว่าเงินฝาก และเมื่อพิจารณาสภาพคล่องส่วนเกินของระบบธนาคารพาณิชย์ที่รวมเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรพบว่า สภาพคล่องส่วนเกินเพิ่มสูงขึ้น โดยมีมูลค่า1.39 ล้านล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2552 เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 26.8 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรเป็นหลัก อย่างไรก็ตามคาดว่าสภาพคล่องในช่วงปลายปีจะตึงตัวมากขึ้น เนื่องจาก (1) การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลที่เพิ่มสูงขึ้นและความต้องการเงินลงทุนเพื่อสนับสนุนแผนการลงทุนระยะปานกลาง — ยาว ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 และ(2) สถานการณ์เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัว ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น
  • สัดส่วน NPLs ต่อยอดสินเชื่อคงค้างในระบบเพิ่มขึ้น NPLs ในระบบสถาบันการเงินที่ไม่รวมสำ นักงานวิเทศธนกิจและบริษัท
เครดิตฟองซิเอร์ ณ สิ้นไตรมาสแรก มีมูลค่ารวม 230.18 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.12 ของสินเชื่อรวม เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังจากที่
ลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2551 ซึ่งสอดคล้องกับสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (Delinquency rate: ผิดนัดชำระตั้งแต่ 3-1
เดือน) ต่อยอดสินเชื่อคงค้างที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากร้อยละ 2.7 ณ สิ้นปี 2550 เป็นร้อยละ 4.7 ณ สิ้นไตรมาสแรก แสดงให้เห็นว่าธุรกิจเริ่ม
ประสบปัญหาทางด้านกระแสเงินสดและสภาพคล่อง อันเนื่องจากผลประกอบการและยอดการจำหน่ายที่ลดลง
  • ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ ไตรมาสแรก ปี 2552 มีกำไรสุทธิรวม 19.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3 พันล้านบาท จากไตรมาสสี่ปี
2551 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ได้แก่ กำไรในการทำธุรกรรมปริวรรต นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานยังปรับลดลง
เนื่องจากภาระการกันสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลงมากตามมูลค่าสินเชื่อคงค้างที่ลดลง แต่ในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสนี้ปรับลดลง โดยอัตราส่วนรายได้สุทธิจากดอกเบี้ยและเงินปันผลต่อสินทรัพย์สุทธิเฉลี่ย (NIM) ลดลงจากร้อยละ 3.36 มาเป็นร้อยละ 2.95 ต่อปี หากเปรียบเทียบกำไรสุทธิรวมในไตรมาสแรกของปี 2552 นี้กับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วพบว่าลดลง 6.0 พันล้านบาท โดยลดลงทั้งในส่วนบัญชีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลและบัญชีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย
  • เงินบาทและดัชนีค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยไตรมาสแรกของปี 2552 เท่ากับ 35.31 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงร้อยละ 1.54 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่อ่อนค่าลงร้อยละ 8.09 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 ซึ่งการ
เคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสกุลเงินในภูมิภาคที่โดยเฉลี่ยอ่อนค่าลง เนื่องจากนักลงทุนกลับมาลงทุนในสินทรัพย์ที่อ้างอิงเงินดอลลาร์ สรอ. มากขึ้น จากการขาดความเชื่อมั่นในเงินสกุลอื่นในขณะที่ความเสียหายด้านเครดิตและการเงินในตลาดสหรัฐฯ เริ่มบรรเทาความรุนแรงลง ประกอบกับการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในตลาดสหรัฐฯ มีความรวดเร็ว อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบค่าเงินบาทกับค่าเงินสกุลอื่นพบว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินปอนด์และเงินสกุลในภูมิภาคเอเชีย แต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน เงินดอลลาร์ฮ่องกง เงินเปโซ เงินยูโร และเงินหยวน ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาทโดยเฉลี่ย (NEER) และดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) ในไตรมาสแรกของปี 2552 ลดลงร้อยละ 0.25 และ 0.28 จากไตรมาสที่สี่ของปี 2551 ตามลำดับ ซึ่งแสดงว่าค่าเงินบาทโดยเฉลี่ยที่แท้จริงนั้นอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากช่วงปลายปี 2551 และล่าสุดในช่วงเดือนเมษายนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 35.20 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากค่าเฉลี่ยในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยและมีปริมาณการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น
  • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายลดลงต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 8.65 พันล้านบาท
ลดลงจาก 12.61 พันล้านบาทในไตรมาสก่อน ตลอดทั้งไตรมาสดัชนีตลาดหลักทรัพย์เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนตามตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ โดยเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 478.69 - 411.27 จุด ซึ่งในช่วงสองเดือนแรกดัชนีปรับตัวลดลงจากความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอยรุนแรงต่อเนื่อง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนยังอยู่ในระดับต่ำ นักลงทุนจึงเปลี่ยนมาถือครองสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่าเช่น เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตราสารหนี้ และทองคำ เป็นต้น โดยรวมทั้งไตรมาสนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 5.55 พันล้านบาท ลดลงจากขายสุทธิ 37.22 พันล้านบาท ในไตรมาสสี่ปีที่แล้ว โดยเป็นผลมาจากยอดซื้อสุทธิในเดือนมีนาคม เนื่องจาก 1) นักลงทุนเชื่อว่าวิกฤตเศรษฐกิจได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีโอกาสฟื้นตัวเร็วขึ้น 2) นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในแผนการรับซื้อหนี้เสียภาคการเงินของสหรัฐฯ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ
ซึ่งปัจจัยหลักดังกล่าวยังส่งผลต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ณ สิ้นไตรมาสแรกดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ปิดที่ 431.50 จุดลดลงจาก 449.96 จุด ณ สิ้น
ไตรมาสที่แล้ว และล่าสุด ณ วันที่ 15 พฤษภาคม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 533.92 จุด หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จากสิ้นเดือนมีนาคม มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน (1 เมษายน - 15 พฤษภาคม )เพิ่มขึ้นเป็น 19.4 พันล้านบาท
  • มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้น มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาด (outright) เฉลี่ยต่อวัน ในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 68.1 พันล้านบาท จาก 65.7 พันล้านบาท ในไตรมาสสี่ของปี 2551 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรก และ
ส่วนหนึ่งเป็นผลของการย้ายพอร์ตการลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์กรอบที่แคบลง โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุไม่เกิน 3 ปี ปรับตัวลดลง 48-9 bps ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางและยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น 36-8 bps เนื่องจากตลาด
คาดว่าจะมีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายของภาครัฐในไตรมาสสองเป็นต้นไป ในไตรมาสแรกจึงมีการชะลอการลงทุนในพันธบัตรระยะกลาง-ยาวด้านนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิ 1.95 พันล้านบาทเปลี่ยนแปลงจากยอดซื้อสุทธิจำนวน 4.04 พันล้านบาท ในไตรมาสสี่ปี 2551 โดยยอดขายสุทธิเพิ่มขึ้นมากในเดือนมีนาคม จากการขายเพื่อทำกำไร อย่างไรก็ตามตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนถึง 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นเป็น 69.6 พันล้านบาท อันเป็นผลจากปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนต่างชาติ
  • การระดมทุนของภาคเอกชนลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและพึ่งพาการออกหุ้นกู้ในสัดส่วนที่สูงขึ้น ในไตรมาสแรกปี 2552 การระดมทุนของภาคเอกชนมีมูลค่ารวม 199.8 พันล้านบาท ลดลงจาก 317.4 พันล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้การระดม

ทุนในตราสารทุนลดลงจาก 22.5 พันล้านบาท มาอยู่ที่ 10.5 พันล้านบาท ในขณะที่มีการออกหุ้นกู้ 79.59 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 39.92 พันล้านบาท เนื่องจากภาคธุรกิจขนาดใหญ่ยังมีระดับเครดิตที่ดีประกอบกับธนาคารพาณิชย์เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ในธุรกิจกลุ่มพลังงานและอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่การระดมทุนจากภาคการเงินปรับลดลง จากกระแสเงินสดและสภาพคล่องที่อยู่ในระดับสูง

ปริมาณเงินทุนเคลื่อนย้าย และปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ

                                2549         2550           ------------2551-------------     2552
 ณ วันสิ้นงวด                       ทั้งปี      H1     H2         Q1       Q2       Q3       Q4       Q1
-เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ
 (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)             5.72    -1.97  -1.01      13.16    -3.13     0.69     1.64     NA.
-มูลค่าการซื้อขายสุทธิของนักลงทุน
 ต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์(พันล้านบาท) 55.02    66.90 -40.29     -13.89   -36.07   -74.78   -37.23   -5.55
-มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้สุทธิ
 ของนักลงทุนต่างชาติ (พันล้านบาท)    35.53   -18.66   4.61      29.08    26.48     8.78     4.04   -1.95

(ยังมีต่อ).../ความเคลื่อนไหว..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ