การขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม*
ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์
(Green Driven Innovation for Electronics and Vehicle)
1. หลักการและเหตุผล/ความเป็นมา
ปัจจุบันสาธารณชนมีความตระหนักในเรื่องความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ประกอบกับประเด็นทางสิ่งแวดล้อมได้ถูกนำมาผูกโยงเป็นเงื่อนไขทางการค้าในโลกแห่งการค้าเสรีดังเช่นในปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (เนื่องจากทั่วโลกเล็งเห็นว่าปัญหา สิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาระหว่างประเทศและต้องการความร่วมมือในระดับโลก) ซึ่งได้สร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลของประเทศต่างๆ และต่ออุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ การขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ปัจจัยการขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีมากมาย แต่ที่นับว่าสำคัญมี 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ กฎระเบียบ/กฎหมาย เทคโนโลยี และปัจจัยขับเคลื่อนด้านสังคม/ผู้บริโภค ปัจจัยทั้งสามดังกล่าวเป็นที่สนใจกันทั่วโลก และกล่าวขานในเวทีต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยน
องค์ความรู้ในด้านเหล่านั้นมากขึ้นในอันที่ฉันทามติและภาพพจน์เตรียมพร้อมในการรองรับขีดความสามารถในการแข่งขันทั่วโลก การประชุมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงานเรื่อง "Going Green Care Innovation 2006" ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 13-16
พฤศจิกายน 2549 ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งที่ให้ความสนใจกับปัจจัยการขับเคลื่อนทั้งสามดังกล่าวโดยเน้นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์ และใช้อุตสาหกรรมพลาสติกเป็นอุตสาหกรรมที่ปิดช่องโหว่ (Closing the loop) เพื่อผลักดันให้แนวคิดเรื่อง Corporate Social
Responsibility (CSR) หรือ Extended Producers Responsibility (EPR) ให้มีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจทั่วโลกในอนาคต ซึ่งในการประชุมได้มีธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และพลาสติก มานำเสนอการดำเนินงาน (Implementation) ที่ขับเคลื่อน
ด้วยกฎระเบียบของ EU
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
* ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากผลการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงานเรื่อง "Going Green Care Innovation 2006" ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 13-18 พฤศจิกายน 2549
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. กรอบแนวคิด
การสร้างความมั่นคงให้กับระบบเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การลด อนุรักษ์ และประหยัดพลังงาน 2) การนำมาใช้ประโยชน์ใหม่: การตลาดเชิงนิเวศ 3) การลดและนำวัตถุดิบมาใช้ใหม่: การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการบริโภคและวิถีชีวิต 4) การรีไซเคิล และ 5) การป้องกันมลภาวะ
3. การขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรม
การขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรมจะเริ่มจากการพิจารณาปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญซึ่งมีอยู่ 3 ปัจจัยดังกล่าวแล้วข้างต้น
3.1 กฎระเบียบ/กฎหมาย
กฎระเบียบ/กฎหมาย นับว่าเป็นสิ่งจูงใจในการขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรมใหม่ๆ และพฤติกรรมใหม่ๆ ตามมา เพื่อความยั่งยืนในการพัฒนา เนื่องจากเชื่อว่าการบรรลุความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 อย่าง คือ 1) พฤติกรรม และ 2) เทคโนโลยี โดย
นำเสนอให้เห็นบทบาทของเงื่อนไขกฎระเบียบที่จะมีต่อพฤติกรรมที่ยั่งยืน และการใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการบรรลุความสำเร็จ วิธีดำเนินงานขับเคลื่อน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการได้มาซึ่งนวัตกรรม ผลกระทบ ตลอดจน ข้อคิดเห็นพร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อเป็น
ประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนา
เริ่มจากการกำหนดกรอบกฎระเบียบ เครื่องมือที่ใช้ในการบรรลุความสำเร็จของ การขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การเสนอกระบวนการดำเนินงานโดยเน้นประเภทของอุตสาหกรรมตัวอย่าง 2 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ และ ผลกระทบพร้อมบทเรียนจากต่างประเทศในด้านที่เกี่ยวข้อง
1) กรอบกฎระเบียบ: ทุกประเทศมีระบบกฎหมายแพ่ง (Civil Law System) อยู่แล้ว ซึ่งมีความเหมือนและความแตกต่างกันเป็นกรณีๆ ไป ถึงแม้กฎระเบียบบางอย่าง เช่น WEEE (Waste of Electrical and Electronic Equipment) และ RoHS (Restriction of the use of certain hazardous substances in electrical and electronic equipment) ได้ผ่านการแปลง
เป็นกฎหมายระดับชาติของสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว แต่ยังมีความสับสนในการดำเนินงานและต้นทุนที่สูงในการดำเนินตามกฎระเบียบ การทำความเข้าใจในกรอบกฎระเบียบจึงมีความจำเป็นและสำคัญ
1.1) กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี: อุตสาหกรรมเคมีได้ถูกควบคุมด้วยกฎระเบียบสารเคมีมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ เพื่อจำกัดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้เคมีภัณฑ์ ในกลุ่มประเทศยุโรป กฎระเบียบที่เกี่ยวกับสารเคมี ได้แก่ กฎระเบียบที่ 67/548/EEC ว่าด้วยการจำแนก การบรรจุหีบห่อ และการติดฉลากของสารอันตราย กฎระเบียบที่ 76/769/EEC ว่าด้วยข้อจำกัดทางการตลาดและการใช้ของสารอันตรายและระเบียบการเตรียมสารอันตรายที่ 99/45 /EEC และในเร็วๆ นี้ จะมีกฎระเบียบ REACH (Registration, Evaluation and Authorization of CHemicals) กฎระเบียบเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่นำเข้าตลาดยุโรปเพื่ออุตสาหกรรมและการใช้ใดๆ เพื่อจำกัดการใช้สารเคมี โดยกำหนดให้ต้องมีการจดทะเบียน การประเมินผล และการขออนุญาตในการใช้
1.2) กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้: ได้มีการออกกฎระเบียบเพิ่มเติมสำหรับสาขาอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน เช่น อุตสาหกรรมอาหาร โดยจะกำหนดรายชื่อสารที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหารเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและการขนส่ง นอกจากนี้มีการออกกฎระเบียบเกี่ยวข้องกับการจัดการกากของเสียที่ส่งเข้าไปในยุโรป เช่น กฎระเบียบที่ 94/62/EC เกี่ยวกับการบรรจุภัณฑ์และขยะบรรจุภัณฑ์ กฎระเบียบที่ 2000/53/EC เกี่ยวกับการจัดการซากยานยนต์เมื่อหมดอายุการใช้งาน (End of Life Vehicle: ELV) และการจัดการส่วนประกอบที่เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบที่ 2002/96/EC (WEEE) กฎระเบียบที่ 2002/95/EC เกี่ยวกับการจำกัดการใช้สารอันตราย 6 ประเภทในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (RoHS) ทั้งนี้อาจมีกฎระเบียบที่คล้ายกันในส่วนอื่นๆ ของโลก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน แต่ที่รู้จักกันดีที่สุด คือ CONEG (Coalition of Northeastern Governors) สำหรับจัดการสารที่ใช้ในวัสดุการบรรจุหีบห่อและในเร็วๆ นี้ จะมีกฎระเบียบ EuP (Energy Using Products) ซึ่งจะเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ต้องการการออกแบบเชิงนิเวศเป็นเงื่อนไขที่บังคับสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานที่นำออกสู่ตลาด EU
1.3) ข้อตกลงโดยสมัครใจอื่นๆ: ข้อตกลงอื่นๆ ที่เป็นความสมัครใจของอุตสาหกรรมหรือความต้องการของลูกค้าเฉพาะด้าน ซึ่งเป็นข้อจำกัดเพิ่มเติม ข้อจำกัดเช่นนั้นสามารถเป็นเหตุผลทางเทคนิคสำหรับกระบวนการผลิตของชิ้นส่วน (เช่น สี) หรือเพื่อ
ประโยชน์การใช้ เช่น ปัญหาเรื่องกลิ่นในสิ่งแวดล้อมระบบปิด หรือ ตามต้องการของบริษัทเพื่อให้ผลิตสิ่งค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นต้น
ความตระหนักในปัญหาความปลอดภัยปัญหาสุขภาพและปัญหา
สิ่งแวดล้อมที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่บัญชีรายชื่อของสารที่ประกาศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การ
จัดการยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
2) สรุปกฎระเบียบ/กฎหมาย: กฎระเบียบ/กฎหมายของ EU และ ญี่ปุ่น ที่มีผลต่อการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย
2.1) กฎระเบียบ EU ได้แก่ Integrated Product Policy (IPP), WEEE, RoHS, REACH, ELV, EUP เป็นต้น
2.2) กฎระเบียบของญี่ปุ่นที่มีการบังคับใช้แล้ว อาทิ Basic Law for Promoting the Creation of a Recycling-oriented Society, Waste Management Law, Law for the Promotion of the Effective Utilization of Resources (3Rs), Containers and Packaging Recycling Law, Home Appliance Recycling Law, Automotive Recycling Law.
3) เครื่องมือในการบรรลุความสำเร็จของการขับเคลื่อน
3.1) การรีไซเคิล (Recycling): เป็นเครื่องมือในการแยกชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ออกเป็นประเภทของวัตถุดิบ เช่น การรีไซเคิล เครื่องพิมพ์ (Printer) ปกติตามประเภทของวัตถุดิบ พบว่า เครื่องพิมพ์ปกติ 1 เครื่องประกอบด้วย พลาสติกประมาณร้อยละ 48 โลหะเหล็กประมาณร้อยละ 33 โลหะที่ไม่ใช่เหล็กอีกร้อยละ 9 และอื่นๆ ร้อยละ 10 ในการรีไซเคิล ดังนั้นการรีไซเคิลจึงแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ การรีไซเคิลพลาสติก การรีไซเคิลสารเคมี และการรีไซเคิลโลหะที่เป็นเครื่องจักรกล ซึ่งให้ประโยชน์ไม่เฉพาะต่อลูกค้าเท่านั้น แต่ยังสร้างความ
ตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างภาพพจน์ที่เป็นบวกของธุรกิจ ผู้ผลิตที่พัฒนายี่ห้อผลิตภัณฑ์ของตนเองหรือใช้ยี่ห้อของผู้อื่นต้องมีการประกันการรีไซเคิล หรือต้องกันเงินในบัญชีธนาคารไว้ให้เพียงพอ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถปฏิบัติตามระเบียบ WEEE ได้ในอนาคต
3.2) การประเมินวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์
ตลอดทั้งวัฎจักรชีวิต ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ การสกัดวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน (รวมถึงการใช้ซ้ำ การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่) และการกำจัดทิ้งหลังหมดอายุการใช้งาน (Cradle-to-Grave) โดยพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมไปถึงระบบนิเวศ สุขอนามัยของชุมชน และปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก LCA เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ควบคู่กับการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-design)
3.3) การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Design) หรือ Green Design เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงปัจจัยและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทั้งนี้เป็นไปตามกฎระเบียบและข้อตกลงทางการค้า เช่น การจัดการซากยานยนต์เมื่อหมดอายุการใช้งาน (End of Life Vehicle: ELV), WEEE, RohS, REACH, EuP ความเสื่อมโทรมทางสภาวะแวดล้อม และความร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติ
ปัจจุบันการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจนี้ได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ โดยมีการสนับสนุนจากภาครัฐในการออกกฎต่างๆ เข้ามาบังคับใช้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น การออกฉลาก Eco-label หรือ Green Label หรือ Energy Label นอกจากนี้ การคิดการออกแบบเชิงนิเวศนี้ (Eco-design thinking) สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนการเกิดนวัตกรรมได้
4) กระบวนการดำเนินงาน (Implementation Process): ประเด็นสำคัญ ในกระบวนการดำเนินงานสามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ ก) เงื่อนไขของกฎระเบียบในระดับประเทศ และ ข) การเตรียมการดำเนินงานในทางปฏิบัติภายในกรอบการจัดการระดับชาติ ซึ่งจะแตกต่างกันตามประเภทของอุตสาหกรรม ซึ่งการประชุมฯ ได้แสดงให้เป็นตัวอย่างในอุตสาหกรรม 3 ประเภทแต่เน้นอุตสาหกรรมพลาสติก เนื่องจากนวัตกรรมในพลาสติกมีจำนวนมาก
4.1) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์: ในหลายแห่งในโลก กฎระเบียบ สิ่งแวดล้อมเฉพาะด้านสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในกระบวนการดำเนินงานหรืออยู่ใน 3 ประเภทที่ควรให้ความสนใจ
(1) การรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่เลิกใช้แล้ว (การอนุรักษ์ทรัพยากร)
(2) การจำกัดสารพิษ (อันตราย) ที่มีศักยภาพ (ควบคุมความเสี่ยงการได้รับพิษ)
(3) การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ลดการใช้พลังงานและวัสดุ)
ในทั้งสามกรณี พลังตลาดไม่สามารถปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ดีเพียงพอตามความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียในสังคม ประเทศต่างๆ จึงได้มีการออกกฎระเบียบที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก และที่กำลังจะออกมาอีกจำนวนหนึ่ง นอกจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ได้มีการออกกฎระเบียบ WEEE ที่ใช้จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครื่องมือรีไซเคิลแล้ว ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยกฎระเบียบเช่นเดียวกันได้มีการส่งเสริมนโยบาย "3Rs" กล่าวคือ การลดการสร้างขยะ การนำชิ้นส่วนมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ทั้งระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ ตัวอย่าง กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการรีไซเคิล ได้แก่ กฎหมายการรีไซเคิลของใช้ในครัวเรือน (Home Appliance Recycling Law) กฎหมายการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการจัดการขยะ (The Law on the Promotion of Efficient Use of Resources and the Waste Management) และกฎหมายการทำความสะอาดสาธารณะ (Public Cleansing Law) ประเทศเกาหลีใต้ ก็ได้นำระบบความรับผิดชอบของผู้ผลิตที่ขยายกว้างขึ้นกว่าเดิม (Extended Producer Responsibility System: EPRS) มาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2003 ภายใต้พ.ร.บ. ส่งเสริมการประหยัดทรัพยากรและการรีไซเคิล (Act on the Promotion of Resources Saving and Recycling) ซึ่งเป็นข้อผูกมัดการรีไซเคิลโดยตรงที่ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องปฏิบัติตาม ตั้งแต่
ต้นปี ค.ศ. 2004 กระทรวงสิ่งแวดล้อมเกาหลีได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำ "ระบบประกันเชิงนิเวศ (Eco-Assurance System)" ซึ่งจะกำกับการใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันเชิงนิเวศสำหรับการรีไซเคิลเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
และยานยนต์ขึ้นประกอบด้วยภาครัฐ (กระทรวงสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรม และพลังงาน และกระทรวงก่อสร้างและขนส่ง) ร่วมกันบริษัทเกาหลี เช่น Daewoo, Samsung, Hyundai, GM-Daewoo มอเตอร์ เป็นต้น เพื่อพิจารณามาตรการด้านกฎระเบียบ ผลกระทบที่มี
ต่ออุตสาหกรรมเกาหลีและมาตรการตอบโต้อื่นๆ ส่งผลให้มีการนำเสนอกฎหมายการรีไซเคิลเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2005 ในขณะที่ประเทศจีนก็มีการยกร่างพ.ร.บ. ส่งเสริมการลด การนำมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิลทรัพยากรซึ่งจะเสนอและใช้ใน
ปี ค.ศ. 2007 ร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวจะผนวกเรื่องความรับผิดชอบของผู้ผลิตที่มีต่อสังคม การบริโภคสีเขียว และการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบที่มีแล้วและที่กำลังจะออกมาอาจไม่สะท้อนมุมมองทางวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เนื่องจากความล่าช้าทางการเมือง
4.2) อุตสาหกรรมยานยนต์: กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ การจัดการซากของยานยนต์หลังหมดอายุการใช้งาน (End of Life Vehicle: ELV) โดย EU ได้ออกกฎระเบียบนี้ ตั้งแต่ปี 2000 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2003
และต่อมายานยนต์ยี่ห้อต่างๆ จากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นได้รับการผลักดันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน และมีแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสีเขียวมากยิ่งขึ้น ระเบียบนี้วางมาตรการเพื่อลดของเสียจากยานยนต์ โดยบังคับให้มีการบำบัดซากยานยนต์อย่างถูกวิธีและให้นำชิ้นส่วน/วัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ตามสัดส่วนที่กำหนด และเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมในทุกธุรกิจตลอดวัฎจักรชีวิตของยานยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บำบัดซากยานยนต์ ระเบียบ ELV ใช้หลักการผู้ผลิตต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งในภาพรวมแล้วระเบียบ ELV ส่งผลต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่
1) ค่าใช้จ่ายในการจัดการซาก: ผู้ผลิตต้องรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการเก็บคืนซากยานยนต์ที่นำเข้าตลาดก่อน กรกฎาคม ปี ค.ศ. 2002 และภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับซากยานยนต์ที่เกิดหลังปี ค.ศ. 2007 ไม่ว่ายานยนต์จะผ่านการบริการ/ซ่อมแซม การตกแต่งเพิ่มเติม หรือมีการเปลี่ยนชิ้นส่วน/อะไหล่ ในระหว่างการใช้งานมาอย่างไรก็ตาม
2) เป้าหมายการรีไซเคิล: ระเบียบ ELV ตั้งเป้าหมายการดึงทรัพยากรกลับคืนและการรีไซเคิลดังนี้
- สัดส่วนการใช้ซ้ำ/การดึงทรัพยากรคืนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 โดยน้ำหนัก และการใช้ซ้ำ/การรีไซเคิลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 โดยน้ำหนัก ภายในปี 2005
- สัดส่วนการใช้ซ้ำ/การดึงทรัพยากรคืนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 โดยน้ำหนัก และการใช้ซ้ำ/การรีไซเคิลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 โดยน้ำหนักภายในปี 2014
3) การห้ามใช้โลหะหนัก 4 ชนิด: ยานยนต์และอะไหล่สำหรับยานยนต์ที่นำเข้าตลาดหลัง 1 กรกฎาคม 2003 ต้องปราศจาก ตะกั่ว (Pb) ปรอท (Hg) แคดเมียม (Cd) และ โครเมียมเฮกซะวาเลนซ์ (Cr-V1) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปใด ยกเว้นการใช้งานเฉพาะบางอย่างที่ระบุให้เป็นข้อยกเว้น
นอกจากนี้ ประเทศเกาหลีใต้ได้มีการนำเสนอกฎหมายการรีไซเคิลยานยนต์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2005 เพื่อจำกัดการใช้สารอันตรายในรถยนต์ ซึ่งได้กำหนดความต้องการรีไซเคิลที่เข้มงวดในการจัดการซากรถยนต์เมื่อหมดอายุการใช้งาน ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากภาคอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรมและพลังงาน และกระทรวงก่อสร้างและขนส่ง
(ยังมีต่อ).../5) ผลกระทบต่อ..
ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์
(Green Driven Innovation for Electronics and Vehicle)
1. หลักการและเหตุผล/ความเป็นมา
ปัจจุบันสาธารณชนมีความตระหนักในเรื่องความปลอดภัย สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ประกอบกับประเด็นทางสิ่งแวดล้อมได้ถูกนำมาผูกโยงเป็นเงื่อนไขทางการค้าในโลกแห่งการค้าเสรีดังเช่นในปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (เนื่องจากทั่วโลกเล็งเห็นว่าปัญหา สิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาระหว่างประเทศและต้องการความร่วมมือในระดับโลก) ซึ่งได้สร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลของประเทศต่างๆ และต่ออุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ การขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ปัจจัยการขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีมากมาย แต่ที่นับว่าสำคัญมี 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ กฎระเบียบ/กฎหมาย เทคโนโลยี และปัจจัยขับเคลื่อนด้านสังคม/ผู้บริโภค ปัจจัยทั้งสามดังกล่าวเป็นที่สนใจกันทั่วโลก และกล่าวขานในเวทีต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยน
องค์ความรู้ในด้านเหล่านั้นมากขึ้นในอันที่ฉันทามติและภาพพจน์เตรียมพร้อมในการรองรับขีดความสามารถในการแข่งขันทั่วโลก การประชุมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงานเรื่อง "Going Green Care Innovation 2006" ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 13-16
พฤศจิกายน 2549 ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งที่ให้ความสนใจกับปัจจัยการขับเคลื่อนทั้งสามดังกล่าวโดยเน้นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมยานยนต์ และใช้อุตสาหกรรมพลาสติกเป็นอุตสาหกรรมที่ปิดช่องโหว่ (Closing the loop) เพื่อผลักดันให้แนวคิดเรื่อง Corporate Social
Responsibility (CSR) หรือ Extended Producers Responsibility (EPR) ให้มีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจทั่วโลกในอนาคต ซึ่งในการประชุมได้มีธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และพลาสติก มานำเสนอการดำเนินงาน (Implementation) ที่ขับเคลื่อน
ด้วยกฎระเบียบของ EU
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
* ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากผลการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงานเรื่อง "Going Green Care Innovation 2006" ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 13-18 พฤศจิกายน 2549
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. กรอบแนวคิด
การสร้างความมั่นคงให้กับระบบเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การลด อนุรักษ์ และประหยัดพลังงาน 2) การนำมาใช้ประโยชน์ใหม่: การตลาดเชิงนิเวศ 3) การลดและนำวัตถุดิบมาใช้ใหม่: การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการบริโภคและวิถีชีวิต 4) การรีไซเคิล และ 5) การป้องกันมลภาวะ
3. การขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรม
การขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรมจะเริ่มจากการพิจารณาปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญซึ่งมีอยู่ 3 ปัจจัยดังกล่าวแล้วข้างต้น
3.1 กฎระเบียบ/กฎหมาย
กฎระเบียบ/กฎหมาย นับว่าเป็นสิ่งจูงใจในการขับเคลื่อนเพื่อนวัตกรรมใหม่ๆ และพฤติกรรมใหม่ๆ ตามมา เพื่อความยั่งยืนในการพัฒนา เนื่องจากเชื่อว่าการบรรลุความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 อย่าง คือ 1) พฤติกรรม และ 2) เทคโนโลยี โดย
นำเสนอให้เห็นบทบาทของเงื่อนไขกฎระเบียบที่จะมีต่อพฤติกรรมที่ยั่งยืน และการใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการบรรลุความสำเร็จ วิธีดำเนินงานขับเคลื่อน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการได้มาซึ่งนวัตกรรม ผลกระทบ ตลอดจน ข้อคิดเห็นพร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อเป็น
ประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนา
เริ่มจากการกำหนดกรอบกฎระเบียบ เครื่องมือที่ใช้ในการบรรลุความสำเร็จของ การขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การเสนอกระบวนการดำเนินงานโดยเน้นประเภทของอุตสาหกรรมตัวอย่าง 2 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ และ ผลกระทบพร้อมบทเรียนจากต่างประเทศในด้านที่เกี่ยวข้อง
1) กรอบกฎระเบียบ: ทุกประเทศมีระบบกฎหมายแพ่ง (Civil Law System) อยู่แล้ว ซึ่งมีความเหมือนและความแตกต่างกันเป็นกรณีๆ ไป ถึงแม้กฎระเบียบบางอย่าง เช่น WEEE (Waste of Electrical and Electronic Equipment) และ RoHS (Restriction of the use of certain hazardous substances in electrical and electronic equipment) ได้ผ่านการแปลง
เป็นกฎหมายระดับชาติของสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว แต่ยังมีความสับสนในการดำเนินงานและต้นทุนที่สูงในการดำเนินตามกฎระเบียบ การทำความเข้าใจในกรอบกฎระเบียบจึงมีความจำเป็นและสำคัญ
1.1) กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี: อุตสาหกรรมเคมีได้ถูกควบคุมด้วยกฎระเบียบสารเคมีมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ เพื่อจำกัดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้เคมีภัณฑ์ ในกลุ่มประเทศยุโรป กฎระเบียบที่เกี่ยวกับสารเคมี ได้แก่ กฎระเบียบที่ 67/548/EEC ว่าด้วยการจำแนก การบรรจุหีบห่อ และการติดฉลากของสารอันตราย กฎระเบียบที่ 76/769/EEC ว่าด้วยข้อจำกัดทางการตลาดและการใช้ของสารอันตรายและระเบียบการเตรียมสารอันตรายที่ 99/45 /EEC และในเร็วๆ นี้ จะมีกฎระเบียบ REACH (Registration, Evaluation and Authorization of CHemicals) กฎระเบียบเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่นำเข้าตลาดยุโรปเพื่ออุตสาหกรรมและการใช้ใดๆ เพื่อจำกัดการใช้สารเคมี โดยกำหนดให้ต้องมีการจดทะเบียน การประเมินผล และการขออนุญาตในการใช้
1.2) กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้: ได้มีการออกกฎระเบียบเพิ่มเติมสำหรับสาขาอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน เช่น อุตสาหกรรมอาหาร โดยจะกำหนดรายชื่อสารที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหารเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและการขนส่ง นอกจากนี้มีการออกกฎระเบียบเกี่ยวข้องกับการจัดการกากของเสียที่ส่งเข้าไปในยุโรป เช่น กฎระเบียบที่ 94/62/EC เกี่ยวกับการบรรจุภัณฑ์และขยะบรรจุภัณฑ์ กฎระเบียบที่ 2000/53/EC เกี่ยวกับการจัดการซากยานยนต์เมื่อหมดอายุการใช้งาน (End of Life Vehicle: ELV) และการจัดการส่วนประกอบที่เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบที่ 2002/96/EC (WEEE) กฎระเบียบที่ 2002/95/EC เกี่ยวกับการจำกัดการใช้สารอันตราย 6 ประเภทในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (RoHS) ทั้งนี้อาจมีกฎระเบียบที่คล้ายกันในส่วนอื่นๆ ของโลก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน แต่ที่รู้จักกันดีที่สุด คือ CONEG (Coalition of Northeastern Governors) สำหรับจัดการสารที่ใช้ในวัสดุการบรรจุหีบห่อและในเร็วๆ นี้ จะมีกฎระเบียบ EuP (Energy Using Products) ซึ่งจะเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ต้องการการออกแบบเชิงนิเวศเป็นเงื่อนไขที่บังคับสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานที่นำออกสู่ตลาด EU
1.3) ข้อตกลงโดยสมัครใจอื่นๆ: ข้อตกลงอื่นๆ ที่เป็นความสมัครใจของอุตสาหกรรมหรือความต้องการของลูกค้าเฉพาะด้าน ซึ่งเป็นข้อจำกัดเพิ่มเติม ข้อจำกัดเช่นนั้นสามารถเป็นเหตุผลทางเทคนิคสำหรับกระบวนการผลิตของชิ้นส่วน (เช่น สี) หรือเพื่อ
ประโยชน์การใช้ เช่น ปัญหาเรื่องกลิ่นในสิ่งแวดล้อมระบบปิด หรือ ตามต้องการของบริษัทเพื่อให้ผลิตสิ่งค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นต้น
ความตระหนักในปัญหาความปลอดภัยปัญหาสุขภาพและปัญหา
สิ่งแวดล้อมที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่บัญชีรายชื่อของสารที่ประกาศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การ
จัดการยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
2) สรุปกฎระเบียบ/กฎหมาย: กฎระเบียบ/กฎหมายของ EU และ ญี่ปุ่น ที่มีผลต่อการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย
2.1) กฎระเบียบ EU ได้แก่ Integrated Product Policy (IPP), WEEE, RoHS, REACH, ELV, EUP เป็นต้น
2.2) กฎระเบียบของญี่ปุ่นที่มีการบังคับใช้แล้ว อาทิ Basic Law for Promoting the Creation of a Recycling-oriented Society, Waste Management Law, Law for the Promotion of the Effective Utilization of Resources (3Rs), Containers and Packaging Recycling Law, Home Appliance Recycling Law, Automotive Recycling Law.
3) เครื่องมือในการบรรลุความสำเร็จของการขับเคลื่อน
3.1) การรีไซเคิล (Recycling): เป็นเครื่องมือในการแยกชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ออกเป็นประเภทของวัตถุดิบ เช่น การรีไซเคิล เครื่องพิมพ์ (Printer) ปกติตามประเภทของวัตถุดิบ พบว่า เครื่องพิมพ์ปกติ 1 เครื่องประกอบด้วย พลาสติกประมาณร้อยละ 48 โลหะเหล็กประมาณร้อยละ 33 โลหะที่ไม่ใช่เหล็กอีกร้อยละ 9 และอื่นๆ ร้อยละ 10 ในการรีไซเคิล ดังนั้นการรีไซเคิลจึงแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ การรีไซเคิลพลาสติก การรีไซเคิลสารเคมี และการรีไซเคิลโลหะที่เป็นเครื่องจักรกล ซึ่งให้ประโยชน์ไม่เฉพาะต่อลูกค้าเท่านั้น แต่ยังสร้างความ
ตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างภาพพจน์ที่เป็นบวกของธุรกิจ ผู้ผลิตที่พัฒนายี่ห้อผลิตภัณฑ์ของตนเองหรือใช้ยี่ห้อของผู้อื่นต้องมีการประกันการรีไซเคิล หรือต้องกันเงินในบัญชีธนาคารไว้ให้เพียงพอ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถปฏิบัติตามระเบียบ WEEE ได้ในอนาคต
3.2) การประเมินวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์
ตลอดทั้งวัฎจักรชีวิต ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ การสกัดวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน (รวมถึงการใช้ซ้ำ การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่) และการกำจัดทิ้งหลังหมดอายุการใช้งาน (Cradle-to-Grave) โดยพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมไปถึงระบบนิเวศ สุขอนามัยของชุมชน และปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก LCA เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ควบคู่กับการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-design)
3.3) การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Design) หรือ Green Design เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงปัจจัยและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทั้งนี้เป็นไปตามกฎระเบียบและข้อตกลงทางการค้า เช่น การจัดการซากยานยนต์เมื่อหมดอายุการใช้งาน (End of Life Vehicle: ELV), WEEE, RohS, REACH, EuP ความเสื่อมโทรมทางสภาวะแวดล้อม และความร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติ
ปัจจุบันการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจนี้ได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ โดยมีการสนับสนุนจากภาครัฐในการออกกฎต่างๆ เข้ามาบังคับใช้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น การออกฉลาก Eco-label หรือ Green Label หรือ Energy Label นอกจากนี้ การคิดการออกแบบเชิงนิเวศนี้ (Eco-design thinking) สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนการเกิดนวัตกรรมได้
4) กระบวนการดำเนินงาน (Implementation Process): ประเด็นสำคัญ ในกระบวนการดำเนินงานสามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ ก) เงื่อนไขของกฎระเบียบในระดับประเทศ และ ข) การเตรียมการดำเนินงานในทางปฏิบัติภายในกรอบการจัดการระดับชาติ ซึ่งจะแตกต่างกันตามประเภทของอุตสาหกรรม ซึ่งการประชุมฯ ได้แสดงให้เป็นตัวอย่างในอุตสาหกรรม 3 ประเภทแต่เน้นอุตสาหกรรมพลาสติก เนื่องจากนวัตกรรมในพลาสติกมีจำนวนมาก
4.1) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์: ในหลายแห่งในโลก กฎระเบียบ สิ่งแวดล้อมเฉพาะด้านสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในกระบวนการดำเนินงานหรืออยู่ใน 3 ประเภทที่ควรให้ความสนใจ
(1) การรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่เลิกใช้แล้ว (การอนุรักษ์ทรัพยากร)
(2) การจำกัดสารพิษ (อันตราย) ที่มีศักยภาพ (ควบคุมความเสี่ยงการได้รับพิษ)
(3) การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ลดการใช้พลังงานและวัสดุ)
ในทั้งสามกรณี พลังตลาดไม่สามารถปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ดีเพียงพอตามความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียในสังคม ประเทศต่างๆ จึงได้มีการออกกฎระเบียบที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก และที่กำลังจะออกมาอีกจำนวนหนึ่ง นอกจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่ได้มีการออกกฎระเบียบ WEEE ที่ใช้จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครื่องมือรีไซเคิลแล้ว ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยกฎระเบียบเช่นเดียวกันได้มีการส่งเสริมนโยบาย "3Rs" กล่าวคือ การลดการสร้างขยะ การนำชิ้นส่วนมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว ทั้งระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ ตัวอย่าง กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการรีไซเคิล ได้แก่ กฎหมายการรีไซเคิลของใช้ในครัวเรือน (Home Appliance Recycling Law) กฎหมายการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการจัดการขยะ (The Law on the Promotion of Efficient Use of Resources and the Waste Management) และกฎหมายการทำความสะอาดสาธารณะ (Public Cleansing Law) ประเทศเกาหลีใต้ ก็ได้นำระบบความรับผิดชอบของผู้ผลิตที่ขยายกว้างขึ้นกว่าเดิม (Extended Producer Responsibility System: EPRS) มาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2003 ภายใต้พ.ร.บ. ส่งเสริมการประหยัดทรัพยากรและการรีไซเคิล (Act on the Promotion of Resources Saving and Recycling) ซึ่งเป็นข้อผูกมัดการรีไซเคิลโดยตรงที่ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องปฏิบัติตาม ตั้งแต่
ต้นปี ค.ศ. 2004 กระทรวงสิ่งแวดล้อมเกาหลีได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำ "ระบบประกันเชิงนิเวศ (Eco-Assurance System)" ซึ่งจะกำกับการใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันเชิงนิเวศสำหรับการรีไซเคิลเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
และยานยนต์ขึ้นประกอบด้วยภาครัฐ (กระทรวงสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรม และพลังงาน และกระทรวงก่อสร้างและขนส่ง) ร่วมกันบริษัทเกาหลี เช่น Daewoo, Samsung, Hyundai, GM-Daewoo มอเตอร์ เป็นต้น เพื่อพิจารณามาตรการด้านกฎระเบียบ ผลกระทบที่มี
ต่ออุตสาหกรรมเกาหลีและมาตรการตอบโต้อื่นๆ ส่งผลให้มีการนำเสนอกฎหมายการรีไซเคิลเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2005 ในขณะที่ประเทศจีนก็มีการยกร่างพ.ร.บ. ส่งเสริมการลด การนำมาใช้ใหม่ และการรีไซเคิลทรัพยากรซึ่งจะเสนอและใช้ใน
ปี ค.ศ. 2007 ร่างพ.ร.บ. ดังกล่าวจะผนวกเรื่องความรับผิดชอบของผู้ผลิตที่มีต่อสังคม การบริโภคสีเขียว และการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบที่มีแล้วและที่กำลังจะออกมาอาจไม่สะท้อนมุมมองทางวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เนื่องจากความล่าช้าทางการเมือง
4.2) อุตสาหกรรมยานยนต์: กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ การจัดการซากของยานยนต์หลังหมดอายุการใช้งาน (End of Life Vehicle: ELV) โดย EU ได้ออกกฎระเบียบนี้ ตั้งแต่ปี 2000 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2003
และต่อมายานยนต์ยี่ห้อต่างๆ จากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นได้รับการผลักดันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน และมีแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสีเขียวมากยิ่งขึ้น ระเบียบนี้วางมาตรการเพื่อลดของเสียจากยานยนต์ โดยบังคับให้มีการบำบัดซากยานยนต์อย่างถูกวิธีและให้นำชิ้นส่วน/วัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ตามสัดส่วนที่กำหนด และเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมในทุกธุรกิจตลอดวัฎจักรชีวิตของยานยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บำบัดซากยานยนต์ ระเบียบ ELV ใช้หลักการผู้ผลิตต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งในภาพรวมแล้วระเบียบ ELV ส่งผลต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่
1) ค่าใช้จ่ายในการจัดการซาก: ผู้ผลิตต้องรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการเก็บคืนซากยานยนต์ที่นำเข้าตลาดก่อน กรกฎาคม ปี ค.ศ. 2002 และภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับซากยานยนต์ที่เกิดหลังปี ค.ศ. 2007 ไม่ว่ายานยนต์จะผ่านการบริการ/ซ่อมแซม การตกแต่งเพิ่มเติม หรือมีการเปลี่ยนชิ้นส่วน/อะไหล่ ในระหว่างการใช้งานมาอย่างไรก็ตาม
2) เป้าหมายการรีไซเคิล: ระเบียบ ELV ตั้งเป้าหมายการดึงทรัพยากรกลับคืนและการรีไซเคิลดังนี้
- สัดส่วนการใช้ซ้ำ/การดึงทรัพยากรคืนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 โดยน้ำหนัก และการใช้ซ้ำ/การรีไซเคิลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 โดยน้ำหนัก ภายในปี 2005
- สัดส่วนการใช้ซ้ำ/การดึงทรัพยากรคืนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 โดยน้ำหนัก และการใช้ซ้ำ/การรีไซเคิลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 โดยน้ำหนักภายในปี 2014
3) การห้ามใช้โลหะหนัก 4 ชนิด: ยานยนต์และอะไหล่สำหรับยานยนต์ที่นำเข้าตลาดหลัง 1 กรกฎาคม 2003 ต้องปราศจาก ตะกั่ว (Pb) ปรอท (Hg) แคดเมียม (Cd) และ โครเมียมเฮกซะวาเลนซ์ (Cr-V1) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปใด ยกเว้นการใช้งานเฉพาะบางอย่างที่ระบุให้เป็นข้อยกเว้น
นอกจากนี้ ประเทศเกาหลีใต้ได้มีการนำเสนอกฎหมายการรีไซเคิลยานยนต์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2005 เพื่อจำกัดการใช้สารอันตรายในรถยนต์ ซึ่งได้กำหนดความต้องการรีไซเคิลที่เข้มงวดในการจัดการซากรถยนต์เมื่อหมดอายุการใช้งาน ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากภาคอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรมและพลังงาน และกระทรวงก่อสร้างและขนส่ง
(ยังมีต่อ).../5) ผลกระทบต่อ..