แท็ก
เศรษฐกิจพอเพียง
จดหมายข่าวยุทธศาสตร์แผนฯ 10 ได้รับเกียรติจาก ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงได้กรุณาอธิบายถึง ความหมาย หลักการและแนวคิด รวมไปถึงการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับภาคีการพัฒนาต่างๆ ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
ไทยยังขาดภูมิคุ้มกันในการรับมือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
ประเทศไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับการไหลเข้ามาของกระแสโลกาภิวัฒน์ แม้โดยเนื้อแท้ ยังมีความไม่พร้อมที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างดีพอ เห็นได้จากปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่วิกฤตเศรษบกิจ ปี 2540 ที่สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยยังขาดความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง หลงระเริงไปกับสิ่งฉาบฉวย หรือกล่าวได้ว่า "..ยังขาดภูมิคุ้มกันที่ดี.."
การขาดภูมิคุ้มกัน คือยังพึ่งพาตนเองไม่ได้ และขาดความพอดีอยู่ ซึ่งหากยังขยายความออกไป อธิบายได้ว่า สังคมไทยยังขาดความพอดี ในเรื่องสำคัญรวม 5 ประการ คือ
1. ขาดความพอดีด้านจิตใจ: คนส่วนมากมีสภาวะจิตใจที่ไม่เข้มแข็ง ยังไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ขาดจิตสำนึกที่ดี ไม่มีความเอื้อาทร ไม่รู้จักประนีประนอม นึกถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว
2. ขาดความพอดีด้านสังคม: ไม่ค่อยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ชุมชนขาดความเข้มแข็งและที่สำคัญไม่มีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง
3. ขาดความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: ยังใช้และจัดการอย่างขาดความรอบคอบ และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ อย่างไม่นึกถึงความสมดุลในระยะยาว
4. ขาดความพอดีดานเทคโนโลยี: มีไม่รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเองพร้อมๆกับการรับเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างรอบคอบระมัดระวัง โดยคำนึงถึงความสามารถที่จะพึ่งตนเองได้มากขึ้นเรื่อยๆ
5. ขาดความพอดีด้านเศรษฐกิจ: คนจำนวนมากยังคงดำรงชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย หรือเกินฐานะของตน
เศรษฐกิจพอเพียงสามารถรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้จริงหรือ
ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ได้อย่างเกิดสัมฤทธิผลกับทุกๆฝ่าย ซึ่งหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท
ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลต่อการพัฒนานั้น ต้องเข้าใจ "กรอบแนวคิด" ว่าเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา
เป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤติ เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา ขณะเดียวกัน ก็ต้องเข้าใจ คุณลักษณะ ว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
"เศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ คือหลักการดำเนินชีวิตที่แท้จริงที่สุด กรอบแนวคิดของหลักปรัชญามุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ตลอดจนให้ความสำคัญกับคำว่าความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม
หากทุกฝ่ายเข้าใจกรอบแนวคิด คุณลักษณะคำนิยาม ของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแจ่มชัดแล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และจะนำไปสู่ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่นยนแปลงในทุกด้าน ทั้งทางด้านเศราฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมความรู้และเทคโนโลยี"
การสร้างกระบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน "...วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ให้ได้อย่างเหมาะสมและปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง..."
บทบาทของภาคีการพัฒนาในการสร้างสมดุลและภูมิคุ้มกัน
ทุก ๆ ภาคีการพัฒนาต้องเข้าใจก่อนว่าเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้พอสมควร แต่ไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจที่พึ่งตนเอง 100% โดยไม่พึ่งเงิน ไม่พึ่งการค้า ไม่สมาคมกับใคร ซึ่งไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง การจะนำเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นปรัชญามาใช้ ทุกฝ่ายต้องมองให้ออกและเข้าใจอย่างถ่องแท้
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานปรัชญานี้กับคนทุกระดับทุกภาคส่วน ไม่ใช่ให้กับชาวนาอย่างเดียว ในภาคประชาสังคม ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ไปจนถึงระดับชุมชนทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ต้องรู้จักความพอดี พอเพียง ความมีเหตุผล ระบบภูมิคุ้มกันทั้งปวงต้องโยงกับคุณธรรม และถือเป็นปรัชญาหลัก"
ถ้าจะเอาปรัชญาไปปฏิบัติก็ต้องขบคิดให้เหมาะสมกับอาชีพของแต่ละคน อย่างในภาครัฐหรือภาคราชการ ก็ใช้ชีวิตทำงานให้พอดี มีบ้านแต่พอดี ดำรงฐานะให้เหมาะ ขยันทำ และทำให้มาก ท่านยังแปลลึกลงไปอีกว่า หมายถึง ถ้าขยัน ยิ่งทำยิ่งพึ่งตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่นมากจนเกินไป ขณะเดียวกัน ถ้าไม่ฟุ้งเฟ้อ ก็ลดปัญหาการคอร์รัปชันได้มาก"
ความสำเร็จของทุกภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควรจะต้องเกิดจากการ "ระเบิดออกมาจากภายใน" ของแต่ละภาคส่วน เพราะเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ความสำเร็จจะอยู่ที่ใจตนเป็นสำคัญ
เศรษฐกิจพอเพียงกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญาหลักในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงให้ลึกซึ้ง ไม่ฉาบฉวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนฯ ว่าเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่สุดโต่ไปทางใดทางหนึ่ง
"เศรษฐกิจพอเพียงไม่เคยชี้ว่า การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งไม่ดี ใครพูดแบบนั้น แสดงว่าเข้าใจหลักการไปคนละทาง เศรษฐกิจพอเพียง คือ การสร้างความเชื่อมต่อระหว่างแนวทางการพัฒนาต่างๆอย่างสอดคล้องและสมดุลกัน เศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นเหมือนห่วงคล้อง ทั้งเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน หรือเรื่องอื่นๆเข้าด้วยกัน
การจัดทำแผนต่างๆที่มีเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นพื้นฐาน ต้องระลึกอยู่เสมอว่าในแต่ละภูมิภาค แต่ละท้องที่มีความแตกต่างกัน ไม่มีแผนเดียวที่เหมาะกับทุกที่แน่นอน ดังนั้นหากจะนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ต้องใช้อยู่บนพื้นฐานของการประยุกต์หลักของปรัชญาเข้ากับภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่"
สรุป
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งมานั้น แท้จริงคือ วิถีชีวิตไทยนั่นเอง วิถีชีวิตไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์
โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งรักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่างๆได้อย่างเท่าทัน และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทยในที่สุด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วส/พห-
ไทยยังขาดภูมิคุ้มกันในการรับมือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
ประเทศไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับการไหลเข้ามาของกระแสโลกาภิวัฒน์ แม้โดยเนื้อแท้ ยังมีความไม่พร้อมที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างดีพอ เห็นได้จากปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่วิกฤตเศรษบกิจ ปี 2540 ที่สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยยังขาดความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง หลงระเริงไปกับสิ่งฉาบฉวย หรือกล่าวได้ว่า "..ยังขาดภูมิคุ้มกันที่ดี.."
การขาดภูมิคุ้มกัน คือยังพึ่งพาตนเองไม่ได้ และขาดความพอดีอยู่ ซึ่งหากยังขยายความออกไป อธิบายได้ว่า สังคมไทยยังขาดความพอดี ในเรื่องสำคัญรวม 5 ประการ คือ
1. ขาดความพอดีด้านจิตใจ: คนส่วนมากมีสภาวะจิตใจที่ไม่เข้มแข็ง ยังไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ขาดจิตสำนึกที่ดี ไม่มีความเอื้อาทร ไม่รู้จักประนีประนอม นึกถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว
2. ขาดความพอดีด้านสังคม: ไม่ค่อยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ชุมชนขาดความเข้มแข็งและที่สำคัญไม่มีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง
3. ขาดความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: ยังใช้และจัดการอย่างขาดความรอบคอบ และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ อย่างไม่นึกถึงความสมดุลในระยะยาว
4. ขาดความพอดีดานเทคโนโลยี: มีไม่รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเองพร้อมๆกับการรับเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างรอบคอบระมัดระวัง โดยคำนึงถึงความสามารถที่จะพึ่งตนเองได้มากขึ้นเรื่อยๆ
5. ขาดความพอดีด้านเศรษฐกิจ: คนจำนวนมากยังคงดำรงชีวิตอย่างฟุ่มเฟือย หรือเกินฐานะของตน
เศรษฐกิจพอเพียงสามารถรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้จริงหรือ
ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ได้อย่างเกิดสัมฤทธิผลกับทุกๆฝ่าย ซึ่งหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท
ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลต่อการพัฒนานั้น ต้องเข้าใจ "กรอบแนวคิด" ว่าเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา
เป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤติ เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา ขณะเดียวกัน ก็ต้องเข้าใจ คุณลักษณะ ว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
"เศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ คือหลักการดำเนินชีวิตที่แท้จริงที่สุด กรอบแนวคิดของหลักปรัชญามุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ตลอดจนให้ความสำคัญกับคำว่าความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม
หากทุกฝ่ายเข้าใจกรอบแนวคิด คุณลักษณะคำนิยาม ของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแจ่มชัดแล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และจะนำไปสู่ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่นยนแปลงในทุกด้าน ทั้งทางด้านเศราฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมความรู้และเทคโนโลยี"
การสร้างกระบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน "...วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ให้ได้อย่างเหมาะสมและปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง..."
บทบาทของภาคีการพัฒนาในการสร้างสมดุลและภูมิคุ้มกัน
ทุก ๆ ภาคีการพัฒนาต้องเข้าใจก่อนว่าเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้พอสมควร แต่ไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจที่พึ่งตนเอง 100% โดยไม่พึ่งเงิน ไม่พึ่งการค้า ไม่สมาคมกับใคร ซึ่งไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง การจะนำเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นปรัชญามาใช้ ทุกฝ่ายต้องมองให้ออกและเข้าใจอย่างถ่องแท้
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานปรัชญานี้กับคนทุกระดับทุกภาคส่วน ไม่ใช่ให้กับชาวนาอย่างเดียว ในภาคประชาสังคม ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ไปจนถึงระดับชุมชนทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ต้องรู้จักความพอดี พอเพียง ความมีเหตุผล ระบบภูมิคุ้มกันทั้งปวงต้องโยงกับคุณธรรม และถือเป็นปรัชญาหลัก"
ถ้าจะเอาปรัชญาไปปฏิบัติก็ต้องขบคิดให้เหมาะสมกับอาชีพของแต่ละคน อย่างในภาครัฐหรือภาคราชการ ก็ใช้ชีวิตทำงานให้พอดี มีบ้านแต่พอดี ดำรงฐานะให้เหมาะ ขยันทำ และทำให้มาก ท่านยังแปลลึกลงไปอีกว่า หมายถึง ถ้าขยัน ยิ่งทำยิ่งพึ่งตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งคนอื่นมากจนเกินไป ขณะเดียวกัน ถ้าไม่ฟุ้งเฟ้อ ก็ลดปัญหาการคอร์รัปชันได้มาก"
ความสำเร็จของทุกภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควรจะต้องเกิดจากการ "ระเบิดออกมาจากภายใน" ของแต่ละภาคส่วน เพราะเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ความสำเร็จจะอยู่ที่ใจตนเป็นสำคัญ
เศรษฐกิจพอเพียงกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญาหลักในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงให้ลึกซึ้ง ไม่ฉาบฉวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนฯ ว่าเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่สุดโต่ไปทางใดทางหนึ่ง
"เศรษฐกิจพอเพียงไม่เคยชี้ว่า การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งไม่ดี ใครพูดแบบนั้น แสดงว่าเข้าใจหลักการไปคนละทาง เศรษฐกิจพอเพียง คือ การสร้างความเชื่อมต่อระหว่างแนวทางการพัฒนาต่างๆอย่างสอดคล้องและสมดุลกัน เศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นเหมือนห่วงคล้อง ทั้งเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน หรือเรื่องอื่นๆเข้าด้วยกัน
การจัดทำแผนต่างๆที่มีเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นพื้นฐาน ต้องระลึกอยู่เสมอว่าในแต่ละภูมิภาค แต่ละท้องที่มีความแตกต่างกัน ไม่มีแผนเดียวที่เหมาะกับทุกที่แน่นอน ดังนั้นหากจะนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ต้องใช้อยู่บนพื้นฐานของการประยุกต์หลักของปรัชญาเข้ากับภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่"
สรุป
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งมานั้น แท้จริงคือ วิถีชีวิตไทยนั่นเอง วิถีชีวิตไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์
โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งรักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่างๆได้อย่างเท่าทัน และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทยในที่สุด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วส/พห-