-สภาพคล่องตึงตัวขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะกลับมาทรงตัวในระดับสูงหลังจากมีการทยอยไหลกลับของสภาพคล่องที่ไหลออกไปในช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน เคลื่อนไหวลดลงเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน 14 วัน และอัตราดอกเบี้ย Interbank ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ของไทยปรับตัวลดลงตามความต้องการลงทุนที่มีมากขึ้น ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป
-เงินบาทเริ่มมีทิศทางอ่อนค่าลงโดยเฉพาะในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน ตลอดจนปัจจัยกดดันจากสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่มีความไม่แน่นอน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาดี และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีปริมาณเงินจำนวนมากติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จึงลดการลงทุนลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.09375 - 4.125 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ หลังจากมีการทยอยไหลกลับของสภาพคล่องที่ไหลออกไปในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน จึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.09375 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อย ละ 4.21875 และ 4.25 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมใน ตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.28125 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 3.8 - 4.3 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.14 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 21,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท สำหรับพันธบัตรรัฐบาลไม่มีการประมูลในสัปดาห์นี้ โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารทุกประเภทปรับตัวลดลง นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรขนส่งมวลชนกรุงเทพ อายุ 6 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 25,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 9,000ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 87,068 ล้านบาท หรือ 17,413 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 61 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีการปรับตัวลดลง ตามความต้องการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนโดยรวมปรับตัวลดลง 0-8 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 24 และ 20 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-12 basis points ภายหลังการประกาศปรับขึ้น Fed Fund Rate และยังมีการส่งสัญญาณว่าอาจจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากเกรงว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ม.ค. 49 39.58
เฉลี่ย 23 - 27 ม.ค. 49 39.07
30 ม.ค. 49 39.05
31 ม.ค. 49 39.06
1 ก.พ. 49 38.95
2 ก.พ. 49 39.38
3 ก.พ. 49 39.29
เฉลี่ย 30 ม.ค. -- 3 ก.พ. 49 39.15
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.15 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์มีทิศทางอ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนหลังจากที่มีการปรับแข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในวันพุธ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลเพิ่มขึ้น ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วในวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นไปตามการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าที่สุดรอบกว่า 7 สัปดาห์ เนื่องจากการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยญี่ปุ่นจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่มีความไม่แน่นอน และการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาดี ตลอดจนปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ส่งผลให้นักลงทุนมีความต้องการถือสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกจำกัดด้วยจากความกังวลต่อเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นบางช่วง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองปรับตัวลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ของไทยปรับตัวลดลงตามความต้องการลงทุนที่มีมากขึ้น ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป
-เงินบาทเริ่มมีทิศทางอ่อนค่าลงโดยเฉพาะในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ ตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน ตลอดจนปัจจัยกดดันจากสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่มีความไม่แน่นอน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาดี และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีปริมาณเงินจำนวนมากติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จึงลดการลงทุนลง ขณะที่มีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้นหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.09375 - 4.125 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องกลับมาทรงตัวในระดับสูงในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ หลังจากมีการทยอยไหลกลับของสภาพคล่องที่ไหลออกไปในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน จึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.09375 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อย ละ 4.21875 และ 4.25 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมใน ตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.28125 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 3.8 - 4.3 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 4.14 ต่อปี ตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 34,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 21,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท สำหรับพันธบัตรรัฐบาลไม่มีการประมูลในสัปดาห์นี้ โดยอัตราผลตอบแทนของตราสารทุกประเภทปรับตัวลดลง นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรขนส่งมวลชนกรุงเทพ อายุ 6 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท และมีตราสารภาครัฐครบกำหนด 25,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรที่หมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 9,000ล้านบาท
มูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 87,068 ล้านบาท หรือ 17,413 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 61 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ มีการปรับตัวลดลง ตามความต้องการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนโดยรวมปรับตัวลดลง 0-8 basis points ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 24 และ 20 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-12 basis points ภายหลังการประกาศปรับขึ้น Fed Fund Rate และยังมีการส่งสัญญาณว่าอาจจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากเกรงว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2548 40.24
เฉลี่ยเดือน ม.ค. 49 39.58
เฉลี่ย 23 - 27 ม.ค. 49 39.07
30 ม.ค. 49 39.05
31 ม.ค. 49 39.06
1 ก.พ. 49 38.95
2 ก.พ. 49 39.38
3 ก.พ. 49 39.29
เฉลี่ย 30 ม.ค. -- 3 ก.พ. 49 39.15
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.15 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์มีทิศทางอ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนหลังจากที่มีการปรับแข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในวันพุธ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลเพิ่มขึ้น ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วในวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นไปตามการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าที่สุดรอบกว่า 7 สัปดาห์ เนื่องจากการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยญี่ปุ่นจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่มีความไม่แน่นอน และการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญออกมาดี ตลอดจนปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ส่งผลให้นักลงทุนมีความต้องการถือสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกจำกัดด้วยจากความกังวลต่อเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเป็นบางช่วง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-