(ต่อ5)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 26, 2009 15:55 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  • ความเคลื่อนไหวราคาน้ำมัน
  • ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก: ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกของปี 2552 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย (ดูไบ เบรนท์โอมาน และ WTI) อยู่ที่ 44.3 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 53.2 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเป็นการลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากความต้องการใช้ในตลาดโลกลดลงในภาวะที่เศรษฐกิจหดตัว ในขณะเดียวกันการปรับลดปริมาณผลผลิตน้ำมันในไตรมาสแรกน้อยกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากประเทศนอกกลุ่มโอเปก เช่น ประเทศแถบทะเลเหนือ กลุ่มประเทศรัสเซียเดิม (Former Soviet Union : FSU) และประเทศแถบละตินอเมริกาผลิตน้ำมันได้ในปริมาณที่สูงกว่าที่คาดการณ์ โดยไตรมาสแรกปี 2552 ประเทศนอกกลุ่มโอเปกผลิตน้ำมันได้เฉลี่ย 50.28 ล้านบาร์เรลต่อวัน มากกว่าที่ EIA คาดการณ์ไว้ 0.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน และเป้าหมายการลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกตามมติในการประชุมไม่สามารถทำได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ โดยในไตรมาสแรก กลุ่มโอเปก-11 ผลิตน้ำมันเฉลี่ย 25.92 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่เป้าหมายการผลิตอยู่ที่ 24.85 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังอยู่ในระดับสูง
  • ราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศ: ลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ในไตรมาสแรกปี 2552 ราคาขายปลีกน้ำมันภายในประเทศลดลงทุกประเภท โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 และ 91 อยู่ที่ 32.95 และ 25.22 บาทต่อลิตร ลดลงร้อยละ 1.3 และ 21.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ราคาแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 อยู่ที่ 20.88 และ 20.06 บาทต่อลิตร ลดลงร้อยละ 28.9 และ 29.8 ตามลำดับ สำหรับราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 5 อยู่ที่ 19.74 และ 17.90 บาทต่อลิตร ลดลงร้อยละ 33.7 และ 38.3 ตามลำดับ

------------------------- ราคาน้ำมันดิบ---------------------------

          US$/Barrel              OMAN    DUBAI     BRENT    WTI     เฉลี่ย

---------------------------------------------------------------

          2550      ทั้งปี          68.75    68.83    72.60    72.64    70.70
          2551      Q1           92.34    91.50    96.72    98.03    94.65
                    Q2          117.75   117.02   112.21   124.02   120.25
                    Q3          114.16   113.32   116.24   117.85   115.39
                    Q4           53.21    52.75    56.54    58.89    55.35
                    ทั้งปี          94.37    93.65    97.93    99.69    96.41
          2552      Q1           44.60    44.27    45.43    43.07    44.34
                  เม.ย.52        49.77    49.71    51.13    49.88    50.12
               รวม 4 เดือนแรก     45.76    45.49    46.69    44.60    45.64
                1-21 พ.ค.52      56.79    56.68    57.04    57.69    57.05

ที่มา: รอยเตอร์

ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ

บาท/ลิตร                  ULG95    UGR91    --------Gasohol--------       HSD    HSD/B5
                                           95E10    95E20    91E10
2550           ทั้งปี       29.18    28.32    26.17        -    25.62      25.66    24.95
2551           Q1        33.39    32.22    29.38    27.47    28.57      29.78    29.04
               Q2        38.43    37.26    34.12    32.22    33.29      36.35    35.47
               Q3        39.72    37.87    31.37    30.05    30.56      36.21    35.52
               Q4        29.79    26.35    21.01    19.72    20.20      22.70    21.55
              ทั้งปี        35.33    33.43    28.97    27.37    28.16      31.26    30.39
2552           Q1        32.95    25.22    20.88    19.36    20.06      19.74    17.90
            เม.ย.52      37.08    29.45    25.65    23.35    24.85      23.05    20.05
           รวม 4 เดือน    34.36    26.22    22.02    20.33    21.22      20.56    18.43
           1-22 พ.ค.52   37.87    30.27    26.47    24.17    25.67      23.50    20.50
          ที่มา: EPPO

          1.2 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรกปี 2552
          เศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรกของปี 2552 หดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งนับเป็นวิกฤติการณ์เศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปี เศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศยูโรโซนและญี่ปุ่นหดตัวอย่างรุนแรง ป ริมาณการค้าโลกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวในอัตราเร่งขึ้นและส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่และประเทศกลุ่มอาเซียนที่พึ่งพิงการส่งออกในสัดส่วนที่สูงหดตัวรุนแรงตามไปด้วย ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่ชะลอตัวลงมาก และโดยภาพรวมของโลกนับว่าประเทศต่าง ๆ ประสบกับปัญหาการหดตัวทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาคยุโรปหลายประเทศประสบปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินเนื่องจากการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากตลาดโลกเข้าสู่ประเทศนั้นลดลง รวมทั้งมีการไหลออกของเงินทุนเป็นช่วงๆ ประกอบกับสินเชื่อในตลาดการเงินโลกตึงตัวมากขึ้น ความรุนแรงของปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจโลกในไตรมาสแรก ทำให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน (BRIC) ซึ่งเดิมเป็นที่เชื่อกันว่าจะมีภูมิคุ้มกันต่อภาวะความถดถอยของเศรษฐกิจโลกได้ดีและเป็นเครื่องจักรผลักดันเศรษฐกิจโลกที่สำคัญนั้นก็กำลังประสบกับปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง (จีน อินเดีย) และการหดตัวทางเศรษฐกิจ (รัสเซีย บราซิล) เช่นกัน มีความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ในไตรมาสแรกสรุปได้ดังนี้
          เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาหดตัวอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สามและยังเป็นการหดตัวที่รุนแรง ในไตรมาสแรก เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาหดตัวร้อยละ 2.6 จากไตรมาสแรกปี 2551 รุนแรงมากขึ้นเมื่อเทียบกับที่หดตัวเพียงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2551 และเมื่อเปรียบเทียบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงไตรมาสต่อไตรมาส (QoQ) ที่มีการหดตัวร้อยละ 6.1 ในไตรมาสแรกของปีนี้ต่อเนื่องจากที่หดตัวร้อยละ 6.3 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 แล้วนับว่าภาวะการหดตัวยังรุนแรง การหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้มีสาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของสินค้าคงคลัง และการหดตัวของการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ และการก่อสร้างรวมทั้งการลดลงของการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเนื่องจากการลดลงของรายจ่ายทางการทหาร อย่างไรก็ตามการบริโภคภาคเอกชนนั้นขยายตัวเพิ่มขึ้น
          การบริโภคภาคเอกชนเริ่มขยายตัวร้อยละ 2.2 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 4.3 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาษี และความตึงตัวของสินเชื่อที่เริ่มผ่อนคลายมากขึ้น ทั้งนี้การบริโภคสินค้าคงทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ขณะที่ไตรมาสที่แล้วนั้นหดตัวร้อยละ 22.1 สำหรับการส่งออกและการนำเข้าเทียบกับไตรมาสที่แล้วหดตัวร้อยละ 30.0 และ 34.1 ตามลำดับ ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัวถึงร้อยละ 51.8
          ในด้านการผลิตดัชนี ISM ภาคอุตสาหกรรมยังคงชี้ให้เห็นถึงการหดตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะขยับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 36.3 ในเดือนมีนาคมก็ตาม ตลาดที่อยู่อาศัยยังคงซบเซาแม้ว่ายอดขายบ้านเก่าและบ้านใหม่จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่การว่างงานยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 7.6 ในเดือนมกราคม เป็นร้อยละ 8.5 ในเดือนมีนาคม และล่าสุดในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.9 โดยภาคการผลิตที่มีการปลดพนักงานจำนวนมากได้แก่ ภาคบริการ ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคก่อสร้าง และภายใต้ภาวะความถดถอยทางเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับใกล้ศูนย์แล้วธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงได้ประกาศที่จะขยายขอบเขตมาตรการสินเชื่อทางตรงหรือการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ(Quantitative easing) รวมเป็นวงเงิน 1.25 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.โดยผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวมูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์สรอ. และการใช้งบประมาณเพิ่มเติมซื้อตราสารสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยค้ำประกันอีกก 7.5 แสนล้านดอลลาร์ ในขณะที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 0.25-0
          กลุ่มประเทศยูโรโซน (16) หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 และรุนแรงมากขึ้น ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซน หดตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ซึ่งเป็นการหดตัวที่รุนแรงขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2551 นอกจากนี้อัตราการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส (QoQ) นั้นหดตัวร้อยละ 2.5 รุนแรงมากขึ้นกว่าที่หดตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 และในรายประเทศนั้นเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกหลักๆ อยู่ในภาวะหดตัวรุนแรงประกอบด้วย เศรษฐกิจประเทศเยอรมนีหดตัวร้อยละ 3.8 (QoQ)ต่ำสุดนับจากปี 2513 อิตาลีหดตัวร้อยละ 2.4 (QoQ) ต่ำสุดนับจากปี 2523 และฝรั่งเศสหดตัวร้อยละ 1.2 (QoQ) การหดตัวอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนมีสาเหตุสำคัญมาจากการหดตัวของภาคการผลิตและมีปัญหาความตึงตัวของสินเชื่อที่เกิดจากวิกฤติการณ์ในภาคการเงินซึ่งส่งผลกระทบให้อุปสงค์ภายในประเทศหดตัว แม้ว่ารัฐบาลหลาย ๆ ประเทศได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะการกระตุ้นการผลิตภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ ในประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน แต่ภาวการณ์ผลิตภาคอุตสาหกรรมก็ตกต่ำ ลงมาก จะเห็นว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมหดตัวถึงร้อยละ 20.2 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการหดตัวต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับจากปี 2519 ในขณะที่ภาคก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์หดตัวร้อยละ 11.0 นอกจากนี้ ด้านการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญนั้นหดตัวร้อยละ 25.0 และ 24.0 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ตามลำดับการส่งออกและการผลิตที่หดตัวได้มีการปรับลดการจ้างงานและปลดคนงานออก จึงมีผลให้อัตราการว่างงานเร่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นร้อยละ 8.9 ในเดือนมีนาคมสูงสุดนับจากเดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา การบริโภคภายในประเทศจึงลดลงอย่างต่อเนื่องตามการหดตัวของภาคการผลิตและการจ้างงาน โดยดัชนีปริมาณการค้าปลีกเดือนมีนาคมหดตัวร้อยละ 0.6 (QoQ) และร้อยละ 4.2 (YoY)ภายใต้สถานการณ์ที่เศรษฐกิจหดตัวรุนแรงมากขึ้น ธนาคารกลางสหภาพยุโรปจึงประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่องโดยปรับลดร้อยละ 50 ในเดือนมีนาคม ร้อยละ 25 ในเดือนเมษายน และครั้งล่าสุดปรับลดลงอีกร้อยละ 50 ในเดือนพฤษภาคม ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.75 และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 0.25

          - เศรษฐกิจสหราชอาณาจักร หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ในอัตราที่รุนแรงมากขึ้น โดยในไตรมาสที่1 เศรษฐกิจอังกฤษหดตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันของปี 2551 ซึ่งเป็นการหดตัวที่รุนแรงมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการหดตัวร้อยละ 1 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา และการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจไตรมาสต่อไตรมาส (QoQ) ก็ยืนยันถึงการหดตัวที่รุนแรงมากขึ้นโดยที่เศรษฐกิจในไตรมาสแรกนี้หดตัวร้อยละ 1.9 (QoQ) เทียบกับที่มีการหดตัวร้อยละ 1.5 (QoQ) และนับว่าเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดนับจากปี 2522
          การหดตัวที่รุนแรงของเศรษฐกิจส่งผลให้การว่างงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอัตราการว่างงานร้อยละ 5.3 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 เป็นร้อยละ 7.1 ในไตรมาสแรกปี 2552 นี้ ภาคการผลิตและภาคบริการยังคงหดตัวรุนแรง โดยอุตสาหกรรมการผลิตหดตัวถึงร้อยละ 5.5 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวรุนแรงมากที่สุดได้แก่ อุตสาหกรรมโรงงานหดตัวร้อยละ 6.2 อุตสาหกรรมเหมืองแร่หดตัวร้อยละ 3.4 ภาคการผลิตไฟฟ้า ก๊าซและน้ำ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.9 อย่างไรก็ตามภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 4.0 เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินธุรกิจในตลาดกรุงลอนดอนดีขึ้น ในขณะที่การส่งออกที่ลดลงทำให้ดุลการค้าขาดดุล 8.3 พันล้านปอนด์ในไตรมาแรกสูงกว่าการขาดดุล 8.0 พันล้านปอนด์ ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 เล็กน้อย และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและลดต้นทุนของภาคธุรกิจธนาคารกลางสหราชอาณาจักร ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.5 เหลือร้อยละ 0.5 ในเดือนมีนาคม 2552

(ยังมีต่อ).../-เศรษฐกิจญี่ปุ่น..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ