ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1,656 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรกของปี จากดุลบริการบริจาคและเงินโอนที่เกินดุล 1,881 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันในปี 2548 โดยมีรายรับจากบริการท่องเที่ยวและค่าขนส่งสุทธิเพิ่มขึ้น ประกอบมีรายได้ที่ส่งกลับจากแรงงานไทยในต่างประเทศเพิ่มขึ้นทำให้รายได้ขาดดุลน้อยกว่าไตรมาสที่แล้ว และเงินโอนสุทธิที่เพิ่มขึ้น จากดุลบริการบริจาคและเงินโอนที่เกินดุลและช่วยชดเชยการขาดดุลการค้า จึงทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล สำหรับในเดือนเมษายนดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 283 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ภาคการผลิตขยายตัวน้อยกว่ากว่าอุปสงค์สินค้าและบริการรวม โดยมีการลดการสะสมสินค้าคงคลังลงมากเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น การผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.6 โดยที่การผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมากประกอบด้วยหมวด
อิเล็กทรอนิกส์ทั้งการผลิตหัวอ่านข้อมูลและแผงวงจรรวม รถยนต์และอุปกรณ์ และหมวดเครื่องดื่ม หมวดโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวสูงร้อยละ 12.1 ตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ภาคการค้าส่งค้าปลีกและภาคการเงินยังขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่ภาคการก่อสร้างชะลอตัวลงมากจากที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 ในปี 2548 เป็นการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในไตรมาสแรก สำหรับภาคเกษตร
ก็กลับมาขยายตัวสูงร้อยละ 7.1 พืชผลที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นประกอบด้วย ข้าวนาปี มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และปาล์มน้ำมัน
ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจยังมีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อสูงต่อเนื่อง แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุล
- การจ้างงานโดยรวมเพิ่มขึ้นและอัตราการว่างงานลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ผู้มีงานทำในไตรมาสที่หนึ่งปี 2549 มีจำนวน 34.83 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จาก 34.25 ล้านคน ในไตรมาสที่หนึ่งปี 2548 โดยผู้มีงาทำสาขาเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.1 อย่างไรก็ตามผู้มีงานทำสาขาอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปี 2548 อัตราการว่างงานลดลงต่อเนื่องโดยในไตรมาสที่หนึ่งเท่ากับร้อยละ 1.6
- แรงกดดันราคาสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในไตรมาสแรกอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 5.7 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 และ 6.2 ในเดือนเมษายนและพฤษภาคมตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาสแรกเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.6 เร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องจากในสี่ไตรมาสของปี 2548 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.9 ในเดือนเมษายน และร้อยละ 2.7 ในเดือนพฤษภาคม สะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันที่ถูกส่งผ่านไปยังราคาสินค้าและบริการอย่างชัดเจนมากขึ้น
- เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2549 เท่ากับ 57.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 3.0 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และเท่ากับการนำเข้า 5.6 เดือน ซึ่งนับว่าอยู่ใน
เกณฑ์ที่มีเสถียรภาพ
- ฐานะการคลังมีการขาดดุลเงินสด 9,200 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปี 2549 หรือไตรมาสที่สองของปีงบประมาณ 2549 ฐานะการคลังดีขึ้นเมื่อเทียบกับการขาดดุลเงินสด 83,900 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 แม้ว่าโดยรวมตั้งแต่ต้น
ปีงบประมาณ 2549 ถึงสิ้นไตรมาสที่สอง ( ต.ค.48 - มี.ค.49) ดุลเงินสดยังคงขาดดุลจำนวน 74,700 ล้านบาท ในไตรมาสที่แรกของปี 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 296.6 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรวม 321.5 พันล้านบาท ในอัตราที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการชะลอการ ดำเนินงานและเบิกจ่ายงบลงทุนในโครงการใหญ่
- หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2549 มีจำนวน3.22 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.44 ต่อ GDP ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับร้อยละ 46.14 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2548
(ยังมีต่อ)../ภาคการเงิน..